ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติเปิดเสรีซื้อหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคลหรือโบรกเกอร์ ในวงเงินไม่เกิน 5 ล้านเหรียญฯ หรือ 150 ล้านบาท ไม่ต้องขออนุญาต ธปท.ก่อนเหมือนที่ผ่านมา เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ เผย 4 เดือนแรกนักลงทุนไทยลงทุนต่างประเทศทั้งสิ้น 9,974 ล้านเหรียญ หรือ 299,220 ล้านบาท
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.มีแผนจะอำนวยความสะดวกให้แก่ภาคธุรกิจหรือนักลงทุนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ โดยเรื่องหนึ่งที่สำคัญจะเปิดอนุญาตให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์น้อยกว่า 1,000 ล้านบาทสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศวงเงินไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตมายังธปท. ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน
“ในช่วงที่ผ่านมาเราได้ผ่อนคลายระเบียบหรือหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการทำธุรกรรมการซื้อหุ้น ตราสารหนี้ และอนุพันธ์ในต่างประเทศทั้งในส่วนของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และการผ่อนคลายเรื่องนี้ต้องการให้นักลงทุนรายย่อยได้รับความสะดวกในการลงทุนและให้ทันต่อสถานการณ์ในตลาดต่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ในต่างประเทศราคาสินทรัพย์บางประเภทราคาถูกลง จึงเป็นจังหวะที่ดี”
อย่างไรก็ตาม แม้เราจะผ่อนคลายเรื่องนี้ให้ แต่นักลงทุนรายย่อยก็ต้องส่งรายงานการซื้อขาย พร้อมทั้งยอดคงค้างหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ถืออยู่ให้ธปท.ทราบเป็นรายเดือนตามปกติ และในอนาคต ธปท.มีแนวทางจะขยายวงเงินเพิ่มเติมสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศให้เพิ่มขึ้นทั้งในส่วนบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลต่อไป
ในปัจจุบันหลักเกณฑ์การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ธปท.กำหนดให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมีสินทรัพย์ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท สามารถลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคลหรือผ่านบริษัทนายหน้าซื้อขาย (โบรกเกอร์) จะได้วงเงินรายละไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 150 ล้านบาท (30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) ส่วนกรณีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์เกิน 1,000 ล้านบาท จะได้วงเงินในการซื้อหลักทรัพย์รายละไม่เกิน 50 ล้านเหรียญฯ หรือ 1,500 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.) มีเงินของนักลงทุนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ ทั้งการลงทุนโดยตรง การให้กู้ยืม และการซื้อหลักทรัพย์ ทั้งสิ้น 9,974 ล้านเหรียญฯ หรือคิดเป็นเงินไทย 299,220 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ไปลงทุนโดยตรงในกิจการในต่างประเทศ และการให้กู้ยืม 4,471 ล้านเหรียญฯ หรือ 134,130 ล้านบาท และเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ และอนุพันธ์ ทั้งสิ้น 5,503 ล้านเหรียญฯ หรือคิดเป็นเงินบาททั้งสิ้น 165,090 ล้านบาท
ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ธปท.คาดว่าในช่วงต้นไตรมาส 3 นี้ แผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายฯ จะสามารถนำออกมาใช้ได้ โดยแผนดังกล่าว เน้นผ่อนคลายหลักเกณฑ์หรือสนับสนุนนักลงทุนไทยไปลงทุนนอกประเทศมากขึ้น แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยช่วงแรกจะเพิ่มขนาดเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ในปัจจุบัน หรือจะขยายประเภทสินทรัพย์ให้หลากหลายมากขึ้น และช่วงระยะหลังจะอนุญาตให้ผู้ลงทุนรายย่อยออกไปลงทุนมากขึ้น ซึ่งส่วนนี้ก็ต้องประเมินผลงานของช่วงแรกที่ผ่อนคลายมาประกอบพิจารณาอีกครั้ง.
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.มีแผนจะอำนวยความสะดวกให้แก่ภาคธุรกิจหรือนักลงทุนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ โดยเรื่องหนึ่งที่สำคัญจะเปิดอนุญาตให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์น้อยกว่า 1,000 ล้านบาทสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศวงเงินไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตมายังธปท. ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน
“ในช่วงที่ผ่านมาเราได้ผ่อนคลายระเบียบหรือหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการทำธุรกรรมการซื้อหุ้น ตราสารหนี้ และอนุพันธ์ในต่างประเทศทั้งในส่วนของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และการผ่อนคลายเรื่องนี้ต้องการให้นักลงทุนรายย่อยได้รับความสะดวกในการลงทุนและให้ทันต่อสถานการณ์ในตลาดต่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ในต่างประเทศราคาสินทรัพย์บางประเภทราคาถูกลง จึงเป็นจังหวะที่ดี”
อย่างไรก็ตาม แม้เราจะผ่อนคลายเรื่องนี้ให้ แต่นักลงทุนรายย่อยก็ต้องส่งรายงานการซื้อขาย พร้อมทั้งยอดคงค้างหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ถืออยู่ให้ธปท.ทราบเป็นรายเดือนตามปกติ และในอนาคต ธปท.มีแนวทางจะขยายวงเงินเพิ่มเติมสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศให้เพิ่มขึ้นทั้งในส่วนบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลต่อไป
ในปัจจุบันหลักเกณฑ์การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ธปท.กำหนดให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมีสินทรัพย์ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท สามารถลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคลหรือผ่านบริษัทนายหน้าซื้อขาย (โบรกเกอร์) จะได้วงเงินรายละไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 150 ล้านบาท (30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) ส่วนกรณีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์เกิน 1,000 ล้านบาท จะได้วงเงินในการซื้อหลักทรัพย์รายละไม่เกิน 50 ล้านเหรียญฯ หรือ 1,500 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.) มีเงินของนักลงทุนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ ทั้งการลงทุนโดยตรง การให้กู้ยืม และการซื้อหลักทรัพย์ ทั้งสิ้น 9,974 ล้านเหรียญฯ หรือคิดเป็นเงินไทย 299,220 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ไปลงทุนโดยตรงในกิจการในต่างประเทศ และการให้กู้ยืม 4,471 ล้านเหรียญฯ หรือ 134,130 ล้านบาท และเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ และอนุพันธ์ ทั้งสิ้น 5,503 ล้านเหรียญฯ หรือคิดเป็นเงินบาททั้งสิ้น 165,090 ล้านบาท
ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ธปท.คาดว่าในช่วงต้นไตรมาส 3 นี้ แผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายฯ จะสามารถนำออกมาใช้ได้ โดยแผนดังกล่าว เน้นผ่อนคลายหลักเกณฑ์หรือสนับสนุนนักลงทุนไทยไปลงทุนนอกประเทศมากขึ้น แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยช่วงแรกจะเพิ่มขนาดเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ในปัจจุบัน หรือจะขยายประเภทสินทรัพย์ให้หลากหลายมากขึ้น และช่วงระยะหลังจะอนุญาตให้ผู้ลงทุนรายย่อยออกไปลงทุนมากขึ้น ซึ่งส่วนนี้ก็ต้องประเมินผลงานของช่วงแรกที่ผ่อนคลายมาประกอบพิจารณาอีกครั้ง.