ASTVผู้จัดการรายวัน- ผู้ตรวจการแผ่นดิน เมิน“ค้อนปลอม”ใช้เสียงข้างมาก ลากแก้รธน. ใช้กมธ.ตีความ 3 ข้อไม่สนคำท้วงติง อ้างเป็นแค่จิ้งจกทัก โยนให้รับผิดชอบเองหากผิดขั้นตอน แต่ชี้ช่องใครเห็นไม่เหมาะยื่นผู้ตรวจฟันได้ ด้าน กมธ.ฝ่ายค้านแนะรัฐยอมให้มีส.ส.ร.200คน “เสรี”ยอมรับเกณฑ์ สสร.ปี 55 เปิดกว้าง-ครอบคลุม
นายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึงกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีข้อเสนอต่อรัฐสภา เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 ว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินทำตามหน้าที่ในฐานะคนกลาง ยืนยันว่าไม่ได้ต้องการจ้องจับผิด ทุกประเด็น แต่ดูประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบ
นอกจากนี้เห็นว่าการอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภา วาระ 2 เป็นเพียงการโต้เถียง เล่นเกมการเมือง เนื้อหาสาระมีน้อย ไม่ได้ทำอะไรให้ดีขึ้น ทั้งนี้หากดำเนินการให้เกิดปัญหาไม่ใช่ผลดี เพราะจะยิ่งผูกปมให้หนักขึ้น ไม่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง และถ้าดึงดัน ทำให้เร็ว แต่เสร็จแล้วจะทำให้เกิดปัญหาเอาแพ้เอาชนะ ก็จะยิ่งมีความขัดแย้งมากขึ้น และคงไม่สามารถนำไปสู่ความปรองดองได้
เมื่อถามถึงกรณีเสียงข้างมากอาจไม่รับฟังข้อท้วงติงของผู้ตรวจการแผ่นดิน นายศรีราชา กล่าวว่า ไม่เป็นไร เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่เรา แต่หากทำไม่ถูกขั้นตอน คนที่ดำเนินการก็ต้องรับผิดชอบเอง
ทั้งนี้ หากมีใครเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ ก็สามารถยื่นเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความได้ แต่ถ้าส่งเป็นร่างแก้ไขในช่วงนี้ ศาลอาจยังไม่รับวินิจฉัย แต่หากเสร็จเป็นร่างสมบูรณ์ก่อนทำประชามติ ก็สามารถทำได้
“เรามีหน้าที่เป็นจิ้งจกทัก ถ้าไม่เชื่อก็ไม่ว่า แต่ท่านไปเสี่ยงภัยเอาเอง ว่าต่อไปจะถูกร้องเรียนอะไร ยังไง เราอยู่นอกอำนาจที่จะไปดูแลควบคุม เพราะไม่ใช่องค์กรควบคุม แต่เป็นองค์กรเสริม ไม่ได้ไล่จับผิดทุกประเด็น แต่ดูประเด็นที่สำคัญ และมีผลกระทบต่อสภาพปัจจุบัน กระทบต่อการร่างรัฐธรรมนูญ เราไม่ได้ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านทุกเรื่อง ถ้าไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร เรามีอำนาจแค่เสนอ” นายศรีราชา กล่าว
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม กล่าวถึงการประชุมรัฐสภา 18-19 เม.ย. เพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 2 ว่า ถ้ารัฐบาลยังถือทิฐิไม่ฟังความเห็นที่หลากหลายก็อาจจะทำให้มีความยืดเยื้อในการพิจารณาออกไปอีก โดยเฉพาะมาตรา 291/1 เรื่องจำนวนส.ส.ร. ที่มีผู้แปรญัตติมากถึง 100 คนเศษ ซึ่งรัฐบาลยืนยันตามร่างเดิมของครม. คือให้มีส.ส.ร. 99 คน มาจาการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน ในขณะที่สมาชิกผู้สงวนคำแปรญัตติ ได้แปรญัตติในจำนวนที่แตกต่างกันไป ถ้าหากว่าพบกันครึ่งทาง กรรมาธิการเสียงข้างมากควรจะยอมรับมติเดิมที่กรรมาธิการฯเสียงข้างน้อยชนะโหวตในที่ประชุมคือให้มีส.ส.ร.จำนวน 200 คน ซึ่งถือว่าเป็นทางออกที่ทุกฝ่ายยอมรับได้
ส่วนกรณีวิธีการเลือกตั้งและคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นส.ส.ร.แม้ว่าจะไม่ตรงใจสมาชิกสวนใหญ่ แต่ก็พอที่จะยอมรับได้ในระดับหนึ่ง จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนแนวความคิด พบกันครึ่งทางในเรื่องจำนวนส.ส.ร. กลับมติให้มีส.ส.ร. 200 คน ก็จะมีความลงตัวทันที อย่างไรก็ตามอยากให้การพิจารณาจบลงภายในวันที่ 18-19 เม.ย. ตามที่กำหนดไว้ ถ้ายืดเยื้อออกไปก็จะไม่มีประโยชน์กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จึงอยากให้สมาชิกรัฐสภาฟังเหตุผล เคารพความคิดซึ่งกันและกัน ไม่อยากให้ถือทิฐิใช้เสียงข้างมากลากไป
นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ปี 2550 กล่าวถึงหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และที่มา ส.ส.ร.จากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน รวมถึงการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ 3 ด้านอีก 22 คน ตามบทบัญญัติของร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งแก้มาตรา 291 เพื่อจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.รวม 990 คน โดยยอมรับว่า การกำหนดที่มาของ ส.ส.ร.ตามร่างกฎหมายนั้นเปิดกว้าง และครอบคลุมบุคลากรที่จะมาร่วมยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2555 แต่ในสภาวะบ้านเมืองที่ยังคงมีความขัดแย้ง และหวาดระแวงสูงอยู่นั้น ผู้ที่จะได้รับเลือกให้เป็น ส.ส.ร. ควรที่จะตระหนักถึงบทบาทของตนเอง โดยเฉพาะการเป็นกลางทางการเมือง และประโยชน์ของส่วนรวม
สำหรับที่ประชุมรัฐสภา ค้างการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ในวาระ 2 ไว้ที่มาตรา 4 ซึ่งว่าด้วยที่มาของ ส.ส.ร. โดยนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เรียกประชุมต่อในวันที่ 18 และ 19 เมษายนนี้ พร้อมวางกรอบการพิจารณาในวาระ 3 หรือการให้ความเห็นชอบในวันที่ 8 พฤษภาคม ต่อไป
โดยก่อนหน้านี้ นายสามารถ แก้วมีชัย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมาย ระบุถึงขั้นตอนการบังคับใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 ตามกรอบการแก้ไขนั้น คาดว่าจะมีการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ภายในเดือนสิงหาคม และน่าจะทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 240 วัน โดยนายสามารถแสดงความมั่นใจว่า เดือนมิถุนายนปี 2556 จะมีร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว และเข้าสู่กระบวนการที่ประธานรัฐสภาจะตรวจสอบ และส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. จัดทำเป็นประชามติภายใน 60 วัน หรือ ราวเดือนกรกฎาคมปีหน้า หากผ่านการลงประชามติจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลเกล้าทูลกระหม่อม และประกาศใช้ในราวเดือนสิงหาคมปี 2556 ได้.
นายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึงกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีข้อเสนอต่อรัฐสภา เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 ว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินทำตามหน้าที่ในฐานะคนกลาง ยืนยันว่าไม่ได้ต้องการจ้องจับผิด ทุกประเด็น แต่ดูประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบ
นอกจากนี้เห็นว่าการอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภา วาระ 2 เป็นเพียงการโต้เถียง เล่นเกมการเมือง เนื้อหาสาระมีน้อย ไม่ได้ทำอะไรให้ดีขึ้น ทั้งนี้หากดำเนินการให้เกิดปัญหาไม่ใช่ผลดี เพราะจะยิ่งผูกปมให้หนักขึ้น ไม่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง และถ้าดึงดัน ทำให้เร็ว แต่เสร็จแล้วจะทำให้เกิดปัญหาเอาแพ้เอาชนะ ก็จะยิ่งมีความขัดแย้งมากขึ้น และคงไม่สามารถนำไปสู่ความปรองดองได้
เมื่อถามถึงกรณีเสียงข้างมากอาจไม่รับฟังข้อท้วงติงของผู้ตรวจการแผ่นดิน นายศรีราชา กล่าวว่า ไม่เป็นไร เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่เรา แต่หากทำไม่ถูกขั้นตอน คนที่ดำเนินการก็ต้องรับผิดชอบเอง
ทั้งนี้ หากมีใครเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ ก็สามารถยื่นเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความได้ แต่ถ้าส่งเป็นร่างแก้ไขในช่วงนี้ ศาลอาจยังไม่รับวินิจฉัย แต่หากเสร็จเป็นร่างสมบูรณ์ก่อนทำประชามติ ก็สามารถทำได้
“เรามีหน้าที่เป็นจิ้งจกทัก ถ้าไม่เชื่อก็ไม่ว่า แต่ท่านไปเสี่ยงภัยเอาเอง ว่าต่อไปจะถูกร้องเรียนอะไร ยังไง เราอยู่นอกอำนาจที่จะไปดูแลควบคุม เพราะไม่ใช่องค์กรควบคุม แต่เป็นองค์กรเสริม ไม่ได้ไล่จับผิดทุกประเด็น แต่ดูประเด็นที่สำคัญ และมีผลกระทบต่อสภาพปัจจุบัน กระทบต่อการร่างรัฐธรรมนูญ เราไม่ได้ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านทุกเรื่อง ถ้าไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร เรามีอำนาจแค่เสนอ” นายศรีราชา กล่าว
