ASTV ผู้จัดการรายวัน - สภาร่วมลากยาวแก้รธน.เรื่องที่มา ส.ส.ร. สมาชิกประสานเสียงเลือกตั้ง 200 คน ป้องกันกำเนิดสภาทาส รื้อรธน.สนองรัฐบาล ส.ว.สรรหา ฉะหลอกลวงประชาชน อ้างแก้รธน.สร้างความปรองดอง แค่หาช่องทางรวย หวังคนไทยตาสว่างก่อนลงประชามติ "รสนา" อัดรัฐบาลยึดสัปทานอำนาจอธิปไตยจากประชาชน ทำตามใจต้องการ ลั่นเรื่องนี้ถึงศาลรธน.แน่ จับตาล็อกสเปก 22 อรหันต์ วางนอมินียกร่างรธน. ที่เหลือแค่ไม้ประดับ
วานนี้ (19 เม.ย.) มี การประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่....) พ.ศ. เป็นวันที่ 3 ซึ่งยังคงเป็นการพิจารณา มาตรา 4 ที่มีการบัญญัติข้อความในมาตรา 291/1 เกี่ยวกับที่มา และจำนวนของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่ร่างของกรรมาธิการ กำหนดที่มาส.ส.ร. จากการเลือกตั้ง 77 คน และจากการสรรหา 22 คน รวม 99 คน โดยตลอดทั้งวัน สมาชิกต่างอภิปรายในประเด็นที่มีการสงวนคำแปรญัตติเอาไว้ อย่างต่อเนื่อง
** "ส.ว.คำนูณ" เสนอ 200 ส.ส.ร.
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว. สรรหา เสนอให้ ส.ส.ร. มาจากการเลือกตั้ง 200 คน โดยใช้รูปแบบการเลือกตั้ง ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญปี 40 ให้สมาชิกเลือกตามสัดส่วนประชาชนของแต่ละจังหวัด ซึ่งจะตอบโจทย์ความหลากหลายของที่มาของส.ส.ร.ได้ และเป็นที่ยอมรับของคนทั้งประเทศ เนื่องจากเป็นตัวแทนของประชาชน ไม่ได้เป็นตัวแทนของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือ แม้แต่ตัวแทนของเสียงข้างมากในสภา แม้ส.ว.หลายคน จะไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขทั้งฉบับ แต่กระบวนการได้ล่วงเลยมาแล้ว จะไปใช้สิทธิ์ที่ศาล ก็ว่ากันอีกอย่าง แต่ในกระบวนการสรรหาคณะที่จะมาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ หากจะมีการทบทวนอีกครั้ง น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าโทษ และจะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ สามารถเดินหน้าไปด้วยดี
อย่างไรก็ตาม หากจะตั้งใจให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้รูปแบบ ส.ส.ร. ก็ได้ โดยให้สมาชิกสามารถเสนอแก้ไขเข้ามายกฉบับ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 51- 52 ตนเชื่อว่า กระบวนการทำงานของส.ส.ร. จะมีความยุ่งยาก สับสน เกิดขึ้นอีกมาก จึงอยากให้ใช้นวัตกรรมการเลือกตั้ง ที่มีความก้าวหน้า และสะท้อนความแตกต่างหลากหลายในสังคมให้ได้มากที่สุด จึงอยากให้คณะกรรมาธิการทบทวนในสิ่งนี้ เพื่อสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
ด้านนายสมชาย แสวงการ ส.ส. สรรหา อภิปรายไปในแนวทางเดียวกันว่า ตนสนับสนุนการแก้ไขให้มี ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 200 คน และขอให้กรรมาธิการเปิดใจให้กว้างเพื่อล้มล้างข้อกล่าวหาที่ว่า จะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้บ้านเมืองสามารถเดินต่อไปได้ และขอให้กรรมาธิการรับฟังความเห็นของสมาชิกทั้ง 650 คน เพราะที่ผ่านมาการพิจารณาของกรรมาธิการมีข้อกังขาในหลายเรื่อง ทั้งองค์ประชุม การโหวต จึงขอให้รับฟังสมาชิก เพื่อให้การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญเดินไปด้วยดี
นายนิพนธ์ วิศิษฐ์ยุทธศาสตร์ กล่าวว่า หากไม่มีการแก้ไข มาตรา 291/1 ตามข้อเสนอของกมธ.เสียงข้างน้อย จะชัดเจนว่า ส.ส.ร.ที่เข้ามา จะเป็นไปตามความต้องการของพรรคการเมืองเสียงข้างมาก ที่เข้ามายกร่างรธน. ตามที่ตนเองต้องการได้
