นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม 2555 ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องเสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 30 สตางค์ต่อหน่วย ทั้งประเทศเราใช้ไฟฟ้าปีละประมาณ 1.5 แสนล้านหน่วย ส่งผลให้เงินในกระเป๋าของเราต้องหายไปอีก 4.5 หมื่นล้านบาทต่อปี นี่ยังไม่นับค่าราคาสินค้าที่จะเพิ่มตามมาอีกมากมาย
ผมจะค่อยๆ ทำความเข้าใจกับท่านผู้อ่านถึงกระบวนการและเหตุผลในการขึ้นราคาดังกล่าว แล้วสุดท้ายขอท่านโปรดตัดสินเองว่าเราอาศัยอยู่ในประเทศที่มีการปกครองกันด้วยเหตุด้วยผล มีธรรมาภิบาลหรืออยู่ในสังคมที่ใครใหญ่ใครอยู่ ใครจะทำอะไรก็ได้ ขอแต่เพียงให้มีอำนาจเท่านั้นกันแน่ ผมขอลำดับเป็นข้อๆ จากนั้นจึงเป็นคำอธิบายโต้แย้งของผม ดังนี้ครับ
1. ค่าไฟฟ้าที่เราต้องจ่ายประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ หนึ่ง ค่าใช้จ่ายในการผลิตและส่งไฟฟ้า (รวมกำไรด้วย) เรียกว่า ค่าไฟฟ้าฐาน สอง ค่าเปลี่ยนแปลงราคาเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า (จากต่างประเทศซึ่งมีประมาณ 7% ของไฟฟ้าทั้งหมด) เรียกว่า ค่าไฟฟ้าแปรผันอัตโนมัติ (Ft, Fuel adjustment time, เอฟที) และ สาม ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
ค่าเอฟทีเป็นอำนาจของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ. ที่เพิ่งตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. ประกอบกิจการพลังงาน 2550, กกพ. มี 7 คน ประธานมีเงินเดือนและค่ารับรองประมาณ 3 แสนบาท) เหตุผลที่อ้างในการมีค่าเอฟทีก็เพราะจะได้ปรับเปลี่ยนให้ทันกับสถานการณ์ทุก 4 เดือน ในปี 2554 ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่หน่วยละ 3.17 บาท ในจำนวนนี้เป็นค่าเอฟทีเสีย 0.9581 บาท (ถ้าเปิดเตารีดขนาด 1,000 วัตต์นานหนึ่งชั่วโมงจะใช้พลังงานหนึ่งหน่วย)
2. เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผู้ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้า รับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนและต่างประเทศ และขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าภูมิภาค ได้นำเสนอ กกพ. เพื่อขอขึ้นค่าเอฟทีอีก 0.5745 บาท วันที่ 25 เมษายน (หลังสงกรานต์) กกพ. ได้เจรจาต่อรองให้เหลือเพียง 0.30 บาท หลังจากนั้นก็เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นภายใน 5 วัน (ย้ำ 5 วัน)
3. เหตุผลที่ใช้ในการขอขึ้นค่าเอฟทีครั้งนี้คือ หนึ่ง สาเหตุหลักเกิดจากความเชื่อว่าน้ำมันเตาเป็นตัวแปรหลักในการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติ (ไทยใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้า 70% ของทั้งหมด) เมื่อน้ำมันดิบขึ้นราคา ก๊าซธรรมชาติก็ขึ้นตามไปด้วย สอง ราคาก๊าซธรรมชาติได้เพิ่มขึ้นจาก 292.65 เป็น 301.28 บาทต่อล้านบีทียู (เพิ่มขึ้น 8.63 บาท) สาม น้ำมันเตาเพิ่มขึ้นจาก 24.79 เป็น 25.87 บาทต่อลิตร (ไฟฟ้าไทยผลิตจากน้ำมันเตาเพียง 0.8%) สี่ น้ำมันดีเซลเพิ่มจาก 27.27 เป็น 28.19 บาทต่อลิตร (ผลิตจากน้ำมันดีเซลเพียง 0.02%) ห้า อัตราแลกเปลี่ยนเงิน 30.92 บาทต่อดอลลาร์ (แข็งขึ้น 0.45 บาท) เท่าที่ผมทราบ กกพ.ไม่ได้สงสัยหรือสืบค้นหาข้อมูลอะไรนอกจากพิจารณาตามที่เสนอมา ดูจากระยะเวลาที่พิจารณาก็ยืนยันได้
คำอธิบายโต้แย้ง
1. ความเชื่อของ กกพ. ที่ว่า น้ำมันเตาเป็นตัวแปรหลักในการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติ (ในข้อ 3 ส่วนที่หนึ่ง) อาจจะเป็นความจริงอยู่บ้างในอดีต แต่นับจากปี 2552 (หรือ ค.ศ. 2009) เป็นต้นมา เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นความจริงอีกต่อไป ดังข้อมูลในแผนภาพและกราฟที่ผมนำมาเสนอพร้อมคำอธิบายประกอบ อาจจะดูรกไปบ้างต้องขออภัยนะครับ เกิดเป็นประชาชนไทยต้องอดทนได้ทุกอย่าง! (เพลงของสุรชัย จันทิมาธร)
