ASTVผู้จัดการรายวัน- คลังชงครม. ต่ออายุรถเมล์รถไฟฟรี ออกถึงสินเดือนกันยายน เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน ด้าน “ปู” เต้นแพงทั้งแผ่นดินเรียกพลังงานถกรับมือค่าพลังงานพุ่ง สั่งหามาตรการดูแลแอลพีจีภาคครัวเรือน ก.พลังงานจ่อประกาศขึ้นราคาแอลพีจีครัวเรือนไตรมาส 4 แต่ให้ใช้ราคาเดิมดึงเงินกองทุนน้ำมันฯอุ้ม
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะนำเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 1 พฤษภาคม เพื่อต่ออายุมาตรการลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนทั้งในส่วนของรถเมล์ฟรีและรถไฟฟรี ไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน จากที่จะครบอายุในวันที่ 30 เมษายน เพื่อลดภาระผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งปัญหาราคาสินค้าน้ำมันและไฟฟ้าที่ปรับเพิ่มขึ้นขณะนี้ เชื่อว่า ยังไม่มีผลกระทบต่อการบริโภคของประชาชนให้ชะลอตัวลง เนื่องจากประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งจากค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทและข้าราชการระดับปริญญาตรีที่มีเงินเดือน 15,000 บาท
ทั้งนี้การบริโภคของประชาชนยังไม่ได้ชะลอลง โดยจะเห็นจากผลสะท้อนของการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคล ที่ยังสามารถจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้นมานั้น ก็เชื่อว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ เพราะหากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันจากปีก่อน จะเห็นว่าราคาวัตถุดิบในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ยังต่ำกว่าช่วงในปีที่ผ่านมา จึงมั่นใจว่า จะมีผลกระทบไม่มาก
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เรียกไปหารือถึงแนวทางลดผลกระทบต่อภาคประชาชนเกี่ยวกับราคาพลังงานที่สูงขึ้นโดยได้สั่งการให้หามาตรการรองรับโดยเฉพาะกรณีราคาแอลพีจี(ก๊าซหุงต้ม)ภาคครัวเรือนที่จะกระทบโดยตรงกับประชาชนทั่วไป
อย่างไรก็ตามส่วนของค่าไฟฟ้านั้นนายกฯจะได้หารือเพื่อเสนอมาตรการลดผลกระทบหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันนี้(1พ.ค.)โดยเบื้องต้นอาจจะใช้มาตรการภาษี หรือเงินช่วยเหลือรูปแบบอื่นไปช่วยผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง ซึ่งจะยังไม่ทบทวนมาตรการลดค่าไฟฟ้าฟรีที่จะช่วยเฉพาะผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน ที่ลดลงจาก 90 หน่วยต่อเดือนแต่อย่างใด
สำหรับราคาแอลพีจีครัวเรือนล่าสุดจากแนวทางการปรับโครงสร้างราคากระทรวงพลังงานได้สรุปเบื้องต้นที่จะยังคงชดเชยราคาแอลพีจีครัวเรือนให้กับประชาชนโดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการดูแลคาดว่าจะใช้ปีละประมาณ 1 หมื่นล้านบาทแต่ประชาชนจ่ายเท่าเดิมที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัมแต่ราคาขายปลีกจริงจะทยอยปรับขึ้นเพื่อให้สะท้อนกลไกตลาดที่จะเป็นราคาเดียวกับแอลพีจีภาคขนส่งที่สิ้นปีนี้จะไปอยู่ที่ 27.13 บาทต่อกก.
