ASTVผู้จัดการรายวัน- คนไทยก้มหน้ารับกรรม! คณะอนุฯเอฟทีชงขึ้นค่าไฟพ.ค.-ส.ค. 55 พุ่งปี๊ด 37-38 สตางค์ต่อหน่วย ลุ้นคกก.เอฟทีเคาะสรุปตัวเลขจริง 25 เม.ย.นี้ ขณะที่กรมขนส่งฯเตรียมสรุปโครงสร้างค่าโดยสารแท็กซี่มิเตอร์ใหม่ เสนอ”คมนาคม”ใน 2 สัปดาห์ คาดประกาศใช้ได้มิ.ย.นี้
แหล่งข่าวจากคณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือเอฟที เปิดเผยว่า จากการหารือถึงโครงสร้างต้นทุนค่าเอฟทีที่จะเรียกเก็บในบิลค่าไฟประชาชนรอบใหม่ (พ.ค.-ส.ค.55) เบื้องต้นจะต้องปรับขึ้นค่าเอฟทีเฉลี่ยประมาณ 37-38 สตางค์ต่อหน่วย โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)รับภาระ 18 สตางค์ต่อหน่วยหรือประมาณ 8,000 ล้านบาทของเดิมที่ตรึงงวดที่ผ่านมาไปก่อน อย่างไรก็ตามทั้งหมดอยู่ที่การตัดสินใจของคณะกรรมการเอฟทีที่มีนายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเลเตอร์)เป็นประธานพิจารณาวันที่ 25 เม.ย.นี้
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) กล่าวว่า วันที่ 25 เมษายนนี้จะพิจารณาเห็นชอบค่าเอฟที งวดใหม่ที่จะเรียกเก็บในบิลค่าไฟประชาชน เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2555 ซึ่งล่าสุดคณะอนุกรรมการเอฟทีได้พิจารณาตัวเลขมาแล้วระดับหนึ่งโดยยอมรับว่าที่สุดจะต้องปรับขึ้นแน่นอนและเบื้องต้นมีแนวโน้มว่าจะมากกว่า 20 สตางค์ต่อหน่วย
“ เราคงจะต้องหารือและดูตัวเลขกันอีกครั้งวันที่ 25 เม.ย.นี้ว่าจะบริหารให้ต่ำกว่าที่เสนอได้หรือไม่ ซึ่งจะพยายามขึ้นให้น้อยสุดซึ่งส่วนหนึ่งแน่นอนว่าประชาชนจะต้องรับภาระบ้างและอีกส่วนจะให้กฟผ.เข้ามารับภาระแต่อีกส่วนก็เกิดจากการบริหารจัดการ”นายดิเรกกล่าว
ทั้งนี้หากพิจารณาจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่ผลิตไฟฟ้ามากกว่า 70% มาจากก๊าซธรรมชาติที่ล่าสุดได้ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันโดยภาพรวมส่วนนี้ทำให้ต้นทุนเอฟเพิ่ม 30 กว่าสตางค์ต่อหน่วย ขณะที่งวดที่ผ่านมากฟผ.รับภาระไป 8,000 ล้านบาทโดยการตรึงค่าเอฟทีไม่ให้ขึ้นอีก 18 สตางค์ต่อหน่วยรวม 2 ส่วนก็จะทำให้เอฟทีงวดนี้ขึ้นถึง 50 สตางค์ต่อหน่วยแล้ว อย่างไรก็ตามล่าสุดอนุฯเอฟทีได้พิจารณานำเงินที่เหลือจากการลงทุน 3 การไฟฟ้าวงเงิน 3,200 ล้านบาทมาลดต้นทุนได้ประมาณ 6 สตางค์ต่อหน่วย
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคเอกชนหากเลือกได้คงไม่ต้องการให้ค่าเอฟทีปรับขึ้นเพราะภาระต้นทุนจะเพิ่มขึ้นสูงโดยสิ่งที่น่าห่วงคือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอีเพราะถ้าค่าเอฟทีขึ้นมากๆ มันจะกลายเป็นการซ้ำเติมเพิ่มเข้าไปอีกจากขณะนี้ธุรกิจส่วนหนึ่งก็ได้รับผลกระทบจากค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันอยู่แล้ว
