ดูเหมือนผู้ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จะมองอนาคตออกว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะต้องมีคนพยายามฉีกทิ้งอย่างแน่นอน จึงได้มีการเขียนเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ ในหมวด 3 สิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวไทย ส่วนที่ 13 สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (มาตรา 68-69) ความว่า
มาตรา 68 บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรค 3 ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลาห้าปี นับตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว
มาตรา 69 บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ (พ.ศ. 2550) มาแล้วในสมัยที่ นายสมัคร นายสมชาย เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีเนื้อหาของการแก้ไขเพื่อช่วยทักษิณ ชินวัตร และบรรดาลิ่วล้อของทักษิณที่ถูกศาลรัฐธรรมนูยมีคำวินิจฉัยให้เว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี เพราะเป็นกรรมการบริหารพรรค แต่ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
ความพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนั้นถูกต่อต้านอย่างแข็งขันจากประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประชาชนที่รวมกันเรียกว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนั้นไม่สำเร็จ
ในสมัยที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาลกดดันให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้ง และแก้ไขสำเร็จเกี่ยวกับเขตการเลือกตั้ง ทำให้เขตการเลือกตั้งเป็นเบอร์เดียว พรรคเดียว และจำนวน ส.ส.เขตเป็นไปตามที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องการ
การแก้ไขในประเด็นดังกล่าว ไม่ได้ทำให้เนื้อหาสาระโดยรวมของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เสียหายแต่อย่างใด
มาถึงรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 แต่จะแก้ไขตรงไหน มาตราใด พวกเขาไม่บอกประชาชน บอกอย่างเดียวว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปรียบเสมือนต้นไม้ที่เป็นพิษ ดอกผลของมันก็จะต้องเป็นพิษด้วย
ที่ว่าเป็นพิษนั้น พวกเขาบอกว่าเพราะที่มาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นการรัฐประหารล้มรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร
เนื้อหาสาระที่ว่าเป็นพิษ เป็นอย่างไรพวกเขาบอกไม่ได้ ทั้งที่ความเป็นจริง รัฐธรรมนูญฉบับนี้เมื่อประกาศใช้แล้วจัดให้มีการเลือกตั้ง พวกเขาก็ชนะการเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลทั้งรัฐบาลสมัคร รัฐบาลสมชาย และเมื่อมีการเลือกตั้งอีกครั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม ก็ส่งผลให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ไม่ประสีประสาทางการเมืองได้เป็นนายกรัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าสู่อำนาจของพวกเขาแต่อย่างใด แต่ยังคงเป็นอุปสรรคสำหรับทักษิณ ชินวัตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีองค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ มีศาลปกครองซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่เอื้อประโยชน์ให้แก่ ทักษิณ ชินวัตร อย่างที่เคยเอื้อให้ในปี พ.ศ. 2544 ในคดีซุกหุ้นจนทำให้ทักษิณมีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรีได้อย่างยาวนาน และมีโอกาสทำร้ายประเทศไทยจนกระทั่งเกิดรัฐประหารขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2549
เมื่อพวกเขาเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้คือต้นไม้พิษพวกเขาจึงต้องทำลายด้วยการฉีกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทิ้ง แล้วร่างขึ้นใหม่
แต่การจะฉีกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทิ้งแล้วร่างขึ้นใหม่ทำไม่ได้ พวกเขาจึงใช้วิธีเจาะเข้าไปที่หมวด 15 ที่ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ซึ่งกำหนดถึงวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเอาไว้ว่าจะทำได้โดยคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมด หรือประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ
เขาใช้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้ามา ก็ให้เป็นเรื่องของสภา สภามีมติเรื่องที่จะต้องให้สภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญเสียใหม่
ซึ่งก็เป็นที่รู้กันว่า นี่คือการฉีกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ทิ้ง แล้วนำเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา เนื้อหาจะเป็นอย่างไรก็ยังไม่รู้ ได้แต่คาดเดาไปต่างๆ นานา เป็นต้นว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงขบวนการยุติธรรม ซึ่งถือว่าเป็นอำนาจหนึ่งในอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ผู้ดำรงตำแหน่งในศาลยุติธรรมจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรหรืออย่างไร ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องถูกยุบให้ไปเป็นแผนกหนึ่งในศาลฎีกาหรือไม่ การทำผิดกฎหมายเลือกตั้งจะต้องไม่ยุบพรรค ไม่ลงโทษกรรมการบริหารพรรคหรือไม่
ล้วนเป็นเรื่องที่เคลือบแคลงสงสัย
ที่สำคัญก็คือ หากพิจารณาส่วนที่ 13 สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ พวกเขาสามารถทำได้หรือไม่ หรือคิดว่าอัยการสูงสุดจะพิจารณาเรื่องนี้ว่าไม่ผิด และไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเหมือนบางกรณีที่อัยการสูงสุดรับใช้พวกเขามาแล้วก็ไม่มีใครทำอะไรอัยการสูงสุดได้
ประชาชนชาวไทยที่รักชาติ รักประชาธิปไตย รักความเป็นธรรมช่วยกันคิดหน่อยดีไหมครับ?
มาตรา 68 บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรค 3 ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลาห้าปี นับตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว
มาตรา 69 บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ (พ.ศ. 2550) มาแล้วในสมัยที่ นายสมัคร นายสมชาย เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีเนื้อหาของการแก้ไขเพื่อช่วยทักษิณ ชินวัตร และบรรดาลิ่วล้อของทักษิณที่ถูกศาลรัฐธรรมนูยมีคำวินิจฉัยให้เว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี เพราะเป็นกรรมการบริหารพรรค แต่ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
ความพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนั้นถูกต่อต้านอย่างแข็งขันจากประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประชาชนที่รวมกันเรียกว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนั้นไม่สำเร็จ
ในสมัยที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาลกดดันให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้ง และแก้ไขสำเร็จเกี่ยวกับเขตการเลือกตั้ง ทำให้เขตการเลือกตั้งเป็นเบอร์เดียว พรรคเดียว และจำนวน ส.ส.เขตเป็นไปตามที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องการ
การแก้ไขในประเด็นดังกล่าว ไม่ได้ทำให้เนื้อหาสาระโดยรวมของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เสียหายแต่อย่างใด
มาถึงรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 แต่จะแก้ไขตรงไหน มาตราใด พวกเขาไม่บอกประชาชน บอกอย่างเดียวว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปรียบเสมือนต้นไม้ที่เป็นพิษ ดอกผลของมันก็จะต้องเป็นพิษด้วย
ที่ว่าเป็นพิษนั้น พวกเขาบอกว่าเพราะที่มาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นการรัฐประหารล้มรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร
เนื้อหาสาระที่ว่าเป็นพิษ เป็นอย่างไรพวกเขาบอกไม่ได้ ทั้งที่ความเป็นจริง รัฐธรรมนูญฉบับนี้เมื่อประกาศใช้แล้วจัดให้มีการเลือกตั้ง พวกเขาก็ชนะการเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลทั้งรัฐบาลสมัคร รัฐบาลสมชาย และเมื่อมีการเลือกตั้งอีกครั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม ก็ส่งผลให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ไม่ประสีประสาทางการเมืองได้เป็นนายกรัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าสู่อำนาจของพวกเขาแต่อย่างใด แต่ยังคงเป็นอุปสรรคสำหรับทักษิณ ชินวัตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีองค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ มีศาลปกครองซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่เอื้อประโยชน์ให้แก่ ทักษิณ ชินวัตร อย่างที่เคยเอื้อให้ในปี พ.ศ. 2544 ในคดีซุกหุ้นจนทำให้ทักษิณมีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรีได้อย่างยาวนาน และมีโอกาสทำร้ายประเทศไทยจนกระทั่งเกิดรัฐประหารขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2549
เมื่อพวกเขาเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้คือต้นไม้พิษพวกเขาจึงต้องทำลายด้วยการฉีกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทิ้ง แล้วร่างขึ้นใหม่
แต่การจะฉีกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทิ้งแล้วร่างขึ้นใหม่ทำไม่ได้ พวกเขาจึงใช้วิธีเจาะเข้าไปที่หมวด 15 ที่ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ซึ่งกำหนดถึงวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเอาไว้ว่าจะทำได้โดยคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมด หรือประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ
เขาใช้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้ามา ก็ให้เป็นเรื่องของสภา สภามีมติเรื่องที่จะต้องให้สภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญเสียใหม่
ซึ่งก็เป็นที่รู้กันว่า นี่คือการฉีกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ทิ้ง แล้วนำเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา เนื้อหาจะเป็นอย่างไรก็ยังไม่รู้ ได้แต่คาดเดาไปต่างๆ นานา เป็นต้นว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงขบวนการยุติธรรม ซึ่งถือว่าเป็นอำนาจหนึ่งในอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ผู้ดำรงตำแหน่งในศาลยุติธรรมจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรหรืออย่างไร ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องถูกยุบให้ไปเป็นแผนกหนึ่งในศาลฎีกาหรือไม่ การทำผิดกฎหมายเลือกตั้งจะต้องไม่ยุบพรรค ไม่ลงโทษกรรมการบริหารพรรคหรือไม่
ล้วนเป็นเรื่องที่เคลือบแคลงสงสัย
ที่สำคัญก็คือ หากพิจารณาส่วนที่ 13 สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ พวกเขาสามารถทำได้หรือไม่ หรือคิดว่าอัยการสูงสุดจะพิจารณาเรื่องนี้ว่าไม่ผิด และไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเหมือนบางกรณีที่อัยการสูงสุดรับใช้พวกเขามาแล้วก็ไม่มีใครทำอะไรอัยการสูงสุดได้
ประชาชนชาวไทยที่รักชาติ รักประชาธิปไตย รักความเป็นธรรมช่วยกันคิดหน่อยดีไหมครับ?