วานนี้ ( 10 เม.ย.) นายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงว่า เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ที่ผ่านมาผู้ตรวจการแผ่นดินมีหนังสือถึงประธานรัฐสภาและนายกรัฐมนตรี ตามข้อเสนอของคณะกรรมการที่ปรึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินที่มีนายนรนิต เศรษฐบุตร เป็นประธาน เพื่อเสนอแนะเกี่ยวกับยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ ไม่ให้เกิดปัญหาขัดรัฐธรรมนูญขึ้นในอนาคตรวม 3 ประเด็น
1. กรณีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการรัฐธรรมนูญใหม่ เห็นควรเสนอให้แก้ไขจากที่ร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของประธานรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีแทน
2. กรณีที่กำหนดให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองหรือรูปแบบรัฐหรือไม่ เห็นควรเสนอให้แก้ไขเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
3. กรณีประชาชนลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญแล้วให้ประธานรัฐสภานำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศให้รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ โดยไม่จำเป็นต้องนำรัฐธรรมนูญ มาตรา 150 และ151 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการใช้เสียง2 ใน 3 ของรัฐสภายืนยันร่างกฎหมายกรณีพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้งมาบัญญัติไว้
นายศรีราชากล่าวว่า ข้อเสนอแนะดังกล่าวผู้ตรวจการแผ่นดินปฏิบัติไปตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 244 (3) ให้อำนาจไว้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อกังวลที่เกรงว่าหากไม่มีการปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญตามที่มีการเสนอก็อาจจะมีปัญหาตามมาภายหลังได้
“ผู้ตรวจการฯเสนอไปแล้วก็ขึ้นอยู่กับผู้เกี่ยวข้องจะพิจารณาว่าจะแก้ไขตามที่เสนอหรือไม่ เราเพียงแต่เป็นจิ้งจกที่ทักเตือนเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาที่จะไปบีบบังคับ ขู่เข็ญ ถ้าเราท้วงแล้วเขาไม่ทำ ผลที่จะตามมาเป็นอย่างไรเขาก็ต้องยอมรับ แต่คิดว่าผู้ตรวจการเป็นองค์กรที่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยตรง ไม่ใช่คนหนึ่งคนใดที่มีส่วนได้เสีย ข้อเสนอก็น่าจะได้รับการยอมรับ” นายศรีราชา กล่าว
**สภาป่วนหลัง ปชป. ชี้รวบรัดเพื่อแม้ว
วันเดียวกัน มีการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ.... ในวาระ 2 หลังจากที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้สั่งพักการประชุมไป 30 นาที ได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง เมื่อเวลา 12.40 น. โดยนายสมศักดิ์ ได้ยืนยันว่าขอให้ลงมติในญัตติด่วนขอเลื่อนการพิจารณา และอนุญาตให้ประท้วงหรือหารือแล้ว จากนั้นได้มีการตรวจสอบองค์ประชุม พบว่ามีผู้เข้าร่วมประชุม 367 คนถือว่าครบองค์ประชุม และเปิดให้ลงมติ ผลปรากฏว่า มีผู้ที่เห็นด้วยกับญัตติดังกล่าว 91 เสียง และไม่เห็นด้วย 337 เสียง ทำให้การประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเดินหน้าต่อ โดยนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ฐานะประธานกรรมาธิการฯ ชี้แจงว่าการประชุมกรรมาธิการฯ ได้ทำอย่างถูกต้องตามระเบียบขั้นตอน ทั้งนี้มีผู้เสนอคำแปรญัตติทั้งสิ้น 178 คนแบ่งเป็นสมาชิกรัฐสภา 171 และกรรมาธิการ อีก 17 คน
จากนั้นที่ประชุมได้เริ่มพิจารณาลงรายมาตรา เริ่มต้นด้วยมาตราที่ 1 ชื่อร่าง มีผู้เสนอคำแปรญัตติรวม 3 คน โดยนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ฐานะกรรมาธิการ ระบุว่าตนขอแก้ไขชื่อร่างให้เป็น “รัฐธรรมนูญรวบรัดเพื่อทักษิณแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ... แต่ก่อนที่จะอภิปรายขยายความ
