จุดมุ่งหมายในการบริหารจัดการที่ดินที่ผ่านมาของประเทศไทยไม่ได้วางอยู่บนแนวทางสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำสำหรับประชาชนในการเข้าถึงทรัพยากรที่ดิน ด้วยส่วนมากเป็นไปเพื่อธำรงประโยชน์แก่กลุ่มคนร่ำรวยที่กุมอำนาจเศรษฐกิจการเมืองเป็นสำคัญ ซ้ำร้ายการขยายตัวของรีสอร์ต บ้านพักตากอากาศ สนามกอล์ฟ จนถึงสวนยางและไร่ข้าวโพดในพื้นที่ป่าสงวนที่ใช้แรงงานระดับล่างขับเคลื่อนต่างก็มีกลุ่มทุนที่เป็นเจ้าของที่ดินหนุนหลังทั้งสิ้น ซึ่งถึงที่สุดแล้วสังคมก็มักไม่คำนึงถึงเพราะมุ่งเป้าไปที่การใช้อำนาจกฎหมายจัดการคนเล็กคนน้อยเป็นหลัก ปล่อยลอยนวลสำหรับคนใหญ่คนโตมีเงิน
ทั้งนี้ สถานการณ์เบียดขับคนยากจนข้นแค้นและเกษตรกรรายย่อยออกจากที่ดินทำกินใช่จะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ชายขอบศูนย์กลางผ่านการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักและเกษตรอุตสาหกรรมอันมีกลไกเกษตรพันธสัญญา และการส่งเสริมพืชเศรษฐกิจทั้งพืชพลังงานและพืชอาหารจนอาจเสี่ยงต่อการถูกฉกฉวยที่ดิน (land grab) เช่น ประเทศแถบแอฟริกาเท่านั้น ทว่าปัจจุบันพื้นที่ศูนย์กลางความเจริญและแหล่งท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสูงทางการตลาดต่างก็ตกอยู่ในมือต่างชาติที่ใช้คู่สมรสและนิติกรรมอำพรางถือครองที่ดินด้วยจนประเมินว่าที่ดินกว่า 1 ใน 3 ของประเทศไทยหรือราว 100 ล้านไร่ได้อยู่ในมือคนต่างชาติแล้ว โดยอาศัยช่องโหว่กฎหมายและระบบเศรษฐกิจเข้าครอบครองทรัพยากรของชาติที่ควรจะเป็นของคนไทย
ในสถานการณ์ที่ที่ดินกระจุกตัวอยู่ในมือคนร่ำรวย ทั้งที่เป็นคนไทยและคนต่างชาติที่ใช้นอมินีคนไทยถือสิทธิในที่ดินเช่นนี้ ส่งผลให้การรักษาผลประโยชน์ประเทศชาติ (national interest) จากการใช้ทรัพยากรที่ดินของประเทศไทยไปในการแสวงหาประโยชน์ (exploited) โดยทุนโลกาภิวัตน์ที่หวังกำไรสูงสุด (maximum profit) จากการค้าการลงทุนข้ามชาติที่ไม่เคยคำนึงว่าจะแย่งชิงทรัพยากรจากประชาชนเจ้าของประเทศเท่าใดจึงจำเป็นต้องตั้งต้นปฏิรูปที่ดินด้วยแนวทาง ‘การจัดสรรทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน’
โดยการนำข้อเสนอการปฏิรูปการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรของคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) และเวทีสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 1 และ 2 ซึ่งยึดโยงอยู่กับประชาชนคนปลายอ้อปลายแขมที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการพัฒนา เบียดขับจากระบบเศรษฐกิจกระแสหลักให้เป็นชายขอบความเจริญ จนกระทั่งถึงขั้นเป็นผู้ร้ายทำลายทรัพยากรป่าไม้ มาครุ่นคิดพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติยิ่งขึ้น
ด้วยนอกเหนือจากการปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดิน โดยการเพิ่มกลไกการกระจายอำนาจให้ชุมชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายในทุกขั้นตอนอันเป็นหัวใจหลักของการปฏิรูปที่ดินตามข้อเสนอ คปร.และเวทีสมัชชาปฏิรูประดับชาติแล้ว ปัจจัยในการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินที่จะนำไปสู่ความเท่าเทียม (equality) ความยั่งยืน (sustainability) และมั่นคง (security) ของกลุ่มคนคับแค้นขื่นขมกับกลไกการค้าเสรีที่ทุกอย่างแปรเป็นสินค้าได้
ในขณะเดียวกันก็ถูกเลือกปฏิบัติยามเกิดภัยพิบัติไม่ว่าจะปล่อยให้เป็นพื้นที่ทางน้ำผ่าน แนวทางรับน้ำ หรือแก้มลิง โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย ก็คือการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการกำหนดนโยบายด้านที่ดิน เกษตรกรรม อาหาร จนถึงแนวทางรับมือพิบัติภัยเสียใหม่