** อัดพวกเหลือบหากินกับปชต.
ขณะที่ พล.ร.อ.สุรศักดิ์ ศรีอรุณ ส.ว. สรรหา เสนอให้ตัดความในมาตรานี้ออกทั้งมาตรา โดยไม่จำเป็นต้องมี ส.ส.ร. ขึ้นมา เนื่องจากตนไม่เห็นด้วยตั้งแต่แรก ที่จะให้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ ขณะนี้รัฐบาลหลอกประชาชนว่า แก้รัฐธรรมนูญแล้วจะเกิดความปรองดอง ซึ่งไม่เป็นความจริง
" พรรคเพื่อไทยอ้างว่า ไปหาเสียงกับประชาชนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งถ้าเป็นการเมืองในต่างประเทศ การหาเสียงแบบนี้ ถ้ามีคณะกรรมการควบคุมการเลือกตั้งจะยอมหรือเปล่า จะต้องโดนแจกใบแดงมาตั้งแต่ต้น ไม่อยู่มาถึงวันนี้แน่นอน"
พล.ร.อ.สุรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีคนแสวงหาความร่ำรวยจากประชาธิปไตย โดยหลอกประชาชนว่า ต้องการทำในสิ่งที่ประชาธิปไตยยังขาดหายไป ซึ่งประชาธิปไตยที่ใช้กันอยู่ขณะนี้ เป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน ขณะที่หลายๆประเทศ ใช้รูปแบบประชาธิปไตยทางตรง ถ้าเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 50 มีข้อบกพร่อง ก็ควรจะถามประชาชน โดยการทำประชามติ ซึ่งสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว เพราะเรามีเครื่องมือสื่อสาร โซเชียลมีเดีย ใช้งบประมาณไม่มาก
" อย่าอ้างว่าเป็นตัวแทนประชาชนแล้วมาอ้างแบบนี้ ขอให้เลิกหลอกลวงประชาชนเพื่อแสวงหาความร่ำรวย ขอให้ประชาชนฉุกคิดว่า ที่เดือดร้อน มานอนกินตามท้องถนน แล้วบ้านเมืองได้อะไร ตรงข้ามผู้นำมวลชน พากันร่ำรวย หากรัฐบาลต้องการแก้รัฐธรรมนูญทั้งกระบิ ต้องให้ประชานเข้าชื่อมา อย่าแสวงหาประโยชน์ให้ตนเอง และพวกพ้อง ปัญหาชาติไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญ แต่อยู่ที่คน และจากการสำรวจก็พบว่า ประชาชนมีความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญน้อยมาก มีแค่ร้อยละ 2.1 เท่านั้น ขอวอนประชาชนว่า ก่อนลงประชามติ ขอให้ฉุกคิดว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะใคร อย่าทำเป็นลืม" พล.ร.อ.สุรศักดิ์ กล่าว
**เรื่องนี้ถึงศาลรธน.แน่
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.สรรหา เสนอให้ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงจำนวน 200 คน รวมทั้งให้มีการทำประชามติ หลังจากที่มีการลงมติในวาระ 3 ว่าประชาชนจะเห็นด้วยกับการมี ส.ส.ร.หรือไม่
ทั้งนี้ ตนเคารพในตัวรัฐธรรมนูญปี 50 แต่การล้มเลิกโดยอ้างว่า เป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการ และไม่เป็นประชาธิปไตย ถือว่าไม่สมควร และเป็นการดูถูกชาติกำเนิดของตัวเอง โดยในการโหวตรัฐธรรมนูญ เมื่อปี 50 มี ส.ส.และส.ว. กว่า 30 เปอร์เซนต์ ที่โหวตแบบขอไปที
