นายเกียรติ สิทธีอมร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี เงา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงสถานการณ์พลังงานมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นว่า ขณะนี้รัฐบาลดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด เพราะจากสถานการณ์ราคาสินค้าแพง ก็เพราะพลังงานแพง โดยตนได้ตรวจสอบจากเอกสารของกระทรวงพลังงาน เป็นรายงานการใช้ก๊าซแอลพีจี ในช่วงปี 2551-2554 เป็นข้อมูลทางการ และเป็นที่ยอมรับทุกฝ่ายในการใช้พลังงาน แบ่งเป็นการใช้พลังงาน 4 ประเภท คือ ภาคครัวเรือน ภาครถยนต์ ภาคอุตสาหกรรม และ ภาคปิโตรเคมี ซึ่งตัวเลขทั้งหมดจะเห็นได้ว่า ภาคครัวเรือน กับภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ใช้ถึง 75 % ของแอลพีจีทั้งหมด ที่เหลือเป็นภาคอุตสาหกรรม และภาครถยนต์
ที่ผ่านมารัฐบาลมีการกล่าวอ้างว่า มีการใช้แอลพีจี เพิ่มมากขึ้นในส่วนของภาครถยนต์ ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะตัวเลขการเติบโตของภาครถยนต์ เพิ่มไม่ถึง10 % ส่วนภาคอตุสาหกรรมปกติก็เพิ่มขึ้นไม่มาก เป็นไปตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
แต่ที่ผิดปกติอย่างมากมี 2 ภาค คือ ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นเกือบ 1 เท่าตัว ปกติการใช้เพิ่มขึ้น จะต้องสะท้อนการเติบโตของเศรษฐกิจ และการเติบโตของประชากร ซึ่งประเทศไทยไม่ได้มีพลเมืองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะถึงขนาดที่จะต้องใช้ก๊าซแอลพีจีเพิ่มขึ้นเกือบ 1 เท่าตัวคือ มีการใช้ในภาคครัวเรือนทั้งหมดกว่า 40 % ของการใช้แอลพีจี ทั้งหมด ซึ่งในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พลังงาน ได้มีการซักถามในประเด็นนี้ คำตอบที่ได้รับคือ มีการลักลอบนำออกไปในปริมาณที่สูงอย่างมีนัยยะสำคัญผิดปกติอย่างมาก ส่วนภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพิ่มขึ้น 1.5 เท่าใน 3 ปี โดยไปเพิ่มอยู่ในกลุ่มบริษัทของปตท. ทั้งสิ้น
" ต้องตั้งคำถามว่า ทำไมภาคปิโตรเคมี ต้องใช้ก๊าซที่ได้รับการอุดหนุนเป็นต้นทุนเชื้อเพลิงในราคาถูก เพื่อให้สร้างกำไรอย่างมากมาย นโยบายไม่ควรเป็นอย่างนั้น ซึ่งเราควรอุดหนุนก๊าซแอลพีจี เพื่อประชาชน ไม่ใช่เพื่อภาคอุตสาหกรรม ไม่ใช่เพื่อการลักลอบออกไปต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ปริมาณที่มีการลักลอบออกไปจากตัวเลขของทางการเทียบเท่ากับประชากรเกือบ 50 ล้านคน แสดงว่าก๊าซแอลพีจีของเราที่หายไป มีปริมาณสูงมาก ก็ต้องตั้งคำถามว่า นโยบาย คืออะไรแน่ ทำไมทางการไม่แก้ปัญหาในส่วนนี้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการอุดหนุนเพื่อช่วยประชาชน แต่กลับดำเนินนโยบายไปอีกทาง ทำให้กระทบกับประชาชนคนไทยโดยตรง และกระทบกับอุตสาหกรรมอาหาร ขนส่ง กระทบหมด" นายเกียรติ กล่าว
