ASTVผู้จัดการรายวัน-ติดตามงบฟื้นฟูน้ำท่วม 1.2 แสนล้าน เบิกจ่ายสุดอืด แถมมีไอ้โม่งเรียกหัวคิว 35% งบในมหาดไทย ปูดซ้ำ เขต 4 กทม. งาบงบทำข้าวกล่อง 30 ล้านบาท เชื่อมีนักการเมืองเอี่ยว "ชูวิทย์"นำสื่อบุกสโมสรรัฐสภา ตะลึงพบของแจกน้ำท่วมเก็บไว้อื้อ น้ำดื่มถูกปลวกแทะเสียหาย ด้านนักวิชาการจี้รัฐสื่อสารให้ชัด แผนป้องกันน้ำท่วม 3 แสนล้านทำอะไรบ้าง
นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ คณะอนุกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (งบน้ำท่วม) สภาผู้แทนราษฏร เปิดเผยว่า จากการที่คณะอนุกรรมาธิการฯ ตรวจสอบการใช้งบประมาณเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบอุทักภัย จำนวน 1.2แสนล้านบาท พบว่าโครงการต่างๆ มีการเบิกจ่ายงบไปเพียง 10% เท่านั้น ถือว่ามีความล่าช้ามาก และงบในส่วนของกระทรวงมหาดไทยที่จะให้เบิกจ่าย พบว่า มีคนไปเรียกเก็บค่าหัวคิว 35% ซึ่งเรื่องดังกล่าวรองปลัดกระทรวงมหาดไทยก็ออกมายอมรับว่ามีคนไปแอบอ้างเรียกเก็บค่าหัวคิวจริง คณะอนุกรรมาธิการฯ จะมีการตรวจสอบเรื่องนี้ต่อไปว่าเกี่ยวข้องกับใครบ้าง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 รายการค่าใช้จ่ายในการเยียวยาฟื้นฟูและป้องกันการเสียหายจกอุทกภัยอย่างบูรณาการที่มีโครงการหรือรายการที่ยังไม่ได้มีการจัดซื้อจัดจ้างในขั้นตอนการประกวดราคา หรือกรณีดำเนินการเองที่ยังไม่ได้เริ่มปฏิบัติงานภายในวันที่ 30 มิ.ย. ให้ส่งคืนงบประมาณดังกล่าวให้สำนักงบประมาณในวันที่ 3พ.ค.
“ทำไมต้องเรียกงบประมาณคืน ใครเป็นคนสั่งให้ดำเนินการแบบนี้ จากกรณีดังกล่าวหมายความว่า ประชาชนที่ประสบอุทกภัยที่เดือดร้อนจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ ทั้งๆ ที่ความจริง ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นความผิดของประชาชน แต่เป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากหน่วยงานราชการที่ดำเนินการล่าช้าจนต้องเรียกเงินคืน”
***เขต4กทม.งาบงบข้าวกล่อง30ล้าน
นายชาญชัยกล่าวต่อว่า ยังมีข้อพิรุธในการจัดซื้อข้าวกล่องช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน 4 เขตกทม. ได้แก่ เขตลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก และคลองสามวา ซึ่งส่อไปในทางทุจริตเรื่องงบประมาณ เพราะมีการเบิกจ่ายงบจำนวน 61 ล้านบาท โดยอ้างว่ามีผู้จ่ายเงินสดล่วงหน้าไปก่อนแล้ว ทางกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มาเบิกจ่ายงบ ซึ่งตามปกติจะเบิกจ่ายเป็นเช็ค แต่สำหรับครั้งนี้เบิกจ่ายเป็นเงินสดภายหลัง ครั้งละ 9-10 ล้านบาท ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และปปช.ได้ลงไปตรวจสอบและพบพิรุธว่าร้านที่รับทำข้าวกล่าวไม่ได้มีการเสียภาษี อีกทั้งทางคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้เรียกผู้ผลิตข้าวกล่องมาชี้แจงและยืนยันว่าตัวเองไม่ได้รับงาน
