ASTVผู้จัดการรายวัน-“ เรกูเลเตอร์” กางแผนขึ้นค่าเอฟทีงวดละ 8.95 สตางค์ต่อหน่วยเริ่มงวดหน้าจนถึงสิ้นปี 56 รวม 4 งวด ยังไม่รวมกับต้นทุนเชื่อเพลิงที่จะมีปรับขึ้นลงอีกในอนาคต เพื่อทยอยจ่ายหนี้คืน กฟผ.
นางพัลลภา เรืองรอง กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือ เรกูเลเตอร์ เปิดเผยว่า การปรับค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ในงวดหน้า (ก.ย.-ธ.ค.55) คงไม่สามารถตรึงค่าไฟได้อีกเนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)ไม่มีความสามารถจะแบกรับภาระได้เพิ่มและอาจไม่สามารถขยายการลงทุนได้ เพราะที่ผ่านมาได้รับภาระเอฟทีแล้ว กว่า 20,000 ล้านบาท ดังนั้นภาระดังกล่าวจะทยอยเรียกคืนจากประชาชนงวดละ 8.59 สตางค์ต่อหน่วยจนถึงสิ้นปี 2556 หรือรวมทั้งสิ้น 4 งวด
“การปรับขึ้นเอฟทีอีก 8.59 สตางค์ต่อหน่วยต่องวดดังกล่าวยังไม่รวมการคำนวนต้นทุนอื่นๆ เช่น อัตราแลกเปลี่ยน ราคาเชื้อเพลิงย้อนหลัง 6 เดือนหากเชื้อเพลิงมีราคาแพงก็จะต้องบวกเพิ่มเข้าไปซึ่งการตรึงค่าไฟระยะยาวเป็นสิ่งที่อันตรายซึ่งที่สุดประชาชนจะต้องจ่ายเพิ่มอยู่ดี” นางพัลลภากล่าว
นอกจากนี้ เรกูเลเตอร์อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนการคำนวนโครงสร้างค่าไฟฐานใหม่ ให้เริ่มมีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุดภายในเดือน ก.ค.2556 ซึ่งในหลักการตัวแปรที่จะนำมาใช้คำนวนค่าไฟ จะส่งผลให้ประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายค่าไฟลดลง โดยเฉพาะรายจ่ายจากการบริการชำระค่าไฟฟ้า ที่ปัจจุบันพบว่ามีการเรียกเก็บซ้ำซ้อน จากที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เรียกเก็บค่าบริการ 38.22 บาทต่อเดือน แต่ประชาชนเมื่อไปชำระผ่านเค้าท์เตอร์เซอร์วิส เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น จะถูกคิดค่าบริการเพิ่มอีก 10-15 บาทต่อครั้ง ก็จะต้องเรียกทั้ง 2การไฟฟ้ามาหารือว่าจะรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มนี้ไปได้อย่างไร
นอกจากนี้ การพิจารณาโครงสร้างค่าไฟฐาน เดิมที่มีการนำต้นทุนซื้อไฟฟ้าจากเอกชนที่รวมการลงทุนค่าก่อสร้าง การวางระบบและต้นทุนราคาก๊าซ มาใช้คำนวนค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ทั้งหมด ก็จะแยกส่วนการลงทุนมาคำนวนกับค่าไฟฐานแทน เหลือเฉพาะต้นทุนที่เป็นราคาก๊าซจริงๆมาใช้คำนวนเป็นค่าเอฟทีให้มีความผันแปรสอดคล้องตลาดโลกมากขึ้น รวมทั้งจะมีการปรับสัดส่วนโครงสร้างการใช้ไฟในแต่ละกลุ่มใหม่ เพื่อให้ปริมาณการใช้ไฟสูงต่ำเฉลี่ยในแต่ละวันมีระดับใกล้เคียงกัน ไม่ให้มีการเร่งใช้ไฟในช่วงพีค เพราะจะมีค่าใช้จ่ายแพง ซึ่งแนวทางทั้งหมดจะทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลง.
นางพัลลภา เรืองรอง กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือ เรกูเลเตอร์ เปิดเผยว่า การปรับค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ในงวดหน้า (ก.ย.-ธ.ค.55) คงไม่สามารถตรึงค่าไฟได้อีกเนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)ไม่มีความสามารถจะแบกรับภาระได้เพิ่มและอาจไม่สามารถขยายการลงทุนได้ เพราะที่ผ่านมาได้รับภาระเอฟทีแล้ว กว่า 20,000 ล้านบาท ดังนั้นภาระดังกล่าวจะทยอยเรียกคืนจากประชาชนงวดละ 8.59 สตางค์ต่อหน่วยจนถึงสิ้นปี 2556 หรือรวมทั้งสิ้น 4 งวด
“การปรับขึ้นเอฟทีอีก 8.59 สตางค์ต่อหน่วยต่องวดดังกล่าวยังไม่รวมการคำนวนต้นทุนอื่นๆ เช่น อัตราแลกเปลี่ยน ราคาเชื้อเพลิงย้อนหลัง 6 เดือนหากเชื้อเพลิงมีราคาแพงก็จะต้องบวกเพิ่มเข้าไปซึ่งการตรึงค่าไฟระยะยาวเป็นสิ่งที่อันตรายซึ่งที่สุดประชาชนจะต้องจ่ายเพิ่มอยู่ดี” นางพัลลภากล่าว
นอกจากนี้ เรกูเลเตอร์อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนการคำนวนโครงสร้างค่าไฟฐานใหม่ ให้เริ่มมีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุดภายในเดือน ก.ค.2556 ซึ่งในหลักการตัวแปรที่จะนำมาใช้คำนวนค่าไฟ จะส่งผลให้ประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายค่าไฟลดลง โดยเฉพาะรายจ่ายจากการบริการชำระค่าไฟฟ้า ที่ปัจจุบันพบว่ามีการเรียกเก็บซ้ำซ้อน จากที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เรียกเก็บค่าบริการ 38.22 บาทต่อเดือน แต่ประชาชนเมื่อไปชำระผ่านเค้าท์เตอร์เซอร์วิส เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น จะถูกคิดค่าบริการเพิ่มอีก 10-15 บาทต่อครั้ง ก็จะต้องเรียกทั้ง 2การไฟฟ้ามาหารือว่าจะรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มนี้ไปได้อย่างไร
นอกจากนี้ การพิจารณาโครงสร้างค่าไฟฐาน เดิมที่มีการนำต้นทุนซื้อไฟฟ้าจากเอกชนที่รวมการลงทุนค่าก่อสร้าง การวางระบบและต้นทุนราคาก๊าซ มาใช้คำนวนค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ทั้งหมด ก็จะแยกส่วนการลงทุนมาคำนวนกับค่าไฟฐานแทน เหลือเฉพาะต้นทุนที่เป็นราคาก๊าซจริงๆมาใช้คำนวนเป็นค่าเอฟทีให้มีความผันแปรสอดคล้องตลาดโลกมากขึ้น รวมทั้งจะมีการปรับสัดส่วนโครงสร้างการใช้ไฟในแต่ละกลุ่มใหม่ เพื่อให้ปริมาณการใช้ไฟสูงต่ำเฉลี่ยในแต่ละวันมีระดับใกล้เคียงกัน ไม่ให้มีการเร่งใช้ไฟในช่วงพีค เพราะจะมีค่าใช้จ่ายแพง ซึ่งแนวทางทั้งหมดจะทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลง.