รัฐเป็นหน่วยการเมือง-การปกครองที่มีมาแต่โบราณ แต่ความเป็น “รัฐ” ตามคำจำกัดความสมัยใหม่เพิ่งจะมีขึ้นไม่กี่ร้อยปีมานี้เอง นั่นก็คือ การมีดินแดนที่แน่นอน มีประชากร มีอำนาจอธิปไตย และมีความเป็นอิสระดำเนินกิจการต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
ในสมัยโบราณ ทั้งดินแดนและประชากรจะไม่ชัดเจน โดยเฉพาะบริเวณที่มีชนชาติต่างกัน หรือในพื้นที่ที่ห่างไกลจากศูนย์อำนาจ ความแตกต่างอยู่ที่ผู้นำหรือผู้ใช้อำนาจ สำหรับดินแดนและประชากรนั้น เลื่อนไหลอยู่เป็นระยะๆ เพราะเมื่อมีศึกสงคราม ประชาชนก็มักจะถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย ความสำคัญของดินแดนเพิ่งจะมีเมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี้เอง ส่วนอำนาจเหนือดินแดนและผู้คนตลอดจนความมีอิสระในการดำเนินงานต่างๆ นั้น ก็ไม่เด็ดขาดสมบูรณ์
รัฐอยู่ภายในสังคมซึ่งมีส่วนที่ถือว่าไม่ใช่กลไกของรัฐ นั่นคือ ส่วนที่เป็นเมือง ความเป็นเมืองขึ้นอยู่กับระดับความเจริญและ “ตลาด” เป็นสำคัญ ในยุโรปรัฐกับตลาดจะแบ่งแยกกันชัดเจน ส่วนใหญ่จะมีกำแพงเมืองเป็นเครื่องหมายสำคัญ
การที่เทคโนโลยียังต่ำ การคมนาคมและการสื่อสารยังไม่พัฒนา อำนาจของรัฐ แม้จะมีสูงสุดและเด็ดขาดในทางทฤษฎีก็ตาม แต่ในทางความเป็นจริงแล้ว การควบคุม การปกครองของศูนย์อำนาจไม่มีความครอบคลุม และความเข้มข้นพอ ด้วยข้อจำกัดทางการคมนาคม ดังนั้นส่วนที่เป็นชนบทจึงปลอดจากอำนาจรัฐ ส่วนที่อยู่ในขอบเขตอำนาจรัฐก็คือ ชุมชนเมืองที่เป็นตลาด
แต่รัฐในสมัยโบราณก็ปล่อยให้ตลาดดำเนินการอย่างอิสระ รัฐเพียงเก็บภาษี และดูแลความสงบเรียบร้อยเท่านั้น ไม่ได้มีการออกกฎหมายมากำกับดูแลความสัมพันธ์ทางการค้าขายระหว่างเอกชนมากเท่าใดนัก
ตลาดเริ่มเติบโต และมีความซับซ้อนหลังยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมความเจริญของอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมเป็นเหตุให้รัฐต้องหามาตรการมากำกับดูแล แต่ในระยะแรกรัฐก็ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวมากนัก ดังจะเห็นได้ว่า โรงงานสามารถใช้แรงงานได้ตามอำเภอใจ โดยไม่มีระยะเวลาการทำงาน และสวัสดิการที่พอเพียง
การขยายตัวของการเงิน และการลงทุนเป็นปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ทำให้ตลาดมีพลวัตสูงมากขึ้น การมีการค้าระหว่างประเทศยิ่งทำให้ตลาดขยายตัว และเป็นเครื่องมือในการเพิ่มพูนความมั่งคั่งได้ และเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการแสวงหาดินแดน และตลาดใหม่ๆ
กว่าที่รัฐจะสามารถมีอำนาจปกครองครอบคลุมส่วนต่างๆ ของประเทศได้ก็ใช้เวลานาน และเมื่อตลาดเติบโตขึ้น ความต้องการของรัฐในการควบคุมและแทรกแซงก็ตามมา ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งและเกิดข้อเรียกร้องในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ทั้งนี้เพราะตลาดเป็นส่วนของสังคมที่นำรายได้มาสู่รัฐมากที่สุด
ระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นเมื่อตลาดขยายตัวในระดับหนึ่ง และเป็นตลาดที่มีคนหลายกลุ่มรวมอยู่ ประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนจึงเป็นทางออกที่ดี ต่อมาจึงได้วิวัฒน์ไปเป็นประชาธิปไตยแบบพหุนิยม ซึ่งหมายความว่ามีกลุ่มหลายกลุ่มที่แข่งขันกันในระบบเศรษฐกิจ และมีโอกาสเข้าถึงแหล่งและกระบวนการทางการเมืองแบบทัดเทียมกัน
ในระยะนี้บทบาทของรัฐเปลี่ยนแปลงไป รัฐไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะการออกกฎหมาย และการเก็บภาษีเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทและหน้าที่ในการกำหนดกติกาที่วางกรอบให้กลุ่มต่างๆ ในสังคมได้แข่งขันกันอย่างเสรี โดยรัฐมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย ไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ กล่าวคือรัฐเป็นตัวกลาง และมีท่าทีที่เป็นกลาง ไม่เป็นฝักเป็นฝ่าย ไม่เอื้อประโยชน์แก่กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะ
ความเป็นกลางของรัฐนี้มีความสำคัญมาก และเป็นเงื่อนไขที่สำคัญของประชาธิปไตยแบบพหุนิยม ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญสองประการก็คือ การมีกลุ่มที่หลากหลาย และการมีรัฐที่เป็นกลาง ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระบวนการประชาธิปไตย
ปัญหาของประชาธิปไตยจึงเกิดขึ้น เมื่อสังคมหนึ่งๆ ขาดปัจจัยทั้งสอง หรือมีกลุ่มหลากหลาย แต่รัฐไม่เป็นกลาง รัฐถูกยึดกุมโดยกลุ่มอำนาจบางกลุ่ม และสามารถกำหนดกติกาให้เอื้อประโยชน์เฉพาะตนเอง ในกรณีนี้ประชาธิปไตยจึงกลายเป็นเพียงเครื่องมือที่ให้ความชอบธรรมแก่กลุ่มอำนาจเท่านั้น เพราะการมีกลุ่มหลากหลาย และมีตลาดที่กว้างขวางมิใช่หลักประกันของการมีประชาธิปไตยแต่ประการใด
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ โลกาภิวัตน์ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการ รัฐนั้นแม้จะมีดินแดนและประชากรที่แน่นอนก็ตาม แต่ความเป็นอิสระ อำนาจอธิปไตยไม่เด็ดขาด มีพลังนอกรัฐ เช่น บรรษัทข้ามชาติ องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรเอกชนอาสาสมัครอีกมากมายที่มีหลักเกณฑ์ และมาตรฐานที่กดดันให้รัฐต้องยอมทำตาม นอกจากนั้น การสื่อสารสมัยใหม่ยังก่อให้เกิดการติดต่อข้ามอำนาจรัฐ ที่รัฐควบคุมได้ยาก เกิดชุมชนเสมือนจริงมากมาย
ที่สำคัญก็คือ ตลาดกลายเป็นสิ่งที่มีอำนาจมากกว่ารัฐ รัฐเองต้องดำเนินการทุกวิถีทางที่จะรักษาตลาดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดตลาดเสรี ที่รัฐต้องยอมสละอำนาจอธิปไตยบางส่วนเพื่อสร้างกติกา กฎ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ใหม่ในการดำเนินเศรษฐกิจ
