ASTVผู้จัดการรายวัน- รายงาน กมธ.ปรองดองวันแรก“มาร์ค” จี้ “บิ๊กบัง” แจงเหตุผล ไม่สนคำทักท้วง พระปกเกล้า ยกข้อบังคับ96วรรค2กดดันให้แก้ไขรายงาน"วัฒนา" ยันขีดกรอบนิรโทษเฉพาะคดีการเมือง ด้าน “นิพิฏฐ์” ท้า หากล้มล้างคตส. ต้องพ่วงลบโทษให้ "สฤษดิ์-ถนอม" ส่วนเด็กพท.หยามสภาพระปกเกล้า ไล่พ้น “บวรศักดิ์”
เมื่อเวลา 17.30 น. วานนี้ (4 เม.ย.) ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญนิติบัญัติ มีการพิจารณาเรื่องที่กรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาเสร็จแล้ว เรื่องรับทราบ รายงานของกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ
** สังคมแตกแยกหนักต้องรีบปรองดอง
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ ในฐานะประธานกมธ.ปรองดองฯ นำเสนอรายงานดังกล่าวตอนหนึ่งว่า จากการศึกษาของกมธ.พบว่าความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น ได้สร้างความเสียหายต่อประเทศในขั้นสูงสุด จำเป็นที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการปรองดองให้เร็วที่สุด ปัจจัยสำคัญที่นำพาชาติก้าวข้ามความขัดแย้งครั้งนี้ ไปสู่การปรองดอง คือการใช้หลักเมตตาธรรม ให้อภัยซึ่งกันและกัน บนพื้นฐานหลักนิติธรรม ด้วยการคืนความถูกต้องชอบธรรมให้ทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมือง ตามที่นานาประเทศใช้เป็นเครื่องมือยุติความขัดแย้ง จะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย และเป็นหนทางสู่ความปรองดองในที่สุด
"ทุกฝ่ายต้องอยู่ในกรอบสันติวิธี เคารพความเห็นต่างๆ การสร้างความปรองดอง จึงเป็นเรื่องเร่งด่วน เพื่อให้สังคมไทยกลับคืนสู่ความสงบ รู้รักสามัคคี เมตตาธรรม และพร้อมให้อภัยซึ่งกันและกัน เพื่อความผาสุกความเจริญของชาติต่อไป โดยกมธ.ได้พิจารณาศึกษาเสร็จแล้ว จึงเสนอให้สภาฯพิจารณา โดยมุ่งหวังว่า จะได้รับความร่วมมือจากสภาช่วยหาแนวทางสร้างความปรองดอง เพื่อเสนอเป็นแนวทางในการสร้างความปรองดองต่อไป" พล.อ.สนธิ กล่าว
จากนั้นสมาชิกได้อภิปรายแสดงความเห็น โดยสมาชิกฝ่ายค้านได้พยายามเสนอให้สภาชะลอการพิจารณารายงานของกมธ.ออกไป โดยหยิบยกแถลงการณ์ของคณะกรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้า ฉบับล่าสุด ที่ยืนยันว่า งานวิจัยของสถาบันฯ ไม่ถือเป็นข้อสรุป หรือข้อเสนอแนะให้กมธ.นำไปดำเนินการ และยังเสนอให้สภาเพียงรับหลักการของรายงานกมธ.ดังกล่าวไว้ แล้วขยายเวลาสมัยประชุมสภาออกไป เพื่อจัดให้มีสานเสวนา ระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อน ตามข้อเสนอของสภาสถาบันฯ
ทั้งนี้ นายเชน เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ได้อ่านแถลงการณ์ ทั้งฉบับ ของสภาสถาบันพระปกเกล้าต่อที่ประชุม เพื่อยืนยันถึงเจตนารมณ์ที่แท้จริงของสภาสถาบันฯ
แต่นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ในฐานะเลขานุการ กมธ.ปรองดอง ชี้แจงว่า กมธ.ไม่อยากใช้เสียงข้างมากลากไป จึงดำริให้หาสถาบันฯ ที่มีความน่าเชื่อถือมาดำเนินการ และเปิดโอกาสให้แสดงความเห็น อย่างกว้างขวางพร้อมกับลงมติ ตนได้อ่านข้อสังเกตของกรรมการสภาสถาบันฯรู้สึกยินดี ที่ระบุว่า สถาบันฯ ยินดีและเป็นเกียรติ และจะอนุมัติให้คณะทำงานได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ เพราะเป็นปัญหาความขัดแย้งของบ้านเมือง และยังมีข้อความตอนหนึ่งว่า ...เมื่อมีการทักท้วง และวิพากษ์วิจารณ์ สถาบันฯ ก็ต้องลงไปตรวจสอบ และพบว่ากระบวนการศึกษาวิจัยมีความถูกต้องตามหลักวิชาการ และผู้วิจัยทำตามหลักเสรีภาพทางวิชาการ
