หนึ่งในข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำคัญจากกระบวนการมีส่วนรวมของทุกภาคส่วนสังคมบนแนวทางการแสวงหาฉันทามติเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยไปสู่ความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมคือ ‘การปฏิรูประบบเกษตรกรรมเพื่อความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหาร’ เพราะความเป็นธรรมในภาคเกษตรเกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ในประเทศ
คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนโดยเฉพาะในห้วงยามวิกฤตเศรษฐกิจหรือพิบัติภัยธรรมชาติจึงพึ่งพิงผลิตผลและหยาดเหงื่อแรงงานจากภาคเกษตรกรรมมากกว่าอุตสาหกรรม แม้ว่าภาคเกษตรกรรมจะมีสัดส่วนจีดีพีต่ำกว่าภาคอุตสาหกรรมหรือสูงกว่าภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพียงเล็กน้อย หรือสัดส่วนคนในภาคเกษตรลดลงก็ตาม แต่ทว่าความต่างอย่างมีนัยสำคัญอยู่ที่ว่าภาคเกษตรกรรมทั้งแบบเกษตรอินทรีย์ เกษตรยั่งยืน เกษตรทฤษฎีใหม่ หรือกระทั่งเกษตรอุตสาหกรรม ล้วนเป็นฐานเศรษฐกิจรองรับกับความผันผวนปรวนแปรในชีวิตผู้คนได้ดีกว่าไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือชนบทเพราะในระบบทุนนิยมย่อมมีคนส่วนหนึ่งล้มเหลวกับการไขว่คว้าโอกาสทางเศรษฐกิจเพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ที่ต้องแก่งแย่งแข่งขัน
กระนั้นขณะประตูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะเปิดปี 2558 ที่ไทยต้องแข่งขันสูงขึ้นด้านการเกษตรจากการเป็นตลาดและฐานผลิตเดียวกัน ภาคเกษตรกรรมไทยเองกลับไม่พัฒนานโยบายด้านการวิจัยและพัฒนา การชลประทาน และการปฏิรูปที่ดิน (non-price policy) จนแทบแข่งขันกับเพื่อนบ้านอาเซียนไม่ได้ ในขณะเดียวกันเกษตรกรรายย่อยก็ไม่ได้ประโยชน์จากนโยบายประชานิยมแบบนโยบายราคา (price policy) แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ด้วยต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเมล็ดพันธุ์ของบรรษัทที่ทำธุรกิจครบวงจนจนง่ายต่อการผูกขาดปัจจัยการผลิตทั้งที่ดิน น้ำ พันธุกรรมพืชและสัตว์ ยันตลาด ไม่เว้นแม้แต่ข้าวที่เป็น ‘พืชเศรษฐกิจ-การเมือง’ ซึ่งปัจจุบันราคาสูงกว่าเพื่อนบ้านมากจากโครงการรับจำนำข้าวที่แทรกแซงตลาดโดยกำหนดราคาเป้าหมายนำหรือราคารับจำนำสูงกว่าราคาตลาดมาก หากที่สุดชาวนาไทยก็ยังยากจนดังเดิมแม้รัฐจะเป็นผู้ผูกขาดตลาดข้าวเปลือกแล้ว
นอกจากนั้นในอีกด้านของเหรียญเมื่อเกิดวิกฤตอาหารราคาแพงจนประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถแบกรับภาระค่าครองชีพต่อไปได้ ในขณะเดียวกันกับมาตรการช่วยเหลือของรัฐก็เป็นแค่มาตรการระยะสั้นด้านการควบคุมราคาสินค้าบริโภค และการตรึงราคาที่ต้องร้องขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการเอกชน ที่ที่สุดแล้วก็ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอและครอบคลุมกลุ่มคนเดือดร้อน โดยเฉพาะคนจนเมือง ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ (food security) ของกลุ่มเสี่ยงจึงถูกสั่นคลอนจากการต้องบริโภคอาหารแพง ไม่ปลอดภัย และไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งในรูปแบบอาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูป ไปจนถึงแกงถุง ซึ่งระหว่างนั้นเกษตรกรก็ใช่ได้ประโยชน์จากการขายผลผลิตเพราะวัตถุดิบทั้งผักเนื้อสัตว์ไข่ถูกควบคุมราคา ขณะที่ต้นทุนปุ๋ย ยาฆ่าแมลง พันธุกรรมพืชและสัตว์ กลับขึ้นได้อย่างอิสระ ไม่ได้ถูกพันธนาการเข้มข้นจากนโยบายรัฐ
