ASTVผู้จัดการรายวัน- รองโฆษกปชป.อัด"ยิ่งลักษณ์"อย่าทำบื้อ ที่เอาอธิปไตยของชาติไปเสี่ยง โดยให้สหรัฐฯ ใช้"อู่ตะเภา"เป็นฐานทัพ ชี้เป็นการละเมิดรธน. มาตรา 190 ด้านโฆษกรัฐบาล ยืนยันยังไม่มีการข้อตกลงอะไรกับมะกันทั้งสิ้น
นางสาวมัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าถึงเรื่องที่สหรัฐฯเข้ามาใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อประโยชน์ด้านการสำรวจของสหรัฐฯ ว่า ถ้านางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ถอนเรื่องการใช้สนามบินอู่ตะเภาดังกล่าว พรรคประชาธิปัตย์จะเดินหน้าเอาผิด เพราะเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และสุ่มเสี่ยงต่อการเอาชาติไปแลกประโยชน์แฝงของใครบางคน
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวด้วยว่า หลังจากที่พลเอก Martin E.Dempsey ประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมสหรัฐฯ เข้าพบจับมือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อไม่กี่วันก่อน ก็ปรากฏเรื่องเกี่ยวกับการใช้สนามบินอู่ตะเภา และการอนุญาตให้สหรัฐฯ สำรวจบนอธิปไตยไทย แถมรุกไปในอ่าวไทยอย่างมีพิรุธ เกรงว่าจะเป็นการแลกกับวีซ่าให้ ทักษิณหรือทำอะไรที่อ่าวไทย ใช่หรือไม่
น.ส.มัลลิกา กล่าวว่า สิ่งที่คนเป็นนายกรัฐมนตรีควรรู้เรื่องอู่ตะเภาคือ 1.ผลกระทบความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม มีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศ อย่างมีนัยสำคัญ ตามมาตรา 190 ซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาก่อน
2.สหรัฐฯ สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจไปใช้ประโยชน์ด้านยุทธศาสตร์ทางทหาร หรือเศรษฐกิจ
3. เป็นการสร้างความหวาดระแวงแก่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยรวมทั้งจีน
4.เป็นการบินผ่านพื้นที่ชายแดน และการลงจอดฉุกเฉินในประเทศเพื่อนบ้าน โดยไม่ได้รับอนุญาต และต้องเป็นความรับผิดชอบในหน่วยงานความมั่นคงของประเทศไทย
5.เป็นการบินผ่านเขตหวงห้ามของไทย เช่น พื้นที่การฝึกฝ่ายทหาร เขตพระราชฐาน
6. อาจมีการซ่อนเร้นอุปกรณ์ที่เป็นยุทโธปกรณ์นอกเหนือจากอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ บนเครื่องบินสำรวจ โดยไม่มีการแจ้งให้ทางการไทยทราบมาก่อน
7.เป็นการกระตุ้นให้ฝ่ายต่อต้านสหรัฐอเมริกา ก่อการร้ายในไทยได้ ถือเป็นการชักศึกเข้าบ้าน
กระทรวงการต่างประเทศมีโครงการ 2 โครงการ คือ โครงการ เอชเอดีอาร์ ริเริ่มในสมัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่กระทรวงการต่างประเทศระบุว่า แนวคิดนี้ในการประชุมอาเซียน-สหประชาชาติ ครั้งที่ 3 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อ 29 ต.ค.53 เนื่องจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มการประสบภัยพิบัติเพิ่มขึ้น และประเทศไทย มักถูกขอใช้เป็นศูนย์กระจายความช่วยเหลือบ่อยครั้ง เพราะมีที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางของภูมิภาค จึงเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในภูมิภาคนี้
ส่วนที่เป็นเรื่องอยู่ขณะนี้ คือ การขอใช้สนามบินอู่ตะเภา ขององค์การนาซา เพื่อใช้เป็นสถานีวิจัยและเก็บตัวอย่างอากาศในช่วงเดือนส.ค.-ก.ย.นี้ ซึ่งเป็นฤดูมรสุม ภายใต้โครงการเอสอีเอซี 4 อาร์เอส โดยนาซาจะต้องขออนุญาตบินผ่านน่านฟ้าของไทยทุกครั้ง โดยขอบเขตน่านฟ้าที่นาซา ระบุไว้ครอบคลุม 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา และสิงคโปร์ ซึ่งทั้ง 2 ประเทศไม่ได้คัดค้าน ขณะนี้เรื่องดังกล่าวถูกเสนอเข้าที่ประชุม ครม.แล้ว อยู่ในช่วงรอบรรจุวาระเข้าครม.
