วันนี้ (13 มิ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีที่สหรัฐฯ ขอใช้สนามบินอู่ตะเภา เป็นสถานที่พัฒนาเทคโนโลยีทางอากาศ แต่ต่อมามีการพูดกันว่า จะใช้เพื่อการช่วยเหลือกรณีเกิดภัยพิบัติในภูมิภาคนี้ โดยล่าสุดกระทรวงการต่างประเทศระบุว่า กรณีนี้ไม่เข้ามาตรา 190 ไม่ต้องเข้าที่ประชุมรัฐสภา และรองโฆษกรัฐบาล กล่าวว่าเป็นเรื่องที่ริเริ่มมาในสมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว ว่า เรื่องที่ได้ริเริ่มในสมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว คือแนวคิดในการใช้สนามบินอู่ตะเภาใน 2 ด้าน คือ ด้านการช่วยเหลือเรื่องภัยพิบัติ กับการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม ซึ่งเป็นการพูดในลักษณะความร่วมมือแบบพหุภาคี
แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ เป็นเรื่องระหว่าง สหรัฐฯ กับไทย ซึ่งคำขอในลักษณะนี้ เท่าที่ทราบเคยส่งเข้ามาในช่วงการเลือกตั้ง
" คือรองโฆษกฯ นี่ก็คงพยายามหาประเด็นทางการเมืองเท่านั้นเอง หามุมทางการเมือง ความจริงควรไปศึกษาข้อมูลก่อน ความจริงแล้วแนวคิดของการใช้สนามบินอู่ตะเภา ในรัฐบาลที่แล้วนั้น มีครับ แต่การพูดถึงการใช้สนามบินอู่ตะเภา ในรัฐบาลที่แล้ว ที่เราไปพูดในเวทีต่างๆ นั้นเราจะเน้นย้ำใน 2 ด้าน ด้านหนึ่งก็คือว่า ภารกิจของมันค่อนข้างชัด ก็คือว่าเป็นเรื่องของการที่จะมาช่วยเหลือเรื่องภัยพิบัติ กับการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม ซึ่งมันมาในกรอบความคิดที่ไปโยงถึงด้านที่ 2 ก็คือว่า เราพูดกันในลักษณะของการเป็นความร่วมมือพหุภาคี เช่น อาเซียน เป็นภูมิภาคซึ่งเจอภัยพิบัติบ่อย เช่น ฟิลิปปินส์ เจอพายุ อินโดนีเซีย เจอกับแผ่นดินไหว ไทย เขมร ลาว เวียดนาม พม่า เจอน้ำท่วม แต่ว่าการที่จะมีระบบของการที่จะช่วยเหลือ ดูแลซึ่งกันและกัน แล้วก็มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะใช้ เราก็พูดถึงว่า อู่ตะเภา ทำตรงนี้ได้ เพราะฉะนั้นอันนี้ คือสิ่งที่เป็นการพูด แล้วก็พูดในแง่ของการเป็นความร่วมมือทั้งในภูมิภาค พูดถึงเรื่องสหประชาชาติ พูดถึงเรื่องของมิตรประเทศต่างๆ
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ มันเป็นเรื่องระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ซึ่งปลายทางที่บอกว่า จะมาใช้เพื่อเรื่องนี้ก็ต้องมีความชัดเจนว่า มันเป็นการใช้โดยใคร อย่างไร เป็นเรื่องของสหรัฐฯ หรือเป็นเรื่องของภูมิภาคของประเทศอื่นๆ ถ้าเป็นเรื่องของการตกลงทวิภาคีระหว่างไทย กับสหรัฐฯ อันนี้คงไม่ใช่แนวทางที่เราเคยวางเอาไว้ตั้งแต่ต้น