ในความเป็นไปได้ที่จะทลายกรอบคิดคับแคบของการบริหารจัดการที่ดินแบบเดิมนั้นอย่างน้อยสุดภาคประชาสังคมต้องเข้ามามีส่วนขับเคลื่อนทางนโยบายเพื่อให้เกิดปฏิรูปการบริหารจัดการที่ดินในส่วนซึ่งสัมพันธ์กับระบบเกษตรกรรมและอาหาร เพราะที่ผ่านมาสร้างความอยุติธรรมและเหลื่อมล้ำอย่างมากกับเกษตรกรรายย่อย โดยร่วมกันผลักดันให้มีการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมอย่างเร่งด่วนเพราะยึดโยงกับความมั่นคงทางอาหาร (food security) ของครอบครัว ชุมชน จนถึงประเทศ
โดยกำหนดมาตรการช่วยเหลือและจูงใจให้เจ้าของที่ดินรักษาที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไว้ ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้กฎหมายหรือกลไกของรัฐที่มีอยู่แล้วคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามศักยภาพของพื้นที่ เช่น พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 หรือกรณีที่ที่ดินจะหลุดมือจากเกษตรกรเพราะหนี้สินพอกพูนก็จะต้องเข้าช่วยเหลือด้วยการปรับโครงสร้างหนี้หรือรับหนี้มาบริหาร หากเกษตรกรไม่ต้องการทำการเกษตรอีกต่อไปก็ต้องเข้าซื้อที่ดินในราคาเป็นธรรม โดยให้กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือธนาคารที่ดินเข้ามาดำเนินการ
การกำหนดพื้นที่สำหรับการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เฉพาะที่ต้องคุ้มครองเร่งด่วน เช่น พื้นที่ปลูกข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ เงาะนาสาร ทุเรียนนนท์ ปลาสลิดบางบ่อ ปลาช่อนแม่ลา โดยออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีตั้งคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งมีภาคประชาชนร่วมด้วยเพื่อทำหน้าที่กำหนดที่ดินที่เหมาะสมในการทำเกษตรและควรคุ้มครองเร่งด่วน ควบคู่กับการให้ข้อมูลพืชเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์บนพื้นฐานการตัดสินใจของตัวเกษตรกรเอง อันจะลดปัญหาขาดทุนจากการปลูกพืชไม่เหมาะสมและถูกกดราคาจากบรรษัทเมล็ดพันธุ์ หรือกำหนดพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อชะลอการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมชั้นดี ดังกรณีเกษตรอินทรีย์ที่รัฐต้องมีกลไกสนับสนุน
ที่สำคัญต้องตั้งคณะกรรมการดูแล ‘สิทธิเกษตรกร’ ทั้งในยามปกติและวิกฤตพิบัติภัย มีนโยบายประกันความเสี่ยงเกษตรกร ชดเชยผู้เสียหายหรือได้รับผลกระทบจากแนวนโยบายรัฐอย่างเป็นธรรม พร้อมๆ กับปรับปรุง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จัดซื้อหรือเวนคืนที่ดินเอกชนที่มีขนาดเนื้อที่เกินกว่ากฎหมายปฏิรูปที่ดินกำหนดหรือมีการถือครองไว้เก็งกำไร ทั้งที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและที่ดินที่มีศักยภาพประกอบเกษตรกรรมได้โดยไม่ต้องประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินก่อน
ตลอดจนปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เป็นเครื่องมือปรับปรุงสิทธิการถือครองที่ดินด้วย โดยระหว่างนั้นต้องเร่งตรวจสอบการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และเปิดให้เกษตรกรเช่าซื้อที่ดินเพื่อเปลี่ยนสภาพจากผู้เช่าที่ดินหรือผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินเขตปฏิรูปที่ดินตามเอกสาร ส.ป.ก.4-01 มาเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน ซึ่งต้องป้องกันการเปลี่ยนมือหรือเสียสิทธิในที่ดิน โดยต้องแยกการแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ดินของรัฐออกจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