"จากการตรวจสอบรายชื่อเป็นที่น่าสงสัยว่าอาจมีการสวมสิทธิ์รายชื่อผู้มีสิทธิทำข้าวกล่องมาเบิกจ่ายงบ อีกทั้งอาจมีการทุจริตถึง 30 ล้านบาท จากเงินที่ได้มีการเบิกจ่าย โดยเชื่อว่าเงินจำนวน 61 ล้านที่อ้างว่านำไปจ่ายนั้น มีนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแน่นอน นอกจากนี้ เรื่องดังกล่าวยังเกี่ยวข้องตั้งแต่ผอ.เขต 8 สำนักงานพัฒนาสังคม รองอธิบดีและอธิบดี ดังนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้ง"
***"ชูวิทย์"แฉของบริจาคถูกปลวกแทะ
วันเดียวกันนี้ เวลา 15.30 น. นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย นำคณะสื่อมวลชน ไปยังสโมสรรัฐสภาเพื่อดูสิ่งของที่ประชาชนบริจาคให้แก่รัฐสภาเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา ทันทีที่ไปถึงพบว่ามีสิ่งของบริจาคจำนวนมากที่ยังไม่ได้กระจาย เช่น เรือไฟเบอร์พร้อมเครื่องยนต์ ส้วมกระดาษ น้ำตาลทราย หมอน ถุงอเนกประสงค์ และน้ำดื่ม จำนวนหลายลังที่กำลังโดนปลวกแทะ เป็นต้น
นายชูวิทย์กล่าวว่า ตนได้ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดจึงไม่นำสิ่งของที่อยู่ไปบริจาค ทั้งๆ ที่ปัจจุบันประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้ง อย่างไรก็ตาม ตนเข้าใจว่าการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งสำคัญ แต่ความเดือดร้อนก็สำคัญเช่นกัน
***สภาฯ โบ้ยไม่ได้รับผิดชอบ
นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ที่นายชูวิทย์อ้างว่าเป็นของที่เหลือมาจากการบริจาคจากเหตุการณ์น้ำท่วมปีที่เเล้ว สำนักงานเลขาธิการสภาฯ ไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับสิ่งของบริจาคช่วยเหลือน้ำท่วมปี 2554 เพราะขณะนั้น คณะกรรมาธิการกิจการสภาฯ ได้เข้ามาบริหารจัดการเรื่องดังกล่าว
***ปัดสวะพ้นตัวอ้างแจกไปหมดแล้ว
นายไพจิต ศรีวรขาน สส.นครพนม ประธานกิจการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า จากการประชุมคณะทำงานเกี่ยวกับการกระจายสิ่งของบริจาคน้ำท่วม 2554 เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการประชุมครั้งล่าสุด ได้รับรายงานจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแล้วว่าได้จัดสรรสิ่งของและเครื่องใช้จำเป็นให้กับพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมไปแล้ว ซึ่งไม่แน่ใจเหมือนกันว่าของบริจาคที่เหลืออยู่นั้นมีสาเหตุมาจากอะไร
นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ในประเด็นของเรือยนต์มีที่มาจากสภาฯ ได้ทำเรื่องขอยืมมาจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อมาใช้ช่วงเหตุการณ์น้ำท่วมสำหรับขนส่งของบริจาค และต่อมาทางเทศบาลชัยภูมิได้ประสานมายังสภาฯ ตั้งแต่ต้นปีแล้วว่าอยากขอนำเรือไปใช้ในพื้นที่ เพราะเห็นว่าเจอปัญหาน้ำท่วมบ่อยทุกปี ซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างการจัดส่งเรือให้ตามคำขอ
**งบ3 แสนล้านต้องมีความชัดเจน
วันเดียวกัน นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม กล่าวในงานเสวนา “สถานการณ์น้ำปี 2555 เอาอยู่ไหม” ซึ่งจัดขึ้นเนื่องในงานวันสถาปนาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ CSR DAY 43 ปี กฟผ. ตอนหนึ่งว่า สิ่งสำคัญ คือ แผนป้องกันน้ำท่วมของรัฐบาลระยะกลางและยาว ซึ่งจะใช้เม็ดเงิน 3 แสนล้านบาทในการพัฒนา 5 ปี ควรจะชัดเจนถึงแนวทางการปฏิบัติงาน เพราะขณะนี้ทุกฝ่ายต่างคนต่างทำเพื่อป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ตัวเอง ซึ่งหากปล่อยไว้จะสร้างปัญหาต่อการปฏิบัติตามแผน
นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ คณะอนุกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (งบน้ำท่วม) สภาผู้แทนราษฏร เปิดเผยว่า จากการที่คณะอนุกรรมาธิการฯ ตรวจสอบการใช้งบประมาณเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบอุทักภัย จำนวน 1.2แสนล้านบาท พบว่าโครงการต่างๆ มีการเบิกจ่ายงบไปเพียง 10% เท่านั้น ถือว่ามีความล่าช้ามาก และงบในส่วนของกระทรวงมหาดไทยที่จะให้เบิกจ่าย พบว่า มีคนไปเรียกเก็บค่าหัวคิว 35% ซึ่งเรื่องดังกล่าวรองปลัดกระทรวงมหาดไทยก็ออกมายอมรับว่ามีคนไปแอบอ้างเรียกเก็บค่าหัวคิวจริง คณะอนุกรรมาธิการฯ จะมีการตรวจสอบเรื่องนี้ต่อไปว่าเกี่ยวข้องกับใครบ้าง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 รายการค่าใช้จ่ายในการเยียวยาฟื้นฟูและป้องกันการเสียหายจกอุทกภัยอย่างบูรณาการที่มีโครงการหรือรายการที่ยังไม่ได้มีการจัดซื้อจัดจ้างในขั้นตอนการประกวดราคา หรือกรณีดำเนินการเองที่ยังไม่ได้เริ่มปฏิบัติงานภายในวันที่ 30 มิ.ย. ให้ส่งคืนงบประมาณดังกล่าวให้สำนักงบประมาณในวันที่ 3พ.ค.
“ทำไมต้องเรียกงบประมาณคืน ใครเป็นคนสั่งให้ดำเนินการแบบนี้ จากกรณีดังกล่าวหมายความว่า ประชาชนที่ประสบอุทกภัยที่เดือดร้อนจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ ทั้งๆ ที่ความจริง ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นความผิดของประชาชน แต่เป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากหน่วยงานราชการที่ดำเนินการล่าช้าจนต้องเรียกเงินคืน”
***เขต4กทม.งาบงบข้าวกล่อง30ล้าน
นายชาญชัยกล่าวต่อว่า ยังมีข้อพิรุธในการจัดซื้อข้าวกล่องช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน 4 เขตกทม. ได้แก่ เขตลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก และคลองสามวา ซึ่งส่อไปในทางทุจริตเรื่องงบประมาณ เพราะมีการเบิกจ่ายงบจำนวน 61 ล้านบาท โดยอ้างว่ามีผู้จ่ายเงินสดล่วงหน้าไปก่อนแล้ว ทางกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มาเบิกจ่ายงบ ซึ่งตามปกติจะเบิกจ่ายเป็นเช็ค แต่สำหรับครั้งนี้เบิกจ่ายเป็นเงินสดภายหลัง ครั้งละ 9-10 ล้านบาท ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และปปช.ได้ลงไปตรวจสอบและพบพิรุธว่าร้านที่รับทำข้าวกล่าวไม่ได้มีการเสียภาษี อีกทั้งทางคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้เรียกผู้ผลิตข้าวกล่องมาชี้แจงและยืนยันว่าตัวเองไม่ได้รับงาน
"จากการตรวจสอบรายชื่อเป็นที่น่าสงสัยว่าอาจมีการสวมสิทธิ์รายชื่อผู้มีสิทธิทำข้าวกล่องมาเบิกจ่ายงบ อีกทั้งอาจมีการทุจริตถึง 30 ล้านบาท จากเงินที่ได้มีการเบิกจ่าย โดยเชื่อว่าเงินจำนวน 61 ล้านที่อ้างว่านำไปจ่ายนั้น มีนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแน่นอน นอกจากนี้ เรื่องดังกล่าวยังเกี่ยวข้องตั้งแต่ผอ.เขต 8 สำนักงานพัฒนาสังคม รองอธิบดีและอธิบดี ดังนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้ง"
