คอลัมน์ "จันทราท่าพระอาทิตย์"
โดย สุนันท์ ศรีจันทรา
- “ทวาย” เมืองท่าของประเทศพม่า กำลังถูกเนรมิตเป็นท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งนักลงทุนต่างชาติเตรียมแห่เข้าไปลงทุนกันขนานใหญ่ รวมทั้งนักลงทุนจากประเทศไทย โดยเฉพาะบริษัท อิตาเลี่ยนไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งลงหลักปักฐานรับสัมปทานสร้างถนนเชื่อมสู่ประเทศไทย และสร้างนิคมอุตสาหกรรมไปแล้ว
- พม่ากำลังเปิดประเทศ มีวางนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจขนานใหญ่ควบคู่กับการพัฒนาระบบการเมือง โดยเปิดทางสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และกำลังจะมีการเลือกตั้งครั้งแรกรอบหลายสิบปีในเร็วๆ นี้
- พม่าถูกแรงบีบจากยุโรปและสหรัฐฯ มายาวนาน เนื่องจากความมาเป็นประชาธิปไตย การลิดรอนสิทธิมนุษยชน เพราะมีระบอบการปกครองแบบเบ็ดเสร็จ โดยทหารเป็นผู้กุมอำนาจอย่างยาวนาน
- การพลิกตัวของพม่า โดยหันหน้าพัฒนาระบบประชาธิปไตย จึงเป็นการผ่อนคลายแรงกดดันจากนานาชาติ และยิ่งเปิดประเทศต้อนรับการลงทุนจากต่างชาติ โดยใช้ทวายเป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่ในภูมิภาค ทำให้กลุ่มทุนทั่วโลกพุ่งความสนใจ รวมทั้งกลุ่มทุนจากสหรัฐฯ ด้วย
- ประเทศที่เคยคัดค้านต่อต้านระบบการปกครองของพม่า ดูเหมือนว่าจะหันมายอมรับการเปลี่ยนแปลงในพม่า แสดงท่าทีสนับสนุนการพัฒนาระบบประชาธิปไตย และแทบไม่มีข้อสงสัยใดๆ กับท่าทีใหม่ของรัฐบาลทหาร
- มีคำถามว่า ถ้าเปิดให้มีการเลือกตั้ง หากนางอองซาน ซูจี สตรีเหล็ก ผู้นำฝ่ายค้านที่ต่อต้านรัฐบาลทหารเกิดชนะการเลือกตั้ง ทหารที่กุมอำนาจมาหลายสิบปี จะยอมให้นางอองซาน ซูจีขึ้นมาบริหารประเทศหรือ
- รัฐบาลทหารพม่าจะไม่หาเหตุ เพื่อล้มการเลือกตั้งอีกหรือ
- ถ้านางซูจี ชนะการเลือกตั้ง ก็คงเป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาลทหาร และอาจต้องลุกขึ้นมาล้มกระดาน
- แต่โจทย์ใหญ่ข้อนี้ถูกตีแตกแล้ว เพราะนางซูจีไม่มีวันชนะการเลือกตั้ง
- สูตรการปฏิรูปทางการเมือง เพื่อแปลงโฉมสู่ระบบประชาธิปไตยของพม่าถูกวางแผนไว้เรียบร้อยแล้ว โดยพม่าจากลอกระบบประชาธิปไตยของไทยเป็นต้นแบบ
- และมีเสียงพูดกันในหมู่คนพม่าว่า ผู้ที่อยู่เบื้องหลังจุดประกายความคิดพัฒนาระบบประชาธิปไตยชี้แนะวิธีการก็ไม่ใช่ใครที่ไหน นอกจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเคยสร้างบารมีไว้กับรัฐบาลทหารพม่า โดยนำเงินของเอ็กซิมแบงก์ไปปล่อยกู้จำนวน4,000 ล้านบาท สมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรี
- จริงไม่จริงไม่รู้ แต่พูดกันหนาหูว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการวางแนวทางพัฒนาระบบประชาธิปไตยให้รัฐบาลทหารพม่า โดยที่รัฐบาลพม่าไม่ต้องกลัวว่าจะสูญเสียอำนาจ แต่ยังกุมอำนาจอยู่ต่อไป และเป็นอำนาจที่ได้มาอย่างชอบธรรมเพราะผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งจะไม่ถูกนานาชาติคัดค้านต่อต้านเหมือนในอดีต
