ในบรรดาเหตุผลประดามีที่ยกมาคัดค้านว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจสั่งรัฐสภาได้นั้น นอกจากประเด็นที่ว่าในอำนาจอธิปไตยทั้งสามตามตำรา คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ต่างเป็นเป็นอิสระต่อกัน ไม่ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่ฟังแล้วดูสูงส่งมาก คือการบอกว่ารัฐสภานอกจากจะใช้อำนาจนิติบัญญัติซึ่งเป็น 1 ใน 3 อำนาจอธิปไตย อีกฐานภาพหนึ่งยังใช้อำนาจสูงสุดกว่านั้นอีก
“อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ”
อำนาจนี้ไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นอำนาจที่มีมาก่อนมีรัฐธรรมนูญ มาจากศัพท์วิชาการภาษาฝรั่งเศสว่า...
“Pouvoir Constituant”
ผมไม่ใช่ด็อกเตอร์อังดรัวต์ ไม่เคยเรียนต่างประเทศ ไม่ชำนาญภาษาต่างประเทศ แต่ความที่เคยเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่สนใจวิชากฎหมายมหาชนมาอย่างจริงจังตั้งแต่ช่วงปี 2535 เป็นต้นมา อ่านตำราและข้อเขียนของนักวิชาการมาบ้าง เคยเข้าไปอบรมหลักสูตรวิชากฎหมายมหาชนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เห็นคำคำนี้มาจนจำได้ ดูเหมือนนักวิชาการอย่างศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ และศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ จะเคยใช้คำแปลภาษาไทยว่า...
“อำนาจบัญญัติรัฐธรรมนูญและก่อตั้งองค์กรทางการเมือง”
สมัยรัชกาลที่ 5 ที่รับแนวคิดจากทางฝรั่งเศสเข้ามา มีคำแปลภาษาไทยที่เก๋ไปอีกอย่าง
“อำนาจตั้งแผ่นดิน”
แน่นอน ผมยอมรับว่า Pouvoir Constituant มีอยู่จริงแท้แน่นอน แม้จะไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญไม่ว่าฉบับใด
แต่ผมยังสงสัยว่า Pouvoir Constituant นี้เป็นของรัฐสภาแน่หรือ?
ผมยังค่อนข้างเชื่อว่า Pouvoir Constituant หรืออำนาจตั้งแผ่นดิน ไม่ได้เป็นของรัฐสภา แต่เป็นของพระมหากษัตริย์ร่วมกับปวงชนชาวไทยเสมอมานั้นแต่วันพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก (พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2475) ตามคำขอของคณะราษฎร เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475
เพราะรัฐสภาไม่ว่าชุดไหนๆ ก็เกิดหลังจากมีรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับแล้ว ไม่ใช่เป็นองค์กรที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้น จึงน่าจะใช้อำนาจได้จำกัดเฉพาะที่รัฐธรรมนูญระบุไว้ชัดเจนเท่านั้น จะมีอำนาจตั้งแผ่นดินอันไร้ขอบเขตจำกัดได้อย่างไร ไม่ชอบด้วยตรรกะ
เมื่อรัฐธรรมนูญ 2550 ให้อำนาจแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญไว้ในมาตรา 291 รัฐสภาชุดนี้ที่เกิดภายหลังก็ทำได้เพียงเท่านั้น จะแก้กี่มาตรากี่ครั้งก็ได้ แต่การตะแบงบอกว่าเพิ่มเติมหมวดใหม่อีกกว่า 10 มาตรา อันจะมีผลเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งทั้งฉบับแล้วโอนอำนาจไปให้องค์กรนอกรัฐธรรมนูญเขียนขึ้นใหม่โดยไร้กรอบหรือตามเป้าหมายซ่อนเร้นที่เตรียมการไว้ก่อน แล้วไปแล้วไปลับ ไม่กลับมาให้รัฐสภาอนุมัติอีก มันจึงไม่น่าจะชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ในขณะที่มาตรา 68 ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิทักษ์รัฐธรรมนูญไว้ไม่ให้ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้ผิดไปจากเจตนารมณ์ของ Pouvoir Constituant ที่แท้จริง
พวกที่โหมโฆษณาทฤษฎีว่าด้วย Pouvoir Constituant นี่ก็แปลก ในเมื่อท่านยืนยันว่าอำนาจนี้เป็นของรัฐสภา แต่ไม่เห็นให้เหตุผลทางทฤษฎีเท่าที่ควรเลยว่าเหตุใดร่างฯ แก้ไขมาตรา 291 จึงโอนอำนาจสูงสุดนี้ไปให้องค์กรอื่นเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยเกือบๆ จะไร้กรอบ และไม่หวนกลับมาอีกแม้ในขั้นตอนสุดท้ายอนุมัติหรือไม่อนุมัติ ซึ่งแตกต่างจากร่างฯ แก้ไขมาตรา 211 เมื่อปี 2539 ผมว่าประเด็นนี้แหละเป็นประเด็นสำคัญที่สุดที่น่านำสืบให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเยี่ยงนี้จะเป็นการขัดมาตรา 68 ได้อำนาจมาโดยวิถีนอกรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะมีรูปธรรมประจักษ์ชัดแล้ว ไม่ต้องรอถึงให้มี ส.ส.ร.มีร่างรัฐธรรมนูญใหม่เป็นมาตราๆ ก่อน
ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 นี้ผมอยากจะเรียกว่าฉบับมาตุฆาต-อัตวินิบาตกรรม!
เพราะถ้าเกิดสำเร็จก็เป็นการ 2 ฆ่า
ฆ่าแม่ – ทำลายรัฐธรรมนูญ 2550
ฆ่าตัวเอง – ทำลายอำนาจตามมาตรา 291 ของตัวเอง โอนไปให้องค์กรนอกรัฐธรรมนูญ
ผมหวังว่าศาลรัฐธรรมนูญท่านจะพิจารณาหลักการประเด็นนี้เป็นสำคัญในการวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฯ ฉบับมาตุฆาต-อัตวินิบาตกรรมขัดกับมาตรา 68 วรรคหนึ่งหรือไม่
รัฐธรรมนูญ 2550 มีลักษณะพิเศษที่ไม่ว่าใครก็ปฏิเสธไม่ได้ คือเป็นฉบับแรกและฉบับเดียวที่ผ่านการลงประชามติ เป็นเสมือนประชาธิปไตยทางตรง นี่คือ Pouvoir Constituant ในส่วนของปวงชนชาวไทยที่มีรูปธรรมชัดเจนเป็นครั้งแรก
ใน Pouvoir Constituant ส่วนของพระมหากษัตริย์นั้นโปรดอ่านคำปรารภของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ไม่เหมือนฉบับใด เพราะได้อ้างอิง “มติของมหาชน” ในการลงพระปรมาภิไธยไว้ด้วย และได้ทรงขอให้ปวงชนชาวไทยร่วมกันปฏิบัติตามและพิทักษ์รัฐธรรมนูญไว้
“ทรงพระราชดำริว่าสมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตามมติของมหาชน”
“ขอปวงชนชาวไทยจงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษฺ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และนำมาซึ่งความผาสุกสิริสวัสกดิ์พิพัฒนชัยมงคลอเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพรแก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระราชปณิธานปรารถนาทุกประการ เทอญ”
นี่คือระบอบการปกครองของไทยที่มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใคร
ก่อนเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หรืออันที่จริงก่อนเกิดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเสียอีก ในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งที่ 8 ณ สวนลุมพินีเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 ซึ่งกำลังถึงจุดเกือบๆ จะสูงสุด คุณสนธิ ลิ้มทองกุลจะต้องเสนอทางออกให้บ้านเมือง ไม่ใช่วิพากษ์รัฐบาลอย่างเดียว ก็ปรากฏว่ามีการนำมวลชน ณ ที่นั้นถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าจะร่วมกัน...
“ถวายคืนพระราชอำนาจ”
จากคำปฏิญาณนั้น เราจะพบว่าคำ “พระราชอำนาจ” ในที่นั้นหมายถึง “อำนาจตั้งแผ่นดิน” หรือ “อำนาจบัญญัติรัฐธรรมนูญและก่อตั้งองค์กรทางการเมือง” หรือ Pouvoir Constituant นี้แหละ
ไม่ได้หมายถึงการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีแม้แต่น้อย
ลองทบทวนย้อนกลับไปดูได้
เวลาผ่านมาเกือบ 7 ปีแล้ว ผ่านการเลือกตั้งมา 3 ครั้ง รัฐประหาร 1 ครั้ง จลาจลเผาบ้านเผาเมืองมา 2 ครั้ง ศาลตัดสินคดีสำคัญมาหลายคดี แต่สารัตถะของปัญหาบ้านเมืองยังไม่เปลี่ยนไปเท่าไร
คำปฏิญาณครั้งนั้นยังคงเป็นกรณีที่น่าศึกษาไม่น้อยในวันที่สังคมไทยกำลังถกเถียงกันเรื่องอำนาจตั้งแผ่นดิน!
“อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ”
อำนาจนี้ไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นอำนาจที่มีมาก่อนมีรัฐธรรมนูญ มาจากศัพท์วิชาการภาษาฝรั่งเศสว่า...
“Pouvoir Constituant”
ผมไม่ใช่ด็อกเตอร์อังดรัวต์ ไม่เคยเรียนต่างประเทศ ไม่ชำนาญภาษาต่างประเทศ แต่ความที่เคยเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่สนใจวิชากฎหมายมหาชนมาอย่างจริงจังตั้งแต่ช่วงปี 2535 เป็นต้นมา อ่านตำราและข้อเขียนของนักวิชาการมาบ้าง เคยเข้าไปอบรมหลักสูตรวิชากฎหมายมหาชนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เห็นคำคำนี้มาจนจำได้ ดูเหมือนนักวิชาการอย่างศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ และศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ จะเคยใช้คำแปลภาษาไทยว่า...
“อำนาจบัญญัติรัฐธรรมนูญและก่อตั้งองค์กรทางการเมือง”
สมัยรัชกาลที่ 5 ที่รับแนวคิดจากทางฝรั่งเศสเข้ามา มีคำแปลภาษาไทยที่เก๋ไปอีกอย่าง
“อำนาจตั้งแผ่นดิน”
แน่นอน ผมยอมรับว่า Pouvoir Constituant มีอยู่จริงแท้แน่นอน แม้จะไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญไม่ว่าฉบับใด
แต่ผมยังสงสัยว่า Pouvoir Constituant นี้เป็นของรัฐสภาแน่หรือ?
ผมยังค่อนข้างเชื่อว่า Pouvoir Constituant หรืออำนาจตั้งแผ่นดิน ไม่ได้เป็นของรัฐสภา แต่เป็นของพระมหากษัตริย์ร่วมกับปวงชนชาวไทยเสมอมานั้นแต่วันพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก (พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2475) ตามคำขอของคณะราษฎร เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475
เพราะรัฐสภาไม่ว่าชุดไหนๆ ก็เกิดหลังจากมีรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับแล้ว ไม่ใช่เป็นองค์กรที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้น จึงน่าจะใช้อำนาจได้จำกัดเฉพาะที่รัฐธรรมนูญระบุไว้ชัดเจนเท่านั้น จะมีอำนาจตั้งแผ่นดินอันไร้ขอบเขตจำกัดได้อย่างไร ไม่ชอบด้วยตรรกะ
เมื่อรัฐธรรมนูญ 2550 ให้อำนาจแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญไว้ในมาตรา 291 รัฐสภาชุดนี้ที่เกิดภายหลังก็ทำได้เพียงเท่านั้น จะแก้กี่มาตรากี่ครั้งก็ได้ แต่การตะแบงบอกว่าเพิ่มเติมหมวดใหม่อีกกว่า 10 มาตรา อันจะมีผลเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งทั้งฉบับแล้วโอนอำนาจไปให้องค์กรนอกรัฐธรรมนูญเขียนขึ้นใหม่โดยไร้กรอบหรือตามเป้าหมายซ่อนเร้นที่เตรียมการไว้ก่อน แล้วไปแล้วไปลับ ไม่กลับมาให้รัฐสภาอนุมัติอีก มันจึงไม่น่าจะชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ในขณะที่มาตรา 68 ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิทักษ์รัฐธรรมนูญไว้ไม่ให้ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้ผิดไปจากเจตนารมณ์ของ Pouvoir Constituant ที่แท้จริง
พวกที่โหมโฆษณาทฤษฎีว่าด้วย Pouvoir Constituant นี่ก็แปลก ในเมื่อท่านยืนยันว่าอำนาจนี้เป็นของรัฐสภา แต่ไม่เห็นให้เหตุผลทางทฤษฎีเท่าที่ควรเลยว่าเหตุใดร่างฯ แก้ไขมาตรา 291 จึงโอนอำนาจสูงสุดนี้ไปให้องค์กรอื่นเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยเกือบๆ จะไร้กรอบ และไม่หวนกลับมาอีกแม้ในขั้นตอนสุดท้ายอนุมัติหรือไม่อนุมัติ ซึ่งแตกต่างจากร่างฯ แก้ไขมาตรา 211 เมื่อปี 2539 ผมว่าประเด็นนี้แหละเป็นประเด็นสำคัญที่สุดที่น่านำสืบให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเยี่ยงนี้จะเป็นการขัดมาตรา 68 ได้อำนาจมาโดยวิถีนอกรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะมีรูปธรรมประจักษ์ชัดแล้ว ไม่ต้องรอถึงให้มี ส.ส.ร.มีร่างรัฐธรรมนูญใหม่เป็นมาตราๆ ก่อน
ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 นี้ผมอยากจะเรียกว่าฉบับมาตุฆาต-อัตวินิบาตกรรม!