ดังนั้น ควรจะให้มีการลงประชามติ ขอความเห็นชอบจากประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตัวจริง ประชาชนเลือกเราเข้ามาเป็นตัวแทนประชาชน แต่เราเข้าใจผิดว่าเราไปรับสัมปทานอำนาจอธิปไตย ที่จะทำอะไรก็ได้ การอ้างรัฐธรรมนูญแบบหัวหมอ เพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตนไม่เห็นด้วยหากจะไม่มีการทำประชามติ เพื่อไปยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
" หากโหวตในวาระ 3 โดยที่ไม่มีการแก้ไข ตามที่เสนอให้มีการทำประชามติก่อนยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ดิฉันขอประกาศจุดยืนในฐานที่เป็นเสียงข้างน้อยว่า จะไม่เห็นด้วยในวาระ 3 และยืนยันว่า เรื่องนี้ถึงศาลรัฐธรรมนูญแน่ ที่ผ่านมามีแต่ประเทศไทยชอบอ้างว่าชาติกำเนิดของรัฐธรรมนูญไม่ดี แล้วชอบฉีกทิ้ง ทั้งนี้ ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับไหน เขียนขึ้นมาเพื่อล้มล้างตัวเอง เพราะคนที่ทำเหมือนเป็นเชื้อพันธุ์นอกสังคมมาแทรกแซงร่างกายเรา แล้วงอกใหม่มาทำร้ายร่างกายเดิม ดิฉันเห็นว่ารัฐธรรมนูญแก้ไขทุกมาตราได้ แต่ไม่ใช่ให้ฉีกทิ้ง" น.ส.รสนา กล่าว
นายวันชัย สอนศิริ ส.ว. สรรหา เสนอให้ ส.ส.ร. 200 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง กล่าวว่า การที่กรรมาธิการแบ่งที่มาส.ส.ร. ออกเป็น 2 แบบ เพราะไม่ไว้ใจประชาชน และต้องการที่จะวางตัวให้ ส.ส.ร. 22 คน ที่มาจากการสรรหา เป็นตัวหลักในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ตามที่ตนเองต้องการ ส่วนส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง จะเป็นแค่พระอันดับ
" รัฐบาลอ้างว่าต้องมีการยึดโยงกับประชาชน แต่กลับให้มีการเลือกตั้งแค่ 77 คน เหมือนคำที่ว่า เกลียดปูกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง เพราะประชาชนต้องจำยอมรับ ส.ส.ร.สรรหา 22 คน ที่รัฐบาลล็อกสเปกได้ ตอนนี้บางจังหวัดเขารู้แล้วว่า ใครจะได้เป็นส.ส.ร. และส.ส.ร. ก็จะถูกครหาว่าเป็นพวกเดียวกับรัฐบาล เป็นนอมินีให้กับพวกที่เลือกมา แต่ถ้าให้มาจากการเลือกตั้งทั้ง 200 คน จะทำให้ข้อครหาหมดไป และเป็นไปตามประชาธิปไตยอย่างแท้จริง" นายวัยชัย กล่าว
** ฝ่ายรัฐบาลยังยืนกราน 99 ส.ส.ร.
อย่างไรก็ตาม หลังจากเปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปรายหลากหลายแนวทางแล้ว นายพีระพันธ์ พาลุสุข กรรมาธิการเสียงข้างมาก ชี้แจงว่า สมาชิกที่อภิปรายล้วนให้ยึดฐานประชากร เป็นเกณฑ์ว่าจะมี ส.ส.ร.จำนวนเท่าไร แต่ร่างกรรมาธิการ จะยึดหลักเขตการปกครอง เพื่อให้ได้ส.ส.ร.ที่มาจากเขตการปกครองโดยตรง ส่วนที่ให้มีการสรรหา ยังจำเป็นต้องมี ส.ส.ร.ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ และ ส.