ส่วนกรณีที่มีหนังสือแถลงจุดยืนต่อ กมธ. ว่าการรวบรัด ใช้เสียงข้างมากโดยไม่ฟังข้อเสนอแนะ จะนำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่ ขอเรียนว่า กมธ.ซีกรัฐบาล ไม่เคยมีความคิดใช้เสียงข้างมาก เราเคารพในงานวิจัย เมื่อรายงานฉบับสมบูรณ์ส่งมอบแล้ว ก็เป็นภาคส่วนหนึ่งของกมธ. เพราะจะมีภาคผนวกอื่นอีก เช่นการแก้ปัญหาภาคใต้ การวิจัยในส่วนภาคเอกชนทั้งใน และต่างประเทศ และฝ่ายความมั่นคง
ด้านนายวิทยา แก้วภารดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ แย้งว่า กมธ. ต้องอ่านถ้อยคำของสภาสถาบันฯให้ครบ อย่าเลือกหยิบแต่ข้อความที่เป็นประโยชน์ หรือสอดคล้องกับหัวใจตนเอง แต่ส่วนที่ไม่สอดคล้องกลับไม่อ่าน มิเช่นนั้น ความปรองดองจะไม่เกิดขึ้น
** ถาม"บัง"จะฟังส.พระปกเกล้าหรือไม่
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ขอใช้สิทธิ์ ในฐานะหนึ่งในกรรมาการสถาบันพระปกเกล้า อภิปรายว่า การประชุมของสภาสถาบันฯ กรรมการล้วนห่วงใยเรื่องการใช้งานวิจัยของคณะวิจัยที่ทำขึ้น ตามคำร้องขอของกมธ. จะไปใช้อ้างอิงในส่วนที่บิดเบือน
ส่วนที่นายชวลิต กล่าวว่า สบายใจที่เห็นว่ามีการนำข้อท้วงติงทุกฝ่ายมาตรวจสอบและปรับปรุงบางอย่าง แต่ต้องอ่านให้ครบว่า ทางสภาสถาบันฯ ยืนยันว่าอะไร โดยเฉพาะข้อที่ว่า ...ปัจจุบันบรรยากาศการปรองดองยังไม่เกิด หลายฝ่ายยังมีความเห็นขัดแย้ง จึงเสนอให้มีการสร้างบรรยากาศการปรองดอง ทั้งระดับบน คือฝ่ายการเมือง และระดับล่าง คือฝ่ายประชาชน ด้วยการจัดให้มีการพูดคุยหาทางออกร่วมกัน จนมีฉันทามติที่เหมาะสม เพื่อนำประเด็นไปหาทางออกร่วมกัน คณะกรรมการห็นว่าข้อเสนอดังกล่าวไม่ใช่ข้อปฏิบัติที่จะนำไปดำเนินการแต่อย่างใด
แต่รายงานของกมธ. ที่เสนอเข้ามาในสภาวันนี้ ไม่ตรงกับสิ่งที่คณะวิจัยยืนยัน จึงมีคำแถลงการณ์ออกมาโดยเสนอให้สภารับทราบรายงาน กมธ.ในชั้นหนึ่งก่อน และขยายเวลาประชุมออกไป เพื่อหาทางออกอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นข้อสรุป และจุดยืนที่สะท้อนออกมาของกรรมการสถาบันฯ เพราะหลายคนวิตกกังวลว่า ชื่อเสียงจะได้รับผลกระทบ หากมีการนำไปดำเนินการทางการเมืองที่มีผลจากการอ้างอิงไม่ถูกต้อง
ดังนั้นตนขอถามประธานกมธ.ว่า จะดำเนินการตามข้อเสนอของคณะผู้วิจัย และสถาบันพระปกเกล้า หรือไม่
** ซัดพระปกเกล้าร้อนตัวเกินเหตุ
นายพีรพันธุ์ พาลุสุข กมธ.ปรองดอง กล่าวว่า กมธ.ได้รับทราบรายงานของสถาบันฯ และมีหลายเรื่องที่ได้พูดคุยกัน แต่ยังไม่ได้เป็นข้อสรุปออกมา แต่แปลกใจว่าสถาบันพระปกเกล้า รู้ล่วงหน้าได้อย่างไรว่าสภาฯ จะมีมติอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งที่ไม่มีเลย มาบอกว่าอย่าอ้างอิงตอนใดตอนหนึ่ง ท่านอาจวิตกไป ส่วนที่แนะนำให้ขยายเวลาออกไป ให้ไปจัดเสวนาก่อน นั่นก็ถือเป็นข้อเสนอ พวกผมไปทำเองไม่ได้ จนกว่าพวกท่านทั้งหลายสภาฯ บอกว่าเห็นด้วย แล้วค่อยไปดำเนินการกันต่อ สิ่งที่วิตกเป็นเรื่องที่ท่านจินตนาการกันเอง มันยังไม่เกิด เมื่อสภาฯ มีมติอย่างไรแล้วนั่นจึงเป็นเรื่องที่เราต้องร่วมกันต่อไป ว่าจะเห็นด้วยกับรายงานของกมธ.ปรองดอง หรือรายงานของสถาบันพระปกเกล้า ไม่ใช่ว่าเราจะไปทำตามที่ท่านเสนอก่อนไมได้