ส่วนคำขอในกรณีนี้ เท่าที่ทราบนั้น ส่งเข้ามาที่รัฐบาลไทย เป็นช่วงของการเลือกตั้ง แล้วก็รัฐบาลที่แล้วยังไม่ได้มีการพิจารณาอะไร ประมาณ มิ.ย. 54 ผมตรวจสอบข้อมูลในขณะนี้ แต่ว่าในส่วนรัฐบาลเอง ยังไม่ได้ทำอะไร เพราะขณะนั้นก็คงไม่อยู่ในฐานะที่จะไปตัดสินใจในทางนโยบายได้แล้ว เพราะว่ารัฐธรรมนูญก็กำหนดเอาไว้
ดังนั้นการพยายามจะมาพูดเป็นเรื่องมุมทางการเมืองว่า รัฐบาลที่แล้วเริ่มไว้อะไรนั้น ผมว่าเป็นเรื่องซึ่งเป็นการเมืองที่ค่อนข้างจะไร้สาระ เอาข้อเท็จจริงมาดูกันดีกว่า ว่าคำขอนั้นเมื่อมันเกิดขึ้นมาช่วงเลือกตั้ง ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลนี้พิจารณา รัฐบาลนี้พิจารณาอยากจะใช้อู่ตะเภา มีเหตุผลอะไรก็ว่ากันไป แต่ว่าการพยายามที่จะปัดไปบอกเป็นเรื่องรัฐบาลที่แล้วนั้น ผมก็ต้องบอกว่า รัฐบาลที่แล้วเราคิดเรื่องอู่ตะเภานั้น เราคิดในกรอบที่มันกว้างกว่านี้เยอะ
ทั้งนี้ สิ่งที่เป็นการวิพากษ์ วิจารณ์ในขณะนี้ คือ 1. คำยืนยันที่ว่า เขาจะมาทำอะไร ซึ่งมาจากทางหน่วยงานของรัฐบาลไทย กับข้อมูลซึ่งปรากฏผ่านคำสัมภาษณ์ของบุคคลระดับสูงของสหรัฐฯ ดูแล้วยังไม่ค่อยตรงกัน คือ ฟังจากทางนู้นแล้วมันมีอะไรมากกว่านี้ เพราะฉะนั้น ตรงนี้คือสิ่งที่
1. คนก็เรียกร้องว่ามันต้องมีความโปร่งใส ท่านก็ต้องชี้แจงไปครับ ไม่ใช่พยายามจะบอกว่า อ๋อ มันเป็นเรื่องรัฐบาลที่แล้ว อะไรอย่างนี้
ข้อที่ 2 ก็คือว่า นอกเหนือจากประเด็นความโปร่งใส ว่ามาทำอะไร อย่างไร แล้ว ที่คนเขากังวลก็คือว่า มิตรประเทศของเราในภูมิภาค อย่างเช่น จีน เขาเข้าใจเราหรือไม่ ว่ามันเป็นเรื่องอะไร เพราะสหรัฐฯ ก็มีแนวทางซึ่งเขาใช้คำว่า กลยุทธหรือยุทธศาสตร์ที่ปิดล้อม ใช้คำว่าปิดล้อมประเทศจีน เราเคยได้ยินกันอยู่ เราก็ต้องให้ยืนอยู่ในความสบายใจว่า เอ๊ะ เราเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้หรือเปล่า หรือไม่ใช่ นี่คือสิ่งที่เขาเรียกร้อง รัฐบาลก็มีหน้าที่ในการชี้แจงไป
ส่วนประเด็นที่มีข้อครหาอีกประเด็นหนึ่ง ก็คือว่าแล้วเรื่องนี้คุณทักษิณไปต่อรองอะไรกับเขาด้วยหรือเปล่า เพราะว่า ก็ชอบไปมีการไปยุ่ง ไปโผล่ตามที่ต่างๆ เหมือนกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับชายแดนภาคใต้ กับที่มาเลเซีย"
" เราเป็นการนำเสนอในเชิงความคิด แต่ว่าหลักนั้น ผมคิดว่าเราพูดถึงอาเซียน เราพูดถึงสหประชาชาติ คือเรากำลังจะบอกกับประเทศต่างๆ ว่า เรามีโครงสร้างพื้นฐานตรงนี้นะ ซึ่งมันน่าจะใช้ประโยชน์ได้ในเรื่องของมนุษยธรรม ในเรื่องของภัยพิบัติ แล้วก็สามารถที่จะตอบสนองความต้องการ ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย แต่ว่าในภูมิภาค เพราะฉะนั้นการทำงานในเรื่องเหล่านี้ทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่มันพูดถึงกรอบความร่วมมือในระดับของพหุภาคี แต่แน่นอนเราไม่ปฏิเสธนะครับ มีมิตรประเทศไหนที่อยากจะสนใจเข้ามาร่วมในลักษณะนี้ ประเทศใดประเทศหนึ่งก็สามารถทำได้ แต่ว่าเมื่อมีการเป็นข้อเสนอเข้ามา ก็ต้องมาพิจารณาว่ามันสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของนโยบายต่างประเทศ มันสอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่เรานำเสนอหรือไม่”