ทำให้นายสมศักดิ์ พูดขึ้นว่า “ประเด็นนี้ถือว่าเป็นการใส่ร้าย และขัดกับข้อบังคับการประชุมชัดเจน ผมไม่แน่ใจว่ากรรมาธิการให้ผ่านมาได้อย่างไร ขอให้ประธานกรรมาธิการชี้แจง รวมถึงความเห็นของนายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง ที่สงวนคำแปรญัตติในมาตรา 1 ว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับ นปช.ครองเมือง แห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่... ) พ.ศ.... ว่าผ่านมาได้อย่างไร
ทั้งนี้นายสามารถชี้แจงว่า นายเทพไทเป็นกรรมาธิการ ซึ่งการสงวนความเห็นดังกล่าวนั้นสามารถทำได้ในฐานะกรรมาธิการ อย่างไรก็ตามเพื่อให้ได้ข้อสรุปไม่จำเป็นต้องอภิปรายมาก และกรรมาธิการเสียงข้างมากขอยืนยันมาตรา 1 ตามร่างของกรรมาธิการ และขอใช้เสียงรัฐสภาตัดสิน แต่นายสมศักดิ์ ระบุว่าคำแปรญัตติดังกล่าวถือว่าผิดกับข้อบังคับการประชุมอย่างชัดเจน เพราะมีลักษณะของการเสียดสี ไม่สามารถที่จะอภิปรายหรือพิจารณาได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากนั้นการประชุมร่วมรัฐสภา กลับมาวุ่นวายอีกครั้ง เมื่อส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอมรับในคำตัดสินดังกล่าว และพยายามทักท้วงว่าใช้ข้อบังคับข้อใดที่มาสั่งให้สมาชิกรัฐสภาหยุดพูด ด้านนพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่สมบูรณ์ขอให้ถอนกลับไปพิจารณาใหม่
ทั้งนี้บรรยากาศเริ่มตึงเครียดมากขึ้น ทำให้นายสมศักดิ์ ได้นำข้อบังคับข้อ 117 ของการประชุมร่วมรัฐสภา ระบุให้รัฐสภาลงมติในคำวินิจฉัยดังกล่าว โดยอาศัยเสียงเกินกึ่งหนึ่ง แต่ฟากส.ส.พรรรคประชาธิปัตย์ ไม่ยอมรับ โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่าการสงวนคำแปรญัตติของนายเทพไท และนายสาธิต ไม่ถือว่าขัดกับหลักการของรัฐธรรมนูญ ดังนั้นประธานรัฐสภาไม่มีสิทธิ์วินิจฉัยเกินไปกว่าข้อบังคับที่เขียนไว้ อย่างไรก็ตามอำนาจของประธานมีอย่างจำกัดในประเด็นความไม่เหมาะสมเท่านั้น อย่างไรก็ตามที่ระบุว่าใช้ข้อบังคับ 117 มาบังคับใช้ จึงถือว่าไม่มีประเด็นใดให้วินิจฉัยได้ ทำให้นายสมศักดิ์ยอมให้นายเทพไท อภิปรายด้วยความระมัดระวังอย่าใช้ถ้อยคำเสียดสี
**“รธน.ฉบับ นปช.ครองเมือง”
นายวัชระ เพรชทอง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้แปรญัตติในมาตรา 1 เกี่ยวกับชื่อของร่างรัฐธรรมนูญ โดยระบุชื่อที่แปรญัตติ คือ รัฐธรรมนูญฉบับ นปช.ครองเมืองแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่มาจากการลงประชามติของประชาชน จำนวน 14.7 ล้านเสียง) ฉบับที่... พ.ศ... ซึ่งมีเนื้อหาตรงกัน เกี่ยวกับองค์ประชุมของคณะกรรมาธิการว่า อยู่ระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการในบางช่วงเวลามีสมาชิกไม่ครบองค์ประชุม รัฐธรรมนูญที่มีการแก้ไขนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มาจากการลงประชามติของประชาชน
**สภาผ่านมาตราหนึ่ง 353ต่อ107
หลังจากเกิดความวุ่นวาย และกลับเข้ามาประชุม มีการอภิปรายของกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ที่สงวนคำแปรญัตติ แล้ว พล.อ.ธีรเดช มีเพียร รองประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ขอมติในมาตรา 1 ปรากฎว่าสมาชิกเห็นด้วย 353 ไม่เห็นด้วย 107 งด ออกเสียง 18 ไม่ลงคะแนน 3
** “สมศักดิ์”รุกรนเร่งมาตรา 2
ขณะที่ มาตรา 2 ที่ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยนายสมศักดิ์ พยายามที่เรียกรายชื่อผู้สงวนคำแปรญัตติอื่นอภิปราย ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของส.ส.ฝ่ายค้าน ที่ไม่ควรกำหนดให้ประกาศใช้ถัดวันประกาศในราชกิจจา เพราะเร่งรีบมากเกินไป ควรทิ้งเวลา 30 วัน อย่างน้อยให้เวลากับกกต.