ด้านนายอภิสิทธิ์ ชี้แจงอีกครั้งว่า สภาสถาบันพระปกเกล้า ก็มีข้อเสนอในแถลงการณ์ชัดเจนว่า ให้ไปทำเสวนาในการเปิดเวที และเขายินดีให้ความร่วมมือ ไม่ได้บอกล่วงหน้าว่าสภาฯ จะมีมติอย่างไร แต่บอกว่าถ้าเห็นสอดคล้องกับที่สถาบันพระปกเกล้าเสนอเท่านั้น และหากสภาฯ จะมีมติที่เปิดโอกาสให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไปดำเนินการไม่เป็นไปตามเจตนารมย์ ก็จะขอถอนรายงานกลับคืนมาเท่านั้น
หากท่านจะดำเนินการล้มคดี คตส. หรือการนิรโทษกรรม ซึ่งหากทำอย่างนั้น ก็ไม่มีความชอบธรรมที่จะไปอ้างรายงานการวิจัย ก็เท่านั้นเอง เพราะในรายงานของกมธ. มีหลายส่วนที่ไม่ชัดเจนจึงแกรงว่า จะเกิดความเข้าใจผิดจากสังคม
เพราะในบทที่ 5 ผลการศึกษาของกรรมาธิการนั้น ได้ระบุชัดเจนว่า ว่าเห็นด้วยกับข้อเสนอที่ว่าออกกฎหมายนิรโทษกรรม และลบล้างความผิดทางกฎหมายของ คตส.ทั้งที่ในงานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าไม่ได้ระบุเช่นนั้น
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ตามข้อบังคับการประชุมสภาฯ ข้อ 96 วรรคสอง ระบุให้ที่ประชุมสภาฯ แก้ไขเพิ่มเติมผลการพิจารณาของกมธ.ได้ ดังนั้นประเด็นนี้กมธ.ปรองดอง จะพิจารณาแก้ไขเพื่อให้เกิดความสบายใจของสังคมและสถาบันพระปกเกล้าหรือไม่
**"บิ๊กบัง" อ้างหน้าที่กมธ.จบแล้ว
ด้านพล.อ.สนธิ ลุกขึ้นตอบเพียงสั้นๆว่า ตนเดินบนหลักการ และวิถีทางวันนี้การรายงานของ กมธ.ปรองดองเสร็จแล้ว และได้นำเรื่องส่งสภาฯ ซึ่งถือว่าการทำงานของตนสมบูรณ์ และจบสิ้นลงแล้ว ส่วนจะทำอย่างไรเป็นหน้าที่ของสภาฯ
ต่อมานายวัฒนา เมืองสุข รองประธาน กมธ.ปรองดอง กล่าวว่า รายงานทั้งหมดไม่ได้ตัดทอน เกรงว่าคนที่อ่านรายงานไม่ครบถ้วน ไม่ใช่กรรมาธิการฯ หรือสมาชิกทั่วไป เหตุที่ต้องมีกระบวนการปรองดอง เพราะมีความขัดแย้งอันนำไปสู่ความสูญเสียมหาศาล เมื่อปี 2553 ยืนยันว่า จะนิรโทษกรรมเฉพาะคดีการเมือง จะไม่มีการนิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวกับการทุจริต คอร์รัปชัน ยืนว่าไม่มีใครในประเทศนี้ หรือในโลกนี้ทำแน่นอน ทั้งนี้ จากผลการศึกษาที่ได้มีการพูดคุยกับหน่วยงานทุกฝ่าย ต่างเห็นว่าความขัดแย้งของบ้านเมืองเป็นภัยต่อความมั่นคงในทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ในระดับสูงสุด เราจึงจำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการปรองดองโดยเร็ว ซึ่งหลักการปรองดองคือ การให้อภัยซึ่งกัน และกันที่ต้องอยู่บนหลักนิติธรรม ใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง คืนความชอบธรรมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ"
** ต้องเยียวยาก่อนสานเสวนา
นายวัฒนา กล่าวอีกว่า เรื่องการนิรโทษกรรม ไม่ได้หมายความว่า ทำเพื่อช่วยใครคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องบริหารด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้เกิดข้อขัดแย้ง ตนไม่ได้เรียกร้องให้ล้างผิดให้ใคร แต่เรียกร้องให้มีการดำเนินการให้ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งการคืนความถูกต้อง ต้องทำทันที ส่วนกระบวนการสานเสวนา เป็นกระบวนการสุดท้ายของการปรองดอง ไม่ใช่กระบวนการที่เกิดขึ้นก่อนการเยียวยาเด็ดขาด การเสนอให้เลื่อนการคืนความถูกต้อง ตนไม่เห็นด้วย เพราะความยุติธรรมที่ล่าช้าคือ การปฏิเสธความยุติธรรม ดังนั้น การนิรโทษกรรมและการคืนความชอบธรรมเพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม จึงต้องรีบทำทันที