ข้อมูลนี้เป็นของประเทศสหรัฐอเมริกาครับ จากกราฟเราจะเห็นว่า นับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมาราคาน้ำมันดิบกับราคาก๊าซธรรมชาติไม่ได้ขึ้น-ลงไปด้วยกันดังแต่ก่อนอีกแล้ว ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้นจาก 90 ไปอยู่ที่ 102 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่ราคาก๊าซธรรมชาติกลับลดลงจาก 5.0 ไปอยู่ที่ 2.06 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียูซึ่งสวนทางกับที่ กกพ.อ้าง ผมเชื่อว่าเทคโนโลยีการขุดเจาะแบบใหม่ที่สามารถลดต้นทุนได้มากน่าจะมาถึงประเทศไทยแล้ว (มีใช้ครั้งแรกที่เท็กซัส ประมาณ 20 ปีแล้ว)
จากข้อมูลทั่วไปพบว่า ก๊าซธรรมชาติ 1 ล้านบีทียู (ประมาณ 1 พันลูกบาศก์ฟุต) สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 120 หน่วย หยิบเครื่องคิดเลขมาลองจิ้มดูพบว่า ในการผลิตไฟฟ้าหนึ่งหน่วยค่าก๊าซธรรมชาติในสหรัฐอเมริกา 0.50 บาท เท่านั้น
จากข้อ 3 ส่วนที่สอง ที่ว่าราคาก๊าซจะขึ้นไปอยู่ที่ 301.28 บาท ดังนั้นต้นทุนค่าก๊าซในการผลิตไฟฟ้าไทยจะอยู่ที่ 2.51 บาทต่อหน่วย (ตัวเลขในแผนภาพของผมอยู่ที่ 2.00 บาท เป็นการประมาณโดยใช้ข้อมูลจากรายงานประจำปี 2553 ของ กฟผ. ตัวเลขอยู่ที่ 1.824 บาท)
ถ้ายึดตามตัวเลขของ กฟผ.ที่ว่าราคาก๊าซจะเพิ่มขึ้น 8.63 บาทต่อล้านบีทียู จะทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพียง 7.17 สตางค์ต่อหน่วยเท่านั้น ไม่ใช่ 57.45 สตางค์ (ลักไก่ชัดๆ!) ส่วนที่ว่าราคาน้ำมันดีเซล น้ำมันเตาสูงขึ้นนั้นเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยมาก เพราะเราใช้แค่นิดเดียวคือ 0.8 และ 0.02% เท่านั้น
ตัดสินได้หรือยังครับว่าเราอยู่ในประเทศที่มีการปกครองกันด้วยเหตุด้วยผลหรืออยู่ในสังคมที่ใครใหญ่ใครอยู่?
ผมจะค่อยๆ ทำความเข้าใจกับท่านผู้อ่านถึงกระบวนการและเหตุผลในการขึ้นราคาดังกล่าว แล้วสุดท้ายขอท่านโปรดตัดสินเองว่าเราอาศัยอยู่ในประเทศที่มีการปกครองกันด้วยเหตุด้วยผล มีธรรมาภิบาลหรืออยู่ในสังคมที่ใครใหญ่ใครอยู่ ใครจะทำอะไรก็ได้ ขอแต่เพียงให้มีอำนาจเท่านั้นกันแน่ ผมขอลำดับเป็นข้อๆ จากนั้นจึงเป็นคำอธิบายโต้แย้งของผม ดังนี้ครับ
1. ค่าไฟฟ้าที่เราต้องจ่ายประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ หนึ่ง ค่าใช้จ่ายในการผลิตและส่งไฟฟ้า (รวมกำไรด้วย) เรียกว่า ค่าไฟฟ้าฐาน สอง ค่าเปลี่ยนแปลงราคาเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า (จากต่างประเทศซึ่งมีประมาณ 7% ของไฟฟ้าทั้งหมด) เรียกว่า ค่าไฟฟ้าแปรผันอัตโนมัติ (Ft, Fuel adjustment time, เอฟที) และ สาม ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
ค่าเอฟทีเป็นอำนาจของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ. ที่เพิ่งตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. ประกอบกิจการพลังงาน 2550, กกพ. มี 7 คน ประธานมีเงินเดือนและค่ารับรองประมาณ 3 แสนบาท) เหตุผลที่อ้างในการมีค่าเอฟทีก็เพราะจะได้ปรับเปลี่ยนให้ทันกับสถานการณ์ทุก 4 เดือน ในปี 2554 ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่หน่วยละ 3.17 บาท ในจำนวนนี้เป็นค่าเอฟทีเสีย 0.9581 บาท (ถ้าเปิดเตารีดขนาด 1,000 วัตต์นานหนึ่งชั่วโมงจะใช้พลังงานหนึ่งหน่วย)
2. เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผู้ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้า รับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนและต่างประเทศ และขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าภูมิภาค ได้นำเสนอ กกพ. เพื่อขอขึ้นค่าเอฟทีอีก 0.5745 บาท วันที่ 25 เมษายน (หลังสงกรานต์) กกพ. ได้เจรจาต่อรองให้เหลือเพียง 0.30 บาท หลังจากนั้นก็เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นภายใน 5 วัน (ย้ำ 5 วัน)
3. เหตุผลที่ใช้ในการขอขึ้นค่าเอฟทีครั้งนี้คือ หนึ่ง สาเหตุหลักเกิดจากความเชื่อว่าน้ำมันเตาเป็นตัวแปรหลักในการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติ (ไทยใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้า 70% ของทั้งหมด) เมื่อน้ำมันดิบขึ้นราคา ก๊าซธรรมชาติก็ขึ้นตามไปด้วย สอง ราคาก๊าซธรรมชาติได้เพิ่มขึ้นจาก 292.65 เป็น 301.28 บาทต่อล้านบีทียู (เพิ่มขึ้น 8.63 บาท) สาม น้ำมันเตาเพิ่มขึ้นจาก 24.79 เป็น 25.87 บาทต่อลิตร (ไฟฟ้าไทยผลิตจากน้ำมันเตาเพียง 0.8%) สี่ น้ำมันดีเซลเพิ่มจาก 27.27 เป็น 28.19 บาทต่อลิตร (ผลิตจากน้ำมันดีเซลเพียง 0.02%) ห้า อัตราแลกเปลี่ยนเงิน 30.92 บาทต่อดอลลาร์ (แข็งขึ้น 0.45 บาท) เท่าที่ผมทราบ กกพ.ไม่ได้สงสัยหรือสืบค้นหาข้อมูลอะไรนอกจากพิจารณาตามที่เสนอมา ดูจากระยะเวลาที่พิจารณาก็ยืนยันได้
คำอธิบายโต้แย้ง
1. ความเชื่อของ กกพ. ที่ว่า น้ำมันเตาเป็นตัวแปรหลักในการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติ (ในข้อ 3 ส่วนที่หนึ่ง) อาจจะเป็นความจริงอยู่บ้างในอดีต แต่นับจากปี 2552 (หรือ ค.ศ. 2009) เป็นต้นมา เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นความจริงอีกต่อไป ดังข้อมูลในแผนภาพและกราฟที่ผมนำมาเสนอพร้อมคำอธิบายประกอบ อาจจะดูรกไปบ้างต้องขออภัยนะครับ เกิดเป็นประชาชนไทยต้องอดทนได้ทุกอย่าง! (เพลงของสุรชัย จันทิมาธร)
ข้อมูลนี้เป็นของประเทศสหรัฐอเมริกาครับ จากกราฟเราจะเห็นว่า นับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมาราคาน้ำมันดิบกับราคาก๊าซธรรมชาติไม่ได้ขึ้น-ลงไปด้วยกันดังแต่ก่อนอีกแล้ว ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้นจาก 90 ไปอยู่ที่ 102 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่ราคาก๊าซธรรมชาติกลับลดลงจาก 5.0 ไปอยู่ที่ 2.06 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียูซึ่งสวนทางกับที่ กกพ.อ้าง ผมเชื่อว่าเทคโนโลยีการขุดเจาะแบบใหม่ที่สามารถลดต้นทุนได้มากน่าจะมาถึงประเทศไทยแล้ว (มีใช้ครั้งแรกที่เท็กซัส ประมาณ 20 ปีแล้ว)
จากข้อมูลทั่วไปพบว่า ก๊าซธรรมชาติ 1 ล้านบีทียู (ประมาณ 1 พันลูกบาศก์ฟุต) สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 120 หน่วย หยิบเครื่องคิดเลขมาลองจิ้มดูพบว่า ในการผลิตไฟฟ้าหนึ่งหน่วยค่าก๊าซธรรมชาติในสหรัฐอเมริกา 0.50 บาท เท่านั้น
จากข้อ 3 ส่วนที่สอง ที่ว่าราคาก๊าซจะขึ้นไปอยู่ที่ 301.28 บาท ดังนั้นต้นทุนค่าก๊าซในการผลิตไฟฟ้าไทยจะอยู่ที่ 2.51 บาทต่อหน่วย (ตัวเลขในแผนภาพของผมอยู่ที่ 2.00 บาท เป็นการประมาณโดยใช้ข้อมูลจากรายงานประจำปี 2553 ของ กฟผ. ตัวเลขอยู่ที่ 1.824 บาท)
ถ้ายึดตามตัวเลขของ กฟผ.ที่ว่าราคาก๊าซจะเพิ่มขึ้น 8.63 บาทต่อล้านบีทียู จะทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพียง 7.17 สตางค์ต่อหน่วยเท่านั้น ไม่ใช่ 57.45 สตางค์ (ลักไก่ชัดๆ!) ส่วนที่ว่าราคาน้ำมันดีเซล น้ำมันเตาสูงขึ้นนั้นเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยมาก เพราะเราใช้แค่นิดเดียวคือ 0.8 และ 0.02% เท่านั้น
ตัดสินได้หรือยังครับว่าเราอยู่ในประเทศที่มีการปกครองกันด้วยเหตุด้วยผลหรืออยู่ในสังคมที่ใครใหญ่ใครอยู่?