ASTVผู้จัดการรายวัน-หอการค้าไทยเผยขึ้นค่าแรง 300 บาท ไม่เพิ่มจีดีพีประเทศ เหตุแรงงานระมัดระวังการใช้จ่าย หลังไม่มั่นใจอนาคตจะถูกปลดหรือไม่ ห่วงปี 56 ขึ้น 300 ทั้งประเทศ ธุรกิจป่วนแน่ ไม่ย้ายฐาน ก็เพิ่มเครื่องจักรแทนใช้แรงคน แนะรัฐเพิ่มมาตรการช่วยเหลือด่วน ก่อนพังทั้งระบบ
นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยถึงการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ หลังจากมีผลบังคับใช้ไปแล้วเกือบ 3 เดือน หรือตั้งแต่เดือนเม.ย.2555 ว่า การปรับเพิ่มขึ้นค่าแรงดังกล่าว ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นตามที่รัฐบาลกล่าวอ้าง เพราะผลการศึกษาของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นได้เพียง 0.5-0.7% เท่านั้น จากที่รัฐบาลคาดจะเพิ่มขึ้นได้ 1.0-1.4% เพราะแรงงานส่วนใหญ่ไม่ใช่จ่ายเพิ่มขึ้น แต่กลับเก็บออมเพิ่มขึ้นแทน เนื่องจากไม่มั่นใจอนาคตว่านายจ้างจะยังคงจ้างงานต่อหรือจะลดจำนวนคนงานหรือไม่ จึงทำให้ไม่เกิดการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจตามที่รัฐบาลหวังไว้ ส่วนอัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นเพียง 0.2-0.4% เพราะผู้ประกอบการไม่ได้ปรับขึ้นราคาสินค้า จากการรัฐบาลขอความร่วมมือตรึงราคาสินค้าจนถึงเดือนก.ย.2555
ทั้งนี้ หอการค้าไทยได้ทำการสำรวจทัศนะของสมาชิกใน 7จังหวัดนำร่องที่ปรับขึ้นค่าแรง พบว่าสมาชิกส่วนใหญ่ 82.4% ยืนยันว่าได้รับผลกระทบ มีเพียง 17.6% ที่ไม่ได้รับผลกระทบ โดยผลกระทบที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการที่สูงขึ้น ความสามารถในการแข่งขันลดลง ยอดจำหน่ายสินค้าลดลงจากการขึ้นราคาสินค้า และค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น แต่ประสิทธิภาพการทำงานเท่าเดิม
นายภูมินทร์กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงต่อจากนี้ คือ ในปี 2556 จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศ จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมาก ธุรกิจในหลายจังหวัด ทั้งจังหวัดเล็กและจังหวัดใหญ่ จึงเริ่มพิจารณาถึงการย้ายฐานการผลิต เพื่อปรับตัว หรือลงทุนเครื่องจักรเพื่อลดจำนวนแรงงาน
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากการสำรวจสถานภาพธุรกิจไทยในปัจจุบันพบว่า หลังจากปรับขึ้นค่าแรงผู้ประกอบการ 47.2% ปรับตัวโดยการเพิ่มราคาสินค้า, 34.2% ลดสวัสดิการ, 32.1% ลดจำนวนแรงงาน, 8.5% ใช้เครื่องจักร และ 7.6% จ้างแรงงานต่างด้าว ขณะที่การเยียวยาจากภาครัฐ ผู้ประกอบการ 94.5% ยังไม่ได้รับ มีเพียง 5.5% ที่ได้รับการเยียวยา ส่วนมาตรการปรับลดภาษีนิติบุคคลผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ได้ประโยชน์ โดยเฉพาะ SMEs
นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยถึงการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ หลังจากมีผลบังคับใช้ไปแล้วเกือบ 3 เดือน หรือตั้งแต่เดือนเม.ย.2555 ว่า การปรับเพิ่มขึ้นค่าแรงดังกล่าว ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นตามที่รัฐบาลกล่าวอ้าง เพราะผลการศึกษาของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นได้เพียง 0.5-0.7% เท่านั้น จากที่รัฐบาลคาดจะเพิ่มขึ้นได้ 1.0-1.4% เพราะแรงงานส่วนใหญ่ไม่ใช่จ่ายเพิ่มขึ้น แต่กลับเก็บออมเพิ่มขึ้นแทน เนื่องจากไม่มั่นใจอนาคตว่านายจ้างจะยังคงจ้างงานต่อหรือจะลดจำนวนคนงานหรือไม่ จึงทำให้ไม่เกิดการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจตามที่รัฐบาลหวังไว้ ส่วนอัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นเพียง 0.2-0.4% เพราะผู้ประกอบการไม่ได้ปรับขึ้นราคาสินค้า จากการรัฐบาลขอความร่วมมือตรึงราคาสินค้าจนถึงเดือนก.ย.2555
ทั้งนี้ หอการค้าไทยได้ทำการสำรวจทัศนะของสมาชิกใน 7จังหวัดนำร่องที่ปรับขึ้นค่าแรง พบว่าสมาชิกส่วนใหญ่ 82.4% ยืนยันว่าได้รับผลกระทบ มีเพียง 17.6% ที่ไม่ได้รับผลกระทบ โดยผลกระทบที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการที่สูงขึ้น ความสามารถในการแข่งขันลดลง ยอดจำหน่ายสินค้าลดลงจากการขึ้นราคาสินค้า และค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น แต่ประสิทธิภาพการทำงานเท่าเดิม
นายภูมินทร์กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงต่อจากนี้ คือ ในปี 2556 จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศ จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมาก ธุรกิจในหลายจังหวัด ทั้งจังหวัดเล็กและจังหวัดใหญ่ จึงเริ่มพิจารณาถึงการย้ายฐานการผลิต เพื่อปรับตัว หรือลงทุนเครื่องจักรเพื่อลดจำนวนแรงงาน
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากการสำรวจสถานภาพธุรกิจไทยในปัจจุบันพบว่า หลังจากปรับขึ้นค่าแรงผู้ประกอบการ 47.2% ปรับตัวโดยการเพิ่มราคาสินค้า, 34.2% ลดสวัสดิการ, 32.1% ลดจำนวนแรงงาน, 8.5% ใช้เครื่องจักร และ 7.6% จ้างแรงงานต่างด้าว ขณะที่การเยียวยาจากภาครัฐ ผู้ประกอบการ 94.5% ยังไม่ได้รับ มีเพียง 5.5% ที่ได้รับการเยียวยา ส่วนมาตรการปรับลดภาษีนิติบุคคลผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ได้ประโยชน์ โดยเฉพาะ SMEs