พันธนาการตลอดห่วงโซ่อาหาร (food supply chain) ที่ไม่เคยคลี่คลายภายใต้วิกฤตการณ์อาหารราคาแพงนอกเหนือมาจากสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และค่าโลจิสติกส์และพลังงานที่ถีบตัวสูงขึ้นแล้ว การถูกผูกขาดปัจจัยการผลิตของเกษตรกรรายย่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพันธุกรรมอันเป็นปัจจัยตั้งต้นสำคัญสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรนั้นยังทำให้ผู้บริโภคในเมืองจำนวนหนึ่งซึ่งมีรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่ำกว่าเส้นความยากจนด้านอาหารอยู่แล้วเผชิญความลำบากยากแค้นขัดสนขึ้นอีก
ขณะที่อีกด้านเกษตรกรก็ยากจนลงเรื่อยๆ จากการต้องพึ่งพิงบรรษัทด้านพันธุกรรมพืชและสัตว์ทุกรอบการผลิตจนสูญเสีย ‘อิสรภาพทางพันธุกรรม’ แก่บรรษัทอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารยักษ์ใหญ่ครบวงจร จากก่อนหน้านั้นก็สูญเสียที่ดินไปแล้วจากการกู้หนี้ยืมสินซื้อปัจจัยการผลิตให้แก่หน่วยงานรัฐ เอกชนนายทุน รวมถึงที่กำลังจะมาถึงจากการล่าอาณานิคมเพื่อปลูกพืชอาหารของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมที่ขาดเสถียรภาพด้านความมั่นคงทางอาหาร และกลุ่มบรรษัทข้ามชาติที่เห็นเม็ดเงินกำไรจากการแสวงหาดินแดนของต่างชาติสำหรับการปลูกพืชอาหารและพืชพลังงานโดยใช้กติกาการเปิดเสรีการค้าการลงทุน
กระทั่งเกิดปรากฏการณ์แย่งยึดที่ดิน (land grab) ไปทั่วโลกที่ทำให้ประชาชนเจ้าของประเทศที่ถูกลงทุนขาดความมั่นคงทางอาหาร เกษตรกรขาดแคลนที่ดินทำกิน วิถีการผลิตที่ยั่งยืนสอดคล้องกับระบบนิเวศสูญสลาย ความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูญสิ้น สิทธิทางอาหาร (Right to food) อันเป็นฐานรากร่วมกับอธิปไตยทางอาหาร (food sovereignty) และสิทธิเกษตรกร (Farmers’ Rights) มลายหาย
ภายใต้วิกฤตข้าวยากหมากแพงหรือ ‘แพงทั้งแผ่นดิน’ ดังหลายฝ่ายขนานนามสถานการณ์นี้จึงต้องมองหนทางแก้ไขในระดับ ‘ปฏิวัติระบบเกษตรกรรมและอาหารในระดับโครงสร้าง’ มากกว่าการขยายร้านธงฟ้าหรือตั้งโครงการ ‘ถูกทั้งแผ่นดิน’ ที่มีนัยตอบโต้ทางการเมืองมากกว่าช่วยเหลือชีวิตประชาชนข้นแค้น แทนที่ฝ่ายค้านรัฐบาลจะเสนอมาตรการก้าวหน้ากว่า แต่ก็กลับทำได้แค่เกมการเมืองเรื่องแพง-ถูกกว่ากัน
ต่างจากแนวทางสร้าง ‘อิสรภาพทางพันธุกรรม’ ที่ไม่เพียงมีคุณูปการต่อตัวเกษตรกรผู้ผลิตอาหารเลี้ยงประชากรไทยและโลกตามนโยบายครัวโลกที่ต้องผลิตอาหารมีคุณภาพและความปลอดภัย แต่การใช้เมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรเป็นเจ้าของเองโดยไม่ต้องใช้สารเคมีที่มีอันตรายร้ายแรงอยู่ดีถึงจะมีคู่มือการใช้อย่างถูกต้องและปลอดภัย (safe use) ก็จะทำให้คนไทยที่เคยเป็น ‘ผู้บริโภคชั้นสอง’ ได้บริโภคพืชผักไร้สารพิษร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคาร์โบฟูราน (carbofuran) เมโทมิล (methomyl) ไดโครโตฟอส (dicrotophos) และอีพีเอ็น (EPN) ปนเปื้อน เหมือนกันกับ ‘ผู้บริโภคชั้นหนึ่ง’ ชาวต่างชาติที่ได้บริโภคอาหารปลอดภัยและมีคุณภาพของไทยจากการกำกับที่ต้นทางให้เกษตรกรปฏิบัติตามทางการเกษตรที่ดี (GAP) และปลายทางที่กำกับการส่งออกสินค้าอย่างเข้มงวดของภาครัฐและการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านอาหาร (food standard) ของภาคเอกชนที่เกรงสูญเสียตลาดส่งออกและรายได้ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามระบบพื้นฐานของอุตสาหกรรมอาหาร (GMP) หรือระบบการวิเคราะห์อันตรายและควบคุมจุดวิกฤต (HACCP)
