“ถ้าทุกคนเป็นเศรษฐีได้ด้วยการคิด ก็จะไม่มีใครเป็นยาจก เพราะยาจกก็คิดจะเป็นเศรษฐี” นี่คือวาทะของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ผู้เป็นนักปราชญ์ทางศาสนา และมีผลงานการเขียนมากมาย
โดยนัยแห่งวาทะดังกล่าวข้างต้น หมายถึงว่าด้วยการคิดเพียงอย่างเดียวไม่ทำให้อะไรเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงสภาวะจะให้ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมได้ ไม่ว่าจะเปลี่ยนจากถูกเป็นผิด จากผิดเป็นถูก จากความเป็นจริงเป็นความเท็จ หรือจากความเป็นเท็จเป็นความจริงได้แต่ประการใด
ตรงกันข้าม สภาวะในความเป็นจริงเป็นอยู่อย่างไรก็จะคงสภาพเป็นอย่างนั้น โดยที่ผู้เกี่ยวข้องกับสภาวะจะคิดหรือเข้าใจ พูดตรงกันข้ามจากความเป็นจริงอย่างไรก็ไม่มีผลในการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
นี่คือสัจธรรมตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังที่ปรากฏในธัมมนิยามสูตรที่ว่า “ตถาคตจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นในโลกนี้ก็ตาม ธัมมะอันได้แก่สภาวะความเป็นจริงอันได้แก่ ธัมมนิยม และธัมมฐิติมีอยู่แล้วในโลก เพียงแต่ขาดผู้ค้นพบเท่านั้น”
โดยนัยแห่งธรรมบทนี้หมายความว่า ความจริงมีอยู่ด้วยตัวมันเอง ไม่มีใครสร้างขึ้นมา และถ้าใครสักคนบังเอิญคิดหรือพูดในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความจริงนั้น ก็แปลว่าผู้นั้นโกหก และสร้างสิ่งแปลกปลอมขึ้นมา
เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้เกิดสิ่งแปลกปลอมขึ้นมาบนโลก ซึ่งมีการยึดถือสมมติสัจจะคือความจริงที่สมมติเรียก และเข้าใจตรงกันอยู่เรื่องหนึ่ง และเรื่องที่ว่านี้ก็คือ ในขณะที่ประชาชนซึ่งเป็นชาวบ้านร้านถิ่นเขากำลังเดือดร้อนเพราะข้าวของแพง แต่นักการเมืองในตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ และตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กลับออกมาบอกว่าของไม่แพง แต่ที่ชาวบ้านบ่นเพราะคิดกันเอาเอง และแถมยังบอกถึงสาเหตุที่ทำให้คนคิดเช่นนี้ด้วยว่าเพราะภัยน้ำท่วม และเพราะมีเงินในกระเป๋าน้อยลง จึงทำให้พวกเขาคิดว่าข้าวของแพงขึ้น ทั้งๆ ที่โดยรวมแล้วไม่แพงแถมมีแนวโน้มลดลงด้วยซ้ำ
ในทันทีที่ผู้เขียนได้อ่านข่าวนี้รู้สึกค้านในใจว่า ไม่น่าจะจริง ไม่น่าจะใช่ดังที่ทั้งสองท่านบอก ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. ถ้าสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิต อันได้แก่อาหาร และยารักษาโรค เป็นต้น ไม่แพงเมื่อเทียบกับกำลังซื้อที่มีอยู่โดยยึดค่าของเงินเป็นหลัก ชาวบ้านจะบ่นและเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขทำไม
2. ถ้าสินค้าไม่แพงอย่างที่กระทรวงพาณิชย์บอกแล้ว กระทรวงพาณิชย์จะจัดขายสินค้าราคาถูกในนามร้านธงฟ้าทำไม เพราะในภาวะที่สินค้าราคาถูกซื้อที่ไหนก็ได้ราคาเท่ากัน ปริมาณเท่ากัน และคุณภาพเท่ากัน ใครจะถ่อสังขารมารอซื้อจากร้านธงฟ้า และการที่เขามาแปลว่าสินค้าแพงจริง เมื่อเป็นเช่นนี้การออกร้านขายสินค้าถูกไม่เป็นการจับโกหกตัวเองของกระทรวงพาณิชย์หรือ
3. การที่นายกรัฐมนตรีบอกว่าของแพงเพราะเงินในกระเป๋าน้อยลง ก็แปลว่าของไม่แพงถ้าคนซื้อมีเงินในกระเป๋ามากขึ้น ถ้าอย่างนั้นการแก้ปัญหานี้ก็ต้องเพิ่มเงินเดือน เพิ่มรายได้ให้มากขึ้นก็แก้ปัญหาของแพงได้แล้ว