ด้านนายคำนูญ สิทธิสมาน ส.ว. สรรหา กล่าวดว่า ขอแปรญัตติให้มีผลบังคับใช้ 30วันนับจากวันประกาศราชกิจจาเพื่อให้เวลาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความพร้อมเต็มที่ในการดำเนินการ ไม่ได้เป็นเวลาที่ยาวนานเกินไป เพราะหลังจากมีผลใช้บังคับ ยังมีการกำหนดระยะเวลาที่ดำเนินการ สูตร 15- 20- 40- 15 คือ 90วันกระบวนการต้องจบสิ้น และควรให้เวลากกต.ได้เตรียมความพร้อม
ขณะที่ นายสมศักดิ์ได้พยายามรวบรัด โดยใช้อำนาจประธานที่ประชุม สั่งห้ามสมาชิกอภิปรายในประเด็นซ้ำกับผู้อื่นจนทำให้สมาชิกจากพรรคประชาธิปัตย์ประท้วง
จากนั้นที่ประชุมได้มีการลงมติให้เห็นด้วยตามร่างของกรรมาธิการคือให้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ด้วยคะแนน 349 ต่อ 122 คะแนน งดออกเสียง 4 และไม่ลงคะแนน 1 เสียง
**ปชป.เตรียมให้วิปค้านดูข้อ กม.
ก่อนหน้านั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ได้ให้วิปฝ่ายค้านไปศึกษาในเชิงข้อกฎหมายว่าจะทำอะไรได้บ้างในช่องทางไหน เพราะเท่าที่ดูน่าจะมีความจงใจฝ่าฝืนข้อบังคับ หากทำไม่สมบูรณ์ หรือมีการประชุมโดยองค์ประชุมไม่ครบ ก็คงไม่ถูกต้อง เพราะข้อบังคับออกตามรัฐธรรมนูญ และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญระบุชัดว่า ถ้ามีการพิจารณาแล้วไม่ครบองค์ประชุมก็ถือว่าไม่สมบูรณ์ ซึ่งถ้าหากสภาไปตัดสินคนที่ได้มีการแปรญัตติ หรือสงวนทำแปรญัตติเอาไว้ เพราะมีการรวบรัดโดยกรรมาธิการ ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าวันที่ให้เข้าไปเสนอคำแปรญัตติอาจจะไม่ครบองค์ประชุม
ทั้งนี้ การรวบรัดพิจารณาถือเป็นปมปัญหาหนึ่งที่จะทำให้เกิดความขัดแย้ง โดยเฉพาะการพิจารณาบางประเด็นที่มีการเสนอไป กรรมาธิการไม่ยอมรับ เช่น ยืนยันว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ควบกระทบกับความเป็นอิสระของศาล เป็นต้น
**ปธ.อ้างส.ส.-ส.ว.ต้องไปตปท.
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา กล่าวยืนยันว่าเป็นการบรรจุวาระตามหลักการ เพราะเห็นว่าส.ส.และส.ว.หลายคนจะเดินทางไปต่างประเทศในช่วงเดือนพ.ค. ดังนั้นจึงอยากให้จบภายในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นการสนองความต้องการของสมาชิกเรา
**ปูย้ายประชุมครม.หวั่นสภาล่ม
ส่วนน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปยังอาคารรัฐสภา เพื่อร่วมประชุมร่วมรัฐสภา และเวลา 15.00 น. เป็นประธานการประชุมครม. ซึ่งได้เปลี่ยนสถานที่จากเดิมตึกสำนักงานเลขาธิการครม. ทั้งนี้มีกระแสข่าวว่า เป็นการมาร่วมประชุม โดยเกรงว่าสภาจะล่ม