ดังกรณี GMO และสารเคมี 4 ชนิดข้างต้นที่สหภาพยุโรป (EU) ตรวจสอบเข้มข้น ขณะที่ในไทยไม่เพียงไม่แบนสารเคมี 4 ชนิดนี้ แต่ยังพบ GMO ปนเปื้อนในพื้นที่เกษตรดังที่มีการผลักดันให้ปลูกพืช GMO ได้ในแปลงทดลองเพื่อขยายผลไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ โดยบรรษัทอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ที่จะพัฒนาและขยายเมล็ดพันธุ์ตัดต่อพันธุกรรม (GM seed) เพื่อครองตลาดหลังประสบผลสำเร็จมาแล้วจากการครองตลาดเมล็ดพันธุ์จากเมล็ดพันธุ์ลูกผสม (hybrid seed) ทั้งในข้าวและข้าวโพดบนข้ออ้างให้ผลผลิตสูงกว่า
สิทธิในพันธุกรรมทั้งพืชและสัตว์จึงถูกผูกขาดครอบครองโดยบรรษัทธุรกิจการเกษตร กระทั่งความมั่นคงทางอาหารในระดับจุลภาคหรือระดับครัวเรือน และชุมชนถูกแทนที่ด้วยสายพานการผลิตอาหารระดับบรรษัทที่ถูกวาดภาพเป็นศักยภาพการผลิตอาหารของประเทศในระดับมหภาค ทำนองเดียวกับการอ้างว่าผลประโยชน์บรรษัทเป็นผลประโยชน์ประเทศ (national interest) นั่นเอง อันจะส่งผลให้ในภาวะวิกฤต ระบบกระจายอาหารที่รวมศูนย์ผ่านศูนย์กระจายสินค้า (DC) ของโมเดิร์นเทรดที่มีสัดส่วนของสินค้าอาหารมากกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไปไม่สามารถตอบความต้องการของประชาชนได้ ในชั้นวางสินค้าไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต ดิสเคาน์สโตร์ และร้านสะดวกซื้อจึงว่างเปล่าเพราะค้าปลีกขนาดยักษ์คำนวณแล้วไม่คุ้มทุนค่าขนส่ง ต่างจากร้านโชวห่วยและตลาดท้องถิ่นที่ผู้คนคงเข้าถึงอาหารได้ ในวิกฤตสิทธิทางอาหารยังคงอยู่
ยุทธศาสตร์สร้าง ‘สิทธิ อิสรภาพ อธิปไตย และความมั่นคงทางอาหาร’ ยามข้าวยากหมากแพงที่ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคจะได้ประโยชน์ยั่งยืนนั้น จึงต้องปรับกระบวนทัศน์นโยบายการจัดการด้านอาหารของประเทศไทยใหม่ให้สามารถ ‘ปลดล็อก’ ผูกขาดปัจจัยการผลิตของบรรษัทเกษตรและอาหาร โดยเฉพาะพันธุกรรมพืชและสัตว์ซึ่งเป็นต้นธารอาหาร โดยต้องส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มเกษตรกรในการผลิต พัฒนา อนุรักษ์ และกระจายพันธุกรรม ขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนหรือเกษตรพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะเพื่อต้านการครองตลาดเมล็ดพันธุ์ของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ที่พันธนาการเกษตรกรไว้ด้วยเทคโนโลยีและระเบียบการค้า ควบคู่กับแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคกับเกษตรกรรายย่อยที่ขาดอำนาจต่อรองด้านการตลาดและปัจจัยการผลิตทรัพยากรที่ดิน น้ำ เมล็ดพันธุ์ พ่อพันธุ์แม่พันธุ์
รวมทั้งการสร้างกฎกติกาว่าด้วยความเป็นธรรมในระบบกระจายอาหารและตลาดซึ่งวันนี้มีแต่ผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ประโยชน์ โดยการส่งเสริมกลไกการค้าที่เป็นธรรม (fair trade) คู่กับระบบเกษตรที่สนับสนุนโดยชุมชน (CSA) เพราะเป็นการเชื่อมร้อยผู้บริโภคกับผู้ผลิตไว้ด้วยกันอันจะทำให้ผู้บริโภคได้รู้ที่มาที่ไปของอาหารว่ามาจากวิถีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเป็นธรรมกับเกษตรกรหรือเป็นระบบที่กดขี่บีฑาเกษตรกรรายย่อยในระบบเกษตรพันธสัญญา ซึ่งลำพังมาตรการตรวจสอบย้อนกลับของอาหาร (traceability) ที่มุ่งมิติความปลอดภัยให้ไม่ได้ ในขณะเดียวกันก็ได้บริโภคอาหารที่หลากหลาย ปลอดภัย มีโภชนาการ และที่สำคัญราคาไม่แพง ซึ่งมาตรการแก้ไขทางการเมืองแบบร้านถูกทั้งแผ่นดินตอบโจทย์ไม่ได้เพราะเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุและดำเนินการระยะสั้นจนแบ่งเบาภาระประชาชนข้นแค้นถาวรไม่ได้