** ล้มล้างคตส.ต้องลบโทษให้ “สฏษดิ์-ถนอม”ด้วย
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ อดีตกมธ.ปรองดองฯ อภิปรายยืนยันว่า ก่อนจะถึงปลายทางนั้น ต้องมีการทำตามขั้นตอน ความยุติธรรมไม่เกี่ยวกับเสียงข้างมาก คนจำนวนมาก ถ้าทำผิดกฏหมายก็ไม่อาจล้มล้างความผิดนั้นได้ เช่น นายกฯ คนหนึ่งได้รับเลือกตั้งมา 20 ล้านเสียง หากมีการทำทุจริต ผู้ที่จะพิจารณาคือผู้พิพากษา ตามกระบวนการยุติธรรมของรัฐไทย ซึ่งมีอยู่ 2-3 คนเท่านั้น จะอ้างว่ามาจากคน 20 ล้านเสียง ไม่ได้
ที่ผ่านมาประเทศไทย มีนายกฯ ที่ถูกยึดทรัพย์ เพียง 3 คน คือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยสองท่านแรก ถูกยึดทรัพย์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 17 หากจะมีการยกเลิกคำสั่ง คตส. ล้มล้างความผิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ แล้วอดีตนายกฯ สองคนที่ถูกคำสั่งของนายกฯ คนเดียว จะมีการนิรโทษกรรมย้อนหลังให้หรือไม่ เรื่องนี้ต้องมีคำตอบ หรือจะยกเลิกให้เฉพาะกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เท่านั้น
" ถ้าปลายทางเรื่องนี้ จะลงเอยด้วยล้มล้าง คตส. แล้วคืนทรัพย์ ยกเลิกความผิดให้พ.ต.ท.ทักษิณ เท่ากับยกเลิกคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นศาลสูงสุด ผมขอให้พ่วงท้าย จอมพลสฤษดิ์ และ จอมพลถนอม ไปด้วย เพราะไม่มีเหตุผลที่จะไม่ยกเลิกความผิดให้กับคนเหล่านี้ เพราะขั้นตอนการยึดทรัพย์ของอดีตนายกฯ ทั้ง 3 คนนั้นถูกศาลพิพากษาถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว ถ้าไม่ทำ แสดงว่าเลือกปฏิบัติ" นายนิพิฏฐ์ กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่จะประชุมจะใช้เวลารวม 13 ชั่วโมง โดยในวันที่ 4 เม.ย. จะพิจารณาถึงเที่ยงคืน แล้วไปต่อในวันที่ 5 เม.ย. หลังจากการพิจารณากระทู้ถามสดแล้ว จากนั้นจะพิจารณาจนกว่าแล้วเสร็จจนครบ 13 ชั่วโมง
บทสรุปสุดท้ายจะส่งเรื่องให้กับทางรัฐบาลนำไปพิจารณาว่าจะดำเนินการต่อผลการวิจัยฉบับนี้อย่างไร โดยช่วงท้ายของการพิจารณาจะมีการเปิดโหวต หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือรัฐบาล จะนำรายงานฉบับนี้ไปปฏิบัติในภาคส่วนของการสานเสวนา ส่วนข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า ที่ระบุว่าไม่ควรรีบเร่งพิจารณาสรุปให้รัฐบาล และควรขยายเวลาการพิจารณาของกมธ.ออกไปนั้น ตนก็งงว่าสถาบันพระปกเกล้า เป็นองค์กรลูกของรัฐสภา แต่กลับมาแทรกแซงการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งตนยืนยันว่าทางกมธ. จะไม่นำเรื่องนี้มาพิจารณาต่อ เพราะพิจารณาเสร็จแล้ว
** พท.ห้าว ไล่"บวรศักดิ์"ลาออก
อีกด้านส.ส.พรรคเพื่อไทย 9 คนนำโดย นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนมในฐานะประธาน กมธ.กิจการ สภาผู้แทนราษฎร ออกแถลงการณ์ ถึงกรณีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า อ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของงานวิจัย โดยจะขอรายงานกลับคืน หาก กมธ.ปรองดองฯไม่ดำเนินการตามข้อเสนอของคณะผู้วิจัย ว่า การแถลงนี้ มีเนื้อหาสั่งการ และข่มขู่ให้สภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติตาม ซึ่งมีลักษณะของการแทรกแซง ซึ่งตนและคณะรู้สึกผิดหวัง และไม่เห็นด้วยต่อท่าทีของสถาบันฯ ที่เป็นการบีบบังคับสภาฯ
ข้อสรุปของกมธ. จึงเกิดจากการฟังความเห็นของทุกฝ่าย ไม่จำกัดแค่งานวิจัยดังกล่าว และยืนยันว่ากมธ.ปรองดองได้ศึกษาผลวิจัยสมบูรณ์แล้ว จึงนำมาใช้เป็นข้อสรุป