**กกต.จี้ขอความชัดเจนเลือกตั้งส.ส.ร.
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า ตนเห็นว่ายังมีบทบัญญัติหลายส่วนที่ยังไม่มีความชัดเจน เช่น ในร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 291/5 วรรคสี่ ที่บัญญัติให้กกต.ออกประกาศงดเว้นว่าจะไม่นำมาตราใดของพ.ร.บ.การเลือกตั้งท้องถิ่นมาบังคับใช้ในการเลือกตั้งส.ส.ร. เห็นว่าจำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีการบัญญัติว่า ถ้าไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งส.ส.ร.จะเสียสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นหรือไม่ หรือการที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติว่าการเลือกตั้งส.ส.ร.เป็นหน้าที่ เมื่อไม่ได้ไปใช้สิทธิจึงไม่ถือว่าเป็นเหตุแห่งการเสียสิทธิใช่หรือไม่ รวมทั้งผู้ที่เสียสิทธิในการเลือกตั้งส.ส. และส.ว. รวมถึงสมาชิกสภาท้องถิ่น หากมาใช้สิทธิเลือกตั้งส.ส.ร.จะได้รับสิทธิกลับคืนมาหรือไม่
นอกจากนี้ในวรรคท้ายสุดที่บัญญัติเกี่ยวกับการวินิจฉัยชี้ขาดการเลือกตั้ง การสั่งให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ การเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งที่ให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณาพิพากษาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันยังขาดความชัดเจนว่าตกลงแล้ว หากมีการทุจริตเกิดขึ้นจะให้กกตงเป็นผู้ทำสำนวนหรือให้ผู้เสียหายไปฟ้องศาลโดยตรง รวมถึงการให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาให้แล้วเสร็จนั้นนับแต่เมื่อใด ซึ่งตนเห็นว่าควรจะนับตั้งแต่วันที่ศาลได้รับคำร้อง ดังนั้นจึงควรมีการเขียนบทบัญญัติให้รับกับกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น
1. กรณีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการรัฐธรรมนูญใหม่ เห็นควรเสนอให้แก้ไขจากที่ร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของประธานรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีแทน
2. กรณีที่กำหนดให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองหรือรูปแบบรัฐหรือไม่ เห็นควรเสนอให้แก้ไขเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
3. กรณีประชาชนลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญแล้วให้ประธานรัฐสภานำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศให้รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ โดยไม่จำเป็นต้องนำรัฐธรรมนูญ มาตรา 150 และ151 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการใช้เสียง2 ใน 3 ของรัฐสภายืนยันร่างกฎหมายกรณีพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้งมาบัญญัติไว้
นายศรีราชากล่าวว่า ข้อเสนอแนะดังกล่าวผู้ตรวจการแผ่นดินปฏิบัติไปตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 244 (3) ให้อำนาจไว้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อกังวลที่เกรงว่าหากไม่มีการปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญตามที่มีการเสนอก็อาจจะมีปัญหาตามมาภายหลังได้