ในเวลาเดียวกัน ‘อิสรภาพทางพันธุกรรม’ ที่ทวีขึ้นก็ทำให้เกษตรกรไม่ต้องตกเป็นเหยื่อระบบเกษตรพันธสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และถูกอำนาจเหนือปัจจัยการผลิตและการตลาดของบรรษัทอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารที่ทั้งควบรวมธุรกิจและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสู่ธุรกิจครบวงจรมากขึ้นมากีดกันกดทับจนต้องจำนน ครั้นทนไม่ไหวก็ออกมาเคลื่อนไหวบนท้องถนนเพื่อร้องขอราคาผลผลิตการเกษตรสูงขึ้น ซึ่งที่สุดแล้วการกดดันเช่นนั้นไม่สามารถเปลี่ยนโครงสร้างเกษตรกรรมและอาหารที่ไม่เป็นธรรม และไม่ได้นำไปสู่การแข่งขันทางการค้าที่เสรี หรือกระทั่งทำให้กฎหมายแข่งขันทางการค้า (competition law) มีผลบังคับใช้ อันจะทำให้ท้ายที่สุดผู้บริโภคได้รับการคุ้มครอง สิทธิผู้บริโภคและสิทธิทางอาหารยังอยู่คู่กันแต่อย่างใด
ทั้งยังทำให้รัฐหันไปใช้นโยบายประชานิยมแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากขึ้นเพื่อรักษาฐานคะแนนจนต่อมากระทบกับเกษตรทั้งระบบ ดังเช่นมาตรการรับจำนำข้าวที่แต่เดิมรับจำนำต่ำกว่าราคาตลาดมาเป็นรับจำนำเท่ากับราคาตลาด และสุดท้ายยกระดับราคาเป้าหมายสูงกว่าราคาตลาดดังสถานการณ์ปัจจุบันนั้นไม่เพียงทำลายระบบตลาดข้าวทั้งภายในประเทศและตลาดส่งออก ตลอดจนทำลายกลไกตลาดกลางและตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (future market)
ทว่าการขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการจนเกิดภาระและต้นทุนมหาศาลก็ทำให้รัฐขาดทุนนับหมื่นล้านบาท เฉพาะโครงการรับจำนำที่ดำเนินการในปี 2548/49 ก็ขาดทุนถึง 20,756.98 ล้านบาท เกษตรกรก็ใช่ได้เงินเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากการขายข้าวขาวในราคา 15,000 บาท/ตัน และข้าวหอมมะลิ 20,000 บาท/ตันตามนโยบายประชานิยมเพราะต้องเสียเปรียบโรงสีที่กลายมาเป็นผู้เล่นหลักในโครงการรับจำนำทั้งด้านการวัดความชื้น การใช้เครื่องชั่งไม่ได้มาตรฐาน และการกำหนดราคาไม่ยุติธรรม ด้านผู้บริโภคก็ไม่น้อยหน้าเพราะได้รับผลกระทบจากราคาข้าวถุงสูงขึ้น ซึ่งท้ายสุดก็ได้แต่ประคับประคองชีวิตไปในท่ามกลางมาตรการช่วยเหลือที่ไม่แตะต้องโครงสร้างอาหาร
สภาวะข้าวยากหมากแพงจึงแก้ไขไม่ได้ด้วยการกำหนดนโยบายประชานิยมอย่างมหกรรมธงฟ้าและถูกทั้งแผ่นดินที่มุ่งลดค่าครองชีพระยะสั้น หรือกระทั่งโครงการรับจำนำข้าวที่มุ่งช่วยเหลือเกษตรกรแต่ขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพราะตราบใดไม่ได้ปฏิรูปโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรและการกระจายอาหารโดยการปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจในการเข้าถึงปัจจัยการผลิตและการตลาดของเกษตรกรรายย่อย
โดยฉพาะพันธุกรรมบนฐานคิดเรื่อง ‘สิทธิ อิสรภาพ อธิปไตย และความมั่นคงทางอาหาร’ ตราบนั้นสภาวะข้าวยากหมากแพงจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งกระทบทุกองคาพยพสังคมไทย ไม่ต่างจากแผ่นดินไหวที่ศูนย์กลางความเสียหายตั้งต้นจากเกษตรกรรายย่อยที่ถูกเอารัดเอาเปรียบร่ำไป ไล่สะเทือนไปถึงผู้บริโภคที่จะได้บริโภคอาหารที่ไม่หลากหลาย ไม่ปลอดภัย ไม่มีโภชนาการที่ดี และราคาแพง เพราะปัจจัยการผลิตและการตลาดถูกผูกขาดจากอำนาจเหนือตลาด (market