ส.ร.ที่มาจากแต่ละจังหวัด ต้องมีความเชื่อว่าตนเองเป็นตัวแทนจากประชาชนจริงๆ โดยทำหน้าที่เพียงผู้สื่อสารระหว่าง ส.ส.ร. กับประชาชนในพื้นที่ ด้วยการลงพื้นที่หาประชาชน ทำประชาพิจารณ์ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้มากที่สุดสามารถให้คำปรึกษาหารือ หรือกดดันผ่าน ส.ส.ร.ของตนเอง เชื่อว่าจะได้รธน.ที่ดี มีความเป็นเจ้าของ และรู้สึกหวงแหน ใครจะมาฉีกทิ้งง่ายๆไม่ได้อีก ดังนั้นกมธ. จึงได้สรุปจำนวน และที่มาตามสูตรดังกล่าว
**หากยังดื้อจะเอา 99 ส.ส.ร. ยืดเยื้อแน่
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะคณะกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย กล่าวว่า หากต่างฝ่ายต่างถือทิฐิ ไม่ยอมลดราวาศอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกมธ.เสียงข้างมาก ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นจากกมธ.เสียงข้างน้อย และสมาชิกรัฐสภา ยืนกระต่ายขาเดียว ตามร่างเดิมของครม. ทุกตัวอักษร ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ต้องการให้มีการประนีประนอม พบกันครึ่งทาง โดยเฉพาะ มาตรา 291/1 เรื่องที่มา และจำนวนส.ส.ร. ที่มีการแปรญัติติกันหลากหลาย แต่ได้มีการประสานงานในหมู่สมาชิกหลายส่วน ว่าต้องการให้ยอมรับข้อเสนอส.ส.ร. 200 คน ซึ่งทั้งสมาชิกฝ่ายค้าน และ ส.ว. ก็ได้ประสานงานกันภายใน ว่า ตัวเลขดังกล่าวน่าจะเป็นจุดลงตัวที่ดีที่สุด และได้มีการเจรจากันหลายครั้ง แต่กมธ.เสียงข้างมาก ก็ ยังยืนยันให้เป็นไปตามร่างเดิมคือ 99 คน ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็จะทำให้การพิจารณาในมาตราอื่นๆ จะมีปัญหาตามมาอีก และจะทำให้การพิจารณาวาระ 2 ยืดเยื้อไปหลายวัน จึงอยากเรียกร้องให้กมธ.เสียงข้างมาก และสมาชิกฝ่ายรัฐบาล เปิดใจกว้าง ยอมรับข้อเสนอที่มีความเป็นไปได้ ไม่ใช่รอฟังใบสั่งของนายใหญ่จากดูไบ เพียงอย่างเดียว ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ก็อยากจะให้ตัวแทนฝ่ายรัฐบาล โทรศัพท์ทางไกลไปหารือกับนายใหญ่ เพื่อให้ยอมเปลี่ยนจำนวน ส.ส.ร. ตามที่สมาชิกฝ่ายค้าน และ ส.ว.เสนอ เพื่อจะได้พิสูจน์ถึงจุดเริ่มต้นของการปรองดอง ตามที่รัฐบาลพยายามผลักดัน
วานนี้ (19 เม.ย.) มี การประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่....) พ.ศ. เป็นวันที่ 3 ซึ่งยังคงเป็นการพิจารณา มาตรา 4 ที่มีการบัญญัติข้อความในมาตรา 291/1 เกี่ยวกับที่มา และจำนวนของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่ร่างของกรรมาธิการ กำหนดที่มาส.ส.ร. จากการเลือกตั้ง 77 คน และจากการสรรหา 22 คน รวม 99 คน โดยตลอดทั้งวัน สมาชิกต่างอภิปรายในประเด็นที่มีการสงวนคำแปรญัตติเอาไว้ อย่างต่อเนื่อง