- ระบบประชาธิปไตยในพม่าที่กำลังจะเบ่งบานอีกครั้ง ถูกกำหนดไว้แล้ว การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นจะไม่แตกต่างจากการเลือกตั้งในประเทศไทย โดยปัจจัยชี้ขาดในชัยชนะอยู่ที่เงินซึ่งพม่าเตรียมไว้แล้ว
- สัมปทานการลงทุนต่างๆ ในพม่าหรือทวาย รัฐบาลทหารพม่าเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ และระบบการพิจารณาอนุมัติไม่แตกต่างจากโครงการสัมปทานในประเทศ โดยมีระบบหัวคิว ค่าต๋งหรือเงินใต้โต๊ะเหมือนกัน
- ส่วนกลุ่มทุนไทยที่สนใจจะเข้าไปลงทุนในพม่า การติดต่อรัฐบาลทหารพม่าโดยตรงอาจไม่ได้รับความสะดวกมากนัก ต้องติดต่อผ่านโบรกเกอร์ และผู้ที่ทำตัวเป็นหน้าเสื่อรับเป็นตัวกลางติดต่อขอสัมปทานต่างๆ ในพม่า ก็เป็นคนใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ
- ใครเป็นโบรกเกอร์วิ่งเต้นติดต่อเจรจาขอสัมปทานการลงทุนต่างๆ นักธุรกิจไทยที่จะเข้าไปลงทุนในพม่ารู้กันดี หรือจะลองถามอิตาเลียนไทยก็ได้
- เงินจากค่าต๋งค่าหัวคิวสัมปทานต่างๆ นั้น ถูกใช้เป็นแหล่งทุนอย่างดีสำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น และต้นทุนของระบบประชาธิปไตยในพม่าก็ยังต่ำอยู่ เพราะใช้เงินซื้อเสียงไม่มาก
- รัฐบาลพม่าต้องเร่งรัดพัฒนาระบบประชาธิปไตย ต้องรีบจัดให้มีการเลือกตั้ง เพราะถ้าปล่อยให้เวลาเนิ่นนานออกไป ต้นทุนของระบบประชาธิปไตยจะสูงขึ้น เนื่องจากจำนวนเงินที่จะซื้อเสียงสูงขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อและค่าครองชีพ
- ดังนั้น ยิ่งเป็นประชาธิปไตยเร็วเท่าไหร่ เลือกตั้งเร็วเท่าไหร่ รัฐบาลทหารพม่าก็ยิ่งใช้เงินน้อย แถมแหล่งเงินยังมีพร้อมอยู่แล้ว จะเปิดประเทศต้อนรับทุนจากต่างชาติ โดยทวายกลายเป็นแหล่งผลิตทุนการเมืองสำคัญของรัฐบาลทหาร
- แม้นางซูจีจะเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยในพม่า เป็นสตรีที่ทุ่มเทให้กับการต่อสู้เพื่อแผ่นดินพม่า และชาวพม่าส่วนใหญ่ให้ความศรัทธารักใคร่
- การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อหลายสิบปีก่อน นางซูจีชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น แต่ถูกปล้นชัยชนะ เพราะรัฐบาลทหารพม่าลุกขึ้นมาล้มกระดาน
- แต่การเลือกตั้งครั้งใหม่ แม้นางซูจีจะเป็นวีรสตรีของชาวพม่าอยู่เหมือนเดิม แต่จะไม่มีวันชนะอีก เพราะนางซูจีไม่ได้สู้กับรัฐบาลทหาร แต่สู้กับเงินของรัฐบาลทหารพม่า
- รูปแบบการเลือกตั้งของไทย จะถูกใช้เป็นต้นแบบการเลือกตั้งในพม่า และรัฐบาลทหารเตรียมแผนไว้แล้ว พร้อมทุ่มเต็มที่เพื่อเป็นหลักประกันว่า จะต้องชนะการเลือกตั้ง
- ตอนนี้ปล่อยให้นางซูจีเดินหาเสียงไปอย่างอิสระ ซึ่งประเมินแล้วเสียงของนางซูจีก็ดี มีประชาชนต้อนรับแสดงความสนับสนุน แต่เมื่อถึงวันเลือกตั้ง เมื่อถึงเวลาเดินเข้าคูหากาบัตรเลือกตั้ง ประชาชนส่วนใหญ่จะลงคะแนนให้รัฐบาลทหาร จนชนะอย่างท่วมท้นได้ครองอำนาจต่อไป