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย และโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวเรียกร้องให้นายบวรศักดิ์ พิจารณาตัวเองออกจากตำแหน่ง
เมื่อเวลา 17.30 น. วานนี้ (4 เม.ย.) ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญนิติบัญัติ มีการพิจารณาเรื่องที่กรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาเสร็จแล้ว เรื่องรับทราบ รายงานของกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ
** สังคมแตกแยกหนักต้องรีบปรองดอง
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ ในฐานะประธานกมธ.ปรองดองฯ นำเสนอรายงานดังกล่าวตอนหนึ่งว่า จากการศึกษาของกมธ.พบว่าความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น ได้สร้างความเสียหายต่อประเทศในขั้นสูงสุด จำเป็นที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการปรองดองให้เร็วที่สุด ปัจจัยสำคัญที่นำพาชาติก้าวข้ามความขัดแย้งครั้งนี้ ไปสู่การปรองดอง คือการใช้หลักเมตตาธรรม ให้อภัยซึ่งกันและกัน บนพื้นฐานหลักนิติธรรม ด้วยการคืนความถูกต้องชอบธรรมให้ทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมือง ตามที่นานาประเทศใช้เป็นเครื่องมือยุติความขัดแย้ง จะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย และเป็นหนทางสู่ความปรองดองในที่สุด
"ทุกฝ่ายต้องอยู่ในกรอบสันติวิธี เคารพความเห็นต่างๆ การสร้างความปรองดอง จึงเป็นเรื่องเร่งด่วน เพื่อให้สังคมไทยกลับคืนสู่ความสงบ รู้รักสามัคคี เมตตาธรรม และพร้อมให้อภัยซึ่งกันและกัน เพื่อความผาสุกความเจริญของชาติต่อไป โดยกมธ.ได้พิจารณาศึกษาเสร็จแล้ว จึงเสนอให้สภาฯพิจารณา โดยมุ่งหวังว่า จะได้รับความร่วมมือจากสภาช่วยหาแนวทางสร้างความปรองดอง เพื่อเสนอเป็นแนวทางในการสร้างความปรองดองต่อไป" พล.อ.สนธิ กล่าว
จากนั้นสมาชิกได้อภิปรายแสดงความเห็น โดยสมาชิกฝ่ายค้านได้พยายามเสนอให้สภาชะลอการพิจารณารายงานของกมธ.ออกไป โดยหยิบยกแถลงการณ์ของคณะกรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้า ฉบับล่าสุด ที่ยืนยันว่า งานวิจัยของสถาบันฯ ไม่ถือเป็นข้อสรุป หรือข้อเสนอแนะให้กมธ.นำไปดำเนินการ และยังเสนอให้สภาเพียงรับหลักการของรายงานกมธ.ดังกล่าวไว้ แล้วขยายเวลาสมัยประชุมสภาออกไป เพื่อจัดให้มีสานเสวนา ระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อน ตามข้อเสนอของสภาสถาบันฯ
ทั้งนี้ นายเชน เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ได้อ่านแถลงการณ์ ทั้งฉบับ ของสภาสถาบันพระปกเกล้าต่อที่ประชุม เพื่อยืนยันถึงเจตนารมณ์ที่แท้จริงของสภาสถาบันฯ
แต่นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ในฐานะเลขานุการ กมธ.ปรองดอง ชี้แจงว่า กมธ.ไม่อยากใช้เสียงข้างมากลากไป จึงดำริให้หาสถาบันฯ ที่มีความน่าเชื่อถือมาดำเนินการ และเปิดโอกาสให้แสดงความเห็น อย่างกว้างขวางพร้อมกับลงมติ ตนได้อ่านข้อสังเกตของกรรมการสภาสถาบันฯรู้สึกยินดี ที่ระบุว่า สถาบันฯ ยินดีและเป็นเกียรติ และจะอนุมัติให้คณะทำงานได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ เพราะเป็นปัญหาความขัดแย้งของบ้านเมือง และยังมีข้อความตอนหนึ่งว่า ...เมื่อมีการทักท้วง และวิพากษ์วิจารณ์ สถาบันฯ ก็ต้องลงไปตรวจสอบ และพบว่ากระบวนการศึกษาวิจัยมีความถูกต้องตามหลักวิชาการ และผู้วิจัยทำตามหลักเสรีภาพทางวิชาการ