dominance) ของธุรกิจเกษตรครบวงจรจำกัดทางเลือกบริโภคไว้แม้บนชั้นสินค้าโมเดิร์นเทรดจะมีผลิตภัณฑ์อาหารมากมายขายแต่ก็แค่ต่างบรรจุภัณฑ์ ก่อนฝั่งการเมืองจะสะท้านสูญเสียสถานะรัฐบาลเพราะขาดการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตรและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนโดยเฉพาะในห้วงยามวิกฤตเศรษฐกิจหรือพิบัติภัยธรรมชาติจึงพึ่งพิงผลิตผลและหยาดเหงื่อแรงงานจากภาคเกษตรกรรมมากกว่าอุตสาหกรรม แม้ว่าภาคเกษตรกรรมจะมีสัดส่วนจีดีพีต่ำกว่าภาคอุตสาหกรรมหรือสูงกว่าภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพียงเล็กน้อย หรือสัดส่วนคนในภาคเกษตรลดลงก็ตาม แต่ทว่าความต่างอย่างมีนัยสำคัญอยู่ที่ว่าภาคเกษตรกรรมทั้งแบบเกษตรอินทรีย์ เกษตรยั่งยืน เกษตรทฤษฎีใหม่ หรือกระทั่งเกษตรอุตสาหกรรม ล้วนเป็นฐานเศรษฐกิจรองรับกับความผันผวนปรวนแปรในชีวิตผู้คนได้ดีกว่าไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือชนบทเพราะในระบบทุนนิยมย่อมมีคนส่วนหนึ่งล้มเหลวกับการไขว่คว้าโอกาสทางเศรษฐกิจเพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ที่ต้องแก่งแย่งแข่งขัน
กระนั้นขณะประตูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะเปิดปี 2558 ที่ไทยต้องแข่งขันสูงขึ้นด้านการเกษตรจากการเป็นตลาดและฐานผลิตเดียวกัน ภาคเกษตรกรรมไทยเองกลับไม่พัฒนานโยบายด้านการวิจัยและพัฒนา การชลประทาน และการปฏิรูปที่ดิน (non-price policy) จนแทบแข่งขันกับเพื่อนบ้านอาเซียนไม่ได้ ในขณะเดียวกันเกษตรกรรายย่อยก็ไม่ได้ประโยชน์จากนโยบายประชานิยมแบบนโยบายราคา (price policy) แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ด้วยต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเมล็ดพันธุ์ของบรรษัทที่ทำธุรกิจครบวงจนจนง่ายต่อการผูกขาดปัจจัยการผลิตทั้งที่ดิน น้ำ พันธุกรรมพืชและสัตว์ ยันตลาด ไม่เว้นแม้แต่ข้าวที่เป็น ‘พืชเศรษฐกิจ-การเมือง’ ซึ่งปัจจุบันราคาสูงกว่าเพื่อนบ้านมากจากโครงการรับจำนำข้าวที่แทรกแซงตลาดโดยกำหนดราคาเป้าหมายนำหรือราคารับจำนำสูงกว่าราคาตลาดมาก หากที่สุดชาวนาไทยก็ยังยากจนดังเดิมแม้รัฐจะเป็นผู้ผูกขาดตลาดข้าวเปลือกแล้ว
นอกจากนั้นในอีกด้านของเหรียญเมื่อเกิดวิกฤตอาหารราคาแพงจนประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถแบกรับภาระค่าครองชีพต่อไปได้ ในขณะเดียวกันกับมาตรการช่วยเหลือของรัฐก็เป็นแค่มาตรการระยะสั้นด้านการควบคุมราคาสินค้าบริโภค และการตรึงราคาที่ต้องร้องขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการเอกชน ที่ที่สุดแล้วก็ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอและครอบคลุมกลุ่มคนเดือดร้อน โดยเฉพาะคนจนเมือง ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ (food security) ของกลุ่มเสี่ยงจึงถูกสั่นคลอนจากการต้องบริโภคอาหารแพง ไม่ปลอดภัย และไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งในรูปแบบอาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูป ไปจนถึงแกงถุง ซึ่งระหว่างนั้นเกษตรกรก็ใช่ได้ประโยชน์จากการขายผลผลิตเพราะวัตถุดิบทั้งผักเนื้อสัตว์ไข่ถูกควบคุมราคา ขณะที่ต้นทุนปุ๋ย ยาฆ่าแมลง พันธุกรรมพืชและสัตว์ กลับขึ้นได้อย่างอิสระ ไม่ได้ถูกพันธนาการเข้มข้นจากนโยบายรัฐ