- นางซูจีจะเป็นเพียงผู้นำฝ่ายค้าน เป็นเพียงสัญลักษณ์ของไม้ประดับระบบประชาธิปไตยในพม่าเท่านั้น
- คนพม่าจะยอมขายเสียงให้รัฐบาลทหารหรือ
- คนพม่าอยู่ในภาวะที่อดอยาก ขัดสน ข้นแค้นกว่าคนไทย และเมื่อคนไทยยังขายเสียงได้ ทำไมคนพม่าจะไม่ขายเสียง
- นอกจากนั้น คนพม่าไม่ได้มีการศึกษาสูงกว่าคนไทย คนพม่าไม่ได้ฉลาดกว่าคนไทย ในเมื่อคนไทยซึ่งน่าจะฉลาดกว่า ยังยอมขายเสียง ยังยอมให้เงินฟาดหัวได้ ทำไมรัฐบาลทหารจะใช้เงินฟาดหัวคนพม่าไม่ได้
- อย่าว่าแต่นางอองซาน ซูจีคนเดียวเลย ต่อให้ 100 นางซูจี ก็ไม่มีวันชนะรัฐบาลทหารพม่าได้ ไม่มีวันสู้กับเงินที่จะละเลงมาในการเลือกตั้งที่ใกล้จะมีขึ้นได้
- พม่าจะเป็นประชาธิปไตยแล้ว คนไทยควรจะดีใจหรือเศร้าใจกันล่ะ เพราะประเด็นที่ควรค่าแก่การดีใจก็มีเหมือนกัน
- เพื่อนบ้านได้เป็นประชาธิปไตยแล้ว จะมีการเลือกตั้งแล้ว ก็น่าดีใจแทนพี่น้องชาวพม่า
- แต่ประชาธิปไตยที่ได้มา กลับเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ น่าเศร้าใจแทนชาวพม่าเหมือนกัน
- เพราะประชาธิปไตยอย่างไทยๆ ทุกวันนี้ ใครยังบังอาจภาคภูมิใจอีกหรือ เลือกตั้งทุกครั้ง ชนะกันด้วยเงินทั้งนั้น
- เลือกตั้งครั้งใหม่ในพม่า ก็ชนะกันด้วยเงินอีก
- ไม่อยากเชื่อ แต่บางทีก็ต้องเชื่อ ยุทธศาสตร์การสร้างประชาธิปไตยของรัฐบาลทหารพม่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้กำหนดชะตากรรมให้
โดย สุนันท์ ศรีจันทรา
- “ทวาย” เมืองท่าของประเทศพม่า กำลังถูกเนรมิตเป็นท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งนักลงทุนต่างชาติเตรียมแห่เข้าไปลงทุนกันขนานใหญ่ รวมทั้งนักลงทุนจากประเทศไทย โดยเฉพาะบริษัท อิตาเลี่ยนไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งลงหลักปักฐานรับสัมปทานสร้างถนนเชื่อมสู่ประเทศไทย และสร้างนิคมอุตสาหกรรมไปแล้ว
- พม่ากำลังเปิดประเทศ มีวางนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจขนานใหญ่ควบคู่กับการพัฒนาระบบการเมือง โดยเปิดทางสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และกำลังจะมีการเลือกตั้งครั้งแรกรอบหลายสิบปีในเร็วๆ นี้
- พม่าถูกแรงบีบจากยุโรปและสหรัฐฯ มายาวนาน เนื่องจากความมาเป็นประชาธิปไตย การลิดรอนสิทธิมนุษยชน เพราะมีระบอบการปกครองแบบเบ็ดเสร็จ โดยทหารเป็นผู้กุมอำนาจอย่างยาวนาน
- การพลิกตัวของพม่า โดยหันหน้าพัฒนาระบบประชาธิปไตย จึงเป็นการผ่อนคลายแรงกดดันจากนานาชาติ และยิ่งเปิดประเทศต้อนรับการลงทุนจากต่างชาติ โดยใช้ทวายเป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่ในภูมิภาค ทำให้กลุ่มทุนทั่วโลกพุ่งความสนใจ รวมทั้งกลุ่มทุนจากสหรัฐฯ ด้วย
- ประเทศที่เคยคัดค้านต่อต้านระบบการปกครองของพม่า ดูเหมือนว่าจะหันมายอมรับการเปลี่ยนแปลงในพม่า แสดงท่าทีสนับสนุนการพัฒนาระบบประชาธิปไตย และแทบไม่มีข้อสงสัยใดๆ กับท่าทีใหม่ของรัฐบาลทหาร