นายเกียรติ กล่าวอีกว่า สิ่งแรกที่นายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ต้องชี้แจงคือ 1.ก๊าซแอลพีจีหายไปไหน และมีมาตราการในการแก้ปัญหานี้อย่างไร 2. ถูกต้องแล้วหรือที่ให้ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้ใช้วัตดุดิบซึ่งเป็นก๊าซแอลพีจี ในราคาอุดหนุน และสร้างกำไรอย่างมหาศาลให้กับบริษัทในกลุ่มปตท. ทั้งๆที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีตอนนี้กำไรสูงมาก นโยบายที่ผิดพลาดตรงนี้ ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เราเตือนเรื่องนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ก็ไม่ยอมละในเรื่องการปรับขึ้นแอลพีจี ตั้งแต่เดือน ม.ค. เป็นผลส่วนหนึ่งที่ทำให้สินค้าต่างๆ ขยับตัวสูงขึ้น และไม่รู้ว่าจะไปจบตรงไหน วันนี้ถ้าเข้าเว็บไซต์กระทรวงพลังงาน ก็จะเห็นตัวเลขที่กล่าวมา แต่ไม่มีใครยอมพูดถึงเรื่องความผิดปกติตรงนี้ รัฐบาลต้องมีนโยบายที่จะไปกำกับดูแลไม่ให้เกิดการลักลอบ ตอนนี้ผู้ส่งออก หรือลักลอบนำออกไปได้ประโยชน์ 2 เด้ง ได้จากการอุดหนุนภายในส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งได้จากราคาก๊าซที่สูงในต่างประเทศ ต้องไม่อ้างกลไกตลาด เพราะก๊าซธรรมชาติวันนี้ในประเทศไทยยังมีพอที่จะดูแลภาคครัวเรือนให้ใช้ก๊าซแอลพีจีในราคาที่ถูกต้องเหมาะสม วันนี้ประชาชนเดือดร้อน ขอให้นายกฯ และรมว.พลังงาน ออกมาแถลงชี้แจงว่า ปัญหาตรงนี้จะแก้ไขอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่รัฐบาลต้องลอยตัวเป็นเพราะต้องแก้ปัญหาเรื่องการลักลอบออกไปต่างประเทศ นายเกียรติ กล่าวว่า การลอยตัวเป็นวิธีหนึ่ง การที่ประเทศไทยมีก๊าซของเราเอง ก็เป็นเรื่องที่จะต้องมากำหนดนโยบายเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่มีพลังงานในประเทศ อย่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย ที่เขาดูแลประชาชนในประเทศ เพราะเขามีทรัพยากรของตัวเอง ทำไมประเทศไทยต้องไปเลียนแบบประเทศที่เขาต้องนำเข้าทรัพยากรเหล่านี้ จะคุมง่ายนิดเดียวคือ เรื่องถังแก็ส ทำไมไม่คุมคนส่งออก เพราะถังแก๊สหลายสิบล้านใบ หายไป ไม่ใช่เรื่องปกติ นอกจากนี้ ต้องมีมาตรการอื่นๆ ที่จะมาดูแลให้มีประสิทธิผลมากกว่านี้ ถ้าอ้างเรื่องกลไกตลาด ก็ฟังดูดี แต่ผู้ได้ประโยชน์คือ ผู้ค้าที่เราเห็นกันอยู่แล้ว
ที่ผ่านมารัฐบาลมีการกล่าวอ้างว่า มีการใช้แอลพีจี เพิ่มมากขึ้นในส่วนของภาครถยนต์ ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะตัวเลขการเติบโตของภาครถยนต์ เพิ่มไม่ถึง10 % ส่วนภาคอตุสาหกรรมปกติก็เพิ่มขึ้นไม่มาก เป็นไปตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
แต่ที่ผิดปกติอย่างมากมี 2 ภาค คือ ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นเกือบ 1 เท่าตัว ปกติการใช้เพิ่มขึ้น จะต้องสะท้อนการเติบโตของเศรษฐกิจ และการเติบโตของประชากร ซึ่งประเทศไทยไม่ได้มีพลเมืองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะถึงขนาดที่จะต้องใช้ก๊าซแอลพีจีเพิ่มขึ้นเกือบ 1 เท่าตัวคือ มีการใช้ในภาคครัวเรือนทั้งหมดกว่า 40 % ของการใช้แอลพีจี ทั้งหมด ซึ่งในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พลังงาน ได้มีการซักถามในประเด็นนี้ คำตอบที่ได้รับคือ มีการลักลอบนำออกไปในปริมาณที่สูงอย่างมีนัยยะสำคัญผิดปกติอย่างมาก ส่วนภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพิ่มขึ้น 1.5 เท่าใน 3 ปี โดยไปเพิ่มอยู่ในกลุ่มบริษัทของปตท. ทั้งสิ้น