อำนาจของตลาดมาจากระบบทุน สถาบันดั้งเดิมที่เราเคยรู้จักและมีบทบาทในการกล่อมเกลา เช่น ครอบครัว โรงเรียน สถาบัน ศาสนา เริ่มถูกทดแทนโดยสื่ออินเทอร์เน็ต วิทยุ หนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์ การกล่อมเกลาทัศนคติของคนมาจากโฆษณาและสื่อบันเทิงต่างๆ เด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง วิถีชีวิตของคนเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ความเข้มข้นและความถี่ของอำนาจรัฐมีน้อยกว่าตลาด ในสถานการณ์เช่นนี้ รัฐได้แปรสภาพจาก รัฐชาติเป็นรัฐตลาด คือ รัฐที่ตลาดกลายเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดในชีวิตประจำวันของคน
แต่ตลาดในหลายสังคมก็มิได้มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย กล่าวคือ ไม่ใช่ตลาดเสรี หากเป็นตลาดคณาธิปไตย และตลาดผูกขาด
การผูกขาดตลาดนำไปสู่การผูกขาดอำนาจทางการเมือง และการเข้ายึดกุมรัฐ ทำให้รัฐไม่เป็นกลางอีกต่อไป
รัฐตลาดเน้นการตลาดเป็นเครื่องมือสำคัญในการปกครองรูปธรรมที่สำคัญก็คือ นโยบายประชานิยม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของรัฐตลาด นโยบายประชานิยมเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างสิทธิของประชาชนกับอำนาจ และในสภาพการณ์เช่นนี้งบประมาณของรัฐก็แปรสภาพไปเป็นงบที่ขาดความเป็นสาธารณะ เพราะเป็นการใช้จ่ายที่ไม่คุ้มค่า มีการคอร์รัปชัน และใช้งบประมาณนั้นเพื่อรักษาอำนาจทางการเมือง
ความไม่สมบูรณ์ของตลาดนี้ ทำให้เกิดปัญหาของประชาธิปไตยและในทางสังคม นโยบายประชานิยมไม่สร้างภาระทางรายจ่ายของรัฐจนเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ
โดยสรุปแล้ว ประชาธิปไตยจะมีเสถียรภาพได้ก็ต่อเมื่อรัฐเป็นรัฐที่มีบทบาทเป็นกลาง และตลาดเป็นตลาดเสรีที่มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม หาไม่แล้วประชาธิปไตยก็จะเป็นเพียงเครื่องมือทางการเมืองของรัฐตลาดเท่านั้น
ในสมัยโบราณ ทั้งดินแดนและประชากรจะไม่ชัดเจน โดยเฉพาะบริเวณที่มีชนชาติต่างกัน หรือในพื้นที่ที่ห่างไกลจากศูนย์อำนาจ ความแตกต่างอยู่ที่ผู้นำหรือผู้ใช้อำนาจ สำหรับดินแดนและประชากรนั้น เลื่อนไหลอยู่เป็นระยะๆ เพราะเมื่อมีศึกสงคราม ประชาชนก็มักจะถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย ความสำคัญของดินแดนเพิ่งจะมีเมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี้เอง ส่วนอำนาจเหนือดินแดนและผู้คนตลอดจนความมีอิสระในการดำเนินงานต่างๆ นั้น ก็ไม่เด็ดขาดสมบูรณ์
รัฐอยู่ภายในสังคมซึ่งมีส่วนที่ถือว่าไม่ใช่กลไกของรัฐ นั่นคือ ส่วนที่เป็นเมือง ความเป็นเมืองขึ้นอยู่กับระดับความเจริญและ “ตลาด” เป็นสำคัญ ในยุโรปรัฐกับตลาดจะแบ่งแยกกันชัดเจน ส่วนใหญ่จะมีกำแพงเมืองเป็นเครื่องหมายสำคัญ
การที่เทคโนโลยียังต่ำ การคมนาคมและการสื่อสารยังไม่พัฒนา อำนาจของรัฐ แม้จะมีสูงสุดและเด็ดขาดในทางทฤษฎีก็ตาม แต่ในทางความเป็นจริงแล้ว การควบคุม การปกครองของศูนย์อำนาจไม่มีความครอบคลุม และความเข้มข้นพอ ด้วยข้อจำกัดทางการคมนาคม ดังนั้นส่วนที่เป็นชนบทจึงปลอดจากอำนาจรัฐ ส่วนที่อยู่ในขอบเขตอำนาจรัฐก็คือ ชุมชนเมืองที่เป็นตลาด
แต่รัฐในสมัยโบราณก็ปล่อยให้ตลาดดำเนินการอย่างอิสระ รัฐเพียงเก็บภาษี และดูแลความสงบเรียบร้อยเท่านั้น ไม่ได้มีการออกกฎหมายมากำกับดูแลความสัมพันธ์ทางการค้าขายระหว่างเอกชนมากเท่าใดนัก