เพราะถ้าเกิดสำเร็จก็เป็นการ 2 ฆ่า
ฆ่าแม่ – ทำลายรัฐธรรมนูญ 2550
ฆ่าตัวเอง – ทำลายอำนาจตามมาตรา 291 ของตัวเอง โอนไปให้องค์กรนอกรัฐธรรมนูญ
ผมหวังว่าศาลรัฐธรรมนูญท่านจะพิจารณาหลักการประเด็นนี้เป็นสำคัญในการวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฯ ฉบับมาตุฆาต-อัตวินิบาตกรรมขัดกับมาตรา 68 วรรคหนึ่งหรือไม่
รัฐธรรมนูญ 2550 มีลักษณะพิเศษที่ไม่ว่าใครก็ปฏิเสธไม่ได้ คือเป็นฉบับแรกและฉบับเดียวที่ผ่านการลงประชามติ เป็นเสมือนประชาธิปไตยทางตรง นี่คือ Pouvoir Constituant ในส่วนของปวงชนชาวไทยที่มีรูปธรรมชัดเจนเป็นครั้งแรก
ใน Pouvoir Constituant ส่วนของพระมหากษัตริย์นั้นโปรดอ่านคำปรารภของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ไม่เหมือนฉบับใด เพราะได้อ้างอิง “มติของมหาชน” ในการลงพระปรมาภิไธยไว้ด้วย และได้ทรงขอให้ปวงชนชาวไทยร่วมกันปฏิบัติตามและพิทักษ์รัฐธรรมนูญไว้
“ทรงพระราชดำริว่าสมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตามมติของมหาชน”
“ขอปวงชนชาวไทยจงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษฺ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และนำมาซึ่งความผาสุกสิริสวัสกดิ์พิพัฒนชัยมงคลอเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพรแก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระราชปณิธานปรารถนาทุกประการ เทอญ”
นี่คือระบอบการปกครองของไทยที่มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใคร
ก่อนเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หรืออันที่จริงก่อนเกิดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเสียอีก ในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งที่ 8 ณ สวนลุมพินีเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 ซึ่งกำลังถึงจุดเกือบๆ จะสูงสุด คุณสนธิ ลิ้มทองกุลจะต้องเสนอทางออกให้บ้านเมือง ไม่ใช่วิพากษ์รัฐบาลอย่างเดียว ก็ปรากฏว่ามีการนำมวลชน ณ ที่นั้นถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าจะร่วมกัน...
“ถวายคืนพระราชอำนาจ”
จากคำปฏิญาณนั้น เราจะพบว่าคำ “พระราชอำนาจ” ในที่นั้นหมายถึง “อำนาจตั้งแผ่นดิน” หรือ “อำนาจบัญญัติรัฐธรรมนูญและก่อตั้งองค์กรทางการเมือง” หรือ Pouvoir Constituant นี้แหละ
ไม่ได้หมายถึงการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีแม้แต่น้อย
ลองทบทวนย้อนกลับไปดูได้
เวลาผ่านมาเกือบ 7 ปีแล้ว ผ่านการเลือกตั้งมา 3 ครั้ง รัฐประหาร 1 ครั้ง จลาจลเผาบ้านเผาเมืองมา 2 ครั้ง ศาลตัดสินคดีสำคัญมาหลายคดี แต่สารัตถะของปัญหาบ้านเมืองยังไม่เปลี่ยนไปเท่าไร
คำปฏิญาณครั้งนั้นยังคงเป็นกรณีที่น่าศึกษาไม่น้อยในวันที่สังคมไทยกำลังถกเถียงกันเรื่องอำนาจตั้งแผ่นดิน!