" ต้องตั้งคำถามว่า ทำไมภาคปิโตรเคมี ต้องใช้ก๊าซที่ได้รับการอุดหนุนเป็นต้นทุนเชื้อเพลิงในราคาถูก เพื่อให้สร้างกำไรอย่างมากมาย นโยบายไม่ควรเป็นอย่างนั้น ซึ่งเราควรอุดหนุนก๊าซแอลพีจี เพื่อประชาชน ไม่ใช่เพื่อภาคอุตสาหกรรม ไม่ใช่เพื่อการลักลอบออกไปต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ปริมาณที่มีการลักลอบออกไปจากตัวเลขของทางการเทียบเท่ากับประชากรเกือบ 50 ล้านคน แสดงว่าก๊าซแอลพีจีของเราที่หายไป มีปริมาณสูงมาก ก็ต้องตั้งคำถามว่า นโยบาย คืออะไรแน่ ทำไมทางการไม่แก้ปัญหาในส่วนนี้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการอุดหนุนเพื่อช่วยประชาชน แต่กลับดำเนินนโยบายไปอีกทาง ทำให้กระทบกับประชาชนคนไทยโดยตรง และกระทบกับอุตสาหกรรมอาหาร ขนส่ง กระทบหมด" นายเกียรติ กล่าว
นายเกียรติ กล่าวอีกว่า สิ่งแรกที่นายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ต้องชี้แจงคือ 1.ก๊าซแอลพีจีหายไปไหน และมีมาตราการในการแก้ปัญหานี้อย่างไร 2. ถูกต้องแล้วหรือที่ให้ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้ใช้วัตดุดิบซึ่งเป็นก๊าซแอลพีจี ในราคาอุดหนุน และสร้างกำไรอย่างมหาศาลให้กับบริษัทในกลุ่มปตท. ทั้งๆที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีตอนนี้กำไรสูงมาก นโยบายที่ผิดพลาดตรงนี้ ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เราเตือนเรื่องนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ก็ไม่ยอมละในเรื่องการปรับขึ้นแอลพีจี ตั้งแต่เดือน ม.ค. เป็นผลส่วนหนึ่งที่ทำให้สินค้าต่างๆ ขยับตัวสูงขึ้น และไม่รู้ว่าจะไปจบตรงไหน วันนี้ถ้าเข้าเว็บไซต์กระทรวงพลังงาน ก็จะเห็นตัวเลขที่กล่าวมา แต่ไม่มีใครยอมพูดถึงเรื่องความผิดปกติตรงนี้ รัฐบาลต้องมีนโยบายที่จะไปกำกับดูแลไม่ให้เกิดการลักลอบ ตอนนี้ผู้ส่งออก หรือลักลอบนำออกไปได้ประโยชน์ 2 เด้ง ได้จากการอุดหนุนภายในส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งได้จากราคาก๊าซที่สูงในต่างประเทศ ต้องไม่อ้างกลไกตลาด เพราะก๊าซธรรมชาติวันนี้ในประเทศไทยยังมีพอที่จะดูแลภาคครัวเรือนให้ใช้ก๊าซแอลพีจีในราคาที่ถูกต้องเหมาะสม วันนี้ประชาชนเดือดร้อน ขอให้นายกฯ และรมว.พลังงาน ออกมาแถลงชี้แจงว่า ปัญหาตรงนี้จะแก้ไขอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่รัฐบาลต้องลอยตัวเป็นเพราะต้องแก้ปัญหาเรื่องการลักลอบออกไปต่างประเทศ นายเกียรติ กล่าวว่า การลอยตัวเป็นวิธีหนึ่ง การที่ประเทศไทยมีก๊าซของเราเอง ก็เป็นเรื่องที่จะต้องมากำหนดนโยบายเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่มีพลังงานในประเทศ อย่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย ที่เขาดูแลประชาชนในประเทศ เพราะเขามีทรัพยากรของตัวเอง ทำไมประเทศไทยต้องไปเลียนแบบประเทศที่เขาต้องนำเข้าทรัพยากรเหล่านี้ จะคุมง่ายนิดเดียวคือ เรื่องถังแก็ส ทำไมไม่คุมคนส่งออก เพราะถังแก๊สหลายสิบล้านใบ หายไป ไม่ใช่เรื่องปกติ นอกจากนี้ ต้องมีมาตรการอื่นๆ ที่จะมาดูแลให้มีประสิทธิผลมากกว่านี้ ถ้าอ้างเรื่องกลไกตลาด ก็ฟังดูดี แต่ผู้ได้ประโยชน์คือ ผู้ค้าที่เราเห็นกันอยู่แล้ว