“ผู้ตรวจการฯเสนอไปแล้วก็ขึ้นอยู่กับผู้เกี่ยวข้องจะพิจารณาว่าจะแก้ไขตามที่เสนอหรือไม่ เราเพียงแต่เป็นจิ้งจกที่ทักเตือนเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาที่จะไปบีบบังคับ ขู่เข็ญ ถ้าเราท้วงแล้วเขาไม่ทำ ผลที่จะตามมาเป็นอย่างไรเขาก็ต้องยอมรับ แต่คิดว่าผู้ตรวจการเป็นองค์กรที่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยตรง ไม่ใช่คนหนึ่งคนใดที่มีส่วนได้เสีย ข้อเสนอก็น่าจะได้รับการยอมรับ” นายศรีราชา กล่าว
**สภาป่วนหลัง ปชป. ชี้รวบรัดเพื่อแม้ว
วันเดียวกัน มีการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ.... ในวาระ 2 หลังจากที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้สั่งพักการประชุมไป 30 นาที ได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง เมื่อเวลา 12.40 น. โดยนายสมศักดิ์ ได้ยืนยันว่าขอให้ลงมติในญัตติด่วนขอเลื่อนการพิจารณา และอนุญาตให้ประท้วงหรือหารือแล้ว จากนั้นได้มีการตรวจสอบองค์ประชุม พบว่ามีผู้เข้าร่วมประชุม 367 คนถือว่าครบองค์ประชุม และเปิดให้ลงมติ ผลปรากฏว่า มีผู้ที่เห็นด้วยกับญัตติดังกล่าว 91 เสียง และไม่เห็นด้วย 337 เสียง ทำให้การประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเดินหน้าต่อ โดยนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ฐานะประธานกรรมาธิการฯ ชี้แจงว่าการประชุมกรรมาธิการฯ ได้ทำอย่างถูกต้องตามระเบียบขั้นตอน ทั้งนี้มีผู้เสนอคำแปรญัตติทั้งสิ้น 178 คนแบ่งเป็นสมาชิกรัฐสภา 171 และกรรมาธิการ อีก 17 คน
จากนั้นที่ประชุมได้เริ่มพิจารณาลงรายมาตรา เริ่มต้นด้วยมาตราที่ 1 ชื่อร่าง มีผู้เสนอคำแปรญัตติรวม 3 คน โดยนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ฐานะกรรมาธิการ ระบุว่าตนขอแก้ไขชื่อร่างให้เป็น “รัฐธรรมนูญรวบรัดเพื่อทักษิณแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ... แต่ก่อนที่จะอภิปรายขยายความ
ทำให้นายสมศักดิ์ พูดขึ้นว่า “ประเด็นนี้ถือว่าเป็นการใส่ร้าย และขัดกับข้อบังคับการประชุมชัดเจน ผมไม่แน่ใจว่ากรรมาธิการให้ผ่านมาได้อย่างไร ขอให้ประธานกรรมาธิการชี้แจง รวมถึงความเห็นของนายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง ที่สงวนคำแปรญัตติในมาตรา 1 ว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับ นปช.ครองเมือง แห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่... ) พ.ศ.... ว่าผ่านมาได้อย่างไร
ทั้งนี้นายสามารถชี้แจงว่า นายเทพไทเป็นกรรมาธิการ ซึ่งการสงวนความเห็นดังกล่าวนั้นสามารถทำได้ในฐานะกรรมาธิการ อย่างไรก็ตามเพื่อให้ได้ข้อสรุปไม่จำเป็นต้องอภิปรายมาก และกรรมาธิการเสียงข้างมากขอยืนยันมาตรา 1 ตามร่างของกรรมาธิการ และขอใช้เสียงรัฐสภาตัดสิน แต่นายสมศักดิ์ ระบุว่าคำแปรญัตติดังกล่าวถือว่าผิดกับข้อบังคับการประชุมอย่างชัดเจน เพราะมีลักษณะของการเสียดสี ไม่สามารถที่จะอภิปรายหรือพิจารณาได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากนั้นการประชุมร่วมรัฐสภา กลับมาวุ่นวายอีกครั้ง เมื่อส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอมรับในคำตัดสินดังกล่าว และพยายามทักท้วงว่าใช้ข้อบังคับข้อใดที่มาสั่งให้สมาชิกรัฐสภาหยุดพูด ด้านนพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่สมบูรณ์ขอให้ถอนกลับไปพิจารณาใหม่