เหนืออื่นใดในการจะบรรลุจุดมุ่งหมาย ‘การปฏิรูปที่ดินเพื่อสร้างความเป็นธรรม’ จำต้องกำหนดมาตรการตรวจสอบการถือครองที่ดินของชาวต่างชาติที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายเพื่อคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพราะทุนข้ามชาติเหล่านี้มีอำนาจเหนือกฎหมายและการเมืองไทย และในทุกจังหวะก้าวของทุนก็รุกคืบกลืนผืนแผ่นดินไทยไปเรื่อยๆ จนถึง 1 ใน 3 แล้ว
ทั้งนี้ สถานการณ์เบียดขับคนยากจนข้นแค้นและเกษตรกรรายย่อยออกจากที่ดินทำกินใช่จะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ชายขอบศูนย์กลางผ่านการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักและเกษตรอุตสาหกรรมอันมีกลไกเกษตรพันธสัญญา และการส่งเสริมพืชเศรษฐกิจทั้งพืชพลังงานและพืชอาหารจนอาจเสี่ยงต่อการถูกฉกฉวยที่ดิน (land grab) เช่น ประเทศแถบแอฟริกาเท่านั้น ทว่าปัจจุบันพื้นที่ศูนย์กลางความเจริญและแหล่งท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสูงทางการตลาดต่างก็ตกอยู่ในมือต่างชาติที่ใช้คู่สมรสและนิติกรรมอำพรางถือครองที่ดินด้วยจนประเมินว่าที่ดินกว่า 1 ใน 3 ของประเทศไทยหรือราว 100 ล้านไร่ได้อยู่ในมือคนต่างชาติแล้ว โดยอาศัยช่องโหว่กฎหมายและระบบเศรษฐกิจเข้าครอบครองทรัพยากรของชาติที่ควรจะเป็นของคนไทย
ในสถานการณ์ที่ที่ดินกระจุกตัวอยู่ในมือคนร่ำรวย ทั้งที่เป็นคนไทยและคนต่างชาติที่ใช้นอมินีคนไทยถือสิทธิในที่ดินเช่นนี้ ส่งผลให้การรักษาผลประโยชน์ประเทศชาติ (national interest) จากการใช้ทรัพยากรที่ดินของประเทศไทยไปในการแสวงหาประโยชน์ (exploited) โดยทุนโลกาภิวัตน์ที่หวังกำไรสูงสุด (maximum profit) จากการค้าการลงทุนข้ามชาติที่ไม่เคยคำนึงว่าจะแย่งชิงทรัพยากรจากประชาชนเจ้าของประเทศเท่าใดจึงจำเป็นต้องตั้งต้นปฏิรูปที่ดินด้วยแนวทาง ‘การจัดสรรทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน’
โดยการนำข้อเสนอการปฏิรูปการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรของคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) และเวทีสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 1 และ 2 ซึ่งยึดโยงอยู่กับประชาชนคนปลายอ้อปลายแขมที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการพัฒนา เบียดขับจากระบบเศรษฐกิจกระแสหลักให้เป็นชายขอบความเจริญ จนกระทั่งถึงขั้นเป็นผู้ร้ายทำลายทรัพยากรป่าไม้ มาครุ่นคิดพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติยิ่งขึ้น
ด้วยนอกเหนือจากการปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดิน โดยการเพิ่มกลไกการกระจายอำนาจให้ชุมชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายในทุกขั้นตอนอันเป็นหัวใจหลักของการปฏิรูปที่ดินตามข้อเสนอ คปร.และเวทีสมัชชาปฏิรูประดับชาติแล้ว ปัจจัยในการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินที่จะนำไปสู่ความเท่าเทียม (equality) ความยั่งยืน (sustainability) และมั่นคง (security) ของกลุ่มคนคับแค้นขื่นขมกับกลไกการค้าเสรีที่ทุกอย่างแปรเป็นสินค้าได้
ในขณะเดียวกันก็ถูกเลือกปฏิบัติยามเกิดภัยพิบัติไม่ว่าจะปล่อยให้เป็นพื้นที่ทางน้ำผ่าน แนวทางรับน้ำ หรือแก้มลิง โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย ก็คือการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการกำหนดนโยบายด้านที่ดิน เกษตรกรรม อาหาร จนถึงแนวทางรับมือพิบัติภัยเสียใหม่
ในความเป็นไปได้ที่จะทลายกรอบคิดคับแคบของการบริหารจัดการที่ดินแบบเดิมนั้นอย่างน้อยสุดภาคประชาสังคมต้องเข้ามามีส่วนขับเคลื่อนทางนโยบายเพื่อให้เกิดปฏิรูปการบริหารจัดการที่ดินในส่วนซึ่งสัมพันธ์กับระบบเกษตรกรรมและอาหาร เพราะที่ผ่านมาสร้างความอยุติธรรมและเหลื่อมล้ำอย่างมากกับเกษตรกรรายย่อย โดยร่วมกันผลักดันให้มีการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมอย่างเร่งด่วนเพราะยึดโยงกับความมั่นคงทางอาหาร (food security) ของครอบครัว ชุมชน จนถึงประเทศ
