ASTVผู้จัดการรายวัน - ปลดล็อกซอฟต์โลนอืด แบงก์ชาติเลิกคุมเข้มแบงก์ปล่อยกู้ลูกค้าน้ำท่วม แถมเพิ่มวงเงินจาก 1 ล้านเป็น 3 ล้าน ไม่ให้แบงก์คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมา ขณะที่ "ประสาร" มั่นใจเศรษฐกิจไทยฟื้น แต่จับตาตัวแปรอย่างใกล้ชิดทั้งในและนอกประเทศมากขึ้น
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงินได้ลงนามประกาศเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ.2554 (ฉบับที่ 2) โดยสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงเงื่อนไขในการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ในโครงการนี้ทั้งในแง่ของเงื่อนไขกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อและธนาคารพาณิชย์ที่ให้สินเชื่อมีขอบเขตกว้างขึ้น เพื่อให้สามารถขอสินเชื่อได้ง่าย
ทั้งนี้ ธปท.ได้เพิ่มวงเงินให้สินเชื่อแก่บุคคลธรรมดาแต่ละรายไม่เกิน 3 ล้านบาท จากเดิมวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท และห้ามไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ร่วมโครงการเก็บค่าปรับจากผู้กู้ ในกรณีผู้กู้ไม่สามารถทำตามเงื่อนไขการปล่อยซอฟท์โลน ซึ่งต้องจ่ายค่าปรับให้ธปท.ในอัตรา 10% อีกทั้งยังห้ามธนาคารคิดค่าธรรมเนียมอื่นจากลูกหนี้ในโครงการนี้ นอกเหนือจากอัตราดอกเบี้ยที่คิดได้ 3% ต่อปี นอกจากนี้ยังปรับเนื้อหาของเงื่อนไขในแง่ความรับผิดชอบของสถาบันการเงินให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยบางเรื่องตัดคำว่า“รับรอง” ทิ้งไป หรือเพิ่มคำว่า “มีเจตนาฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม” เป็นต้น
**ผู้ว่าฯ ยัน ศก.ไทยวิ่งฉิวหลังน้ำท่วม
ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธปท.กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารโลกประเมินปีนี้ตัวเลขเศรษฐกิจไทยขยายตัว 4.5% ซึ่งต่างกับที่ธปท.ประมาณการไว้ว่าอาจจะสูงกว่า 6%ว่า ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะเป็นเรื่องคาดการณ์ ขึ้นอยู่กับสมมติฐานที่นำมาใช้ จึงอาจมีความแตกต่างกันบ้าง
โดยในส่วนของธปท.มองว่าขณะนี้เศรษฐกิจไทยอยู่ในลักษณะที่ฟื้นตัวจากช่วงเศรษฐกิจตกลงจากปัญหาน้ำท่วม ฉะนั้นอย่าปันใจว่าเศรษฐกิจจะไปทางใดทางหนึ่ง เพราะขณะนี้ตัวแปรที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจค่อนข้างเยอะทั้งที่เกิดจากปัจจัยในและต่างประเทศ
“ขณะนี้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ แต่ยังไม่ชัดเจน โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้มากมาชดเชยส่วนที่เสียหายจากปัญหาน้ำท่วมช่วงไตรมาส 4 ปีก่อน เมื่อชดเชยได้แล้วก็ต้องติดตามดูว่าในอนาคตเศรษฐกิจไทยจะมีแรงขับเคลื่อนได้มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งในเวลานี้มียังมีปัจจัยต่างประเทศที่ออกมาหลายสถานการณ์เช่นกัน”ผู้ว่าการธปท.กล่าวและว่าอย่างไรก็ตามแม้ปัจจุบันไทยมีสัดส่วนการค้ากับยุโรปไม่มาก 10%แต่ต้องจับตามองให้ดี เพราะหากเหตุการณ์ในยุโรปยืดเยื้ออาจกระทบทางอ้อมประเทศคู่ค้าของไทยได้ โดยเฉพาะจีน และอาเซียนที่ไทยมีสัดส่วนการค้าค่อนข้างมาก
ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า อย่าคาดหวังนโยบายการเงินสูงเกินไป เพราะความเป็นจริงใครจะตัดสินใจลงทุนหรือบริโภคจะพิจารณาปัจจัยอื่นประกอบด้วย อาทิ ความมั่นคงทางการเมือง การขยายตัวเศรษฐกิจโลก ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เป็นต้น และอย่างสหรัฐเองใช้ดอกเบี้ยต่ำและอัดฉีดสภาพคล่องค่อนข้างเยอะ แต่กระตุ้นการลงทุนและลดปัญหาการว่างงานไม่ได้ผลมากนัก
นอกจากนี้ ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยค่อนข้างต่ำเป็นรองแค่ไต้หวันประเทศเดียว เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคนี้ และหากหักอัตราเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงติดลบ 0.5% เทียบกับประเทศออสเตรเลีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จีน รวมถึงเกาหลีใต้ล้วนมีดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงเป็นบวกแทบทั้งสิ้น.
