วานนี้ (9 เม.ย.) นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิป) เปิดเผยว่า ในการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ในวาระ2 ในวันที่ 10 เม.ย.นี้ ทางวิปวุฒิสภาได้นัด ส.ว. ทั้งหมด หารือเวลา 09.00 น.ก่อนการประชุมร่วมรัฐสภา
เบื้องต้นจะหารือทิศทางในภาพรวมของสมาชิกวุฒิสภาต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ในความเห็นส่วนตัวมองว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 นั้นพอรับได้ แต่ยังติดใจในประเด็นจำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ซึ่งตนได้ขอแปรญัตติไว้ให้ ส.ส.ร. เป็น 200 คนและมาจากการเลือกตั้ง ต่างไปจากร่างที่คณะกรรมาธิการแก้ไข ที่ระบุให้มีส.ส.ร. 99 คน
**ส.ว.หนุนขยายวันประชุม เป็น 3 วัน
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า ตนเห็นด้วยให้ขยายเวลาการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... วาระ 2 จากเดิม 2 วัน คือวันที่ 10 -11 เม.ย. เป็น 3 วัน ตามที่ฝ่ายค้านเสนอ เนื่องจากมีสมาชิกสงวนคำแปรญัตติไว้มากถึง 172 คน ซึ่งขอเรียกร้องไปยังประธานรัฐสภา และรัฐบาลว่าอย่าได้ตัดสิทธิผู้ที่สงวนคำแปรญัตติ โดยอ้างว่าอภิปรายซ้ำ ควรเปิดโอกาสให้ผู้อภิปรายได้อภิปรายจนครบ หาก 2 วันไม่เพียงพอ ก็ควรขยายออกไปอีก 1 วัน
นายสุรชัย กล่าวต่อว่า สำหรับตนมองว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 มี 3 ประเด็นที่ควรทักท้วง ได้แก่ 1.ที่มาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ซึ่งควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เพื่อตอบโจทย์ของความโปร่งใส ว่ารัฐบาลจะไม่เลือกคนในโควต้าของตนเข้ามา รวมถึงกำหนดคุณสมบัติให้เป็นการเฉพาะ เช่น เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายต่างๆ 2.เมื่อยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ไม่ควรให้อำนาจแต่ประธานรัฐสภาในการตัดสินใจว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ขัดต่อหลักการของระบอบการปกครองหรือไม่ แต่ควรให้ที่ประชุมรัฐสภาให้ความเห็นชอบร่วมกัน ก่อนที่จะส่งให้ กกต.นำร่างรัฐธรรมนูญไปทำประชามติ และ 3.กรณีหากประชาชนลงประชามติ ไม่รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้อยุติกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งหมด
นายสุรชัย กล่าวต่อว่า ในประเด็นที่ระบุให้ใช้กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นมาใช้ในการเลือกตั้ง ส.ส.ร.นั้น ตนเป็นห่วงในเรี่องของการซื้อสิทธิ ขายเสียง รวมถึงบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับการเลือกตั้ง ส.ส.ร. เช่น การหาเสียงที่ไม่ได้ระบุถึงขอบเขตที่ชัดเจน โดยการเลือกตั้งท้องถิ่นสามารถหาเสียงโดยผูกติดกับพรรคการเมือง หรือนำเสนอนโยบายได้ แต่การเลือกตั้ง ส.ส.ร. เป็นภารกิจเฉพาะดังนั้นควรให้มีการหาเสียง แค่การแนะนำตนเองเท่านั้น
นายสุรชัย ยังเปิดเผยว่าก่อนการพิจาณาแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภา กลุ่มเพื่อนส.ส.ร. 50 จะมีการออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 เพื่อแสดงจุดยืนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีเป้าหมายที่ตอบโจทย์ทางการเมือง ที่ได้วางเกมกันไว้แล้วล่วงหน้า.
