ก.ล.ต.เผย นักลงทุนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศไตรมาสแรกปีนี้ยังไม่มาก เหตุ ภาวะตลาดหุ้นไทยดี-ภาวะต่างประเทศยังไม่เอื้อมากนัก แต่เชื่ออาเซียนลิงก์เกจเกิดทำให้นักลงทุนไทยออกลงทุนนอกมากขึ้น
นางดวงมน จึงเสถียรทรัพย์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายงานผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า เม็ดเงินที่ออกไปลงทุนต่างประเทศของนักลงทุนบุคคล และกองทุนรวม ในช่วงไตรมาส1 ที่ผ่านมานั้น มีไม่มากนัก และยังไม่เต็มวงเงินที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เนื่องจากต้นปีที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น และปัจจัยทางยุโรป และสหรัฐอเมริกาไม่ดี ทำให้เม็ดเงินลงทุนก็จะไหลเข้าไปลงทุนในประเทศเกิดใหม่ จีน อินเดีย ซึ่งนักลงทุนและกองทุนไทยมีการออกไปลงทุนบ้าง
ทั้งนี้ โดย ณ สิ้นเดือนเมษายน เม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนบุคคลที่ลงทุนต่างประเทศผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) และกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวตฟันด์) ที่สะสมอยู่คงค้างอยู่จำนวน 210 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งวงเงินนั้นใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่จำนวนนักลงทุนที่ออกไปลงทุนต่างประเทศนั้นมีการเพิ่มขึ้น 10% จาก 500 ราย เป็น 550-560 คน ขณะที่กองทุนรวมณ เดือนกุมภาพันธ์ ก.ล.ต.ได้อนุมัติวงเงินไปจำนวน 1.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แต่ลงทุนจริง 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน ประมาณ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากมองเห็นโอกาสในการลงทุน และเป็นการลงทุนต่อ จากเดิมที่มีการลงทุนอยู่แล้ว โดยลงทุนในเกาหลีใต้เป็นอันดับ 1 ประมาณ 29% ของเงินที่ไปลงทุนทั้งหมด
“ในส่วนของนักลงทุนบุคคลที่ออกไปลงทุนผ่าน บล.และไพรเวตฟันด์ ก.ล.ต.จัดสรรวงเงิน 236 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีลงทุนจริง และมียอดสะสมค้างอยู่ที่ 210 ล้านเหรีญสหรัฐ ซึ่งที่ผ่านมา มีนักลงทุนออกไปลงทุนแล้ว และมีการคืนวงเงินมาแล้ว” นางดวงมนกล่าว
สำหรับการที่จะมีการเชื่อมโยงการซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์อาเซียน (ASEAN Trading Link) ซึ่งตลาดหุ้นไทยจะมีการเชื่อมโยงในเดือนสิงหาคมนี้ เชื่อว่าจะทำให้นักลงทุนมีการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น จากที่มีการเชื่อมโยงการซื้อขายระหว่างตลาดหุ้นในอาเซี่ยนมากขึ้น โดยส่วนตัวมองว่า การไปลงทุนของนักลงทุนบุคคลผ่าน บล.อาจจะยังไม่มากนัก แต่เชื่อว่าจะมีลักษณะการลงทุนผ่านกองทุนมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสของกองทุนที่จะมีการทำการตลาดมากขึ้น เพราะนักลงทุนบุคคลไทยอาจจะยังไม่ชำนาญการลงทุน และยังไม่ทราบว่าจะต้องกระจายการลงทุนในพอร์ตอย่างไร
นางดวงมน จึงเสถียรทรัพย์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายงานผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า เม็ดเงินที่ออกไปลงทุนต่างประเทศของนักลงทุนบุคคล และกองทุนรวม ในช่วงไตรมาส1 ที่ผ่านมานั้น มีไม่มากนัก และยังไม่เต็มวงเงินที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เนื่องจากต้นปีที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น และปัจจัยทางยุโรป และสหรัฐอเมริกาไม่ดี ทำให้เม็ดเงินลงทุนก็จะไหลเข้าไปลงทุนในประเทศเกิดใหม่ จีน อินเดีย ซึ่งนักลงทุนและกองทุนไทยมีการออกไปลงทุนบ้าง
ทั้งนี้ โดย ณ สิ้นเดือนเมษายน เม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนบุคคลที่ลงทุนต่างประเทศผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) และกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวตฟันด์) ที่สะสมอยู่คงค้างอยู่จำนวน 210 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งวงเงินนั้นใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่จำนวนนักลงทุนที่ออกไปลงทุนต่างประเทศนั้นมีการเพิ่มขึ้น 10% จาก 500 ราย เป็น 550-560 คน ขณะที่กองทุนรวมณ เดือนกุมภาพันธ์ ก.ล.ต.ได้อนุมัติวงเงินไปจำนวน 1.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แต่ลงทุนจริง 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน ประมาณ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากมองเห็นโอกาสในการลงทุน และเป็นการลงทุนต่อ จากเดิมที่มีการลงทุนอยู่แล้ว โดยลงทุนในเกาหลีใต้เป็นอันดับ 1 ประมาณ 29% ของเงินที่ไปลงทุนทั้งหมด
“ในส่วนของนักลงทุนบุคคลที่ออกไปลงทุนผ่าน บล.และไพรเวตฟันด์ ก.ล.ต.จัดสรรวงเงิน 236 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีลงทุนจริง และมียอดสะสมค้างอยู่ที่ 210 ล้านเหรีญสหรัฐ ซึ่งที่ผ่านมา มีนักลงทุนออกไปลงทุนแล้ว และมีการคืนวงเงินมาแล้ว” นางดวงมนกล่าว
สำหรับการที่จะมีการเชื่อมโยงการซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์อาเซียน (ASEAN Trading Link) ซึ่งตลาดหุ้นไทยจะมีการเชื่อมโยงในเดือนสิงหาคมนี้ เชื่อว่าจะทำให้นักลงทุนมีการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น จากที่มีการเชื่อมโยงการซื้อขายระหว่างตลาดหุ้นในอาเซี่ยนมากขึ้น โดยส่วนตัวมองว่า การไปลงทุนของนักลงทุนบุคคลผ่าน บล.อาจจะยังไม่มากนัก แต่เชื่อว่าจะมีลักษณะการลงทุนผ่านกองทุนมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสของกองทุนที่จะมีการทำการตลาดมากขึ้น เพราะนักลงทุนบุคคลไทยอาจจะยังไม่ชำนาญการลงทุน และยังไม่ทราบว่าจะต้องกระจายการลงทุนในพอร์ตอย่างไร