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงินได้ลงนามประกาศเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ.2554 (ฉบับที่ 2) โดยสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงเงื่อนไขในการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ในโครงการนี้ทั้งในแง่ของเงื่อนไขกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อและธนาคารพาณิชย์ที่ให้สินเชื่อมีขอบเขตกว้างขึ้น เพื่อให้สามารถขอสินเชื่อได้ง่าย
ทั้งนี้ ธปท.ได้เพิ่มวงเงินให้สินเชื่อแก่บุคคลธรรมดาแต่ละรายไม่เกิน 3 ล้านบาท จากเดิมวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท และห้ามไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ร่วมโครงการเก็บค่าปรับจากผู้กู้ ในกรณีผู้กู้ไม่สามารถทำตามเงื่อนไขการปล่อยซอฟท์โลน ซึ่งต้องจ่ายค่าปรับให้ธปท.ในอัตรา 10% อีกทั้งยังห้ามธนาคารคิดค่าธรรมเนียมอื่นจากลูกหนี้ในโครงการนี้ นอกเหนือจากอัตราดอกเบี้ยที่คิดได้ 3% ต่อปี นอกจากนี้ยังปรับเนื้อหาของเงื่อนไขในแง่ความรับผิดชอบของสถาบันการเงินให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยบางเรื่องตัดคำว่า“รับรอง” ทิ้งไป หรือเพิ่มคำว่า “มีเจตนาฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม” เป็นต้น
**ผู้ว่าฯ ยัน ศก.ไทยวิ่งฉิวหลังน้ำท่วม
ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธปท.กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารโลกประเมินปีนี้ตัวเลขเศรษฐกิจไทยขยายตัว 4.5% ซึ่งต่างกับที่ธปท.ประมาณการไว้ว่าอาจจะสูงกว่า 6%ว่า ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะเป็นเรื่องคาดการณ์ ขึ้นอยู่กับสมมติฐานที่นำมาใช้ จึงอาจมีความแตกต่างกันบ้าง
โดยในส่วนของธปท.มองว่าขณะนี้เศรษฐกิจไทยอยู่ในลักษณะที่ฟื้นตัวจากช่วงเศรษฐกิจตกลงจากปัญหาน้ำท่วม ฉะนั้นอย่าปันใจว่าเศรษฐกิจจะไปทางใดทางหนึ่ง เพราะขณะนี้ตัวแปรที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจค่อนข้างเยอะทั้งที่เกิดจากปัจจัยในและต่างประเทศ
“ขณะนี้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ แต่ยังไม่ชัดเจน โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้มากมาชดเชยส่วนที่เสียหายจากปัญหาน้ำท่วมช่วงไตรมาส 4 ปีก่อน เมื่อชดเชยได้แล้วก็ต้องติดตามดูว่าในอนาคตเศรษฐกิจไทยจะมีแรงขับเคลื่อนได้มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งในเวลานี้มียังมีปัจจัยต่างประเทศที่ออกมาหลายสถานการณ์เช่นกัน”ผู้ว่าการธปท.กล่าวและว่าอย่างไรก็ตามแม้ปัจจุบันไทยมีสัดส่วนการค้ากับยุโรปไม่มาก 10%แต่ต้องจับตามองให้ดี เพราะหากเหตุการณ์ในยุโรปยืดเยื้ออาจกระทบทางอ้อมประเทศคู่ค้าของไทยได้ โดยเฉพาะจีน และอาเซียนที่ไทยมีสัดส่วนการค้าค่อนข้างมาก
ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า อย่าคาดหวังนโยบายการเงินสูงเกินไป เพราะความเป็นจริงใครจะตัดสินใจลงทุนหรือบริโภคจะพิจารณาปัจจัยอื่นประกอบด้วย อาทิ ความมั่นคงทางการเมือง การขยายตัวเศรษฐกิจโลก ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เป็นต้น และอย่างสหรัฐเองใช้ดอกเบี้ยต่ำและอัดฉีดสภาพคล่องค่อนข้างเยอะ แต่กระตุ้นการลงทุนและลดปัญหาการว่างงานไม่ได้ผลมากนัก
นอกจากนี้ ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยค่อนข้างต่ำเป็นรองแค่ไต้หวันประเทศเดียว เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคนี้ และหากหักอัตราเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงติดลบ 0.5% เทียบกับประเทศออสเตรเลีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จีน รวมถึงเกาหลีใต้ล้วนมีดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงเป็นบวกแทบทั้งสิ้น.