ส่วนกรณีที่มีหนังสือแถลงจุดยืนต่อ กมธ. ว่าการรวบรัด ใช้เสียงข้างมากโดยไม่ฟังข้อเสนอแนะ จะนำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่ ขอเรียนว่า กมธ.ซีกรัฐบาล ไม่เคยมีความคิดใช้เสียงข้างมาก เราเคารพในงานวิจัย เมื่อรายงานฉบับสมบูรณ์ส่งมอบแล้ว ก็เป็นภาคส่วนหนึ่งของกมธ. เพราะจะมีภาคผนวกอื่นอีก เช่นการแก้ปัญหาภาคใต้ การวิจัยในส่วนภาคเอกชนทั้งใน และต่างประเทศ และฝ่ายความมั่นคง
ด้านนายวิทยา แก้วภารดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ แย้งว่า กมธ. ต้องอ่านถ้อยคำของสภาสถาบันฯให้ครบ อย่าเลือกหยิบแต่ข้อความที่เป็นประโยชน์ หรือสอดคล้องกับหัวใจตนเอง แต่ส่วนที่ไม่สอดคล้องกลับไม่อ่าน มิเช่นนั้น ความปรองดองจะไม่เกิดขึ้น
** ถาม"บัง"จะฟังส.พระปกเกล้าหรือไม่
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ขอใช้สิทธิ์ ในฐานะหนึ่งในกรรมาการสถาบันพระปกเกล้า อภิปรายว่า การประชุมของสภาสถาบันฯ กรรมการล้วนห่วงใยเรื่องการใช้งานวิจัยของคณะวิจัยที่ทำขึ้น ตามคำร้องขอของกมธ. จะไปใช้อ้างอิงในส่วนที่บิดเบือน
ส่วนที่นายชวลิต กล่าวว่า สบายใจที่เห็นว่ามีการนำข้อท้วงติงทุกฝ่ายมาตรวจสอบและปรับปรุงบางอย่าง แต่ต้องอ่านให้ครบว่า ทางสภาสถาบันฯ ยืนยันว่าอะไร โดยเฉพาะข้อที่ว่า ...ปัจจุบันบรรยากาศการปรองดองยังไม่เกิด หลายฝ่ายยังมีความเห็นขัดแย้ง จึงเสนอให้มีการสร้างบรรยากาศการปรองดอง ทั้งระดับบน คือฝ่ายการเมือง และระดับล่าง คือฝ่ายประชาชน ด้วยการจัดให้มีการพูดคุยหาทางออกร่วมกัน จนมีฉันทามติที่เหมาะสม เพื่อนำประเด็นไปหาทางออกร่วมกัน คณะกรรมการห็นว่าข้อเสนอดังกล่าวไม่ใช่ข้อปฏิบัติที่จะนำไปดำเนินการแต่อย่างใด
แต่รายงานของกมธ. ที่เสนอเข้ามาในสภาวันนี้ ไม่ตรงกับสิ่งที่คณะวิจัยยืนยัน จึงมีคำแถลงการณ์ออกมาโดยเสนอให้สภารับทราบรายงาน กมธ.ในชั้นหนึ่งก่อน และขยายเวลาประชุมออกไป เพื่อหาทางออกอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นข้อสรุป และจุดยืนที่สะท้อนออกมาของกรรมการสถาบันฯ เพราะหลายคนวิตกกังวลว่า ชื่อเสียงจะได้รับผลกระทบ หากมีการนำไปดำเนินการทางการเมืองที่มีผลจากการอ้างอิงไม่ถูกต้อง
ดังนั้นตนขอถามประธานกมธ.ว่า จะดำเนินการตามข้อเสนอของคณะผู้วิจัย และสถาบันพระปกเกล้า หรือไม่
** ซัดพระปกเกล้าร้อนตัวเกินเหตุ
นายพีรพันธุ์ พาลุสุข กมธ.ปรองดอง กล่าวว่า กมธ.ได้รับทราบรายงานของสถาบันฯ และมีหลายเรื่องที่ได้พูดคุยกัน แต่ยังไม่ได้เป็นข้อสรุปออกมา แต่แปลกใจว่าสถาบันพระปกเกล้า รู้ล่วงหน้าได้อย่างไรว่าสภาฯ จะมีมติอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งที่ไม่มีเลย มาบอกว่าอย่าอ้างอิงตอนใดตอนหนึ่ง ท่านอาจวิตกไป ส่วนที่แนะนำให้ขยายเวลาออกไป ให้ไปจัดเสวนาก่อน นั่นก็ถือเป็นข้อเสนอ พวกผมไปทำเองไม่ได้ จนกว่าพวกท่านทั้งหลายสภาฯ บอกว่าเห็นด้วย แล้วค่อยไปดำเนินการกันต่อ สิ่งที่วิตกเป็นเรื่องที่ท่านจินตนาการกันเอง มันยังไม่เกิด เมื่อสภาฯ มีมติอย่างไรแล้วนั่นจึงเป็นเรื่องที่เราต้องร่วมกันต่อไป ว่าจะเห็นด้วยกับรายงานของกมธ.ปรองดอง หรือรายงานของสถาบันพระปกเกล้า ไม่ใช่ว่าเราจะไปทำตามที่ท่านเสนอก่อนไมได้
ด้านนายอภิสิทธิ์ ชี้แจงอีกครั้งว่า สภาสถาบันพระปกเกล้า ก็มีข้อเสนอในแถลงการณ์ชัดเจนว่า ให้ไปทำเสวนาในการเปิดเวที และเขายินดีให้ความร่วมมือ ไม่ได้บอกล่วงหน้าว่าสภาฯ จะมีมติอย่างไร แต่บอกว่าถ้าเห็นสอดคล้องกับที่สถาบันพระปกเกล้าเสนอเท่านั้น และหากสภาฯ จะมีมติที่เปิดโอกาสให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไปดำเนินการไม่เป็นไปตามเจตนารมย์ ก็จะขอถอนรายงานกลับคืนมาเท่านั้น