กรณีนี้ฝ่ายความมั่นคงมีความกังวลอย่างมาก โดยเฉพาะกองทัพอากาศ ขอให้ระงับเรื่องนี้ เพราะแม้แต่ ผบ.ทอ.ก็ยังไม่ทราบเรื่องนี้ แต่เป็นการดำเนินการของ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ โดยการผลักดันของ นายจิระชัย ปั้นกระษิณ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ เป็นผู้ขับเคลื่อน
ด้านนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า รัฐบาลชุดนี้ยังไม่ได้มีการตกลงใดๆ ให้กองทัพสหรัฐฯเข้ามาใช้พื้นที่ ซึ่งกรณี พล.อ. มาร์ติน เดมพ์ซีย์ ประธานคณะเสนาธิการร่วมสหรัฐฯ มาเมืองไทยสัปดาห์ที่แล้ว ยอมรับว่ามีการหารือในเรื่องนี้ ร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงของไทย แต่ก็ยังไม่ได้มีการตกลงกันใดๆ ทั้งสิ้น
ส่วนเรื่องการอนุญาตให้องค์การนาซ่าของสหรัฐฯ ใช้อู่ตะเภาจัดตั้งศูนย์โครงการศึกษาชั้นบรรยากาศ ตอนนี้ทางสหรัฐฯได้สอบถามความเป็นไปได้จากฝ่ายไทย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย อยู่ในระหว่างการหารือกัน และยังไม่ได้ให้คำตอบหรือมีข้อตกลงอะไรในเรื่องนี้
นางสาวมัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าถึงเรื่องที่สหรัฐฯเข้ามาใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อประโยชน์ด้านการสำรวจของสหรัฐฯ ว่า ถ้านางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ถอนเรื่องการใช้สนามบินอู่ตะเภาดังกล่าว พรรคประชาธิปัตย์จะเดินหน้าเอาผิด เพราะเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และสุ่มเสี่ยงต่อการเอาชาติไปแลกประโยชน์แฝงของใครบางคน
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวด้วยว่า หลังจากที่พลเอก Martin E.Dempsey ประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมสหรัฐฯ เข้าพบจับมือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อไม่กี่วันก่อน ก็ปรากฏเรื่องเกี่ยวกับการใช้สนามบินอู่ตะเภา และการอนุญาตให้สหรัฐฯ สำรวจบนอธิปไตยไทย แถมรุกไปในอ่าวไทยอย่างมีพิรุธ เกรงว่าจะเป็นการแลกกับวีซ่าให้ ทักษิณหรือทำอะไรที่อ่าวไทย ใช่หรือไม่
น.ส.มัลลิกา กล่าวว่า สิ่งที่คนเป็นนายกรัฐมนตรีควรรู้เรื่องอู่ตะเภาคือ 1.ผลกระทบความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม มีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศ อย่างมีนัยสำคัญ ตามมาตรา 190 ซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาก่อน
2.สหรัฐฯ สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจไปใช้ประโยชน์ด้านยุทธศาสตร์ทางทหาร หรือเศรษฐกิจ
3. เป็นการสร้างความหวาดระแวงแก่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยรวมทั้งจีน
4.เป็นการบินผ่านพื้นที่ชายแดน และการลงจอดฉุกเฉินในประเทศเพื่อนบ้าน โดยไม่ได้รับอนุญาต และต้องเป็นความรับผิดชอบในหน่วยงานความมั่นคงของประเทศไทย