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม กล่าวถึงการประชุมรัฐสภา 18-19 เม.ย. เพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 2 ว่า ถ้ารัฐบาลยังถือทิฐิไม่ฟังความเห็นที่หลากหลายก็อาจจะทำให้มีความยืดเยื้อในการพิจารณาออกไปอีก โดยเฉพาะมาตรา 291/1 เรื่องจำนวนส.ส.ร. ที่มีผู้แปรญัตติมากถึง 100 คนเศษ ซึ่งรัฐบาลยืนยันตามร่างเดิมของครม. คือให้มีส.ส.ร. 99 คน มาจาการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน ในขณะที่สมาชิกผู้สงวนคำแปรญัตติ ได้แปรญัตติในจำนวนที่แตกต่างกันไป ถ้าหากว่าพบกันครึ่งทาง กรรมาธิการเสียงข้างมากควรจะยอมรับมติเดิมที่กรรมาธิการฯเสียงข้างน้อยชนะโหวตในที่ประชุมคือให้มีส.ส.ร.จำนวน 200 คน ซึ่งถือว่าเป็นทางออกที่ทุกฝ่ายยอมรับได้
ส่วนกรณีวิธีการเลือกตั้งและคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นส.ส.ร.แม้ว่าจะไม่ตรงใจสมาชิกสวนใหญ่ แต่ก็พอที่จะยอมรับได้ในระดับหนึ่ง จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนแนวความคิด พบกันครึ่งทางในเรื่องจำนวนส.ส.ร. กลับมติให้มีส.ส.ร. 200 คน ก็จะมีความลงตัวทันที อย่างไรก็ตามอยากให้การพิจารณาจบลงภายในวันที่ 18-19 เม.ย. ตามที่กำหนดไว้ ถ้ายืดเยื้อออกไปก็จะไม่มีประโยชน์กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จึงอยากให้สมาชิกรัฐสภาฟังเหตุผล เคารพความคิดซึ่งกันและกัน ไม่อยากให้ถือทิฐิใช้เสียงข้างมากลากไป
นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ปี 2550 กล่าวถึงหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และที่มา ส.ส.ร.จากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน รวมถึงการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ 3 ด้านอีก 22 คน ตามบทบัญญัติของร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งแก้มาตรา 291 เพื่อจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.รวม 990 คน โดยยอมรับว่า การกำหนดที่มาของ ส.ส.ร.ตามร่างกฎหมายนั้นเปิดกว้าง และครอบคลุมบุคลากรที่จะมาร่วมยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2555 แต่ในสภาวะบ้านเมืองที่ยังคงมีความขัดแย้ง และหวาดระแวงสูงอยู่นั้น ผู้ที่จะได้รับเลือกให้เป็น ส.ส.ร. ควรที่จะตระหนักถึงบทบาทของตนเอง โดยเฉพาะการเป็นกลางทางการเมือง และประโยชน์ของส่วนรวม
สำหรับที่ประชุมรัฐสภา ค้างการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ในวาระ 2 ไว้ที่มาตรา 4 ซึ่งว่าด้วยที่มาของ ส.ส.ร. โดยนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เรียกประชุมต่อในวันที่ 18 และ 19 เมษายนนี้ พร้อมวางกรอบการพิจารณาในวาระ 3 หรือการให้ความเห็นชอบในวันที่ 8 พฤษภาคม ต่อไป
โดยก่อนหน้านี้ นายสามารถ แก้วมีชัย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมาย ระบุถึงขั้นตอนการบังคับใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 ตามกรอบการแก้ไขนั้น คาดว่าจะมีการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ภายในเดือนสิงหาคม และน่าจะทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 240 วัน โดยนายสามารถแสดงความมั่นใจว่า เดือนมิถุนายนปี 2556 จะมีร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว และเข้าสู่กระบวนการที่ประธานรัฐสภาจะตรวจสอบ และส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. จัดทำเป็นประชามติภายใน 60 วัน หรือ ราวเดือนกรกฎาคมปีหน้า หากผ่านการลงประชามติจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลเกล้าทูลกระหม่อม และประกาศใช้ในราวเดือนสิงหาคมปี 2556 ได้.