" คือไม่ได้พูดกันในรายละเอียดที่ไปบอกว่า เข้ามาแล้ว จะไปยกพื้นที่ให้ไปใช้เพื่อประโยชน์ของประเทศใด ประเทศหนึ่ง หรือถ้ามันเป็นโครงการที่จะทำ มันก็ต้องบอกว่าประเทศนั้น ส่วนร่วมคืออะไร ประเทศอื่นเขาจะมาร่วมด้วยได้หรือไม่ คือสหรัฐฯ ก็เป็นพันธมิตรที่สำคัญของเรามาโดยตลอด เกินกว่า 100 ปี เพราะฉะนั้นเมื่อเขาเสนอเรื่องเข้ามา เราก็ต้องคุยกับเขา แต่ว่าเราจะคุยกับเขา เราก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่มันตามมา แล้วเราก็จะต้องมีการพูดคุย เจรจาต่อรอง ให้ชัดเจนว่า ผลประโยชน์ที่จะสอดคล้องกับทุกมิติ ทั้งในแง่ความมั่นคง แล้วก็เรื่องที่เขาเสนอเข้ามานั้น มันเป็นอย่างไร”
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่ารัฐบาลไทยควรเร่งชี้แจง และวางตัวให้โปร่งใส เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบความสัมพันธ์ทั้งกับสหรัฐฯ และกับจีน
"ต้องโปร่งใส ว่ามาทำอะไร แล้วก็สิ่งที่เขามาทำนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องที่จะไปกระทบกับความมั่นคง หรือว่าทำให้เกิดความหวาดระแวงขึ้นในภูมิภาค อันนี้คือสิ่งที่สำคัญที่ต้องเร่งทำ
"แต่ว่าคำถามก็คือว่า ถ้าขณะนี้ภารกิจของเขา คือบอกว่า มาเก็บ มาสำรวจ มาศึกษา อากาศ ชั้นบรรยากาศต่างๆ นั้น ก็ต้องถามว่า แล้วตรงนี้มันเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม กับภัยพิบัติอย่างไร ก็อยู่ที่ข้อเท็จจริงด้วยนะครับ ไม่ใช่การอธิบายของรัฐบาล อยู่ที่ข้อเท็จจริงด้วยว่าตกลงให้เขาทำอะไรบ้าง สิทธิต่างๆ เป็นอย่างไร แล้วก็กระทบกับสิทธิของประเทศอื่น ในการที่จะมาร่วมมือตรงนี้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร"
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลมุมมิบแอบทำโดยไม่ชี้แจงเรื่องนี้ให้ชัดเจนแล้ว จะทำให้เกิดความหวาดระแวง ทั้งในหมู่สังคมไทย และระหว่างประเทศ
" ไม่เป็นผลดีหรอกครับ เพราะว่ามันก็ทำให้เกิดความหวาดระแวง ไม่ใช่เฉพาะในหมู่คนในสังคมไทย นะครับ เดี๋ยวมันเกิดความหวาดระแวงขึ้นกับประเทศ จะต้องมีการชี้แจงกันครับ"
ถ้าจำเป็นต้องให้สหรัฐฯ มาใช้พื้นที่จริง ๆ แล้วเรื่องนี้ควรต้องให้รัฐสภาได้มีโอกาสพิจารณาเรื่องนี้ร่วมกันหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์มองว่า น่าจะเป็นเรื่องดี เพราะหากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับภัยพิบัติแล้ว การให้ความร่วมมือช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม จึงไม่น่าจะมีความลับ