***แท็กซี่จ่อขึ้นราคา
นายจิรุตม์ วิศาลจิตร รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิจารณาอัตราค่าโดยสารรถแท็กซี่มิเตอร์ วานนี้ (23 เม.ย.) ว่า ได้เชิญตัวแทนผู้ประกอบการร่วมประชุม เพื่อหาข้อสรุปผลกระทบในการปรับค่าเชื้อเพลิง (ก๊าซ NGV) ต่อรายได้ของคนขับรถแท็กซี่ ซึ่งทุกฝ่ายยอมรับตรงกันว่าการปรับขึ้นราคาก๊าซNGV ตามนโยบายรัฐบาลจะทำให้รายได้ของคนขับแท็กซี่ลดลง โดยกรมขนส่งฯจะเร่งสรุปตารางอัตราค่าโดยสารรถแท็กซี่ใหม่เสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาได้ภายใน 2 สัปดาห์นี้หรือในต้นเดือนพฤษภาคมและคาดว่าจะสามารถประกาศใช้อัตราใหม่ได้ในเดือนมิถุนายน2555
ทั้งนี้ ค่าก๊าซ NGV ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้รายได้ของคนขับรถแท็กซี่เหลือไม่ถึง 300 บาทต่อวัน ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ดังนั้นหลักในการปรับค่าโดยสารจะคำนึงถึงหลายส่วน เช่น รายได้ของคนขับรถแท็กซี่ที่ควรจะอยู่ที่ 400-450 บาทต่อวัน, ผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยเฉพาะการเดินทางระยะสั้นและแท็กซี่ต้องมีการปรับปรุงคุณภาพบริการให้ดีขึ้นรวมถึงจำนวนผู้โดยสารอาจจะลดลงเนื่องจากหันไปใช้บริการรถสาธารณะอื่นๆและมาตรการลดภาษีรถยนต์คันแรก ซึ่งแนวทางจะเป็นการปรับอัตราตามระยะทาง โดยคงอัตราแรกเข้าที่ 35 บาทเท่าเดิม ซึ่งอัตราค่าโดยสารรถแท็กซี่มิเตอร์ใหม่จะสะท้อนต้นทุนและครอบคลุมราคาก๊าซ NGV ที่10.50 บาทต่อกิโลกรัม
ด้านนายวิฑูรย์ แนวพานิช ประธานเครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่ กล่าวว่า ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไม่ได้มีเพียงราคาก๊าซNGV เท่านั้น แต่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นหลังจากที่รัฐบาลปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท โดยต้นทุนของแท็กซี่ต่อกะประกอบด้วย ค่าเช่ารถ 600 บาท ค่าเชื้อเพลิง 350 บาท (ราคาNGV ใหม่จะปรับขึ้นอีก 80 บาท เป็น 430 บาท)ค่าใช้จ่ายประจำวันเพิ่มอีก 100บาท จึงได้เสนอขอปรับค่าโดยสารขึ้นเฉลี่ย 12% ซึ่งผู้ใช้บริการระยะสั้นจะไม่มีผลกระทบมากนัก ส่วนผู้ใช้บริการระยะกลางเช่น เดินทาง 14 กิโลเมตรจะเสียค่าโดยสารจาก 100 บาทเป็น 110 บาท-112 บาทเป็นต้น
ส่วนกรณีการปรับปรุงการบริการ และการปฏิเสธรับผู้โดยสารนั้น ยอมรับว่าในส่วนสหกรณ์ไม่มีกลไกในการควบคุมคนขับ เพราะสมาชิกสหกรณ์เป็นเจ้าของอู่ ดังนั้นภาครัฐควรออกมาตรการและบังตับใช้กฎหมายให้เข้มงวดมากขึ้นซึ่งก่อนหน้านี้ได้เสนอให้กระทรวงคมนาคมวิจับจำนวนรถแท็กซี่ที่เหมาะสมกับความต้องการใช้บริการ (ปัจจุบันมีรถจดทะเบียน 1แสนคันแต่วิ่งให้บริการ6-7 หมื่นคัน)