อย่างไรก็ตามราคาแอลพีจีในอนาคต สุดท้ายแล้วทั้ง ภาคอุตสาหกรรม/ครัวเรือนและขนส่ง จะประกาศเป็นราคาเดียวกัน โดยรูปแบบจะทยอยขึ้น หลังจากที่ภาคอุตสาหกรรมขึ้นไปแล้ว 12 บาท/กก. ภาคขนส่ง/ครัวเรือน จะทยอยขึ้นในอัตรา 75 สต./เดือนไปจนถึงเดือนเมษายนปี 2556 ก็จะเป็นราคาใกล้เคียงกัน ดังนั้น จึงคาดว่าในไตรมาส 2 ปี2556 ราคาแอลพีจีในประเทศจะเป็นราคาเดียวกันหมด และรัฐบาลจะยังคงอุดหนุนภาคครัวเรือนต่อไป แต่จะจ่ายในราคาเท่าใด จะยังคงให้ส่วนต่างจากราคาฐานที่ 18.13 บาท/กก.ในปี 2556 หรือไม่นั้น ก็จะมาพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง
“ไตรมาสที่ 4 ปีนี้ จะมีการประกาศปรับราคาแอลพีจีครัวเรือนภาคให้มีราคาใกล้เคียงกับราคาภาคขนส่งที่ขยับขึ้นไปเดือนละ 75 สต./กก. เช่น หากมีการประกาศราคาใหม่เดือนกันยายน ราคาขายปลีกครัวเรือนและขนส่งจะขึ้นไปอีก 6.75 บาท/กก. หรืออยู่ที่ประมาณ 24.88 บาท/กก. แต่ครัวเรือนก็จะได้ใช้ที่ราคาเดิมที่ 18.13 บาท/กก.ไปจนถึงสิ้นปี โดยกระทรวงพลังงานจะเปิดให้ลงทะเบียน และให้ 20 ล้านครัวเรือนมาลงทะเบียน เพื่อขอรับเงินชดเชยในส่วนที่ปรับขึ้น ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้พิจารณาด้วยว่านอกจากจะช่วยเหลือ 20 ล้านครัวเรือนแล้ว จะช่วยครอบคลุมไปยังบรรดาพ่อค้า-แม่ค้ารถเข็น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วย”นายอารักษ์กล่าว
ทั้งนี้กระทรวงพลังงานจะมีมาตรการมาดูแลเพื่อลดผลกระทบควบคู่กันไปด้วยโดยยืนยันว่าจะไม่มีนโยบายตรึงราคาถัง 4 กก.แน่นอนแต่จะขึ้นทั้งระบบ และไม่มีกรณีคูปองส่วนลดอะไร ส่วนภาคอุตสาหกรรมที่แอลพีจีได้ปรับขึ้นไปแล้วไตรมาสละ 3 บาทจนถึงสิ้นปีนี้จะไปอยู่ที่ 30.13 บาทต่อกก.โดยจะนำเงินกองทุนเพื่อการส่งเสริมและอนุรักษ์พลังงานมาสนับสนุนการประหยัดเช่น เตาเซรามิคไฟเบอร์ที่ปีนี้ตั้งงบไว้ 50 ล้านบาทในการส่งเสริมโรงงานขนาดเล็ก 200 แห่ง เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำฯลฯ
สำหรับโครงสร้างราคาเอ็นจีวีใหม่จะเร่งประชุมและสรุปราคาต้นทุนโดยเร็ว ซึ่งจะมีการประกาศใช้ราคาเดียวกันไม่แยกเป็นปั๊มตามแนวท่อก๊าซฯ หรือไกลท่อก๊าซฯ ซึ่งพบว่าต้นทุนก็ไม่ได้ต่ำกว่าผลการศึกษาเดิมมากนัก ดังนั้น ในวันที่ 16 พ.ค.นี้ ก็จะเดินหน้าปรับโครงสร้างราคาพลังงานรอบที่ 3 ต่อไป คือ ขึ้นราคาแอลพีจี ขนส่ง 75 สต./กก. เอ็นจีวี 50 สต./กก.เก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเบนซิน 1 บาทต่อลิตร
ปัจจุบันสถานะเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมีภาระหลักในการอุดหนุนราคาแอลพีจี ติดลบไปแล้ว 24,000 ล้านบาท และกองทุนฯ ต้องกู้เงินมาใช้แล้ว 7,000 ล้านบาท ในขณะที่ราคาแอลพีจีตลาดโลกเริ่มปรับลดลงตามภาวะอากาศที่ร้อนขึ้น โดยล่าสุดราคาตะวันออกกลางลดลง 148 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน เหลือประมาณ 844 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน หรือเทียบเท่าประมาณ 31-32 บาท/กก. ในขณะที่ราคาครัวเรือนของไทยอยู่ที่ 18.13 บาท/กก. และไทยต้องนำเข้าประมาณ 1.7 แสนตันต่อเดือน
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะนำเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 1 พฤษภาคม เพื่อต่ออายุมาตรการลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนทั้งในส่วนของรถเมล์ฟรีและรถไฟฟรี ไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน จากที่จะครบอายุในวันที่ 30 เมษายน เพื่อลดภาระผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งปัญหาราคาสินค้าน้ำมันและไฟฟ้าที่ปรับเพิ่มขึ้นขณะนี้ เชื่อว่า ยังไม่มีผลกระทบต่อการบริโภคของประชาชนให้ชะลอตัวลง เนื่องจากประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งจากค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทและข้าราชการระดับปริญญาตรีที่มีเงินเดือน 15,000 บาท
ทั้งนี้การบริโภคของประชาชนยังไม่ได้ชะลอลง โดยจะเห็นจากผลสะท้อนของการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคล ที่ยังสามารถจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้นมานั้น ก็เชื่อว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ เพราะหากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันจากปีก่อน จะเห็นว่าราคาวัตถุดิบในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ยังต่ำกว่าช่วงในปีที่ผ่านมา จึงมั่นใจว่า จะมีผลกระทบไม่มาก
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เรียกไปหารือถึงแนวทางลดผลกระทบต่อภาคประชาชนเกี่ยวกับราคาพลังงานที่สูงขึ้นโดยได้สั่งการให้หามาตรการรองรับโดยเฉพาะกรณีราคาแอลพีจี(ก๊าซหุงต้ม)ภาคครัวเรือนที่จะกระทบโดยตรงกับประชาชนทั่วไป
อย่างไรก็ตามส่วนของค่าไฟฟ้านั้นนายกฯจะได้หารือเพื่อเสนอมาตรการลดผลกระทบหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันนี้(1พ.ค.)โดยเบื้องต้นอาจจะใช้มาตรการภาษี หรือเงินช่วยเหลือรูปแบบอื่นไปช่วยผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง ซึ่งจะยังไม่ทบทวนมาตรการลดค่าไฟฟ้าฟรีที่จะช่วยเฉพาะผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน ที่ลดลงจาก 90 หน่วยต่อเดือนแต่อย่างใด
สำหรับราคาแอลพีจีครัวเรือนล่าสุดจากแนวทางการปรับโครงสร้างราคากระทรวงพลังงานได้สรุปเบื้องต้นที่จะยังคงชดเชยราคาแอลพีจีครัวเรือนให้กับประชาชนโดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการดูแลคาดว่าจะใช้ปีละประมาณ 1 หมื่นล้านบาทแต่ประชาชนจ่ายเท่าเดิมที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัมแต่ราคาขายปลีกจริงจะทยอยปรับขึ้นเพื่อให้สะท้อนกลไกตลาดที่จะเป็นราคาเดียวกับแอลพีจีภาคขนส่งที่สิ้นปีนี้จะไปอยู่ที่ 27.13 บาทต่อกก.