" ก็น่าจะดีนะครับ เพราะว่า ผมว่าถ้ามันเป็นเรื่องภัยพิบัติแล้ว มันเป็นเรื่องของการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม มันก็ไม่น่าจะมีความลับ หรือมันก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน ก็เปิดเผยออกมาครับ"
แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ เป็นเรื่องระหว่าง สหรัฐฯ กับไทย ซึ่งคำขอในลักษณะนี้ เท่าที่ทราบเคยส่งเข้ามาในช่วงการเลือกตั้ง
" คือรองโฆษกฯ นี่ก็คงพยายามหาประเด็นทางการเมืองเท่านั้นเอง หามุมทางการเมือง ความจริงควรไปศึกษาข้อมูลก่อน ความจริงแล้วแนวคิดของการใช้สนามบินอู่ตะเภา ในรัฐบาลที่แล้วนั้น มีครับ แต่การพูดถึงการใช้สนามบินอู่ตะเภา ในรัฐบาลที่แล้ว ที่เราไปพูดในเวทีต่างๆ นั้นเราจะเน้นย้ำใน 2 ด้าน ด้านหนึ่งก็คือว่า ภารกิจของมันค่อนข้างชัด ก็คือว่าเป็นเรื่องของการที่จะมาช่วยเหลือเรื่องภัยพิบัติ กับการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม ซึ่งมันมาในกรอบความคิดที่ไปโยงถึงด้านที่ 2 ก็คือว่า เราพูดกันในลักษณะของการเป็นความร่วมมือพหุภาคี เช่น อาเซียน เป็นภูมิภาคซึ่งเจอภัยพิบัติบ่อย เช่น ฟิลิปปินส์ เจอพายุ อินโดนีเซีย เจอกับแผ่นดินไหว ไทย เขมร ลาว เวียดนาม พม่า เจอน้ำท่วม แต่ว่าการที่จะมีระบบของการที่จะช่วยเหลือ ดูแลซึ่งกันและกัน แล้วก็มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะใช้ เราก็พูดถึงว่า อู่ตะเภา ทำตรงนี้ได้ เพราะฉะนั้นอันนี้ คือสิ่งที่เป็นการพูด แล้วก็พูดในแง่ของการเป็นความร่วมมือทั้งในภูมิภาค พูดถึงเรื่องสหประชาชาติ พูดถึงเรื่องของมิตรประเทศต่างๆ
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ มันเป็นเรื่องระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ซึ่งปลายทางที่บอกว่า จะมาใช้เพื่อเรื่องนี้ก็ต้องมีความชัดเจนว่า มันเป็นการใช้โดยใคร อย่างไร เป็นเรื่องของสหรัฐฯ หรือเป็นเรื่องของภูมิภาคของประเทศอื่นๆ ถ้าเป็นเรื่องของการตกลงทวิภาคีระหว่างไทย กับสหรัฐฯ อันนี้คงไม่ใช่แนวทางที่เราเคยวางเอาไว้ตั้งแต่ต้น
ส่วนคำขอในกรณีนี้ เท่าที่ทราบนั้น ส่งเข้ามาที่รัฐบาลไทย เป็นช่วงของการเลือกตั้ง แล้วก็รัฐบาลที่แล้วยังไม่ได้มีการพิจารณาอะไร ประมาณ มิ.ย. 54 ผมตรวจสอบข้อมูลในขณะนี้ แต่ว่าในส่วนรัฐบาลเอง ยังไม่ได้ทำอะไร เพราะขณะนั้นก็คงไม่อยู่ในฐานะที่จะไปตัดสินใจในทางนโยบายได้แล้ว เพราะว่ารัฐธรรมนูญก็กำหนดเอาไว้