แหล่งข่าวจากคณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือเอฟที เปิดเผยว่า จากการหารือถึงโครงสร้างต้นทุนค่าเอฟทีที่จะเรียกเก็บในบิลค่าไฟประชาชนรอบใหม่ (พ.ค.-ส.ค.55) เบื้องต้นจะต้องปรับขึ้นค่าเอฟทีเฉลี่ยประมาณ 37-38 สตางค์ต่อหน่วย โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)รับภาระ 18 สตางค์ต่อหน่วยหรือประมาณ 8,000 ล้านบาทของเดิมที่ตรึงงวดที่ผ่านมาไปก่อน อย่างไรก็ตามทั้งหมดอยู่ที่การตัดสินใจของคณะกรรมการเอฟทีที่มีนายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเลเตอร์)เป็นประธานพิจารณาวันที่ 25 เม.ย.นี้
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) กล่าวว่า วันที่ 25 เมษายนนี้จะพิจารณาเห็นชอบค่าเอฟที งวดใหม่ที่จะเรียกเก็บในบิลค่าไฟประชาชน เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2555 ซึ่งล่าสุดคณะอนุกรรมการเอฟทีได้พิจารณาตัวเลขมาแล้วระดับหนึ่งโดยยอมรับว่าที่สุดจะต้องปรับขึ้นแน่นอนและเบื้องต้นมีแนวโน้มว่าจะมากกว่า 20 สตางค์ต่อหน่วย
“ เราคงจะต้องหารือและดูตัวเลขกันอีกครั้งวันที่ 25 เม.ย.นี้ว่าจะบริหารให้ต่ำกว่าที่เสนอได้หรือไม่ ซึ่งจะพยายามขึ้นให้น้อยสุดซึ่งส่วนหนึ่งแน่นอนว่าประชาชนจะต้องรับภาระบ้างและอีกส่วนจะให้กฟผ.เข้ามารับภาระแต่อีกส่วนก็เกิดจากการบริหารจัดการ”นายดิเรกกล่าว
ทั้งนี้หากพิจารณาจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่ผลิตไฟฟ้ามากกว่า 70% มาจากก๊าซธรรมชาติที่ล่าสุดได้ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันโดยภาพรวมส่วนนี้ทำให้ต้นทุนเอฟเพิ่ม 30 กว่าสตางค์ต่อหน่วย ขณะที่งวดที่ผ่านมากฟผ.รับภาระไป 8,000 ล้านบาทโดยการตรึงค่าเอฟทีไม่ให้ขึ้นอีก 18 สตางค์ต่อหน่วยรวม 2 ส่วนก็จะทำให้เอฟทีงวดนี้ขึ้นถึง 50 สตางค์ต่อหน่วยแล้ว อย่างไรก็ตามล่าสุดอนุฯเอฟทีได้พิจารณานำเงินที่เหลือจากการลงทุน 3 การไฟฟ้าวงเงิน 3,200 ล้านบาทมาลดต้นทุนได้ประมาณ 6 สตางค์ต่อหน่วย
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคเอกชนหากเลือกได้คงไม่ต้องการให้ค่าเอฟทีปรับขึ้นเพราะภาระต้นทุนจะเพิ่มขึ้นสูงโดยสิ่งที่น่าห่วงคือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอีเพราะถ้าค่าเอฟทีขึ้นมากๆ มันจะกลายเป็นการซ้ำเติมเพิ่มเข้าไปอีกจากขณะนี้ธุรกิจส่วนหนึ่งก็ได้รับผลกระทบจากค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันอยู่แล้ว