แต่ในความเป็นจริง แม้แต่การเพิ่มค่าแรง 300 บาทต่อวันก็มิได้ช่วยให้คนซื้อของถูกลง ตรงกันข้ามการเพิ่มค่าแรงก็จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินน้อยลง นั่นหมายถึงว่าราคาสินค้าจะสูงขึ้นนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้การแก้ปัญหาสินค้าแพงโดยการเพิ่มค่าจ้างก็ไม่น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงประเด็นแต่อย่างใด
4. นายกรัฐมนตรีบอกว่า ข้าวของมิได้แพงขึ้นเพราะราคาน้ำมันแพงขึ้น แต่ในความเป็นจริง ราคาสินค้าแพงขึ้นเพราะราคาน้ำมันแพงเพียง 10% และอีก 60% เป็นเพราะราคาวัตถุดิบแพงขึ้น โดยที่ท่านนายกฯ ลืมไปว่าที่วัตถุดิบแพงขึ้นส่วนหนึ่งมาจากต้นทุนการผลิต และต้นทุนการขนส่งแพงขึ้นเพราะน้ำมันอันเป็นปัจจัยการผลิต และการขนส่งแพงขึ้นนั่นเอง
สรุปง่ายๆ น้ำมันแพง ค่าแรงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นส่วนหนึ่ง และเป็นส่วนสำคัญของการขึ้นราคาด้วย
จากปัจจัยในเชิงตรรกะ 4 ประการนี้บอกได้ชัดเจนว่าการที่ข้าวของแพงมิได้เกิดจากการคิดเอาเอง แต่แพงขึ้นจริงๆ
ดังนั้น ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าทำไมรัฐบาลไม่ยอมรับความจริง และแก้ไขให้ตรงประเด็นแห่งปัญหา แล้วทำการชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจด้วยเหตุด้วยผล และบอกถึงความจำเป็นแล้วจบลงด้วยการเชิญชวนให้ช่วยกันประหยัด โดยเฉพาะเรื่องน้ำมันก็จะช่วยกันแก้ปัญหาในภาพรวมของประเทศได้ และผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่าคนไทยยุคนี้มีความรู้ มีความสามารถในการแยกแยะปัญหาด้วยเหตุด้วยผลมากพอจะยอมรับและให้ความร่วมมือกับรัฐบาลได้
แต่รัฐบาลต้องยอมรับความจริงและพูดความจริง โดยไม่ต้องกลัวเสียหน้าที่เคยพูดไว้ว่า ถ้าได้เป็นรัฐบาลจะทำให้ราคาน้ำมันถูกลง และสินค้าถูกลงพร้อมมีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะนั่นเป็นการพูดเพื่อหวังผลทางการเมือง แต่เมื่อทำแล้วไม่ได้ก็ต้องบอกเหตุผล ไม่ใช่บิดเบือนและหลอกลวงประชาชนต่อไปดังที่เป็นอยู่
โดยนัยแห่งวาทะดังกล่าวข้างต้น หมายถึงว่าด้วยการคิดเพียงอย่างเดียวไม่ทำให้อะไรเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงสภาวะจะให้ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมได้ ไม่ว่าจะเปลี่ยนจากถูกเป็นผิด จากผิดเป็นถูก จากความเป็นจริงเป็นความเท็จ หรือจากความเป็นเท็จเป็นความจริงได้แต่ประการใด
ตรงกันข้าม สภาวะในความเป็นจริงเป็นอยู่อย่างไรก็จะคงสภาพเป็นอย่างนั้น โดยที่ผู้เกี่ยวข้องกับสภาวะจะคิดหรือเข้าใจ พูดตรงกันข้ามจากความเป็นจริงอย่างไรก็ไม่มีผลในการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
นี่คือสัจธรรมตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังที่ปรากฏในธัมมนิยามสูตรที่ว่า “ตถาคตจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นในโลกนี้ก็ตาม ธัมมะอันได้แก่สภาวะความเป็นจริงอันได้แก่ ธัมมนิยม และธัมมฐิติมีอยู่แล้วในโลก เพียงแต่ขาดผู้ค้นพบเท่านั้น”
โดยนัยแห่งธรรมบทนี้หมายความว่า ความจริงมีอยู่ด้วยตัวมันเอง ไม่มีใครสร้างขึ้นมา และถ้าใครสักคนบังเอิญคิดหรือพูดในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความจริงนั้น ก็แปลว่าผู้นั้นโกหก และสร้างสิ่งแปลกปลอมขึ้นมา
เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้เกิดสิ่งแปลกปลอมขึ้นมาบนโลก ซึ่งมีการยึดถือสมมติสัจจะคือความจริงที่สมมติเรียก และเข้าใจตรงกันอยู่เรื่องหนึ่ง และเรื่องที่ว่านี้ก็คือ ในขณะที่ประชาชนซึ่งเป็นชาวบ้านร้านถิ่นเขากำลังเดือดร้อนเพราะข้าวของแพง แต่นักการเมืองในตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ และตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กลับออกมาบอกว่าของไม่แพง แต่ที่ชาวบ้านบ่นเพราะคิดกันเอาเอง และแถมยังบอกถึงสาเหตุที่ทำให้คนคิดเช่นนี้ด้วยว่าเพราะภัยน้ำท่วม และเพราะมีเงินในกระเป๋าน้อยลง จึงทำให้พวกเขาคิดว่าข้าวของแพงขึ้น ทั้งๆ ที่โดยรวมแล้วไม่แพงแถมมีแนวโน้มลดลงด้วยซ้ำ