5.เป็นการบินผ่านเขตหวงห้ามของไทย เช่น พื้นที่การฝึกฝ่ายทหาร เขตพระราชฐาน
6. อาจมีการซ่อนเร้นอุปกรณ์ที่เป็นยุทโธปกรณ์นอกเหนือจากอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ บนเครื่องบินสำรวจ โดยไม่มีการแจ้งให้ทางการไทยทราบมาก่อน
7.เป็นการกระตุ้นให้ฝ่ายต่อต้านสหรัฐอเมริกา ก่อการร้ายในไทยได้ ถือเป็นการชักศึกเข้าบ้าน
กระทรวงการต่างประเทศมีโครงการ 2 โครงการ คือ โครงการ เอชเอดีอาร์ ริเริ่มในสมัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่กระทรวงการต่างประเทศระบุว่า แนวคิดนี้ในการประชุมอาเซียน-สหประชาชาติ ครั้งที่ 3 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อ 29 ต.ค.53 เนื่องจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มการประสบภัยพิบัติเพิ่มขึ้น และประเทศไทย มักถูกขอใช้เป็นศูนย์กระจายความช่วยเหลือบ่อยครั้ง เพราะมีที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางของภูมิภาค จึงเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในภูมิภาคนี้
ส่วนที่เป็นเรื่องอยู่ขณะนี้ คือ การขอใช้สนามบินอู่ตะเภา ขององค์การนาซา เพื่อใช้เป็นสถานีวิจัยและเก็บตัวอย่างอากาศในช่วงเดือนส.ค.-ก.ย.นี้ ซึ่งเป็นฤดูมรสุม ภายใต้โครงการเอสอีเอซี 4 อาร์เอส โดยนาซาจะต้องขออนุญาตบินผ่านน่านฟ้าของไทยทุกครั้ง โดยขอบเขตน่านฟ้าที่นาซา ระบุไว้ครอบคลุม 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา และสิงคโปร์ ซึ่งทั้ง 2 ประเทศไม่ได้คัดค้าน ขณะนี้เรื่องดังกล่าวถูกเสนอเข้าที่ประชุม ครม.แล้ว อยู่ในช่วงรอบรรจุวาระเข้าครม.
กรณีนี้ฝ่ายความมั่นคงมีความกังวลอย่างมาก โดยเฉพาะกองทัพอากาศ ขอให้ระงับเรื่องนี้ เพราะแม้แต่ ผบ.ทอ.ก็ยังไม่ทราบเรื่องนี้ แต่เป็นการดำเนินการของ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ โดยการผลักดันของ นายจิระชัย ปั้นกระษิณ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ เป็นผู้ขับเคลื่อน
ด้านนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า รัฐบาลชุดนี้ยังไม่ได้มีการตกลงใดๆ ให้กองทัพสหรัฐฯเข้ามาใช้พื้นที่ ซึ่งกรณี พล.อ. มาร์ติน เดมพ์ซีย์ ประธานคณะเสนาธิการร่วมสหรัฐฯ มาเมืองไทยสัปดาห์ที่แล้ว ยอมรับว่ามีการหารือในเรื่องนี้ ร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงของไทย แต่ก็ยังไม่ได้มีการตกลงกันใดๆ ทั้งสิ้น
ส่วนเรื่องการอนุญาตให้องค์การนาซ่าของสหรัฐฯ ใช้อู่ตะเภาจัดตั้งศูนย์โครงการศึกษาชั้นบรรยากาศ ตอนนี้ทางสหรัฐฯได้สอบถามความเป็นไปได้จากฝ่ายไทย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย อยู่ในระหว่างการหารือกัน และยังไม่ได้ให้คำตอบหรือมีข้อตกลงอะไรในเรื่องนี้