อย่างไรก็ตามราคาแอลพีจีในอนาคต สุดท้ายแล้วทั้ง ภาคอุตสาหกรรม/ครัวเรือนและขนส่ง จะประกาศเป็นราคาเดียวกัน โดยรูปแบบจะทยอยขึ้น หลังจากที่ภาคอุตสาหกรรมขึ้นไปแล้ว 12 บาท/กก. ภาคขนส่ง/ครัวเรือน จะทยอยขึ้นในอัตรา 75 สต./เดือนไปจนถึงเดือนเมษายนปี 2556 ก็จะเป็นราคาใกล้เคียงกัน ดังนั้น จึงคาดว่าในไตรมาส 2 ปี2556 ราคาแอลพีจีในประเทศจะเป็นราคาเดียวกันหมด และรัฐบาลจะยังคงอุดหนุนภาคครัวเรือนต่อไป แต่จะจ่ายในราคาเท่าใด จะยังคงให้ส่วนต่างจากราคาฐานที่ 18.13 บาท/กก.ในปี 2556 หรือไม่นั้น ก็จะมาพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง
“ไตรมาสที่ 4 ปีนี้ จะมีการประกาศปรับราคาแอลพีจีครัวเรือนภาคให้มีราคาใกล้เคียงกับราคาภาคขนส่งที่ขยับขึ้นไปเดือนละ 75 สต./กก. เช่น หากมีการประกาศราคาใหม่เดือนกันยายน ราคาขายปลีกครัวเรือนและขนส่งจะขึ้นไปอีก 6.75 บาท/กก. หรืออยู่ที่ประมาณ 24.88 บาท/กก. แต่ครัวเรือนก็จะได้ใช้ที่ราคาเดิมที่ 18.13 บาท/กก.ไปจนถึงสิ้นปี โดยกระทรวงพลังงานจะเปิดให้ลงทะเบียน และให้ 20 ล้านครัวเรือนมาลงทะเบียน เพื่อขอรับเงินชดเชยในส่วนที่ปรับขึ้น ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้พิจารณาด้วยว่านอกจากจะช่วยเหลือ 20 ล้านครัวเรือนแล้ว จะช่วยครอบคลุมไปยังบรรดาพ่อค้า-แม่ค้ารถเข็น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วย”นายอารักษ์กล่าว
ทั้งนี้กระทรวงพลังงานจะมีมาตรการมาดูแลเพื่อลดผลกระทบควบคู่กันไปด้วยโดยยืนยันว่าจะไม่มีนโยบายตรึงราคาถัง 4 กก.แน่นอนแต่จะขึ้นทั้งระบบ และไม่มีกรณีคูปองส่วนลดอะไร ส่วนภาคอุตสาหกรรมที่แอลพีจีได้ปรับขึ้นไปแล้วไตรมาสละ 3 บาทจนถึงสิ้นปีนี้จะไปอยู่ที่ 30.13 บาทต่อกก.โดยจะนำเงินกองทุนเพื่อการส่งเสริมและอนุรักษ์พลังงานมาสนับสนุนการประหยัดเช่น เตาเซรามิคไฟเบอร์ที่ปีนี้ตั้งงบไว้ 50 ล้านบาทในการส่งเสริมโรงงานขนาดเล็ก 200 แห่ง เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำฯลฯ
สำหรับโครงสร้างราคาเอ็นจีวีใหม่จะเร่งประชุมและสรุปราคาต้นทุนโดยเร็ว ซึ่งจะมีการประกาศใช้ราคาเดียวกันไม่แยกเป็นปั๊มตามแนวท่อก๊าซฯ หรือไกลท่อก๊าซฯ ซึ่งพบว่าต้นทุนก็ไม่ได้ต่ำกว่าผลการศึกษาเดิมมากนัก ดังนั้น ในวันที่ 16 พ.ค.นี้ ก็จะเดินหน้าปรับโครงสร้างราคาพลังงานรอบที่ 3 ต่อไป คือ ขึ้นราคาแอลพีจี ขนส่ง 75 สต./กก. เอ็นจีวี 50 สต./กก.เก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเบนซิน 1 บาทต่อลิตร
ปัจจุบันสถานะเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมีภาระหลักในการอุดหนุนราคาแอลพีจี ติดลบไปแล้ว 24,000 ล้านบาท และกองทุนฯ ต้องกู้เงินมาใช้แล้ว 7,000 ล้านบาท ในขณะที่ราคาแอลพีจีตลาดโลกเริ่มปรับลดลงตามภาวะอากาศที่ร้อนขึ้น โดยล่าสุดราคาตะวันออกกลางลดลง 148 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน เหลือประมาณ 844 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน หรือเทียบเท่าประมาณ 31-32 บาท/กก. ในขณะที่ราคาครัวเรือนของไทยอยู่ที่ 18.13 บาท/กก. และไทยต้องนำเข้าประมาณ 1.7 แสนตันต่อเดือน