พันธนาการตลอดห่วงโซ่อาหาร (food supply chain) ที่ไม่เคยคลี่คลายภายใต้วิกฤตการณ์อาหารราคาแพงนอกเหนือมาจากสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และค่าโลจิสติกส์และพลังงานที่ถีบตัวสูงขึ้นแล้ว การถูกผูกขาดปัจจัยการผลิตของเกษตรกรรายย่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพันธุกรรมอันเป็นปัจจัยตั้งต้นสำคัญสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรนั้นยังทำให้ผู้บริโภคในเมืองจำนวนหนึ่งซึ่งมีรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่ำกว่าเส้นความยากจนด้านอาหารอยู่แล้วเผชิญความลำบากยากแค้นขัดสนขึ้นอีก
ขณะที่อีกด้านเกษตรกรก็ยากจนลงเรื่อยๆ จากการต้องพึ่งพิงบรรษัทด้านพันธุกรรมพืชและสัตว์ทุกรอบการผลิตจนสูญเสีย ‘อิสรภาพทางพันธุกรรม’ แก่บรรษัทอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารยักษ์ใหญ่ครบวงจร จากก่อนหน้านั้นก็สูญเสียที่ดินไปแล้วจากการกู้หนี้ยืมสินซื้อปัจจัยการผลิตให้แก่หน่วยงานรัฐ เอกชนนายทุน รวมถึงที่กำลังจะมาถึงจากการล่าอาณานิคมเพื่อปลูกพืชอาหารของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมที่ขาดเสถียรภาพด้านความมั่นคงทางอาหาร และกลุ่มบรรษัทข้ามชาติที่เห็นเม็ดเงินกำไรจากการแสวงหาดินแดนของต่างชาติสำหรับการปลูกพืชอาหารและพืชพลังงานโดยใช้กติกาการเปิดเสรีการค้าการลงทุน
กระทั่งเกิดปรากฏการณ์แย่งยึดที่ดิน (land grab) ไปทั่วโลกที่ทำให้ประชาชนเจ้าของประเทศที่ถูกลงทุนขาดความมั่นคงทางอาหาร เกษตรกรขาดแคลนที่ดินทำกิน วิถีการผลิตที่ยั่งยืนสอดคล้องกับระบบนิเวศสูญสลาย ความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูญสิ้น สิทธิทางอาหาร (Right to food) อันเป็นฐานรากร่วมกับอธิปไตยทางอาหาร (food sovereignty) และสิทธิเกษตรกร (Farmers’ Rights) มลายหาย
ภายใต้วิกฤตข้าวยากหมากแพงหรือ ‘แพงทั้งแผ่นดิน’ ดังหลายฝ่ายขนานนามสถานการณ์นี้จึงต้องมองหนทางแก้ไขในระดับ ‘ปฏิวัติระบบเกษตรกรรมและอาหารในระดับโครงสร้าง’ มากกว่าการขยายร้านธงฟ้าหรือตั้งโครงการ ‘ถูกทั้งแผ่นดิน’ ที่มีนัยตอบโต้ทางการเมืองมากกว่าช่วยเหลือชีวิตประชาชนข้นแค้น แทนที่ฝ่ายค้านรัฐบาลจะเสนอมาตรการก้าวหน้ากว่า แต่ก็กลับทำได้แค่เกมการเมืองเรื่องแพง-ถูกกว่ากัน
ต่างจากแนวทางสร้าง ‘อิสรภาพทางพันธุกรรม’ ที่ไม่เพียงมีคุณูปการต่อตัวเกษตรกรผู้ผลิตอาหารเลี้ยงประชากรไทยและโลกตามนโยบายครัวโลกที่ต้องผลิตอาหารมีคุณภาพและความปลอดภัย แต่การใช้เมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรเป็นเจ้าของเองโดยไม่ต้องใช้สารเคมีที่มีอันตรายร้ายแรงอยู่ดีถึงจะมีคู่มือการใช้อย่างถูกต้องและปลอดภัย (safe use) ก็จะทำให้คนไทยที่เคยเป็น ‘ผู้บริโภคชั้นสอง’ ได้บริโภคพืชผักไร้สารพิษร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคาร์โบฟูราน (carbofuran) เมโทมิล (methomyl) ไดโครโตฟอส (dicrotophos) และอีพีเอ็น (EPN) ปนเปื้อน เหมือนกันกับ ‘ผู้บริโภคชั้นหนึ่ง’ ชาวต่างชาติที่ได้บริโภคอาหารปลอดภัยและมีคุณภาพของไทยจากการกำกับที่ต้นทางให้เกษตรกรปฏิบัติตามทางการเกษตรที่ดี (GAP) และปลายทางที่กำกับการส่งออกสินค้าอย่างเข้มงวดของภาครัฐและการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านอาหาร (food standard) ของภาคเอกชนที่เกรงสูญเสียตลาดส่งออกและรายได้ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามระบบพื้นฐานของอุตสาหกรรมอาหาร (GMP) หรือระบบการวิเคราะห์อันตรายและควบคุมจุดวิกฤต (HACCP)
