เมื่อได้ยินคำถามว่า “เพื่อให้เกิดความปรองดองกันในประเทศ ให้คุณสนธิ ลิ้มทองกุล และผู้ต้องหาหนีคดีอย่าง ทักษิณ ชินวัตร มาพูดคุยกัน เรื่องจะจบหรือไม่” ผมคิดว่านี่คือคำถามโง่ๆ ซึ่งไม่น่าออกมาจากปากของผู้ที่ติดตามการเมืองไทย เพราะวันนี้ต่อให้ทักษิณ ชินวัตร หัวใจวายตายไปกะทันหัน เรื่องก็คงยังไม่จบง่ายๆ หรือหากไม่มีคุณสนธิ ลิ้มทองกุลเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ใช่ว่าปัญหาที่เรามีอยู่ทุกวันนี้จะหมดไป ทั้งนี้เพราะรากเหง้าของปัญหานั้น แท้จริงไม่ได้อยู่ที่บุคคลสองคนนี้
ความขัดแย้งในประเทศไทยขณะนี้เป็นสงครามตัวแทนของความคิดสองขั้วที่แตกต่างกัน ด้านหนึ่งคือกลุ่มทุนนิยมซึ่งรวมตัวกันเข้ายึดกุมอำนาจฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และลามไปถึงฝ่ายตุลาการ เพื่อต้องการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนของตนเอง โดยมีทักษิณ ชินวัตร เป็นตัวแทน ส่วนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น เป็นตัวแทนความคิดของประชาชน ซึ่งประกอบด้วยชนชั้นต่างๆ ในสังคม ปัญญาชน นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และนักธุรกิจที่รักความเป็นธรรม
แกนนำพันธมิตรฯ บางท่าน อย่างคุณพิภพ ธงไชย หรือ อ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ก็เคยทำงานอยู่ใกล้ชิดและเคลื่อนไหวร่วมกับคนจน และเกษตรกรกลุ่มต่างๆ ในนามสมัชชาคนจน บุคคลเหล่านี้ย่อมเข้าใจปัญหาของพี่น้องระกับรากหญ้า และมองเห็นว่าไม่มีทางแก้ไขปัญหานับร้อย นับพันกรณีให้จบลงได้ หากอยู่ภายใต้ระบบของกลุ่มทุนที่เข้าไปครองอำนาจบริการและนิติบัญญัติ เพราะไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐบาลก็ตาม แนวทางการช่วยเหลือประชาชนก็แทบไม่แตกต่างกัน เพียงแต่ฝ่ายทักษิณ จะทำนโยบายประชานิยมที่เรียกได้ว่า “โดนใจ” กลุ่มคนระดับรากหญ้าได้มากกว่า เพราะมีอำนาจรัฐอยู่ในมือเป็นเวลายาวนาน และอาศัยเครือข่ายระบบทุนของตนเข้ามามอมเมาประชาชน นำระบบการตลาดเข้ามาใช้ในทางการเมือง เข้ามาควบคุมและใช้ประโยชน์จากสื่อได้มากกว่ากลุ่มอื่น
สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยถูกโจมตีทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างมากในช่วงรัฐบาลทักษิณ เพราะแนวทางนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ไปกระทบและปะทะโดยตรงกับระบบทุนนิยมสามานย์ เมื่อแนวทางนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงถูกขยายออกไป ประชาชนก็เริ่มมีความคิดจะพึ่งพาตนเอง และลดการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยลง ส่งผลกระทบต่อกลุ่มทุนและระบบการตลาดที่สนับสนุนการบริโภค ซึ่งระบบทุนนิยมไทยก็มีประเทศทุนนิยมตัวแทนองค์กรโลกบาลอย่างสหรัฐอเมริกาอยู่เบื้องหลัง
จะเห็นได้ว่าไม่มีรัฐบาลไหนเลยที่จะรับเอาแนวนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปใช้ขยายผลอย่างจริงจัง ส่วนใหญ่นำไปพูดแต่ไม่ทำจริง หรือถึงจะทำ แต่ก็ทำไม่ต่อเนื่อง โดยไม่มีงบประมาณสนับสนุนเพื่อให้ขยายตัวได้อย่างกว้างขวาง ทั้งๆ ที่พิสูจน์แล้วว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะสามารถแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน ให้ชุมชนสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองและหยุดการพึ่งพาคนอื่น นี่คือหัวใจของมันซึ่งนักการเมืองไทยไม่ชอบ เพราะพวกเขาต้องการให้ประชาชนเป็นเพียงผู้บริโภคที่ต้องพึ่งพาโลกภายนอกอยู่ตลอดเวลา และเป็นเพียงเครื่องจักรที่ผลิตเงินตรา โดยมีธนาคารเป็นเครื่องสูบเงินเพื่อส่งต่อให้กับทุนสามานย์ทั้งหลายต่อไปไม่สิ้นสุด