** "ส.ว.คำนูณ" เสนอ 200 ส.ส.ร.
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว. สรรหา เสนอให้ ส.ส.ร. มาจากการเลือกตั้ง 200 คน โดยใช้รูปแบบการเลือกตั้ง ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญปี 40 ให้สมาชิกเลือกตามสัดส่วนประชาชนของแต่ละจังหวัด ซึ่งจะตอบโจทย์ความหลากหลายของที่มาของส.ส.ร.ได้ และเป็นที่ยอมรับของคนทั้งประเทศ เนื่องจากเป็นตัวแทนของประชาชน ไม่ได้เป็นตัวแทนของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือ แม้แต่ตัวแทนของเสียงข้างมากในสภา แม้ส.ว.หลายคน จะไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขทั้งฉบับ แต่กระบวนการได้ล่วงเลยมาแล้ว จะไปใช้สิทธิ์ที่ศาล ก็ว่ากันอีกอย่าง แต่ในกระบวนการสรรหาคณะที่จะมาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ หากจะมีการทบทวนอีกครั้ง น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าโทษ และจะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ สามารถเดินหน้าไปด้วยดี
อย่างไรก็ตาม หากจะตั้งใจให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้รูปแบบ ส.ส.ร. ก็ได้ โดยให้สมาชิกสามารถเสนอแก้ไขเข้ามายกฉบับ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 51- 52 ตนเชื่อว่า กระบวนการทำงานของส.ส.ร. จะมีความยุ่งยาก สับสน เกิดขึ้นอีกมาก จึงอยากให้ใช้นวัตกรรมการเลือกตั้ง ที่มีความก้าวหน้า และสะท้อนความแตกต่างหลากหลายในสังคมให้ได้มากที่สุด จึงอยากให้คณะกรรมาธิการทบทวนในสิ่งนี้ เพื่อสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
ด้านนายสมชาย แสวงการ ส.ส. สรรหา อภิปรายไปในแนวทางเดียวกันว่า ตนสนับสนุนการแก้ไขให้มี ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 200 คน และขอให้กรรมาธิการเปิดใจให้กว้างเพื่อล้มล้างข้อกล่าวหาที่ว่า จะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้บ้านเมืองสามารถเดินต่อไปได้ และขอให้กรรมาธิการรับฟังความเห็นของสมาชิกทั้ง 650 คน เพราะที่ผ่านมาการพิจารณาของกรรมาธิการมีข้อกังขาในหลายเรื่อง ทั้งองค์ประชุม การโหวต จึงขอให้รับฟังสมาชิก เพื่อให้การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญเดินไปด้วยดี
นายนิพนธ์ วิศิษฐ์ยุทธศาสตร์ กล่าวว่า หากไม่มีการแก้ไข มาตรา 291/1 ตามข้อเสนอของกมธ.เสียงข้างน้อย จะชัดเจนว่า ส.ส.ร.ที่เข้ามา จะเป็นไปตามความต้องการของพรรคการเมืองเสียงข้างมาก ที่เข้ามายกร่างรธน. ตามที่ตนเองต้องการได้
** อัดพวกเหลือบหากินกับปชต.
ขณะที่ พล.ร.อ.สุรศักดิ์ ศรีอรุณ ส.ว. สรรหา เสนอให้ตัดความในมาตรานี้ออกทั้งมาตรา โดยไม่จำเป็นต้องมี ส.ส.ร. ขึ้นมา เนื่องจากตนไม่เห็นด้วยตั้งแต่แรก ที่จะให้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ ขณะนี้รัฐบาลหลอกประชาชนว่า แก้รัฐธรรมนูญแล้วจะเกิดความปรองดอง ซึ่งไม่เป็นความจริง
" พรรคเพื่อไทยอ้างว่า ไปหาเสียงกับประชาชนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งถ้าเป็นการเมืองในต่างประเทศ การหาเสียงแบบนี้ ถ้ามีคณะกรรมการควบคุมการเลือกตั้งจะยอมหรือเปล่า จะต้องโดนแจกใบแดงมาตั้งแต่ต้น ไม่อยู่มาถึงวันนี้แน่นอน"
พล.ร.อ.สุรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีคนแสวงหาความร่ำรวยจากประชาธิปไตย โดยหลอกประชาชนว่า ต้องการทำในสิ่งที่ประชาธิปไตยยังขาดหายไป ซึ่งประชาธิปไตยที่ใช้กันอยู่ขณะนี้ เป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน ขณะที่หลายๆประเทศ ใช้รูปแบบประชาธิปไตยทางตรง ถ้าเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 50 มีข้อบกพร่อง ก็ควรจะถามประชาชน โดยการทำประชามติ ซึ่งสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว เพราะเรามีเครื่องมือสื่อสาร โซเชียลมีเดีย ใช้งบประมาณไม่มาก