**ปชป.โวย เร่งเวลาไปหาแม้ว
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ... กล่าวถึงกรณีที่ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา นัดประชุมร่วมเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในวาระสอง ว่า กรณีประธานรัฐสภานัดประชุมร่วม เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญใน วาระสอง ตนขอตั้งข้อสังเกตว่ามีความจำเป็นเพียงใด ที่ต้องเร่งพิจารณาเพราะช่วงเวลา นี้ยังอยู่ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภา พัณณวดีความจริงแล้วการพิจารณาน่าจะเลื่อนไปเป็นวันที่ 11-12 เม.ย.ก็ได้ เพราะสมาชิกหลายคนเพิ่งได้รับเอกสารเกี่ยวกับพิจารณา ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบ
นายเทพไท กล่าวว่า การเร่งรัดที่จะพิจารณาในวันที่ 10 เม.ย.น่าจะมาจากเหตุผล 2 ข้อคือ ประธานได้ประเมินการอภิปรายว่าจะใช้เวลาในพิจารณานานพอสมควรจึงต้องเผื่อเวลาไว้เป็นวันสำรองเพื่อให้กระบวนการพิจารณา สำเร็จเพื่อจะได้เว้นไป 15 วัน และจะได้ลงมติวาระสาม ก่อนสิ้นเดือนเม.ย. ทั้งนี้ หากการพิจารณาเป็นไปตามที่ต้องการคือแล้วเสร็จสิ้นในวันที่ 12 เม.ย.อาจทำให้สมาชิกพรรคเพื่อไทยที่ต้องการเดินทางไปประเทศลาวและกัมพูชาเพื่อรดน้ำดำหัวพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเป็นเจ้าของพรรคเพื่อไทยตัวจริง
อย่างไรก็ตาม ตนขอเรียกร้องให้ประธานรัฐสภาเปิดโอกาสให้สมาชิกอภิปรายร่างแก้ไขรัฐ ธรรมนูญอย่างเต็มที่หากฝ่ายรัฐบาลอยากเร่งเวลาก็ให้ไปลดเวลาการอภิปรายของ ฝ่ายรัฐบาล ขอย้ำว่ารัฐธรรมนูญเป็น กฎหมายสำคัญที่สูงสุดของประเทศไม่ควรเร่งรัดเพื่อเอาใจนายใหญ่ หากพิจารณาในวาระสองไม่เสร็จในกำหนดก็ให้พิจารณาหลังเทศกาลสงกรานต์ หากพิจารณาวาระสามไม่ทันก็ให้ไปลงมติกันในสมัยประชุมหน้า
**ปชป. เล็งยื่นตีความรธน.ขัดกม.
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกมธ.พิจารณาร่างรธน.ฉบับฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กล่าวถึงการพิจารณาร่างรธน.ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ในวาระที่2 ระหว่างการประชุมร่วมของรัฐสภา วันที่ 10-11 เม.ย.นี้ว่า จะพิจารณาเรียงมาตรา ที่น่าจะอภิปรายกันมากที่สุด คือมาตรา 291/1 เรื่องที่มาและจำนวนส.ส.ร. มาตรา 291/2 เรื่องคุณสมบัติของส.ส.ร.และมาตรา 291/14 เรื่องที่ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแทนนายกฯ ยอมรับว่าคงเป็นไปไม่ได้ที่ที่ประชุมร่วมของรัฐสภา จะไม่เอาตามร่างที่กมธ.เสนอ เพราะขนาดโหวตกันในกมธ.ไม่เอาตามร่างของครม. ปรากฎว่าวันถัดมาพรรคเพื่อไทยยังลากส.ว.มาโหวตกลับมติเดิม
นายสาธิต กล่าวต่อว่า ในวันที่ 10 เม.ย.นี้ ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ จะพิจารณาว่าร่างรธน.ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมมีมาตราใดที่อาจขัดรธน.หรือไม่ เบื้องต้นมีมาตรา 291/14 ซึ่งส.ว.หลายคนติดใจ เพราะตามปกติประธานรัฐสภาจะรับสนองเฉพาะกรณีแต่งตั้งนายกฯเท่านั้น ส่วนการบริหารราชการอื่นๆ รวมถึงการออกกฎหมาย ให้นายกฯเป็นผู้รับสนอง รวมถึง 3 ประเด็น คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินติติงไว้
ทั้งนี้หากจะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ก็สามารถยื่นได้ทันทีหลังจากที่ประชุมร่วมของรัฐสภาพิจารณาในวาระที่ 2 เสร็จสิ้นแล้ว ไม่จำเป็นต้องรอให้พิจารณาในวาระที่ 3 เสร็จสิ้น เบื้องต้นเข้าใจว่ามีคนยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญไว้แล้
**แฉ ส.ส.ไม่ได้เอกสาร เล็งขอเลื่อน
นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะวิปฝ่ายค้าน ตั้งข้อสังเกตกรณีที่กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เร่งรัดเสนอร่างเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเร็วผิดปกติ เนื่องจากในการประชุมนัดสุดท้ายกรรมาธิการเสียงข้างน้อยมีการเสนอขอแปรญัตติทุกมาตรา ทำให้การประบุมเสร็จสิ้นในเวลา 22.00 น. ขณะที่วันรุ่งขึ้น (วันศุกร์ที่ 6 เมษายน 2555) เป็นวันหยุดราชการ และยังลากยาวมาถึงวันจันทร์จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการนำไปบรรจุไว้ในระเบียบวาระ จึงน่าจะมีความเร่งรีบที่จะรับบรรจุเป็นวาระในวันหยุดคือวันเสาร์เพื่อให้มีเวลา 3 วันตามระเบียบให้เข้าสู่การพิจารณาในวันอังคารพอดี
ดังนั้นก่อนที่จะมีการประชุมสภา ตนจะเสนอต่อที่ประชุมวิปฝ่ายค้านให้นำเรื่องนี้มาพิจารณาเพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับการรับหนังสือว่าทำก้นในช่วงวันเวลาใด และขอให้หารือกับที่ประชุมรัฐสภาเลื่อนการพิจารณาวาระนี้ออกไปเป็นสัปดาห์หน้าแทน เนื่องจากได้สอบถามจากส.ส.หลายคนต่างก็ยอมรับว่ายังไม่ได้รับเอกสารที่ส่งมาทางไปรษณีย์ เพราะเป็นช่วงวันหยุดยาวซึ่งไปรษณีย์ไม่ได้ทำงาน แต่ในวันพรุ่งนี้จะมีการประชุมโดยที่ส.ส.จำวนมากยังไม่เห็นร่างดังกล่าว ทั้ง ๆ ที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นวาระสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบจึงควรให้สมาชิกได้อ่านรายละเอียดก่อนที่จะมีการลงมติ
" เป็นไปไม่ได้ที่สมาชิกจะพิจารณาโดยไม่เห็นรายละเอียดในเอกสาร ทำไมจึงต้องเร่งรีบทุกวินาทีทั้ง ๆ ที่ยังมีเวลาพอที่จะรอได้ ผมคิดว่าเรื่องนี้ประธานสภาต้องตอบคำถามให้ได้ว่าทำไมต้องทำถึงขนาดนี้และหบังากจบงานนี้แล้วคงได้รับตำแหน่งรัฐมตรีตอบแทนแน่นอน เพราะเห็นไดั่ดเจนว่าทำเพื่อใคร" นายบุญยอดกล่าว
**เพื่อไทยถกรับมือประชุมร่วมรัฐสภา
ที่พรรคเพื่อไทย พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เป็นประธานประชุม ส.ส.ของพรรค เพื่อเตรียมความพร้อมในการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 2 ในระหว่างวันที่ 10-11 เม.ย.นี้ โดย ส.ส.ของพรรคเข้าร่วมประชุมบางตา เนื่องจากเป็นวันหยุดราชการ อาทิ นายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม เป็นต้น ทั้งนี้ในที่ประชุม นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี ในฐานะประธานวิปรัฐบาล ได้รายงานผลการประชุมวิปรัฐบาลให้ได้รับทราบว่าจะพยายามให้การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 2 แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด หรือไม่เกินภายในวันที่ 12 เม.ย. โดยขอให้ ส.ส.อภิปรายอยู่ในประเด็นที่กำหนดไว้เท่านั้น
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ที่ประชุมพรรคเพื่อไทยได้ย้ำให้ส.ส.ทุกคนเข้าร่วมการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวาระ 2 อย่างพร้อมเพรียงกัน เนื่องจากเป็นการประชุมเรื่องสำคัญคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ หากอยู่กันไม่ครบองค์ประชุม ภาพลักษณ์จะเสียหายได้ เบื้องต้นกำหนดให้แปรญัตติ 2 วันคือ วันที่ 10-11 เม.ย. โดยจะเปิดโอกาสให้แปรญัตติกันอย่างเต็มที่ไปก่อน หากเวลาไม่พอใจจริงๆ ก็จะเสนอให้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ขยายเวลาเพิ่มในวันที่ 12 เม.ย
**พท.ซัดปชป.หวังทำลายชื่อรบ.
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงถึงผลการประชุม ส.ส.พรรคเพื่อไทย ว่า พรรคเพื่อไทยได้กำหนดท่าทีและทำความเข้าใจกับสมาชิกเพื่อเตรียมการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ.... วาระที่ 2 ในการประชุมร่วมรัฐสภา วันที่ 10 เม.ย.โดยได้ย้ำกับสมาชิกว่าเรื่ององค์ประชุมเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการประชุม 2 วันคือ 10-11 เม.ย.โดยมีผู้ขอแปรญัตติไว้ถึง 172 ท่าน ก็ได้มีการขอร้องสมาชิกพรรคและ ส.ส.รัฐบาลให้อภิปรายโดยใช้เวลาน้อยที่สุด และใช้เหตุใช้ผลในการอภิปราย เพื่อไม่ให้เกิดการประท้วงและเกิดการตีรวนจากฝ่ายค้าน
นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า สำหรับกรณีที่สมาชิกพรรรประชาธิปัตย์ (ปชป.) ระบุว่ารัฐบาลมัดมือชกในการกำหนดวันประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น พรรคยืนยันว่าการกำหนดวันประชุมรัฐสภานั้นเป็นอำนาจของประธานรัฐสภา หากจะขยายเวลาการประชุมรัฐสภานั้นก็เป็นสิ่งที่ประธานรัฐสภาจะวินิจฉัย ไม่ควรมาทำลายชื่อเสียงรัฐบาลและน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ด้วยการกล่าวหาอย่างไร้เหตุผล
เบื้องต้นจะหารือทิศทางในภาพรวมของสมาชิกวุฒิสภาต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ในความเห็นส่วนตัวมองว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 นั้นพอรับได้ แต่ยังติดใจในประเด็นจำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ซึ่งตนได้ขอแปรญัตติไว้ให้ ส.ส.ร. เป็น 200 คนและมาจากการเลือกตั้ง ต่างไปจากร่างที่คณะกรรมาธิการแก้ไข ที่ระบุให้มีส.ส.ร. 99 คน
**ส.ว.หนุนขยายวันประชุม เป็น 3 วัน
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า ตนเห็นด้วยให้ขยายเวลาการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... วาระ 2 จากเดิม 2 วัน คือวันที่ 10 -11 เม.ย. เป็น 3 วัน ตามที่ฝ่ายค้านเสนอ เนื่องจากมีสมาชิกสงวนคำแปรญัตติไว้มากถึง 172 คน ซึ่งขอเรียกร้องไปยังประธานรัฐสภา และรัฐบาลว่าอย่าได้ตัดสิทธิผู้ที่สงวนคำแปรญัตติ โดยอ้างว่าอภิปรายซ้ำ ควรเปิดโอกาสให้ผู้อภิปรายได้อภิปรายจนครบ หาก 2 วันไม่เพียงพอ ก็ควรขยายออกไปอีก 1 วัน
นายสุรชัย กล่าวต่อว่า สำหรับตนมองว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 มี 3 ประเด็นที่ควรทักท้วง ได้แก่ 1.ที่มาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ซึ่งควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เพื่อตอบโจทย์ของความโปร่งใส ว่ารัฐบาลจะไม่เลือกคนในโควต้าของตนเข้ามา รวมถึงกำหนดคุณสมบัติให้เป็นการเฉพาะ เช่น เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายต่างๆ 2.เมื่อยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ไม่ควรให้อำนาจแต่ประธานรัฐสภาในการตัดสินใจว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ขัดต่อหลักการของระบอบการปกครองหรือไม่ แต่ควรให้ที่ประชุมรัฐสภาให้ความเห็นชอบร่วมกัน ก่อนที่จะส่งให้ กกต.นำร่างรัฐธรรมนูญไปทำประชามติ และ 3.กรณีหากประชาชนลงประชามติ ไม่รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้อยุติกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งหมด
นายสุรชัย กล่าวต่อว่า ในประเด็นที่ระบุให้ใช้กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นมาใช้ในการเลือกตั้ง ส.ส.ร.นั้น ตนเป็นห่วงในเรี่องของการซื้อสิทธิ ขายเสียง รวมถึงบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับการเลือกตั้ง ส.ส.ร. เช่น การหาเสียงที่ไม่ได้ระบุถึงขอบเขตที่ชัดเจน โดยการเลือกตั้งท้องถิ่นสามารถหาเสียงโดยผูกติดกับพรรคการเมือง หรือนำเสนอนโยบายได้ แต่การเลือกตั้ง ส.ส.ร. เป็นภารกิจเฉพาะดังนั้นควรให้มีการหาเสียง แค่การแนะนำตนเองเท่านั้น
นายสุรชัย ยังเปิดเผยว่าก่อนการพิจาณาแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภา กลุ่มเพื่อนส.ส.ร. 50 จะมีการออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 เพื่อแสดงจุดยืนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีเป้าหมายที่ตอบโจทย์ทางการเมือง ที่ได้วางเกมกันไว้แล้วล่วงหน้า.
**ปชป.โวย เร่งเวลาไปหาแม้ว
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ... กล่าวถึงกรณีที่ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา นัดประชุมร่วมเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในวาระสอง ว่า กรณีประธานรัฐสภานัดประชุมร่วม เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญใน วาระสอง ตนขอตั้งข้อสังเกตว่ามีความจำเป็นเพียงใด ที่ต้องเร่งพิจารณาเพราะช่วงเวลา นี้ยังอยู่ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภา พัณณวดีความจริงแล้วการพิจารณาน่าจะเลื่อนไปเป็นวันที่ 11-12 เม.ย.ก็ได้ เพราะสมาชิกหลายคนเพิ่งได้รับเอกสารเกี่ยวกับพิจารณา ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบ
นายเทพไท กล่าวว่า การเร่งรัดที่จะพิจารณาในวันที่ 10 เม.ย.น่าจะมาจากเหตุผล 2 ข้อคือ ประธานได้ประเมินการอภิปรายว่าจะใช้เวลาในพิจารณานานพอสมควรจึงต้องเผื่อเวลาไว้เป็นวันสำรองเพื่อให้กระบวนการพิจารณา สำเร็จเพื่อจะได้เว้นไป 15 วัน และจะได้ลงมติวาระสาม ก่อนสิ้นเดือนเม.ย. ทั้งนี้ หากการพิจารณาเป็นไปตามที่ต้องการคือแล้วเสร็จสิ้นในวันที่ 12 เม.ย.อาจทำให้สมาชิกพรรคเพื่อไทยที่ต้องการเดินทางไปประเทศลาวและกัมพูชาเพื่อรดน้ำดำหัวพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเป็นเจ้าของพรรคเพื่อไทยตัวจริง
อย่างไรก็ตาม ตนขอเรียกร้องให้ประธานรัฐสภาเปิดโอกาสให้สมาชิกอภิปรายร่างแก้ไขรัฐ ธรรมนูญอย่างเต็มที่หากฝ่ายรัฐบาลอยากเร่งเวลาก็ให้ไปลดเวลาการอภิปรายของ ฝ่ายรัฐบาล ขอย้ำว่ารัฐธรรมนูญเป็น กฎหมายสำคัญที่สูงสุดของประเทศไม่ควรเร่งรัดเพื่อเอาใจนายใหญ่ หากพิจารณาในวาระสองไม่เสร็จในกำหนดก็ให้พิจารณาหลังเทศกาลสงกรานต์ หากพิจารณาวาระสามไม่ทันก็ให้ไปลงมติกันในสมัยประชุมหน้า
**ปชป. เล็งยื่นตีความรธน.ขัดกม.
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกมธ.พิจารณาร่างรธน.ฉบับฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กล่าวถึงการพิจารณาร่างรธน.ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ในวาระที่2 ระหว่างการประชุมร่วมของรัฐสภา วันที่ 10-11 เม.ย.นี้ว่า จะพิจารณาเรียงมาตรา ที่น่าจะอภิปรายกันมากที่สุด คือมาตรา 291/1 เรื่องที่มาและจำนวนส.ส.ร. มาตรา 291/2 เรื่องคุณสมบัติของส.ส.ร.และมาตรา 291/14 เรื่องที่ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแทนนายกฯ ยอมรับว่าคงเป็นไปไม่ได้ที่ที่ประชุมร่วมของรัฐสภา จะไม่เอาตามร่างที่กมธ.เสนอ เพราะขนาดโหวตกันในกมธ.ไม่เอาตามร่างของครม. ปรากฎว่าวันถัดมาพรรคเพื่อไทยยังลากส.ว.มาโหวตกลับมติเดิม
นายสาธิต กล่าวต่อว่า ในวันที่ 10 เม.ย.นี้ ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ จะพิจารณาว่าร่างรธน.ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมมีมาตราใดที่อาจขัดรธน.หรือไม่ เบื้องต้นมีมาตรา 291/14 ซึ่งส.ว.หลายคนติดใจ เพราะตามปกติประธานรัฐสภาจะรับสนองเฉพาะกรณีแต่งตั้งนายกฯเท่านั้น ส่วนการบริหารราชการอื่นๆ รวมถึงการออกกฎหมาย ให้นายกฯเป็นผู้รับสนอง รวมถึง 3 ประเด็น คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินติติงไว้
ทั้งนี้หากจะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ก็สามารถยื่นได้ทันทีหลังจากที่ประชุมร่วมของรัฐสภาพิจารณาในวาระที่ 2 เสร็จสิ้นแล้ว ไม่จำเป็นต้องรอให้พิจารณาในวาระที่ 3 เสร็จสิ้น เบื้องต้นเข้าใจว่ามีคนยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญไว้แล้
**แฉ ส.ส.ไม่ได้เอกสาร เล็งขอเลื่อน
นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะวิปฝ่ายค้าน ตั้งข้อสังเกตกรณีที่กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เร่งรัดเสนอร่างเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเร็วผิดปกติ เนื่องจากในการประชุมนัดสุดท้ายกรรมาธิการเสียงข้างน้อยมีการเสนอขอแปรญัตติทุกมาตรา ทำให้การประบุมเสร็จสิ้นในเวลา 22.00 น. ขณะที่วันรุ่งขึ้น (วันศุกร์ที่ 6 เมษายน 2555) เป็นวันหยุดราชการ และยังลากยาวมาถึงวันจันทร์จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการนำไปบรรจุไว้ในระเบียบวาระ จึงน่าจะมีความเร่งรีบที่จะรับบรรจุเป็นวาระในวันหยุดคือวันเสาร์เพื่อให้มีเวลา 3 วันตามระเบียบให้เข้าสู่การพิจารณาในวันอังคารพอดี
ดังนั้นก่อนที่จะมีการประชุมสภา ตนจะเสนอต่อที่ประชุมวิปฝ่ายค้านให้นำเรื่องนี้มาพิจารณาเพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับการรับหนังสือว่าทำก้นในช่วงวันเวลาใด และขอให้หารือกับที่ประชุมรัฐสภาเลื่อนการพิจารณาวาระนี้ออกไปเป็นสัปดาห์หน้าแทน เนื่องจากได้สอบถามจากส.ส.หลายคนต่างก็ยอมรับว่ายังไม่ได้รับเอกสารที่ส่งมาทางไปรษณีย์ เพราะเป็นช่วงวันหยุดยาวซึ่งไปรษณีย์ไม่ได้ทำงาน แต่ในวันพรุ่งนี้จะมีการประชุมโดยที่ส.ส.จำวนมากยังไม่เห็นร่างดังกล่าว ทั้ง ๆ ที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นวาระสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบจึงควรให้สมาชิกได้อ่านรายละเอียดก่อนที่จะมีการลงมติ
" เป็นไปไม่ได้ที่สมาชิกจะพิจารณาโดยไม่เห็นรายละเอียดในเอกสาร ทำไมจึงต้องเร่งรีบทุกวินาทีทั้ง ๆ ที่ยังมีเวลาพอที่จะรอได้ ผมคิดว่าเรื่องนี้ประธานสภาต้องตอบคำถามให้ได้ว่าทำไมต้องทำถึงขนาดนี้และหบังากจบงานนี้แล้วคงได้รับตำแหน่งรัฐมตรีตอบแทนแน่นอน เพราะเห็นไดั่ดเจนว่าทำเพื่อใคร" นายบุญยอดกล่าว
**เพื่อไทยถกรับมือประชุมร่วมรัฐสภา
ที่พรรคเพื่อไทย พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เป็นประธานประชุม ส.ส.ของพรรค เพื่อเตรียมความพร้อมในการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 2 ในระหว่างวันที่ 10-11 เม.ย.นี้ โดย ส.ส.ของพรรคเข้าร่วมประชุมบางตา เนื่องจากเป็นวันหยุดราชการ อาทิ นายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม เป็นต้น ทั้งนี้ในที่ประชุม นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี ในฐานะประธานวิปรัฐบาล ได้รายงานผลการประชุมวิปรัฐบาลให้ได้รับทราบว่าจะพยายามให้การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 2 แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด หรือไม่เกินภายในวันที่ 12 เม.ย. โดยขอให้ ส.ส.อภิปรายอยู่ในประเด็นที่กำหนดไว้เท่านั้น
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ที่ประชุมพรรคเพื่อไทยได้ย้ำให้ส.ส.ทุกคนเข้าร่วมการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวาระ 2 อย่างพร้อมเพรียงกัน เนื่องจากเป็นการประชุมเรื่องสำคัญคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ หากอยู่กันไม่ครบองค์ประชุม ภาพลักษณ์จะเสียหายได้ เบื้องต้นกำหนดให้แปรญัตติ 2 วันคือ วันที่ 10-11 เม.ย. โดยจะเปิดโอกาสให้แปรญัตติกันอย่างเต็มที่ไปก่อน หากเวลาไม่พอใจจริงๆ ก็จะเสนอให้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ขยายเวลาเพิ่มในวันที่ 12 เม.ย
**พท.ซัดปชป.หวังทำลายชื่อรบ.
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงถึงผลการประชุม ส.ส.พรรคเพื่อไทย ว่า พรรคเพื่อไทยได้กำหนดท่าทีและทำความเข้าใจกับสมาชิกเพื่อเตรียมการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ.... วาระที่ 2 ในการประชุมร่วมรัฐสภา วันที่ 10 เม.ย.โดยได้ย้ำกับสมาชิกว่าเรื่ององค์ประชุมเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการประชุม 2 วันคือ 10-11 เม.ย.โดยมีผู้ขอแปรญัตติไว้ถึง 172 ท่าน ก็ได้มีการขอร้องสมาชิกพรรคและ ส.ส.รัฐบาลให้อภิปรายโดยใช้เวลาน้อยที่สุด และใช้เหตุใช้ผลในการอภิปราย เพื่อไม่ให้เกิดการประท้วงและเกิดการตีรวนจากฝ่ายค้าน
นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า สำหรับกรณีที่สมาชิกพรรรประชาธิปัตย์ (ปชป.) ระบุว่ารัฐบาลมัดมือชกในการกำหนดวันประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น พรรคยืนยันว่าการกำหนดวันประชุมรัฐสภานั้นเป็นอำนาจของประธานรัฐสภา หากจะขยายเวลาการประชุมรัฐสภานั้นก็เป็นสิ่งที่ประธานรัฐสภาจะวินิจฉัย ไม่ควรมาทำลายชื่อเสียงรัฐบาลและน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ด้วยการกล่าวหาอย่างไร้เหตุผล