***"ชูวิทย์"แฉของบริจาคถูกปลวกแทะ
วันเดียวกันนี้ เวลา 15.30 น. นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย นำคณะสื่อมวลชน ไปยังสโมสรรัฐสภาเพื่อดูสิ่งของที่ประชาชนบริจาคให้แก่รัฐสภาเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา ทันทีที่ไปถึงพบว่ามีสิ่งของบริจาคจำนวนมากที่ยังไม่ได้กระจาย เช่น เรือไฟเบอร์พร้อมเครื่องยนต์ ส้วมกระดาษ น้ำตาลทราย หมอน ถุงอเนกประสงค์ และน้ำดื่ม จำนวนหลายลังที่กำลังโดนปลวกแทะ เป็นต้น
นายชูวิทย์กล่าวว่า ตนได้ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดจึงไม่นำสิ่งของที่อยู่ไปบริจาค ทั้งๆ ที่ปัจจุบันประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้ง อย่างไรก็ตาม ตนเข้าใจว่าการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งสำคัญ แต่ความเดือดร้อนก็สำคัญเช่นกัน
***สภาฯ โบ้ยไม่ได้รับผิดชอบ
นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ที่นายชูวิทย์อ้างว่าเป็นของที่เหลือมาจากการบริจาคจากเหตุการณ์น้ำท่วมปีที่เเล้ว สำนักงานเลขาธิการสภาฯ ไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับสิ่งของบริจาคช่วยเหลือน้ำท่วมปี 2554 เพราะขณะนั้น คณะกรรมาธิการกิจการสภาฯ ได้เข้ามาบริหารจัดการเรื่องดังกล่าว
***ปัดสวะพ้นตัวอ้างแจกไปหมดแล้ว
นายไพจิต ศรีวรขาน สส.นครพนม ประธานกิจการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า จากการประชุมคณะทำงานเกี่ยวกับการกระจายสิ่งของบริจาคน้ำท่วม 2554 เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการประชุมครั้งล่าสุด ได้รับรายงานจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแล้วว่าได้จัดสรรสิ่งของและเครื่องใช้จำเป็นให้กับพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมไปแล้ว ซึ่งไม่แน่ใจเหมือนกันว่าของบริจาคที่เหลืออยู่นั้นมีสาเหตุมาจากอะไร
นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ในประเด็นของเรือยนต์มีที่มาจากสภาฯ ได้ทำเรื่องขอยืมมาจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อมาใช้ช่วงเหตุการณ์น้ำท่วมสำหรับขนส่งของบริจาค และต่อมาทางเทศบาลชัยภูมิได้ประสานมายังสภาฯ ตั้งแต่ต้นปีแล้วว่าอยากขอนำเรือไปใช้ในพื้นที่ เพราะเห็นว่าเจอปัญหาน้ำท่วมบ่อยทุกปี ซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างการจัดส่งเรือให้ตามคำขอ
**งบ3 แสนล้านต้องมีความชัดเจน
วันเดียวกัน นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม กล่าวในงานเสวนา “สถานการณ์น้ำปี 2555 เอาอยู่ไหม” ซึ่งจัดขึ้นเนื่องในงานวันสถาปนาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ CSR DAY 43 ปี กฟผ. ตอนหนึ่งว่า สิ่งสำคัญ คือ แผนป้องกันน้ำท่วมของรัฐบาลระยะกลางและยาว ซึ่งจะใช้เม็ดเงิน 3 แสนล้านบาทในการพัฒนา 5 ปี ควรจะชัดเจนถึงแนวทางการปฏิบัติงาน เพราะขณะนี้ทุกฝ่ายต่างคนต่างทำเพื่อป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ตัวเอง ซึ่งหากปล่อยไว้จะสร้างปัญหาต่อการปฏิบัติตามแผน