" อย่าอ้างว่าเป็นตัวแทนประชาชนแล้วมาอ้างแบบนี้ ขอให้เลิกหลอกลวงประชาชนเพื่อแสวงหาความร่ำรวย ขอให้ประชาชนฉุกคิดว่า ที่เดือดร้อน มานอนกินตามท้องถนน แล้วบ้านเมืองได้อะไร ตรงข้ามผู้นำมวลชน พากันร่ำรวย หากรัฐบาลต้องการแก้รัฐธรรมนูญทั้งกระบิ ต้องให้ประชานเข้าชื่อมา อย่าแสวงหาประโยชน์ให้ตนเอง และพวกพ้อง ปัญหาชาติไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญ แต่อยู่ที่คน และจากการสำรวจก็พบว่า ประชาชนมีความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญน้อยมาก มีแค่ร้อยละ 2.1 เท่านั้น ขอวอนประชาชนว่า ก่อนลงประชามติ ขอให้ฉุกคิดว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะใคร อย่าทำเป็นลืม" พล.ร.อ.สุรศักดิ์ กล่าว
**เรื่องนี้ถึงศาลรธน.แน่
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.สรรหา เสนอให้ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงจำนวน 200 คน รวมทั้งให้มีการทำประชามติ หลังจากที่มีการลงมติในวาระ 3 ว่าประชาชนจะเห็นด้วยกับการมี ส.ส.ร.หรือไม่
ทั้งนี้ ตนเคารพในตัวรัฐธรรมนูญปี 50 แต่การล้มเลิกโดยอ้างว่า เป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการ และไม่เป็นประชาธิปไตย ถือว่าไม่สมควร และเป็นการดูถูกชาติกำเนิดของตัวเอง โดยในการโหวตรัฐธรรมนูญ เมื่อปี 50 มี ส.ส.และส.ว. กว่า 30 เปอร์เซนต์ ที่โหวตแบบขอไปที
ดังนั้น ควรจะให้มีการลงประชามติ ขอความเห็นชอบจากประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตัวจริง ประชาชนเลือกเราเข้ามาเป็นตัวแทนประชาชน แต่เราเข้าใจผิดว่าเราไปรับสัมปทานอำนาจอธิปไตย ที่จะทำอะไรก็ได้ การอ้างรัฐธรรมนูญแบบหัวหมอ เพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตนไม่เห็นด้วยหากจะไม่มีการทำประชามติ เพื่อไปยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
" หากโหวตในวาระ 3 โดยที่ไม่มีการแก้ไข ตามที่เสนอให้มีการทำประชามติก่อนยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ดิฉันขอประกาศจุดยืนในฐานที่เป็นเสียงข้างน้อยว่า จะไม่เห็นด้วยในวาระ 3 และยืนยันว่า เรื่องนี้ถึงศาลรัฐธรรมนูญแน่ ที่ผ่านมามีแต่ประเทศไทยชอบอ้างว่าชาติกำเนิดของรัฐธรรมนูญไม่ดี แล้วชอบฉีกทิ้ง ทั้งนี้ ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับไหน เขียนขึ้นมาเพื่อล้มล้างตัวเอง เพราะคนที่ทำเหมือนเป็นเชื้อพันธุ์นอกสังคมมาแทรกแซงร่างกายเรา แล้วงอกใหม่มาทำร้ายร่างกายเดิม ดิฉันเห็นว่ารัฐธรรมนูญแก้ไขทุกมาตราได้ แต่ไม่ใช่ให้ฉีกทิ้ง" น.ส.รสนา กล่าว
นายวันชัย สอนศิริ ส.ว. สรรหา เสนอให้ ส.ส.ร. 200 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง กล่าวว่า การที่กรรมาธิการแบ่งที่มาส.ส.ร. ออกเป็น 2 แบบ เพราะไม่ไว้ใจประชาชน และต้องการที่จะวางตัวให้ ส.ส.ร. 22 คน ที่มาจากการสรรหา เป็นตัวหลักในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ตามที่ตนเองต้องการ ส่วนส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง จะเป็นแค่พระอันดับ
" รัฐบาลอ้างว่าต้องมีการยึดโยงกับประชาชน แต่กลับให้มีการเลือกตั้งแค่ 77 คน เหมือนคำที่ว่า เกลียดปูกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง เพราะประชาชนต้องจำยอมรับ ส.ส.ร.สรรหา 22 คน ที่รัฐบาลล็อกสเปกได้ ตอนนี้บางจังหวัดเขารู้แล้วว่า ใครจะได้เป็นส.ส.ร. และส.ส.ร. ก็จะถูกครหาว่าเป็นพวกเดียวกับรัฐบาล เป็นนอมินีให้กับพวกที่เลือกมา แต่ถ้าให้มาจากการเลือกตั้งทั้ง 200 คน จะทำให้ข้อครหาหมดไป และเป็นไปตามประชาธิปไตยอย่างแท้จริง" นายวัยชัย กล่าว