หากท่านจะดำเนินการล้มคดี คตส. หรือการนิรโทษกรรม ซึ่งหากทำอย่างนั้น ก็ไม่มีความชอบธรรมที่จะไปอ้างรายงานการวิจัย ก็เท่านั้นเอง เพราะในรายงานของกมธ. มีหลายส่วนที่ไม่ชัดเจนจึงแกรงว่า จะเกิดความเข้าใจผิดจากสังคม
เพราะในบทที่ 5 ผลการศึกษาของกรรมาธิการนั้น ได้ระบุชัดเจนว่า ว่าเห็นด้วยกับข้อเสนอที่ว่าออกกฎหมายนิรโทษกรรม และลบล้างความผิดทางกฎหมายของ คตส.ทั้งที่ในงานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าไม่ได้ระบุเช่นนั้น
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ตามข้อบังคับการประชุมสภาฯ ข้อ 96 วรรคสอง ระบุให้ที่ประชุมสภาฯ แก้ไขเพิ่มเติมผลการพิจารณาของกมธ.ได้ ดังนั้นประเด็นนี้กมธ.ปรองดอง จะพิจารณาแก้ไขเพื่อให้เกิดความสบายใจของสังคมและสถาบันพระปกเกล้าหรือไม่
**"บิ๊กบัง" อ้างหน้าที่กมธ.จบแล้ว
ด้านพล.อ.สนธิ ลุกขึ้นตอบเพียงสั้นๆว่า ตนเดินบนหลักการ และวิถีทางวันนี้การรายงานของ กมธ.ปรองดองเสร็จแล้ว และได้นำเรื่องส่งสภาฯ ซึ่งถือว่าการทำงานของตนสมบูรณ์ และจบสิ้นลงแล้ว ส่วนจะทำอย่างไรเป็นหน้าที่ของสภาฯ
ต่อมานายวัฒนา เมืองสุข รองประธาน กมธ.ปรองดอง กล่าวว่า รายงานทั้งหมดไม่ได้ตัดทอน เกรงว่าคนที่อ่านรายงานไม่ครบถ้วน ไม่ใช่กรรมาธิการฯ หรือสมาชิกทั่วไป เหตุที่ต้องมีกระบวนการปรองดอง เพราะมีความขัดแย้งอันนำไปสู่ความสูญเสียมหาศาล เมื่อปี 2553 ยืนยันว่า จะนิรโทษกรรมเฉพาะคดีการเมือง จะไม่มีการนิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวกับการทุจริต คอร์รัปชัน ยืนว่าไม่มีใครในประเทศนี้ หรือในโลกนี้ทำแน่นอน ทั้งนี้ จากผลการศึกษาที่ได้มีการพูดคุยกับหน่วยงานทุกฝ่าย ต่างเห็นว่าความขัดแย้งของบ้านเมืองเป็นภัยต่อความมั่นคงในทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ในระดับสูงสุด เราจึงจำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการปรองดองโดยเร็ว ซึ่งหลักการปรองดองคือ การให้อภัยซึ่งกัน และกันที่ต้องอยู่บนหลักนิติธรรม ใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง คืนความชอบธรรมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ"
** ต้องเยียวยาก่อนสานเสวนา
นายวัฒนา กล่าวอีกว่า เรื่องการนิรโทษกรรม ไม่ได้หมายความว่า ทำเพื่อช่วยใครคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องบริหารด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้เกิดข้อขัดแย้ง ตนไม่ได้เรียกร้องให้ล้างผิดให้ใคร แต่เรียกร้องให้มีการดำเนินการให้ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งการคืนความถูกต้อง ต้องทำทันที ส่วนกระบวนการสานเสวนา เป็นกระบวนการสุดท้ายของการปรองดอง ไม่ใช่กระบวนการที่เกิดขึ้นก่อนการเยียวยาเด็ดขาด การเสนอให้เลื่อนการคืนความถูกต้อง ตนไม่เห็นด้วย เพราะความยุติธรรมที่ล่าช้าคือ การปฏิเสธความยุติธรรม ดังนั้น การนิรโทษกรรมและการคืนความชอบธรรมเพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม จึงต้องรีบทำทันที
** ล้มล้างคตส.ต้องลบโทษให้ “สฏษดิ์-ถนอม”ด้วย
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ อดีตกมธ.ปรองดองฯ อภิปรายยืนยันว่า ก่อนจะถึงปลายทางนั้น ต้องมีการทำตามขั้นตอน ความยุติธรรมไม่เกี่ยวกับเสียงข้างมาก คนจำนวนมาก ถ้าทำผิดกฏหมายก็ไม่อาจล้มล้างความผิดนั้นได้ เช่น นายกฯ คนหนึ่งได้รับเลือกตั้งมา 20 ล้านเสียง หากมีการทำทุจริต ผู้ที่จะพิจารณาคือผู้พิพากษา ตามกระบวนการยุติธรรมของรัฐไทย ซึ่งมีอยู่ 2-3 คนเท่านั้น จะอ้างว่ามาจากคน 20 ล้านเสียง ไม่ได้