- มีคำถามว่า ถ้าเปิดให้มีการเลือกตั้ง หากนางอองซาน ซูจี สตรีเหล็ก ผู้นำฝ่ายค้านที่ต่อต้านรัฐบาลทหารเกิดชนะการเลือกตั้ง ทหารที่กุมอำนาจมาหลายสิบปี จะยอมให้นางอองซาน ซูจีขึ้นมาบริหารประเทศหรือ
- รัฐบาลทหารพม่าจะไม่หาเหตุ เพื่อล้มการเลือกตั้งอีกหรือ
- ถ้านางซูจี ชนะการเลือกตั้ง ก็คงเป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาลทหาร และอาจต้องลุกขึ้นมาล้มกระดาน
- แต่โจทย์ใหญ่ข้อนี้ถูกตีแตกแล้ว เพราะนางซูจีไม่มีวันชนะการเลือกตั้ง
- สูตรการปฏิรูปทางการเมือง เพื่อแปลงโฉมสู่ระบบประชาธิปไตยของพม่าถูกวางแผนไว้เรียบร้อยแล้ว โดยพม่าจากลอกระบบประชาธิปไตยของไทยเป็นต้นแบบ
- และมีเสียงพูดกันในหมู่คนพม่าว่า ผู้ที่อยู่เบื้องหลังจุดประกายความคิดพัฒนาระบบประชาธิปไตยชี้แนะวิธีการก็ไม่ใช่ใครที่ไหน นอกจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเคยสร้างบารมีไว้กับรัฐบาลทหารพม่า โดยนำเงินของเอ็กซิมแบงก์ไปปล่อยกู้จำนวน4,000 ล้านบาท สมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรี
- จริงไม่จริงไม่รู้ แต่พูดกันหนาหูว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการวางแนวทางพัฒนาระบบประชาธิปไตยให้รัฐบาลทหารพม่า โดยที่รัฐบาลพม่าไม่ต้องกลัวว่าจะสูญเสียอำนาจ แต่ยังกุมอำนาจอยู่ต่อไป และเป็นอำนาจที่ได้มาอย่างชอบธรรมเพราะผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งจะไม่ถูกนานาชาติคัดค้านต่อต้านเหมือนในอดีต
- ระบบประชาธิปไตยในพม่าที่กำลังจะเบ่งบานอีกครั้ง ถูกกำหนดไว้แล้ว การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นจะไม่แตกต่างจากการเลือกตั้งในประเทศไทย โดยปัจจัยชี้ขาดในชัยชนะอยู่ที่เงินซึ่งพม่าเตรียมไว้แล้ว
- สัมปทานการลงทุนต่างๆ ในพม่าหรือทวาย รัฐบาลทหารพม่าเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ และระบบการพิจารณาอนุมัติไม่แตกต่างจากโครงการสัมปทานในประเทศ โดยมีระบบหัวคิว ค่าต๋งหรือเงินใต้โต๊ะเหมือนกัน
- ส่วนกลุ่มทุนไทยที่สนใจจะเข้าไปลงทุนในพม่า การติดต่อรัฐบาลทหารพม่าโดยตรงอาจไม่ได้รับความสะดวกมากนัก ต้องติดต่อผ่านโบรกเกอร์ และผู้ที่ทำตัวเป็นหน้าเสื่อรับเป็นตัวกลางติดต่อขอสัมปทานต่างๆ ในพม่า ก็เป็นคนใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ
- ใครเป็นโบรกเกอร์วิ่งเต้นติดต่อเจรจาขอสัมปทานการลงทุนต่างๆ นักธุรกิจไทยที่จะเข้าไปลงทุนในพม่ารู้กันดี หรือจะลองถามอิตาเลียนไทยก็ได้
- เงินจากค่าต๋งค่าหัวคิวสัมปทานต่างๆ นั้น ถูกใช้เป็นแหล่งทุนอย่างดีสำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น และต้นทุนของระบบประชาธิปไตยในพม่าก็ยังต่ำอยู่ เพราะใช้เงินซื้อเสียงไม่มาก
- รัฐบาลพม่าต้องเร่งรัดพัฒนาระบบประชาธิปไตย ต้องรีบจัดให้มีการเลือกตั้ง เพราะถ้าปล่อยให้เวลาเนิ่นนานออกไป ต้นทุนของระบบประชาธิปไตยจะสูงขึ้น เนื่องจากจำนวนเงินที่จะซื้อเสียงสูงขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อและค่าครองชีพ