ตลาดเริ่มเติบโต และมีความซับซ้อนหลังยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมความเจริญของอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมเป็นเหตุให้รัฐต้องหามาตรการมากำกับดูแล แต่ในระยะแรกรัฐก็ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวมากนัก ดังจะเห็นได้ว่า โรงงานสามารถใช้แรงงานได้ตามอำเภอใจ โดยไม่มีระยะเวลาการทำงาน และสวัสดิการที่พอเพียง
การขยายตัวของการเงิน และการลงทุนเป็นปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ทำให้ตลาดมีพลวัตสูงมากขึ้น การมีการค้าระหว่างประเทศยิ่งทำให้ตลาดขยายตัว และเป็นเครื่องมือในการเพิ่มพูนความมั่งคั่งได้ และเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการแสวงหาดินแดน และตลาดใหม่ๆ
กว่าที่รัฐจะสามารถมีอำนาจปกครองครอบคลุมส่วนต่างๆ ของประเทศได้ก็ใช้เวลานาน และเมื่อตลาดเติบโตขึ้น ความต้องการของรัฐในการควบคุมและแทรกแซงก็ตามมา ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งและเกิดข้อเรียกร้องในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ทั้งนี้เพราะตลาดเป็นส่วนของสังคมที่นำรายได้มาสู่รัฐมากที่สุด
ระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นเมื่อตลาดขยายตัวในระดับหนึ่ง และเป็นตลาดที่มีคนหลายกลุ่มรวมอยู่ ประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนจึงเป็นทางออกที่ดี ต่อมาจึงได้วิวัฒน์ไปเป็นประชาธิปไตยแบบพหุนิยม ซึ่งหมายความว่ามีกลุ่มหลายกลุ่มที่แข่งขันกันในระบบเศรษฐกิจ และมีโอกาสเข้าถึงแหล่งและกระบวนการทางการเมืองแบบทัดเทียมกัน
ในระยะนี้บทบาทของรัฐเปลี่ยนแปลงไป รัฐไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะการออกกฎหมาย และการเก็บภาษีเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทและหน้าที่ในการกำหนดกติกาที่วางกรอบให้กลุ่มต่างๆ ในสังคมได้แข่งขันกันอย่างเสรี โดยรัฐมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย ไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ กล่าวคือรัฐเป็นตัวกลาง และมีท่าทีที่เป็นกลาง ไม่เป็นฝักเป็นฝ่าย ไม่เอื้อประโยชน์แก่กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะ
ความเป็นกลางของรัฐนี้มีความสำคัญมาก และเป็นเงื่อนไขที่สำคัญของประชาธิปไตยแบบพหุนิยม ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญสองประการก็คือ การมีกลุ่มที่หลากหลาย และการมีรัฐที่เป็นกลาง ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระบวนการประชาธิปไตย
ปัญหาของประชาธิปไตยจึงเกิดขึ้น เมื่อสังคมหนึ่งๆ ขาดปัจจัยทั้งสอง หรือมีกลุ่มหลากหลาย แต่รัฐไม่เป็นกลาง รัฐถูกยึดกุมโดยกลุ่มอำนาจบางกลุ่ม และสามารถกำหนดกติกาให้เอื้อประโยชน์เฉพาะตนเอง ในกรณีนี้ประชาธิปไตยจึงกลายเป็นเพียงเครื่องมือที่ให้ความชอบธรรมแก่กลุ่มอำนาจเท่านั้น เพราะการมีกลุ่มหลากหลาย และมีตลาดที่กว้างขวางมิใช่หลักประกันของการมีประชาธิปไตยแต่ประการใด