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ ในขณะที่เกษตรกรประสบภาวะหนี้สินมากมาย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) กลับสร้างตึกใหม่ใหญ่โต ตรงข้ามกับหลักการที่เริ่มก่อตั้งธนาคารนี้ขึ้นมาอย่างสิ้นเชิง จะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนขึ้นเมื่อเทียบกับหลักการธนาคารคนจนของประเทศอินเดียที่เรียกว่า “กรามีนแบงก์” ซึ่งประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง โดยต้องการช่วยให้คนจนสามารถเข้าถึงแหล่งทุน และเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในธนาคารของตนเอง
การจ้องโจมตีสถาบันนั้น มิใช่เป็นความเกลียดชังส่วนตน แต่เป็นไปตามแผนและการบงการของกลุ่มทุนนิยมสามานย์ และองค์กรโลกบาลที่มีอิทธิพลข้ามชาติ ซึ่งไม่ต้องการให้แนวทางของพระมหากษัตริย์ไทยได้ขยายตัวเติบโต เพราะนั่นจะนำมาซึ่งการล่มสลายของทุนนิยมสามานย์
ประเทศไทยของเรานั้นมีข้าว ยางพารา อ้อย น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ในอันดับต้นๆ ของโลก จึงย่อมเป็นที่หมายปองของกลุ่มทุนข้ามชาติ ทักษิณเองก็เป็นเพียงตัวแทนหรือหมากตัวหนึ่งในกระดานเศรษฐกิจโลก กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่ใช่พวกคลั่งเจ้าโดยไม่ลืมหูลืมตาอย่างที่ใครกล่าวหา แต่เราเลือกยืนอยู่ข้างความถูกต้อง เราเลือกที่จะเชื่อในแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อ เพื่อนำพาชาติให้รอดจากการล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจในโลกยุคใหม่ เราเลือกที่จะเป็นไท เพราะไม่ต้องการตกเป็นทาสในระบบทุน
ครั้งนี้เราจึงจำเป็นต้องเลือกข้างและลุกขึ้นมารวมพลังกันต่อสู้อีกครั้ง เพราะคราวนี้เรามีประเทศไทยเป็นเดิมพัน
ความขัดแย้งในประเทศไทยขณะนี้เป็นสงครามตัวแทนของความคิดสองขั้วที่แตกต่างกัน ด้านหนึ่งคือกลุ่มทุนนิยมซึ่งรวมตัวกันเข้ายึดกุมอำนาจฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และลามไปถึงฝ่ายตุลาการ เพื่อต้องการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนของตนเอง โดยมีทักษิณ ชินวัตร เป็นตัวแทน ส่วนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น เป็นตัวแทนความคิดของประชาชน ซึ่งประกอบด้วยชนชั้นต่างๆ ในสังคม ปัญญาชน นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และนักธุรกิจที่รักความเป็นธรรม
แกนนำพันธมิตรฯ บางท่าน อย่างคุณพิภพ ธงไชย หรือ อ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ก็เคยทำงานอยู่ใกล้ชิดและเคลื่อนไหวร่วมกับคนจน และเกษตรกรกลุ่มต่างๆ ในนามสมัชชาคนจน บุคคลเหล่านี้ย่อมเข้าใจปัญหาของพี่น้องระกับรากหญ้า และมองเห็นว่าไม่มีทางแก้ไขปัญหานับร้อย นับพันกรณีให้จบลงได้ หากอยู่ภายใต้ระบบของกลุ่มทุนที่เข้าไปครองอำนาจบริการและนิติบัญญัติ เพราะไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐบาลก็ตาม แนวทางการช่วยเหลือประชาชนก็แทบไม่แตกต่างกัน เพียงแต่ฝ่ายทักษิณ จะทำนโยบายประชานิยมที่เรียกได้ว่า “โดนใจ” กลุ่มคนระดับรากหญ้าได้มากกว่า เพราะมีอำนาจรัฐอยู่ในมือเป็นเวลายาวนาน และอาศัยเครือข่ายระบบทุนของตนเข้ามามอมเมาประชาชน นำระบบการตลาดเข้ามาใช้ในทางการเมือง เข้ามาควบคุมและใช้ประโยชน์จากสื่อได้มากกว่ากลุ่มอื่น
สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยถูกโจมตีทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างมากในช่วงรัฐบาลทักษิณ เพราะแนวทางนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ไปกระทบและปะทะโดยตรงกับระบบทุนนิยมสามานย์ เมื่อแนวทางนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงถูกขยายออกไป ประชาชนก็เริ่มมีความคิดจะพึ่งพาตนเอง และลดการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยลง ส่งผลกระทบต่อกลุ่มทุนและระบบการตลาดที่สนับสนุนการบริโภค ซึ่งระบบทุนนิยมไทยก็มีประเทศทุนนิยมตัวแทนองค์กรโลกบาลอย่างสหรัฐอเมริกาอยู่เบื้องหลัง
จะเห็นได้ว่าไม่มีรัฐบาลไหนเลยที่จะรับเอาแนวนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปใช้ขยายผลอย่างจริงจัง ส่วนใหญ่นำไปพูดแต่ไม่ทำจริง หรือถึงจะทำ แต่ก็ทำไม่ต่อเนื่อง โดยไม่มีงบประมาณสนับสนุนเพื่อให้ขยายตัวได้อย่างกว้างขวาง ทั้งๆ ที่พิสูจน์แล้วว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะสามารถแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน ให้ชุมชนสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองและหยุดการพึ่งพาคนอื่น นี่คือหัวใจของมันซึ่งนักการเมืองไทยไม่ชอบ เพราะพวกเขาต้องการให้ประชาชนเป็นเพียงผู้บริโภคที่ต้องพึ่งพาโลกภายนอกอยู่ตลอดเวลา และเป็นเพียงเครื่องจักรที่ผลิตเงินตรา โดยมีธนาคารเป็นเครื่องสูบเงินเพื่อส่งต่อให้กับทุนสามานย์ทั้งหลายต่อไปไม่สิ้นสุด
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ ในขณะที่เกษตรกรประสบภาวะหนี้สินมากมาย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) กลับสร้างตึกใหม่ใหญ่โต ตรงข้ามกับหลักการที่เริ่มก่อตั้งธนาคารนี้ขึ้นมาอย่างสิ้นเชิง จะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนขึ้นเมื่อเทียบกับหลักการธนาคารคนจนของประเทศอินเดียที่เรียกว่า “กรามีนแบงก์” ซึ่งประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง โดยต้องการช่วยให้คนจนสามารถเข้าถึงแหล่งทุน และเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในธนาคารของตนเอง
การจ้องโจมตีสถาบันนั้น มิใช่เป็นความเกลียดชังส่วนตน แต่เป็นไปตามแผนและการบงการของกลุ่มทุนนิยมสามานย์ และองค์กรโลกบาลที่มีอิทธิพลข้ามชาติ ซึ่งไม่ต้องการให้แนวทางของพระมหากษัตริย์ไทยได้ขยายตัวเติบโต เพราะนั่นจะนำมาซึ่งการล่มสลายของทุนนิยมสามานย์
ประเทศไทยของเรานั้นมีข้าว ยางพารา อ้อย น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ในอันดับต้นๆ ของโลก จึงย่อมเป็นที่หมายปองของกลุ่มทุนข้ามชาติ ทักษิณเองก็เป็นเพียงตัวแทนหรือหมากตัวหนึ่งในกระดานเศรษฐกิจโลก กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่ใช่พวกคลั่งเจ้าโดยไม่ลืมหูลืมตาอย่างที่ใครกล่าวหา แต่เราเลือกยืนอยู่ข้างความถูกต้อง เราเลือกที่จะเชื่อในแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อ เพื่อนำพาชาติให้รอดจากการล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจในโลกยุคใหม่ เราเลือกที่จะเป็นไท เพราะไม่ต้องการตกเป็นทาสในระบบทุน
ครั้งนี้เราจึงจำเป็นต้องเลือกข้างและลุกขึ้นมารวมพลังกันต่อสู้อีกครั้ง เพราะคราวนี้เรามีประเทศไทยเป็นเดิมพัน