ดังนั้นการพยายามจะมาพูดเป็นเรื่องมุมทางการเมืองว่า รัฐบาลที่แล้วเริ่มไว้อะไรนั้น ผมว่าเป็นเรื่องซึ่งเป็นการเมืองที่ค่อนข้างจะไร้สาระ เอาข้อเท็จจริงมาดูกันดีกว่า ว่าคำขอนั้นเมื่อมันเกิดขึ้นมาช่วงเลือกตั้ง ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลนี้พิจารณา รัฐบาลนี้พิจารณาอยากจะใช้อู่ตะเภา มีเหตุผลอะไรก็ว่ากันไป แต่ว่าการพยายามที่จะปัดไปบอกเป็นเรื่องรัฐบาลที่แล้วนั้น ผมก็ต้องบอกว่า รัฐบาลที่แล้วเราคิดเรื่องอู่ตะเภานั้น เราคิดในกรอบที่มันกว้างกว่านี้เยอะ
ทั้งนี้ สิ่งที่เป็นการวิพากษ์ วิจารณ์ในขณะนี้ คือ 1. คำยืนยันที่ว่า เขาจะมาทำอะไร ซึ่งมาจากทางหน่วยงานของรัฐบาลไทย กับข้อมูลซึ่งปรากฏผ่านคำสัมภาษณ์ของบุคคลระดับสูงของสหรัฐฯ ดูแล้วยังไม่ค่อยตรงกัน คือ ฟังจากทางนู้นแล้วมันมีอะไรมากกว่านี้ เพราะฉะนั้น ตรงนี้คือสิ่งที่
1. คนก็เรียกร้องว่ามันต้องมีความโปร่งใส ท่านก็ต้องชี้แจงไปครับ ไม่ใช่พยายามจะบอกว่า อ๋อ มันเป็นเรื่องรัฐบาลที่แล้ว อะไรอย่างนี้
ข้อที่ 2 ก็คือว่า นอกเหนือจากประเด็นความโปร่งใส ว่ามาทำอะไร อย่างไร แล้ว ที่คนเขากังวลก็คือว่า มิตรประเทศของเราในภูมิภาค อย่างเช่น จีน เขาเข้าใจเราหรือไม่ ว่ามันเป็นเรื่องอะไร เพราะสหรัฐฯ ก็มีแนวทางซึ่งเขาใช้คำว่า กลยุทธหรือยุทธศาสตร์ที่ปิดล้อม ใช้คำว่าปิดล้อมประเทศจีน เราเคยได้ยินกันอยู่ เราก็ต้องให้ยืนอยู่ในความสบายใจว่า เอ๊ะ เราเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้หรือเปล่า หรือไม่ใช่ นี่คือสิ่งที่เขาเรียกร้อง รัฐบาลก็มีหน้าที่ในการชี้แจงไป
ส่วนประเด็นที่มีข้อครหาอีกประเด็นหนึ่ง ก็คือว่าแล้วเรื่องนี้คุณทักษิณไปต่อรองอะไรกับเขาด้วยหรือเปล่า เพราะว่า ก็ชอบไปมีการไปยุ่ง ไปโผล่ตามที่ต่างๆ เหมือนกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับชายแดนภาคใต้ กับที่มาเลเซีย"
" เราเป็นการนำเสนอในเชิงความคิด แต่ว่าหลักนั้น ผมคิดว่าเราพูดถึงอาเซียน เราพูดถึงสหประชาชาติ คือเรากำลังจะบอกกับประเทศต่างๆ ว่า เรามีโครงสร้างพื้นฐานตรงนี้นะ ซึ่งมันน่าจะใช้ประโยชน์ได้ในเรื่องของมนุษยธรรม ในเรื่องของภัยพิบัติ แล้วก็สามารถที่จะตอบสนองความต้องการ ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย แต่ว่าในภูมิภาค เพราะฉะนั้นการทำงานในเรื่องเหล่านี้ทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่มันพูดถึงกรอบความร่วมมือในระดับของพหุภาคี แต่แน่นอนเราไม่ปฏิเสธนะครับ มีมิตรประเทศไหนที่อยากจะสนใจเข้ามาร่วมในลักษณะนี้ ประเทศใดประเทศหนึ่งก็สามารถทำได้ แต่ว่าเมื่อมีการเป็นข้อเสนอเข้ามา ก็ต้องมาพิจารณาว่ามันสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของนโยบายต่างประเทศ มันสอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่เรานำเสนอหรือไม่”