- ดังนั้น ยิ่งเป็นประชาธิปไตยเร็วเท่าไหร่ เลือกตั้งเร็วเท่าไหร่ รัฐบาลทหารพม่าก็ยิ่งใช้เงินน้อย แถมแหล่งเงินยังมีพร้อมอยู่แล้ว จะเปิดประเทศต้อนรับทุนจากต่างชาติ โดยทวายกลายเป็นแหล่งผลิตทุนการเมืองสำคัญของรัฐบาลทหาร
- แม้นางซูจีจะเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยในพม่า เป็นสตรีที่ทุ่มเทให้กับการต่อสู้เพื่อแผ่นดินพม่า และชาวพม่าส่วนใหญ่ให้ความศรัทธารักใคร่
- การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อหลายสิบปีก่อน นางซูจีชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น แต่ถูกปล้นชัยชนะ เพราะรัฐบาลทหารพม่าลุกขึ้นมาล้มกระดาน
- แต่การเลือกตั้งครั้งใหม่ แม้นางซูจีจะเป็นวีรสตรีของชาวพม่าอยู่เหมือนเดิม แต่จะไม่มีวันชนะอีก เพราะนางซูจีไม่ได้สู้กับรัฐบาลทหาร แต่สู้กับเงินของรัฐบาลทหารพม่า
- รูปแบบการเลือกตั้งของไทย จะถูกใช้เป็นต้นแบบการเลือกตั้งในพม่า และรัฐบาลทหารเตรียมแผนไว้แล้ว พร้อมทุ่มเต็มที่เพื่อเป็นหลักประกันว่า จะต้องชนะการเลือกตั้ง
- ตอนนี้ปล่อยให้นางซูจีเดินหาเสียงไปอย่างอิสระ ซึ่งประเมินแล้วเสียงของนางซูจีก็ดี มีประชาชนต้อนรับแสดงความสนับสนุน แต่เมื่อถึงวันเลือกตั้ง เมื่อถึงเวลาเดินเข้าคูหากาบัตรเลือกตั้ง ประชาชนส่วนใหญ่จะลงคะแนนให้รัฐบาลทหาร จนชนะอย่างท่วมท้นได้ครองอำนาจต่อไป
- นางซูจีจะเป็นเพียงผู้นำฝ่ายค้าน เป็นเพียงสัญลักษณ์ของไม้ประดับระบบประชาธิปไตยในพม่าเท่านั้น
- คนพม่าจะยอมขายเสียงให้รัฐบาลทหารหรือ
- คนพม่าอยู่ในภาวะที่อดอยาก ขัดสน ข้นแค้นกว่าคนไทย และเมื่อคนไทยยังขายเสียงได้ ทำไมคนพม่าจะไม่ขายเสียง
- นอกจากนั้น คนพม่าไม่ได้มีการศึกษาสูงกว่าคนไทย คนพม่าไม่ได้ฉลาดกว่าคนไทย ในเมื่อคนไทยซึ่งน่าจะฉลาดกว่า ยังยอมขายเสียง ยังยอมให้เงินฟาดหัวได้ ทำไมรัฐบาลทหารจะใช้เงินฟาดหัวคนพม่าไม่ได้
- อย่าว่าแต่นางอองซาน ซูจีคนเดียวเลย ต่อให้ 100 นางซูจี ก็ไม่มีวันชนะรัฐบาลทหารพม่าได้ ไม่มีวันสู้กับเงินที่จะละเลงมาในการเลือกตั้งที่ใกล้จะมีขึ้นได้
- พม่าจะเป็นประชาธิปไตยแล้ว คนไทยควรจะดีใจหรือเศร้าใจกันล่ะ เพราะประเด็นที่ควรค่าแก่การดีใจก็มีเหมือนกัน
- เพื่อนบ้านได้เป็นประชาธิปไตยแล้ว จะมีการเลือกตั้งแล้ว ก็น่าดีใจแทนพี่น้องชาวพม่า
- แต่ประชาธิปไตยที่ได้มา กลับเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ น่าเศร้าใจแทนชาวพม่าเหมือนกัน
- เพราะประชาธิปไตยอย่างไทยๆ ทุกวันนี้ ใครยังบังอาจภาคภูมิใจอีกหรือ เลือกตั้งทุกครั้ง ชนะกันด้วยเงินทั้งนั้น
- เลือกตั้งครั้งใหม่ในพม่า ก็ชนะกันด้วยเงินอีก
- ไม่อยากเชื่อ แต่บางทีก็ต้องเชื่อ ยุทธศาสตร์การสร้างประชาธิปไตยของรัฐบาลทหารพม่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้กำหนดชะตากรรมให้