โดยกำหนดมาตรการช่วยเหลือและจูงใจให้เจ้าของที่ดินรักษาที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไว้ ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้กฎหมายหรือกลไกของรัฐที่มีอยู่แล้วคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามศักยภาพของพื้นที่ เช่น พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 หรือกรณีที่ที่ดินจะหลุดมือจากเกษตรกรเพราะหนี้สินพอกพูนก็จะต้องเข้าช่วยเหลือด้วยการปรับโครงสร้างหนี้หรือรับหนี้มาบริหาร หากเกษตรกรไม่ต้องการทำการเกษตรอีกต่อไปก็ต้องเข้าซื้อที่ดินในราคาเป็นธรรม โดยให้กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือธนาคารที่ดินเข้ามาดำเนินการ
การกำหนดพื้นที่สำหรับการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เฉพาะที่ต้องคุ้มครองเร่งด่วน เช่น พื้นที่ปลูกข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ เงาะนาสาร ทุเรียนนนท์ ปลาสลิดบางบ่อ ปลาช่อนแม่ลา โดยออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีตั้งคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งมีภาคประชาชนร่วมด้วยเพื่อทำหน้าที่กำหนดที่ดินที่เหมาะสมในการทำเกษตรและควรคุ้มครองเร่งด่วน ควบคู่กับการให้ข้อมูลพืชเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์บนพื้นฐานการตัดสินใจของตัวเกษตรกรเอง อันจะลดปัญหาขาดทุนจากการปลูกพืชไม่เหมาะสมและถูกกดราคาจากบรรษัทเมล็ดพันธุ์ หรือกำหนดพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อชะลอการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมชั้นดี ดังกรณีเกษตรอินทรีย์ที่รัฐต้องมีกลไกสนับสนุน
ที่สำคัญต้องตั้งคณะกรรมการดูแล ‘สิทธิเกษตรกร’ ทั้งในยามปกติและวิกฤตพิบัติภัย มีนโยบายประกันความเสี่ยงเกษตรกร ชดเชยผู้เสียหายหรือได้รับผลกระทบจากแนวนโยบายรัฐอย่างเป็นธรรม พร้อมๆ กับปรับปรุง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จัดซื้อหรือเวนคืนที่ดินเอกชนที่มีขนาดเนื้อที่เกินกว่ากฎหมายปฏิรูปที่ดินกำหนดหรือมีการถือครองไว้เก็งกำไร ทั้งที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและที่ดินที่มีศักยภาพประกอบเกษตรกรรมได้โดยไม่ต้องประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินก่อน
ตลอดจนปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เป็นเครื่องมือปรับปรุงสิทธิการถือครองที่ดินด้วย โดยระหว่างนั้นต้องเร่งตรวจสอบการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และเปิดให้เกษตรกรเช่าซื้อที่ดินเพื่อเปลี่ยนสภาพจากผู้เช่าที่ดินหรือผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินเขตปฏิรูปที่ดินตามเอกสาร ส.ป.ก.4-01 มาเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน ซึ่งต้องป้องกันการเปลี่ยนมือหรือเสียสิทธิในที่ดิน โดยต้องแยกการแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ดินของรัฐออกจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
เหนืออื่นใดในการจะบรรลุจุดมุ่งหมาย ‘การปฏิรูปที่ดินเพื่อสร้างความเป็นธรรม’ จำต้องกำหนดมาตรการตรวจสอบการถือครองที่ดินของชาวต่างชาติที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายเพื่อคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพราะทุนข้ามชาติเหล่านี้มีอำนาจเหนือกฎหมายและการเมืองไทย และในทุกจังหวะก้าวของทุนก็รุกคืบกลืนผืนแผ่นดินไทยไปเรื่อยๆ จนถึง 1 ใน 3 แล้ว