" คือไม่ได้พูดกันในรายละเอียดที่ไปบอกว่า เข้ามาแล้ว จะไปยกพื้นที่ให้ไปใช้เพื่อประโยชน์ของประเทศใด ประเทศหนึ่ง หรือถ้ามันเป็นโครงการที่จะทำ มันก็ต้องบอกว่าประเทศนั้น ส่วนร่วมคืออะไร ประเทศอื่นเขาจะมาร่วมด้วยได้หรือไม่ คือสหรัฐฯ ก็เป็นพันธมิตรที่สำคัญของเรามาโดยตลอด เกินกว่า 100 ปี เพราะฉะนั้นเมื่อเขาเสนอเรื่องเข้ามา เราก็ต้องคุยกับเขา แต่ว่าเราจะคุยกับเขา เราก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่มันตามมา แล้วเราก็จะต้องมีการพูดคุย เจรจาต่อรอง ให้ชัดเจนว่า ผลประโยชน์ที่จะสอดคล้องกับทุกมิติ ทั้งในแง่ความมั่นคง แล้วก็เรื่องที่เขาเสนอเข้ามานั้น มันเป็นอย่างไร”
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่ารัฐบาลไทยควรเร่งชี้แจง และวางตัวให้โปร่งใส เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบความสัมพันธ์ทั้งกับสหรัฐฯ และกับจีน
"ต้องโปร่งใส ว่ามาทำอะไร แล้วก็สิ่งที่เขามาทำนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องที่จะไปกระทบกับความมั่นคง หรือว่าทำให้เกิดความหวาดระแวงขึ้นในภูมิภาค อันนี้คือสิ่งที่สำคัญที่ต้องเร่งทำ
"แต่ว่าคำถามก็คือว่า ถ้าขณะนี้ภารกิจของเขา คือบอกว่า มาเก็บ มาสำรวจ มาศึกษา อากาศ ชั้นบรรยากาศต่างๆ นั้น ก็ต้องถามว่า แล้วตรงนี้มันเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม กับภัยพิบัติอย่างไร ก็อยู่ที่ข้อเท็จจริงด้วยนะครับ ไม่ใช่การอธิบายของรัฐบาล อยู่ที่ข้อเท็จจริงด้วยว่าตกลงให้เขาทำอะไรบ้าง สิทธิต่างๆ เป็นอย่างไร แล้วก็กระทบกับสิทธิของประเทศอื่น ในการที่จะมาร่วมมือตรงนี้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร"
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลมุมมิบแอบทำโดยไม่ชี้แจงเรื่องนี้ให้ชัดเจนแล้ว จะทำให้เกิดความหวาดระแวง ทั้งในหมู่สังคมไทย และระหว่างประเทศ
" ไม่เป็นผลดีหรอกครับ เพราะว่ามันก็ทำให้เกิดความหวาดระแวง ไม่ใช่เฉพาะในหมู่คนในสังคมไทย นะครับ เดี๋ยวมันเกิดความหวาดระแวงขึ้นกับประเทศ จะต้องมีการชี้แจงกันครับ"
ถ้าจำเป็นต้องให้สหรัฐฯ มาใช้พื้นที่จริง ๆ แล้วเรื่องนี้ควรต้องให้รัฐสภาได้มีโอกาสพิจารณาเรื่องนี้ร่วมกันหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์มองว่า น่าจะเป็นเรื่องดี เพราะหากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับภัยพิบัติแล้ว การให้ความร่วมมือช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม จึงไม่น่าจะมีความลับ
" ก็น่าจะดีนะครับ เพราะว่า ผมว่าถ้ามันเป็นเรื่องภัยพิบัติแล้ว มันเป็นเรื่องของการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม มันก็ไม่น่าจะมีความลับ หรือมันก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน ก็เปิดเผยออกมาครับ"