นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.2555 ทุกรายการปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และสูงสุดในรอบ 7 เดือนนับตั้งแต่น้ำท่วมใหญ่ในเดือนต.ค.2554 แต่ยังไม่สูงเท่ากับเดือนก.ย.2554 ซึ่งเป็นช่วงก่อนน้ำท่วม โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย. เท่ากับ77.6 เพิ่มขึ้นจาก 76.6 ในเดือนมี.ค.2555 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน เท่ากับ 56.2 เพิ่มขึ้นจาก 55.2 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต เท่ากับ 85.4 เพิ่มจาก 84.4 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม เท่ากับ 67.5 เพิ่มจาก 66.5 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางาน เท่ากับ 68.2 เพิ่มจาก 67.4 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต เท่ากับ 97.1 เพิ่มจาก 95.9
สาเหตุที่ทำให้ดัชนีทุกรายการปรับตัวเพิ่มขึ้น มาจากเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา มีความคึกคักมาก ประชาชนวางแผนท่องเที่ยว จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ และจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น, การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ทำให้ผู้ใช้แรงงานรู้สึกว่ามีเงินเพิ่มมากขึ้น, ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น และระดับราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศลดลงประมาณลิตรละ 0.70 บาท ส่วนปัจจัยลบที่บั่นทอนความเชื่อมั่น ได้แก่ ระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศพิ่มขึ้น, มูลค่าการส่งออกของไทยเดือนมี.ค. ลดลงต่อเนื่อง และขาดดุลการค้า 1,401 ล้านเหรียญสหรัฐฯ, ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง, ผู้บริโภคกังวลปัญหาค่าครองชีพ และราคาสินค้าทรงตัวสูง, ความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก, ความกังวลเกี่ยวกับการเมืองในประเทศ และเหตุระเบิดที่จ.สงขลา และยะลา
”ดัชนีความเชื่อมั่นของเดือนเม.ย. ทุกรายการที่สูงสุดในรอบ 7 เดือน เป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและธุรกิจหลังน้ำท่วม และคนยังมีความหวังว่าเศรษฐกิจและรายได้น่าจะดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ดัชนีความเหมาะสมในการซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ และท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย"นายธนวรรธน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังความกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพสูง และราคาสินค้าแพง ความไม่แน่นอนทางการเมือง และความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะค่าครองชีพ เห็นว่า รายได้ยังไม่เพิ่มสูงขึ้นเท่ากับค่าครองชีพ และคาดว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้าค่าครองชีพจะยิ่งแย่ลงอีก เพราะราคาพลังงานมีแนวโน้มสูงขึ้น และราคาสินค้าเพิ่มขึ้นตามไปอีก
สาเหตุที่ทำให้ดัชนีทุกรายการปรับตัวเพิ่มขึ้น มาจากเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา มีความคึกคักมาก ประชาชนวางแผนท่องเที่ยว จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ และจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น, การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ทำให้ผู้ใช้แรงงานรู้สึกว่ามีเงินเพิ่มมากขึ้น, ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น และระดับราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศลดลงประมาณลิตรละ 0.70 บาท ส่วนปัจจัยลบที่บั่นทอนความเชื่อมั่น ได้แก่ ระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศพิ่มขึ้น, มูลค่าการส่งออกของไทยเดือนมี.ค. ลดลงต่อเนื่อง และขาดดุลการค้า 1,401 ล้านเหรียญสหรัฐฯ, ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง, ผู้บริโภคกังวลปัญหาค่าครองชีพ และราคาสินค้าทรงตัวสูง, ความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก, ความกังวลเกี่ยวกับการเมืองในประเทศ และเหตุระเบิดที่จ.สงขลา และยะลา
”ดัชนีความเชื่อมั่นของเดือนเม.ย. ทุกรายการที่สูงสุดในรอบ 7 เดือน เป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและธุรกิจหลังน้ำท่วม และคนยังมีความหวังว่าเศรษฐกิจและรายได้น่าจะดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ดัชนีความเหมาะสมในการซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ และท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย"นายธนวรรธน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังความกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพสูง และราคาสินค้าแพง ความไม่แน่นอนทางการเมือง และความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะค่าครองชีพ เห็นว่า รายได้ยังไม่เพิ่มสูงขึ้นเท่ากับค่าครองชีพ และคาดว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้าค่าครองชีพจะยิ่งแย่ลงอีก เพราะราคาพลังงานมีแนวโน้มสูงขึ้น และราคาสินค้าเพิ่มขึ้นตามไปอีก