ดังกรณี GMO และสารเคมี 4 ชนิดข้างต้นที่สหภาพยุโรป (EU) ตรวจสอบเข้มข้น ขณะที่ในไทยไม่เพียงไม่แบนสารเคมี 4 ชนิดนี้ แต่ยังพบ GMO ปนเปื้อนในพื้นที่เกษตรดังที่มีการผลักดันให้ปลูกพืช GMO ได้ในแปลงทดลองเพื่อขยายผลไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ โดยบรรษัทอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ที่จะพัฒนาและขยายเมล็ดพันธุ์ตัดต่อพันธุกรรม (GM seed) เพื่อครองตลาดหลังประสบผลสำเร็จมาแล้วจากการครองตลาดเมล็ดพันธุ์จากเมล็ดพันธุ์ลูกผสม (hybrid seed) ทั้งในข้าวและข้าวโพดบนข้ออ้างให้ผลผลิตสูงกว่า
สิทธิในพันธุกรรมทั้งพืชและสัตว์จึงถูกผูกขาดครอบครองโดยบรรษัทธุรกิจการเกษตร กระทั่งความมั่นคงทางอาหารในระดับจุลภาคหรือระดับครัวเรือน และชุมชนถูกแทนที่ด้วยสายพานการผลิตอาหารระดับบรรษัทที่ถูกวาดภาพเป็นศักยภาพการผลิตอาหารของประเทศในระดับมหภาค ทำนองเดียวกับการอ้างว่าผลประโยชน์บรรษัทเป็นผลประโยชน์ประเทศ (national interest) นั่นเอง อันจะส่งผลให้ในภาวะวิกฤต ระบบกระจายอาหารที่รวมศูนย์ผ่านศูนย์กระจายสินค้า (DC) ของโมเดิร์นเทรดที่มีสัดส่วนของสินค้าอาหารมากกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไปไม่สามารถตอบความต้องการของประชาชนได้ ในชั้นวางสินค้าไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต ดิสเคาน์สโตร์ และร้านสะดวกซื้อจึงว่างเปล่าเพราะค้าปลีกขนาดยักษ์คำนวณแล้วไม่คุ้มทุนค่าขนส่ง ต่างจากร้านโชวห่วยและตลาดท้องถิ่นที่ผู้คนคงเข้าถึงอาหารได้ ในวิกฤตสิทธิทางอาหารยังคงอยู่
ยุทธศาสตร์สร้าง ‘สิทธิ อิสรภาพ อธิปไตย และความมั่นคงทางอาหาร’ ยามข้าวยากหมากแพงที่ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคจะได้ประโยชน์ยั่งยืนนั้น จึงต้องปรับกระบวนทัศน์นโยบายการจัดการด้านอาหารของประเทศไทยใหม่ให้สามารถ ‘ปลดล็อก’ ผูกขาดปัจจัยการผลิตของบรรษัทเกษตรและอาหาร โดยเฉพาะพันธุกรรมพืชและสัตว์ซึ่งเป็นต้นธารอาหาร โดยต้องส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มเกษตรกรในการผลิต พัฒนา อนุรักษ์ และกระจายพันธุกรรม ขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนหรือเกษตรพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะเพื่อต้านการครองตลาดเมล็ดพันธุ์ของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ที่พันธนาการเกษตรกรไว้ด้วยเทคโนโลยีและระเบียบการค้า ควบคู่กับแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคกับเกษตรกรรายย่อยที่ขาดอำนาจต่อรองด้านการตลาดและปัจจัยการผลิตทรัพยากรที่ดิน น้ำ เมล็ดพันธุ์ พ่อพันธุ์แม่พันธุ์
รวมทั้งการสร้างกฎกติกาว่าด้วยความเป็นธรรมในระบบกระจายอาหารและตลาดซึ่งวันนี้มีแต่ผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ประโยชน์ โดยการส่งเสริมกลไกการค้าที่เป็นธรรม (fair trade) คู่กับระบบเกษตรที่สนับสนุนโดยชุมชน (CSA) เพราะเป็นการเชื่อมร้อยผู้บริโภคกับผู้ผลิตไว้ด้วยกันอันจะทำให้ผู้บริโภคได้รู้ที่มาที่ไปของอาหารว่ามาจากวิถีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเป็นธรรมกับเกษตรกรหรือเป็นระบบที่กดขี่บีฑาเกษตรกรรายย่อยในระบบเกษตรพันธสัญญา ซึ่งลำพังมาตรการตรวจสอบย้อนกลับของอาหาร (traceability) ที่มุ่งมิติความปลอดภัยให้ไม่ได้ ในขณะเดียวกันก็ได้บริโภคอาหารที่หลากหลาย ปลอดภัย มีโภชนาการ และที่สำคัญราคาไม่แพง ซึ่งมาตรการแก้ไขทางการเมืองแบบร้านถูกทั้งแผ่นดินตอบโจทย์ไม่ได้เพราะเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุและดำเนินการระยะสั้นจนแบ่งเบาภาระประชาชนข้นแค้นถาวรไม่ได้