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ โลกาภิวัตน์ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการ รัฐนั้นแม้จะมีดินแดนและประชากรที่แน่นอนก็ตาม แต่ความเป็นอิสระ อำนาจอธิปไตยไม่เด็ดขาด มีพลังนอกรัฐ เช่น บรรษัทข้ามชาติ องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรเอกชนอาสาสมัครอีกมากมายที่มีหลักเกณฑ์ และมาตรฐานที่กดดันให้รัฐต้องยอมทำตาม นอกจากนั้น การสื่อสารสมัยใหม่ยังก่อให้เกิดการติดต่อข้ามอำนาจรัฐ ที่รัฐควบคุมได้ยาก เกิดชุมชนเสมือนจริงมากมาย
ที่สำคัญก็คือ ตลาดกลายเป็นสิ่งที่มีอำนาจมากกว่ารัฐ รัฐเองต้องดำเนินการทุกวิถีทางที่จะรักษาตลาดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดตลาดเสรี ที่รัฐต้องยอมสละอำนาจอธิปไตยบางส่วนเพื่อสร้างกติกา กฎ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ใหม่ในการดำเนินเศรษฐกิจ
อำนาจของตลาดมาจากระบบทุน สถาบันดั้งเดิมที่เราเคยรู้จักและมีบทบาทในการกล่อมเกลา เช่น ครอบครัว โรงเรียน สถาบัน ศาสนา เริ่มถูกทดแทนโดยสื่ออินเทอร์เน็ต วิทยุ หนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์ การกล่อมเกลาทัศนคติของคนมาจากโฆษณาและสื่อบันเทิงต่างๆ เด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง วิถีชีวิตของคนเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ความเข้มข้นและความถี่ของอำนาจรัฐมีน้อยกว่าตลาด ในสถานการณ์เช่นนี้ รัฐได้แปรสภาพจาก รัฐชาติเป็นรัฐตลาด คือ รัฐที่ตลาดกลายเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดในชีวิตประจำวันของคน
แต่ตลาดในหลายสังคมก็มิได้มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย กล่าวคือ ไม่ใช่ตลาดเสรี หากเป็นตลาดคณาธิปไตย และตลาดผูกขาด
การผูกขาดตลาดนำไปสู่การผูกขาดอำนาจทางการเมือง และการเข้ายึดกุมรัฐ ทำให้รัฐไม่เป็นกลางอีกต่อไป
รัฐตลาดเน้นการตลาดเป็นเครื่องมือสำคัญในการปกครองรูปธรรมที่สำคัญก็คือ นโยบายประชานิยม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของรัฐตลาด นโยบายประชานิยมเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างสิทธิของประชาชนกับอำนาจ และในสภาพการณ์เช่นนี้งบประมาณของรัฐก็แปรสภาพไปเป็นงบที่ขาดความเป็นสาธารณะ เพราะเป็นการใช้จ่ายที่ไม่คุ้มค่า มีการคอร์รัปชัน และใช้งบประมาณนั้นเพื่อรักษาอำนาจทางการเมือง
ความไม่สมบูรณ์ของตลาดนี้ ทำให้เกิดปัญหาของประชาธิปไตยและในทางสังคม นโยบายประชานิยมไม่สร้างภาระทางรายจ่ายของรัฐจนเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ
โดยสรุปแล้ว ประชาธิปไตยจะมีเสถียรภาพได้ก็ต่อเมื่อรัฐเป็นรัฐที่มีบทบาทเป็นกลาง และตลาดเป็นตลาดเสรีที่มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม หาไม่แล้วประชาธิปไตยก็จะเป็นเพียงเครื่องมือทางการเมืองของรัฐตลาดเท่านั้น