** ฝ่ายรัฐบาลยังยืนกราน 99 ส.ส.ร.
อย่างไรก็ตาม หลังจากเปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปรายหลากหลายแนวทางแล้ว นายพีระพันธ์ พาลุสุข กรรมาธิการเสียงข้างมาก ชี้แจงว่า สมาชิกที่อภิปรายล้วนให้ยึดฐานประชากร เป็นเกณฑ์ว่าจะมี ส.ส.ร.จำนวนเท่าไร แต่ร่างกรรมาธิการ จะยึดหลักเขตการปกครอง เพื่อให้ได้ส.ส.ร.ที่มาจากเขตการปกครองโดยตรง ส่วนที่ให้มีการสรรหา ยังจำเป็นต้องมี ส.ส.ร.ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ และ ส.ส.ร.ที่มาจากแต่ละจังหวัด ต้องมีความเชื่อว่าตนเองเป็นตัวแทนจากประชาชนจริงๆ โดยทำหน้าที่เพียงผู้สื่อสารระหว่าง ส.ส.ร. กับประชาชนในพื้นที่ ด้วยการลงพื้นที่หาประชาชน ทำประชาพิจารณ์ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้มากที่สุดสามารถให้คำปรึกษาหารือ หรือกดดันผ่าน ส.ส.ร.ของตนเอง เชื่อว่าจะได้รธน.ที่ดี มีความเป็นเจ้าของ และรู้สึกหวงแหน ใครจะมาฉีกทิ้งง่ายๆไม่ได้อีก ดังนั้นกมธ. จึงได้สรุปจำนวน และที่มาตามสูตรดังกล่าว
**หากยังดื้อจะเอา 99 ส.ส.ร. ยืดเยื้อแน่
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะคณะกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย กล่าวว่า หากต่างฝ่ายต่างถือทิฐิ ไม่ยอมลดราวาศอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกมธ.เสียงข้างมาก ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นจากกมธ.เสียงข้างน้อย และสมาชิกรัฐสภา ยืนกระต่ายขาเดียว ตามร่างเดิมของครม. ทุกตัวอักษร ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ต้องการให้มีการประนีประนอม พบกันครึ่งทาง โดยเฉพาะ มาตรา 291/1 เรื่องที่มา และจำนวนส.ส.ร. ที่มีการแปรญัติติกันหลากหลาย แต่ได้มีการประสานงานในหมู่สมาชิกหลายส่วน ว่าต้องการให้ยอมรับข้อเสนอส.ส.ร. 200 คน ซึ่งทั้งสมาชิกฝ่ายค้าน และ ส.ว. ก็ได้ประสานงานกันภายใน ว่า ตัวเลขดังกล่าวน่าจะเป็นจุดลงตัวที่ดีที่สุด และได้มีการเจรจากันหลายครั้ง แต่กมธ.เสียงข้างมาก ก็ ยังยืนยันให้เป็นไปตามร่างเดิมคือ 99 คน ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็จะทำให้การพิจารณาในมาตราอื่นๆ จะมีปัญหาตามมาอีก และจะทำให้การพิจารณาวาระ 2 ยืดเยื้อไปหลายวัน จึงอยากเรียกร้องให้กมธ.เสียงข้างมาก และสมาชิกฝ่ายรัฐบาล เปิดใจกว้าง ยอมรับข้อเสนอที่มีความเป็นไปได้ ไม่ใช่รอฟังใบสั่งของนายใหญ่จากดูไบ เพียงอย่างเดียว ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ก็อยากจะให้ตัวแทนฝ่ายรัฐบาล โทรศัพท์ทางไกลไปหารือกับนายใหญ่ เพื่อให้ยอมเปลี่ยนจำนวน ส.ส.ร. ตามที่สมาชิกฝ่ายค้าน และ ส.ว.เสนอ เพื่อจะได้พิสูจน์ถึงจุดเริ่มต้นของการปรองดอง ตามที่รัฐบาลพยายามผลักดัน