ASTVผู้จัดการรายวัน-หอการค้าไทยเผยผู้ประกอบการ 98% จาก 2.2 ล้านราย ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงวันละ 300 บาท คาดกว่า 2 แสนรายอาจต้องม้วนเสื่อเลิกกิจการหรือย้ายฐานหนี ระบุยาม แม้บ้าน ก่อสร้าง หนักสุด จ่อปลดคนงาน หลังต้นทุนพุ่ง แนะรัฐบาลตั้งกองทุนหมื่นล้านช่วยเหลือ SMEs และฟังความเห็นผู้ประกอบการให้มาก ขณะที่ส.อ.ท.เตรียมรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอรัฐบาลหามาตรการดูแลผลกระทบโดยเฉพาะเอสเอ็มอีพร้อมปิ๊งไอเดียตั้งกองทุนฯหมื่นลบ.
นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2555 ใน 7 จังหวัดนำร่อง ว่า ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ที่มีการจ้างแรงงานตั้งแต่ 1-25 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 98% ของผู้ประกอบการทั้งประเทศจำนวน 2.2 ล้านรายจะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในครั้งนี้ และคาดว่าประมาณ 10% หรือ 2 แสนราย จะต้องปิดกิจการหรืออาจจะต้องย้ายฐานการผลิต ส่วนผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่จ้างแรงงานตั้งแต่ 500-1,000 คนขึ้นไป ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ มีไม่ถึง 1% ของสถานประกอบการทั่วประเทศ
“พูดง่ายๆ SMEs ได้รับผลกระทบหมด ตอนนี้ถ้าใครอยากลดค่าใช้จ่าย ก็ต้องเอาคนออก อย่างบริษัทยาม โรงแรม ที่จ้างแม่บ้าน คนทำความสะดวก หรือบริษัทก่อสร้าง ที่จ้างแรงงาน ถ้ารับภาระไม่ไหว ก็ต้องให้ออก แล้วไปเพิ่มปริมาณงานให้กับคนที่ยังอยู่ ส่วนธุรกิจอื่นๆ ถ้าทำต่อแล้วขาดทุน ก็คงไม่มีใครฝืนทำ สุดท้ายก็ต้องเลิกกิจการ”นายภูมินทร์กล่าว
นายภูมินทร์กล่าวว่า ข้อเสนอที่ต้องการให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำในครั้งนี้ ขอให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือ SMEs วงเงินประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เพื่อเป็นเงินทุนเสริมสภาพคล่อง และควรจะพัฒนาฝีมือแรงงาน ทั้งการกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อให้มีแรงงานฝีมือเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจให้เพิ่มมากขึ้นและลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปี 2555 และ 20% ในปี 2556 ที่สำคัญ ควรจะรับฟังความเห็นของภาคเอกชน เพราะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
***ส.อ.ท.จี้รัฐหามาตรการช่วยเหลือด่วน
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้ส.อ.ท.อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลผลกระทบของนักลงทุนจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลในการหามาตรการดูแลและช่วยเหลือในการลดค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะกับเอสเอ็มอีโดยคาดว่าจะสรุปและนำเสนอต่อรัฐบาลได้ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเอสเอ็มอีในการตั้งกองทุนช่วยเหลือประมาณ1 หมื่นล้านบาท อัตราดอกเบี้ยติดลบ 2-3% เพื่อส่งเสริมให้เอสเอ็มอีไทยไปลงทุนยังประเทศเพื่อนบ้านที่ติดชายแดนเพื่อลดผลกระทบจากค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นมา 300 บาทต่อวัน
**กสิกรฯชี้ค่าแรงกระทบSMEน้อย
นายพัชร สมะลาภา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)KBANK กล่าวว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้น ไม่จะส่งผลต่อธุรกิจเอสเอ็มอีมากนัก เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นที่รับรู้มาระยะหนึ่งแล้ว จึงน่าจะมีการปรับตัวได้ ประกอบกับภาครัฐจะมีมาตรการต่างๆเข้ามาช่วยเหลือในบางส่วน อาทิ การปรับลดภาษีนิติบุคคล หรือการลดวงเงินสมทบประกันสังคม เป็นต้น
นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2555 ใน 7 จังหวัดนำร่อง ว่า ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ที่มีการจ้างแรงงานตั้งแต่ 1-25 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 98% ของผู้ประกอบการทั้งประเทศจำนวน 2.2 ล้านรายจะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในครั้งนี้ และคาดว่าประมาณ 10% หรือ 2 แสนราย จะต้องปิดกิจการหรืออาจจะต้องย้ายฐานการผลิต ส่วนผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่จ้างแรงงานตั้งแต่ 500-1,000 คนขึ้นไป ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ มีไม่ถึง 1% ของสถานประกอบการทั่วประเทศ
“พูดง่ายๆ SMEs ได้รับผลกระทบหมด ตอนนี้ถ้าใครอยากลดค่าใช้จ่าย ก็ต้องเอาคนออก อย่างบริษัทยาม โรงแรม ที่จ้างแม่บ้าน คนทำความสะดวก หรือบริษัทก่อสร้าง ที่จ้างแรงงาน ถ้ารับภาระไม่ไหว ก็ต้องให้ออก แล้วไปเพิ่มปริมาณงานให้กับคนที่ยังอยู่ ส่วนธุรกิจอื่นๆ ถ้าทำต่อแล้วขาดทุน ก็คงไม่มีใครฝืนทำ สุดท้ายก็ต้องเลิกกิจการ”นายภูมินทร์กล่าว
นายภูมินทร์กล่าวว่า ข้อเสนอที่ต้องการให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำในครั้งนี้ ขอให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือ SMEs วงเงินประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เพื่อเป็นเงินทุนเสริมสภาพคล่อง และควรจะพัฒนาฝีมือแรงงาน ทั้งการกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อให้มีแรงงานฝีมือเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจให้เพิ่มมากขึ้นและลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปี 2555 และ 20% ในปี 2556 ที่สำคัญ ควรจะรับฟังความเห็นของภาคเอกชน เพราะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
***ส.อ.ท.จี้รัฐหามาตรการช่วยเหลือด่วน
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้ส.อ.ท.อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลผลกระทบของนักลงทุนจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลในการหามาตรการดูแลและช่วยเหลือในการลดค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะกับเอสเอ็มอีโดยคาดว่าจะสรุปและนำเสนอต่อรัฐบาลได้ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเอสเอ็มอีในการตั้งกองทุนช่วยเหลือประมาณ1 หมื่นล้านบาท อัตราดอกเบี้ยติดลบ 2-3% เพื่อส่งเสริมให้เอสเอ็มอีไทยไปลงทุนยังประเทศเพื่อนบ้านที่ติดชายแดนเพื่อลดผลกระทบจากค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นมา 300 บาทต่อวัน
**กสิกรฯชี้ค่าแรงกระทบSMEน้อย
นายพัชร สมะลาภา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)KBANK กล่าวว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้น ไม่จะส่งผลต่อธุรกิจเอสเอ็มอีมากนัก เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นที่รับรู้มาระยะหนึ่งแล้ว จึงน่าจะมีการปรับตัวได้ ประกอบกับภาครัฐจะมีมาตรการต่างๆเข้ามาช่วยเหลือในบางส่วน อาทิ การปรับลดภาษีนิติบุคคล หรือการลดวงเงินสมทบประกันสังคม เป็นต้น