ที่ผ่านมาประเทศไทย มีนายกฯ ที่ถูกยึดทรัพย์ เพียง 3 คน คือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยสองท่านแรก ถูกยึดทรัพย์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 17 หากจะมีการยกเลิกคำสั่ง คตส. ล้มล้างความผิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ แล้วอดีตนายกฯ สองคนที่ถูกคำสั่งของนายกฯ คนเดียว จะมีการนิรโทษกรรมย้อนหลังให้หรือไม่ เรื่องนี้ต้องมีคำตอบ หรือจะยกเลิกให้เฉพาะกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เท่านั้น
" ถ้าปลายทางเรื่องนี้ จะลงเอยด้วยล้มล้าง คตส. แล้วคืนทรัพย์ ยกเลิกความผิดให้พ.ต.ท.ทักษิณ เท่ากับยกเลิกคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นศาลสูงสุด ผมขอให้พ่วงท้าย จอมพลสฤษดิ์ และ จอมพลถนอม ไปด้วย เพราะไม่มีเหตุผลที่จะไม่ยกเลิกความผิดให้กับคนเหล่านี้ เพราะขั้นตอนการยึดทรัพย์ของอดีตนายกฯ ทั้ง 3 คนนั้นถูกศาลพิพากษาถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว ถ้าไม่ทำ แสดงว่าเลือกปฏิบัติ" นายนิพิฏฐ์ กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่จะประชุมจะใช้เวลารวม 13 ชั่วโมง โดยในวันที่ 4 เม.ย. จะพิจารณาถึงเที่ยงคืน แล้วไปต่อในวันที่ 5 เม.ย. หลังจากการพิจารณากระทู้ถามสดแล้ว จากนั้นจะพิจารณาจนกว่าแล้วเสร็จจนครบ 13 ชั่วโมง
บทสรุปสุดท้ายจะส่งเรื่องให้กับทางรัฐบาลนำไปพิจารณาว่าจะดำเนินการต่อผลการวิจัยฉบับนี้อย่างไร โดยช่วงท้ายของการพิจารณาจะมีการเปิดโหวต หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือรัฐบาล จะนำรายงานฉบับนี้ไปปฏิบัติในภาคส่วนของการสานเสวนา ส่วนข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า ที่ระบุว่าไม่ควรรีบเร่งพิจารณาสรุปให้รัฐบาล และควรขยายเวลาการพิจารณาของกมธ.ออกไปนั้น ตนก็งงว่าสถาบันพระปกเกล้า เป็นองค์กรลูกของรัฐสภา แต่กลับมาแทรกแซงการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งตนยืนยันว่าทางกมธ. จะไม่นำเรื่องนี้มาพิจารณาต่อ เพราะพิจารณาเสร็จแล้ว
** พท.ห้าว ไล่"บวรศักดิ์"ลาออก
อีกด้านส.ส.พรรคเพื่อไทย 9 คนนำโดย นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนมในฐานะประธาน กมธ.กิจการ สภาผู้แทนราษฎร ออกแถลงการณ์ ถึงกรณีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า อ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของงานวิจัย โดยจะขอรายงานกลับคืน หาก กมธ.ปรองดองฯไม่ดำเนินการตามข้อเสนอของคณะผู้วิจัย ว่า การแถลงนี้ มีเนื้อหาสั่งการ และข่มขู่ให้สภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติตาม ซึ่งมีลักษณะของการแทรกแซง ซึ่งตนและคณะรู้สึกผิดหวัง และไม่เห็นด้วยต่อท่าทีของสถาบันฯ ที่เป็นการบีบบังคับสภาฯ
ข้อสรุปของกมธ. จึงเกิดจากการฟังความเห็นของทุกฝ่าย ไม่จำกัดแค่งานวิจัยดังกล่าว และยืนยันว่ากมธ.ปรองดองได้ศึกษาผลวิจัยสมบูรณ์แล้ว จึงนำมาใช้เป็นข้อสรุป
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย และโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวเรียกร้องให้นายบวรศักดิ์ พิจารณาตัวเองออกจากตำแหน่ง