***แท็กซี่จ่อขึ้นราคา
นายจิรุตม์ วิศาลจิตร รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิจารณาอัตราค่าโดยสารรถแท็กซี่มิเตอร์ วานนี้ (23 เม.ย.) ว่า ได้เชิญตัวแทนผู้ประกอบการร่วมประชุม เพื่อหาข้อสรุปผลกระทบในการปรับค่าเชื้อเพลิง (ก๊าซ NGV) ต่อรายได้ของคนขับรถแท็กซี่ ซึ่งทุกฝ่ายยอมรับตรงกันว่าการปรับขึ้นราคาก๊าซNGV ตามนโยบายรัฐบาลจะทำให้รายได้ของคนขับแท็กซี่ลดลง โดยกรมขนส่งฯจะเร่งสรุปตารางอัตราค่าโดยสารรถแท็กซี่ใหม่เสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาได้ภายใน 2 สัปดาห์นี้หรือในต้นเดือนพฤษภาคมและคาดว่าจะสามารถประกาศใช้อัตราใหม่ได้ในเดือนมิถุนายน2555
ทั้งนี้ ค่าก๊าซ NGV ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้รายได้ของคนขับรถแท็กซี่เหลือไม่ถึง 300 บาทต่อวัน ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ดังนั้นหลักในการปรับค่าโดยสารจะคำนึงถึงหลายส่วน เช่น รายได้ของคนขับรถแท็กซี่ที่ควรจะอยู่ที่ 400-450 บาทต่อวัน, ผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยเฉพาะการเดินทางระยะสั้นและแท็กซี่ต้องมีการปรับปรุงคุณภาพบริการให้ดีขึ้นรวมถึงจำนวนผู้โดยสารอาจจะลดลงเนื่องจากหันไปใช้บริการรถสาธารณะอื่นๆและมาตรการลดภาษีรถยนต์คันแรก ซึ่งแนวทางจะเป็นการปรับอัตราตามระยะทาง โดยคงอัตราแรกเข้าที่ 35 บาทเท่าเดิม ซึ่งอัตราค่าโดยสารรถแท็กซี่มิเตอร์ใหม่จะสะท้อนต้นทุนและครอบคลุมราคาก๊าซ NGV ที่10.50 บาทต่อกิโลกรัม
ด้านนายวิฑูรย์ แนวพานิช ประธานเครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่ กล่าวว่า ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไม่ได้มีเพียงราคาก๊าซNGV เท่านั้น แต่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นหลังจากที่รัฐบาลปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท โดยต้นทุนของแท็กซี่ต่อกะประกอบด้วย ค่าเช่ารถ 600 บาท ค่าเชื้อเพลิง 350 บาท (ราคาNGV ใหม่จะปรับขึ้นอีก 80 บาท เป็น 430 บาท)ค่าใช้จ่ายประจำวันเพิ่มอีก 100บาท จึงได้เสนอขอปรับค่าโดยสารขึ้นเฉลี่ย 12% ซึ่งผู้ใช้บริการระยะสั้นจะไม่มีผลกระทบมากนัก ส่วนผู้ใช้บริการระยะกลางเช่น เดินทาง 14 กิโลเมตรจะเสียค่าโดยสารจาก 100 บาทเป็น 110 บาท-112 บาทเป็นต้น
ส่วนกรณีการปรับปรุงการบริการ และการปฏิเสธรับผู้โดยสารนั้น ยอมรับว่าในส่วนสหกรณ์ไม่มีกลไกในการควบคุมคนขับ เพราะสมาชิกสหกรณ์เป็นเจ้าของอู่ ดังนั้นภาครัฐควรออกมาตรการและบังตับใช้กฎหมายให้เข้มงวดมากขึ้นซึ่งก่อนหน้านี้ได้เสนอให้กระทรวงคมนาคมวิจับจำนวนรถแท็กซี่ที่เหมาะสมกับความต้องการใช้บริการ (ปัจจุบันมีรถจดทะเบียน 1แสนคันแต่วิ่งให้บริการ6-7 หมื่นคัน)