ทั้งนี้บรรยากาศเริ่มตึงเครียดมากขึ้น ทำให้นายสมศักดิ์ ได้นำข้อบังคับข้อ 117 ของการประชุมร่วมรัฐสภา ระบุให้รัฐสภาลงมติในคำวินิจฉัยดังกล่าว โดยอาศัยเสียงเกินกึ่งหนึ่ง แต่ฟากส.ส.พรรรคประชาธิปัตย์ ไม่ยอมรับ โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่าการสงวนคำแปรญัตติของนายเทพไท และนายสาธิต ไม่ถือว่าขัดกับหลักการของรัฐธรรมนูญ ดังนั้นประธานรัฐสภาไม่มีสิทธิ์วินิจฉัยเกินไปกว่าข้อบังคับที่เขียนไว้ อย่างไรก็ตามอำนาจของประธานมีอย่างจำกัดในประเด็นความไม่เหมาะสมเท่านั้น อย่างไรก็ตามที่ระบุว่าใช้ข้อบังคับ 117 มาบังคับใช้ จึงถือว่าไม่มีประเด็นใดให้วินิจฉัยได้ ทำให้นายสมศักดิ์ยอมให้นายเทพไท อภิปรายด้วยความระมัดระวังอย่าใช้ถ้อยคำเสียดสี
**“รธน.ฉบับ นปช.ครองเมือง”
นายวัชระ เพรชทอง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้แปรญัตติในมาตรา 1 เกี่ยวกับชื่อของร่างรัฐธรรมนูญ โดยระบุชื่อที่แปรญัตติ คือ รัฐธรรมนูญฉบับ นปช.ครองเมืองแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่มาจากการลงประชามติของประชาชน จำนวน 14.7 ล้านเสียง) ฉบับที่... พ.ศ... ซึ่งมีเนื้อหาตรงกัน เกี่ยวกับองค์ประชุมของคณะกรรมาธิการว่า อยู่ระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการในบางช่วงเวลามีสมาชิกไม่ครบองค์ประชุม รัฐธรรมนูญที่มีการแก้ไขนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มาจากการลงประชามติของประชาชน
**สภาผ่านมาตราหนึ่ง 353ต่อ107
หลังจากเกิดความวุ่นวาย และกลับเข้ามาประชุม มีการอภิปรายของกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ที่สงวนคำแปรญัตติ แล้ว พล.อ.ธีรเดช มีเพียร รองประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ขอมติในมาตรา 1 ปรากฎว่าสมาชิกเห็นด้วย 353 ไม่เห็นด้วย 107 งด ออกเสียง 18 ไม่ลงคะแนน 3
** “สมศักดิ์”รุกรนเร่งมาตรา 2
ขณะที่ มาตรา 2 ที่ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยนายสมศักดิ์ พยายามที่เรียกรายชื่อผู้สงวนคำแปรญัตติอื่นอภิปราย ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของส.ส.ฝ่ายค้าน ที่ไม่ควรกำหนดให้ประกาศใช้ถัดวันประกาศในราชกิจจา เพราะเร่งรีบมากเกินไป ควรทิ้งเวลา 30 วัน อย่างน้อยให้เวลากับกกต.
ด้านนายคำนูญ สิทธิสมาน ส.ว. สรรหา กล่าวดว่า ขอแปรญัตติให้มีผลบังคับใช้ 30วันนับจากวันประกาศราชกิจจาเพื่อให้เวลาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความพร้อมเต็มที่ในการดำเนินการ ไม่ได้เป็นเวลาที่ยาวนานเกินไป เพราะหลังจากมีผลใช้บังคับ ยังมีการกำหนดระยะเวลาที่ดำเนินการ สูตร 15- 20- 40- 15 คือ 90วันกระบวนการต้องจบสิ้น และควรให้เวลากกต.ได้เตรียมความพร้อม
ขณะที่ นายสมศักดิ์ได้พยายามรวบรัด โดยใช้อำนาจประธานที่ประชุม สั่งห้ามสมาชิกอภิปรายในประเด็นซ้ำกับผู้อื่นจนทำให้สมาชิกจากพรรคประชาธิปัตย์ประท้วง
จากนั้นที่ประชุมได้มีการลงมติให้เห็นด้วยตามร่างของกรรมาธิการคือให้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ด้วยคะแนน 349 ต่อ 122 คะแนน งดออกเสียง 4 และไม่ลงคะแนน 1 เสียง
**ปชป.เตรียมให้วิปค้านดูข้อ กม.
ก่อนหน้านั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ได้ให้วิปฝ่ายค้านไปศึกษาในเชิงข้อกฎหมายว่าจะทำอะไรได้บ้างในช่องทางไหน เพราะเท่าที่ดูน่าจะมีความจงใจฝ่าฝืนข้อบังคับ หากทำไม่สมบูรณ์ หรือมีการประชุมโดยองค์ประชุมไม่ครบ ก็คงไม่ถูกต้อง เพราะข้อบังคับออกตามรัฐธรรมนูญ และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญระบุชัดว่า ถ้ามีการพิจารณาแล้วไม่ครบองค์ประชุมก็ถือว่าไม่สมบูรณ์ ซึ่งถ้าหากสภาไปตัดสินคนที่ได้มีการแปรญัตติ หรือสงวนทำแปรญัตติเอาไว้ เพราะมีการรวบรัดโดยกรรมาธิการ ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าวันที่ให้เข้าไปเสนอคำแปรญัตติอาจจะไม่ครบองค์ประชุม
ทั้งนี้ การรวบรัดพิจารณาถือเป็นปมปัญหาหนึ่งที่จะทำให้เกิดความขัดแย้ง โดยเฉพาะการพิจารณาบางประเด็นที่มีการเสนอไป กรรมาธิการไม่ยอมรับ เช่น ยืนยันว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ควบกระทบกับความเป็นอิสระของศาล เป็นต้น
**ปธ.อ้างส.ส.-ส.ว.ต้องไปตปท.
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา กล่าวยืนยันว่าเป็นการบรรจุวาระตามหลักการ เพราะเห็นว่าส.ส.และส.ว.หลายคนจะเดินทางไปต่างประเทศในช่วงเดือนพ.ค. ดังนั้นจึงอยากให้จบภายในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นการสนองความต้องการของสมาชิกเรา
**ปูย้ายประชุมครม.หวั่นสภาล่ม
ส่วนน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปยังอาคารรัฐสภา เพื่อร่วมประชุมร่วมรัฐสภา และเวลา 15.00 น. เป็นประธานการประชุมครม. ซึ่งได้เปลี่ยนสถานที่จากเดิมตึกสำนักงานเลขาธิการครม. ทั้งนี้มีกระแสข่าวว่า เป็นการมาร่วมประชุม โดยเกรงว่าสภาจะล่ม
**กกต.จี้ขอความชัดเจนเลือกตั้งส.ส.ร.
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า ตนเห็นว่ายังมีบทบัญญัติหลายส่วนที่ยังไม่มีความชัดเจน เช่น ในร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 291/5 วรรคสี่ ที่บัญญัติให้กกต.ออกประกาศงดเว้นว่าจะไม่นำมาตราใดของพ.ร.บ.การเลือกตั้งท้องถิ่นมาบังคับใช้ในการเลือกตั้งส.ส.ร. เห็นว่าจำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีการบัญญัติว่า ถ้าไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งส.ส.ร.จะเสียสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นหรือไม่ หรือการที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติว่าการเลือกตั้งส.ส.ร.เป็นหน้าที่ เมื่อไม่ได้ไปใช้สิทธิจึงไม่ถือว่าเป็นเหตุแห่งการเสียสิทธิใช่หรือไม่ รวมทั้งผู้ที่เสียสิทธิในการเลือกตั้งส.ส. และส.ว. รวมถึงสมาชิกสภาท้องถิ่น หากมาใช้สิทธิเลือกตั้งส.ส.ร.จะได้รับสิทธิกลับคืนมาหรือไม่
นอกจากนี้ในวรรคท้ายสุดที่บัญญัติเกี่ยวกับการวินิจฉัยชี้ขาดการเลือกตั้ง การสั่งให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ การเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งที่ให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณาพิพากษาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันยังขาดความชัดเจนว่าตกลงแล้ว หากมีการทุจริตเกิดขึ้นจะให้กกตงเป็นผู้ทำสำนวนหรือให้ผู้เสียหายไปฟ้องศาลโดยตรง รวมถึงการให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาให้แล้วเสร็จนั้นนับแต่เมื่อใด ซึ่งตนเห็นว่าควรจะนับตั้งแต่วันที่ศาลได้รับคำร้อง ดังนั้นจึงควรมีการเขียนบทบัญญัติให้รับกับกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น