ในทันทีที่ผู้เขียนได้อ่านข่าวนี้รู้สึกค้านในใจว่า ไม่น่าจะจริง ไม่น่าจะใช่ดังที่ทั้งสองท่านบอก ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. ถ้าสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิต อันได้แก่อาหาร และยารักษาโรค เป็นต้น ไม่แพงเมื่อเทียบกับกำลังซื้อที่มีอยู่โดยยึดค่าของเงินเป็นหลัก ชาวบ้านจะบ่นและเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขทำไม
2. ถ้าสินค้าไม่แพงอย่างที่กระทรวงพาณิชย์บอกแล้ว กระทรวงพาณิชย์จะจัดขายสินค้าราคาถูกในนามร้านธงฟ้าทำไม เพราะในภาวะที่สินค้าราคาถูกซื้อที่ไหนก็ได้ราคาเท่ากัน ปริมาณเท่ากัน และคุณภาพเท่ากัน ใครจะถ่อสังขารมารอซื้อจากร้านธงฟ้า และการที่เขามาแปลว่าสินค้าแพงจริง เมื่อเป็นเช่นนี้การออกร้านขายสินค้าถูกไม่เป็นการจับโกหกตัวเองของกระทรวงพาณิชย์หรือ
3. การที่นายกรัฐมนตรีบอกว่าของแพงเพราะเงินในกระเป๋าน้อยลง ก็แปลว่าของไม่แพงถ้าคนซื้อมีเงินในกระเป๋ามากขึ้น ถ้าอย่างนั้นการแก้ปัญหานี้ก็ต้องเพิ่มเงินเดือน เพิ่มรายได้ให้มากขึ้นก็แก้ปัญหาของแพงได้แล้ว
แต่ในความเป็นจริง แม้แต่การเพิ่มค่าแรง 300 บาทต่อวันก็มิได้ช่วยให้คนซื้อของถูกลง ตรงกันข้ามการเพิ่มค่าแรงก็จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินน้อยลง นั่นหมายถึงว่าราคาสินค้าจะสูงขึ้นนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้การแก้ปัญหาสินค้าแพงโดยการเพิ่มค่าจ้างก็ไม่น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงประเด็นแต่อย่างใด
4. นายกรัฐมนตรีบอกว่า ข้าวของมิได้แพงขึ้นเพราะราคาน้ำมันแพงขึ้น แต่ในความเป็นจริง ราคาสินค้าแพงขึ้นเพราะราคาน้ำมันแพงเพียง 10% และอีก 60% เป็นเพราะราคาวัตถุดิบแพงขึ้น โดยที่ท่านนายกฯ ลืมไปว่าที่วัตถุดิบแพงขึ้นส่วนหนึ่งมาจากต้นทุนการผลิต และต้นทุนการขนส่งแพงขึ้นเพราะน้ำมันอันเป็นปัจจัยการผลิต และการขนส่งแพงขึ้นนั่นเอง
สรุปง่ายๆ น้ำมันแพง ค่าแรงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นส่วนหนึ่ง และเป็นส่วนสำคัญของการขึ้นราคาด้วย
จากปัจจัยในเชิงตรรกะ 4 ประการนี้บอกได้ชัดเจนว่าการที่ข้าวของแพงมิได้เกิดจากการคิดเอาเอง แต่แพงขึ้นจริงๆ
ดังนั้น ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าทำไมรัฐบาลไม่ยอมรับความจริง และแก้ไขให้ตรงประเด็นแห่งปัญหา แล้วทำการชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจด้วยเหตุด้วยผล และบอกถึงความจำเป็นแล้วจบลงด้วยการเชิญชวนให้ช่วยกันประหยัด โดยเฉพาะเรื่องน้ำมันก็จะช่วยกันแก้ปัญหาในภาพรวมของประเทศได้ และผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่าคนไทยยุคนี้มีความรู้ มีความสามารถในการแยกแยะปัญหาด้วยเหตุด้วยผลมากพอจะยอมรับและให้ความร่วมมือกับรัฐบาลได้
แต่รัฐบาลต้องยอมรับความจริงและพูดความจริง โดยไม่ต้องกลัวเสียหน้าที่เคยพูดไว้ว่า ถ้าได้เป็นรัฐบาลจะทำให้ราคาน้ำมันถูกลง และสินค้าถูกลงพร้อมมีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะนั่นเป็นการพูดเพื่อหวังผลทางการเมือง แต่เมื่อทำแล้วไม่ได้ก็ต้องบอกเหตุผล ไม่ใช่บิดเบือนและหลอกลวงประชาชนต่อไปดังที่เป็นอยู่