ในเวลาเดียวกัน ‘อิสรภาพทางพันธุกรรม’ ที่ทวีขึ้นก็ทำให้เกษตรกรไม่ต้องตกเป็นเหยื่อระบบเกษตรพันธสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และถูกอำนาจเหนือปัจจัยการผลิตและการตลาดของบรรษัทอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารที่ทั้งควบรวมธุรกิจและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสู่ธุรกิจครบวงจรมากขึ้นมากีดกันกดทับจนต้องจำนน ครั้นทนไม่ไหวก็ออกมาเคลื่อนไหวบนท้องถนนเพื่อร้องขอราคาผลผลิตการเกษตรสูงขึ้น ซึ่งที่สุดแล้วการกดดันเช่นนั้นไม่สามารถเปลี่ยนโครงสร้างเกษตรกรรมและอาหารที่ไม่เป็นธรรม และไม่ได้นำไปสู่การแข่งขันทางการค้าที่เสรี หรือกระทั่งทำให้กฎหมายแข่งขันทางการค้า (competition law) มีผลบังคับใช้ อันจะทำให้ท้ายที่สุดผู้บริโภคได้รับการคุ้มครอง สิทธิผู้บริโภคและสิทธิทางอาหารยังอยู่คู่กันแต่อย่างใด
ทั้งยังทำให้รัฐหันไปใช้นโยบายประชานิยมแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากขึ้นเพื่อรักษาฐานคะแนนจนต่อมากระทบกับเกษตรทั้งระบบ ดังเช่นมาตรการรับจำนำข้าวที่แต่เดิมรับจำนำต่ำกว่าราคาตลาดมาเป็นรับจำนำเท่ากับราคาตลาด และสุดท้ายยกระดับราคาเป้าหมายสูงกว่าราคาตลาดดังสถานการณ์ปัจจุบันนั้นไม่เพียงทำลายระบบตลาดข้าวทั้งภายในประเทศและตลาดส่งออก ตลอดจนทำลายกลไกตลาดกลางและตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (future market)
ทว่าการขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการจนเกิดภาระและต้นทุนมหาศาลก็ทำให้รัฐขาดทุนนับหมื่นล้านบาท เฉพาะโครงการรับจำนำที่ดำเนินการในปี 2548/49 ก็ขาดทุนถึง 20,756.98 ล้านบาท เกษตรกรก็ใช่ได้เงินเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากการขายข้าวขาวในราคา 15,000 บาท/ตัน และข้าวหอมมะลิ 20,000 บาท/ตันตามนโยบายประชานิยมเพราะต้องเสียเปรียบโรงสีที่กลายมาเป็นผู้เล่นหลักในโครงการรับจำนำทั้งด้านการวัดความชื้น การใช้เครื่องชั่งไม่ได้มาตรฐาน และการกำหนดราคาไม่ยุติธรรม ด้านผู้บริโภคก็ไม่น้อยหน้าเพราะได้รับผลกระทบจากราคาข้าวถุงสูงขึ้น ซึ่งท้ายสุดก็ได้แต่ประคับประคองชีวิตไปในท่ามกลางมาตรการช่วยเหลือที่ไม่แตะต้องโครงสร้างอาหาร
สภาวะข้าวยากหมากแพงจึงแก้ไขไม่ได้ด้วยการกำหนดนโยบายประชานิยมอย่างมหกรรมธงฟ้าและถูกทั้งแผ่นดินที่มุ่งลดค่าครองชีพระยะสั้น หรือกระทั่งโครงการรับจำนำข้าวที่มุ่งช่วยเหลือเกษตรกรแต่ขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพราะตราบใดไม่ได้ปฏิรูปโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรและการกระจายอาหารโดยการปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจในการเข้าถึงปัจจัยการผลิตและการตลาดของเกษตรกรรายย่อย
โดยฉพาะพันธุกรรมบนฐานคิดเรื่อง ‘สิทธิ อิสรภาพ อธิปไตย และความมั่นคงทางอาหาร’ ตราบนั้นสภาวะข้าวยากหมากแพงจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งกระทบทุกองคาพยพสังคมไทย ไม่ต่างจากแผ่นดินไหวที่ศูนย์กลางความเสียหายตั้งต้นจากเกษตรกรรายย่อยที่ถูกเอารัดเอาเปรียบร่ำไป ไล่สะเทือนไปถึงผู้บริโภคที่จะได้บริโภคอาหารที่ไม่หลากหลาย ไม่ปลอดภัย ไม่มีโภชนาการที่ดี และราคาแพง เพราะปัจจัยการผลิตและการตลาดถูกผูกขาดจากอำนาจเหนือตลาด (market dominance) ของธุรกิจเกษตรครบวงจรจำกัดทางเลือกบริโภคไว้แม้บนชั้นสินค้าโมเดิร์นเทรดจะมีผลิตภัณฑ์อาหารมากมายขายแต่ก็แค่ต่างบรรจุภัณฑ์ ก่อนฝั่งการเมืองจะสะท้านสูญเสียสถานะรัฐบาลเพราะขาดการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตรและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน