นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เปิดเผยว่า การประชุมบอร์ด กนง.เมื่อวานนี้(2 พ.ค.) ถือเป็นครั้งที่ 3 ของปีนี้ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 3%ต่อปี โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันยังเหมาะสมในการสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยให้สามารถเข้าสู่ภาวะปกติได้ อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมายอยู่ แต่ยอมรับว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อยังมีอยู่และแรงคาดการณ์เงินเฟ้อก็ปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้ การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ได้ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงติดลบ 0.3% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในภูมิภาคเอเชีย
ส่วนภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ฟื้นตัวได้เร็วและแรงกว่าที่ธปท.คาดการณ์ไว้ ถือเป็นสัญญาณที่ดีขึ้น ทำให้รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อในวันที่ 11 พ.ค.นี้จะปรับเพิ่มตัวเลขการขยายตัวเศรษฐกิจไทย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐาน รวมไปถึงตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ
"การปรับเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงินก็ต้องขึ้นอยู่กับสถานกาณณ์จริงๆ โดยหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เราก็พร้อมปรับนโยบายการเงิน ซึ่งทางบอร์ดกนง.จะชั่งน้ำหนักจาก 2 ปัจจัยหลัก ปัจจัยแรกต้องมั่นใจให้ได้ว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวเต็มที่และเข้าสู่การขยายตัวที่เป็นปกติ และปัจจัยที่สอง คือต้องพยายามระมัดระวังแรงกดดันเงินเฟ้อไม่ให้สูงจนกระทั่งออกนอกกรอบความมีเสถียรภาพ”
ด้านนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศไทย กล่าวบรรยายพิเศษยุทธศาสตร์ประเทศไทยหลังปี2015 ว่า จีดีพีปีนี้คาดว่าจะโต 6-6.5% สาเหตุจากภาวะการส่งออกตั้งแต่ไตรมาส2 นี้จะโตต่อเนื่องหลังภาคการผลิตกลับมาฟื้นตัวจากน้ำท่วม และการใช้จ่ายภาครัฐ ดังนั้นดุลบัญชีเดินสะพัดปีนี้จะเกินดุลประมาณ 1.2%ของจีดีพี
จากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ซึ่งตัวเลขกระทรวงพาณิชย์ชี้ชัดว่าสินค้าอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับราคาพลังงาน พบว่าราคาก็ไม่ได้สูงมาก โดยเฉพาะกลุ่มอาหาร ตรงกันข้ามหมวดนี้ดัชนีราคาผู้บริโภคกลับมีแนวโน้มจะลดลง แต่ที่ประชาชนวิตกเพราะส่วนหนึ่งสื่อนำเสนอว่าของแพง แต่หากดูสินค้าตลาดสดก็ไม่ได้สูงมาก ดังนั้นเมื่อเงินเฟ้อเริ่มลดควบคู่สภาพคล่องการเงินที่มีสูง 2ล้านล้านบาท ความจำเป็นที่แบงก์ชาติจะขึ้นดอกเบี้ยคงไม่มี แถมจะลดลงด้วยซ้ำ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เงินเฟ้อในเดือนเม.ย.2555 ที่ลดลงเหลือ 2.47% จากเดือนมี.ค.ที่สูงถึง 3.45% นั้น เห็นว่า เป็นไปไม่ได้ที่ในเดือนเดียวอัตราเงินเฟ้อจะลดลงมากถึง 1% เพราะราคาสินค้าไม่ได้ลดลงมากขนาดนั้น คิดว่าคงไปสำรวจในตลาดที่ราคาไม่แพง ไม่สำรวจตลาดใหญ่ๆ เลยได้ผลที่ไม่สะท้อนความเป็นจริง ทั้งๆ ที่สินค้าที่คำนวณเงินเฟ้อ 417 รายการ มีมากถึง 187 รายการที่ราคาสูงขึ้น จึงอยากให้กระทรวงพาณิชย์ตอบให้ได้ว่า ที่เงินเฟ้อลดลง เป็นเพราะการผลิตกลับสู่ปกติหลังน้ำท่วมจริงหรือไม่ มาตรการดูแลค่าครองชีพของรัฐบาลได้ผลจริงหรือไม่ และผู้ผลิตขายสินค้าไม่ได้จนต้องลดราคาจริงหรือไม่
ทั้งนี้ การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ได้ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงติดลบ 0.3% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในภูมิภาคเอเชีย
ส่วนภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ฟื้นตัวได้เร็วและแรงกว่าที่ธปท.คาดการณ์ไว้ ถือเป็นสัญญาณที่ดีขึ้น ทำให้รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อในวันที่ 11 พ.ค.นี้จะปรับเพิ่มตัวเลขการขยายตัวเศรษฐกิจไทย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐาน รวมไปถึงตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ
"การปรับเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงินก็ต้องขึ้นอยู่กับสถานกาณณ์จริงๆ โดยหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เราก็พร้อมปรับนโยบายการเงิน ซึ่งทางบอร์ดกนง.จะชั่งน้ำหนักจาก 2 ปัจจัยหลัก ปัจจัยแรกต้องมั่นใจให้ได้ว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวเต็มที่และเข้าสู่การขยายตัวที่เป็นปกติ และปัจจัยที่สอง คือต้องพยายามระมัดระวังแรงกดดันเงินเฟ้อไม่ให้สูงจนกระทั่งออกนอกกรอบความมีเสถียรภาพ”
ด้านนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศไทย กล่าวบรรยายพิเศษยุทธศาสตร์ประเทศไทยหลังปี2015 ว่า จีดีพีปีนี้คาดว่าจะโต 6-6.5% สาเหตุจากภาวะการส่งออกตั้งแต่ไตรมาส2 นี้จะโตต่อเนื่องหลังภาคการผลิตกลับมาฟื้นตัวจากน้ำท่วม และการใช้จ่ายภาครัฐ ดังนั้นดุลบัญชีเดินสะพัดปีนี้จะเกินดุลประมาณ 1.2%ของจีดีพี
จากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ซึ่งตัวเลขกระทรวงพาณิชย์ชี้ชัดว่าสินค้าอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับราคาพลังงาน พบว่าราคาก็ไม่ได้สูงมาก โดยเฉพาะกลุ่มอาหาร ตรงกันข้ามหมวดนี้ดัชนีราคาผู้บริโภคกลับมีแนวโน้มจะลดลง แต่ที่ประชาชนวิตกเพราะส่วนหนึ่งสื่อนำเสนอว่าของแพง แต่หากดูสินค้าตลาดสดก็ไม่ได้สูงมาก ดังนั้นเมื่อเงินเฟ้อเริ่มลดควบคู่สภาพคล่องการเงินที่มีสูง 2ล้านล้านบาท ความจำเป็นที่แบงก์ชาติจะขึ้นดอกเบี้ยคงไม่มี แถมจะลดลงด้วยซ้ำ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เงินเฟ้อในเดือนเม.ย.2555 ที่ลดลงเหลือ 2.47% จากเดือนมี.ค.ที่สูงถึง 3.45% นั้น เห็นว่า เป็นไปไม่ได้ที่ในเดือนเดียวอัตราเงินเฟ้อจะลดลงมากถึง 1% เพราะราคาสินค้าไม่ได้ลดลงมากขนาดนั้น คิดว่าคงไปสำรวจในตลาดที่ราคาไม่แพง ไม่สำรวจตลาดใหญ่ๆ เลยได้ผลที่ไม่สะท้อนความเป็นจริง ทั้งๆ ที่สินค้าที่คำนวณเงินเฟ้อ 417 รายการ มีมากถึง 187 รายการที่ราคาสูงขึ้น จึงอยากให้กระทรวงพาณิชย์ตอบให้ได้ว่า ที่เงินเฟ้อลดลง เป็นเพราะการผลิตกลับสู่ปกติหลังน้ำท่วมจริงหรือไม่ มาตรการดูแลค่าครองชีพของรัฐบาลได้ผลจริงหรือไม่ และผู้ผลิตขายสินค้าไม่ได้จนต้องลดราคาจริงหรือไม่