“โต้ง” หนุนรัฐวิสาหกิจและเอกชนไทยลงทุนต่างประเทศเล็งเพิ่มสิทธิพิเศษด้านการลงทุนให้อีก ห่วงสภาพคล่องส่วนเกินในระบบที่มีมากเกินหวั่นเกิดปัญหาการจัดการของธปท.และขาดทุนไม่สิ้นสุดในอนาคต
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลมีแนวคิดที่จะส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจไทยที่มีศักยภาพ รวมทั้งภาคเอกชนของไทยออกไปลงทุนยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาวกลับเข้าสู่ประเทศ โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ส่วนธุรกิจที่ต้องใช้ฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพให้คงไว้ในประเทศต่อไป ทั้งนี้กระทรวงการคลังจะทบทวนการให้สิทธิพิเศษด้านภาษีนำเข้าสินค้าทุน เครื่องจักรต่างๆ ที่จะเพิ่มศักยภาพการผลิตให้มีคุณภาพสูงขึ้น ที่นอกเหนือจากในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ด้วย
ทั้งนี้เพราะปัจจุบันไทยได้พัฒนาระบบเศรษฐกิจไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว และเป็นเรื่องการบริหารจัดการภาวะเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันของไทยด้วย เนื่องจากช่วง 4-5 ปีมานี้ ไทยได้เปรียบดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงินมาโดยตลอด นับเป็นข่าวดีมาก หลังจากที่สามารถแก้ปัญหาวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 40 มาได้ แต่ปัจจุบันนี้ สภาพคล่องที่มีมากขึ้น โดยไม่ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อาจทำให้ระบบเศรษฐกิจมีปัญหาได้
“ผมเป็นห่วงเรื่องสภาพคล่องส่วนเกินในระบบ ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการเกินดุลการค้า เกินดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลการชำระเงิน แต่เราไม่ได้ทบทวนว่าจะทำอย่างไรกับสภาพคล่องที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ นี้ ทั้งที่จริงแล้วควรนำไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของประเทศทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชนตั้งแต่ 5 ปีที่ผ่านมาแล้ว แต่ถึงปัจจุบันนี้ยังไม่ได้ก่อสร้างใดๆ ทำให้สภาพคล่องที่มีมากจนเป็นส่วนเกิน และไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ใดๆ วางกองอยู่ในธนาคารเฉยๆ จนกลายเป็นการทำร้ายระบบ ด้วยการที่ธนาคารต้องให้ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ คิดดอกเบี้ยเงินกู้สูง และอาจกดดันให้ต้องผลักดันสภาพคล่องเหล่านั้นออกไปเป็นสินเชื่อคุณภาพต่ำ รวมทั้งส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ต้องมีความเสี่ยงจากการดูดซับสภาพคล่องเหล่านั้น ซึ่งล้วนมีต้นทุน ขณะเดียวกันธปท.ก็ขาดทุนไปเรื่อยๆ ”
การมีสภาพคล่องส่วนเกินมาก ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นเรื่อยๆและทุกครั้งที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น ย่อมส่งผลให้สินทรัพย์สกุลเงินต่างประเทศที่ธปท.ถืออยู่นั้นขาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย แม้หลายคนจะมองว่าเป็นการขาดทุนทางบัญชีแต่ในความจริงแล้วมันก็เป็นการขาดทุนจริงๆ ด้วย ทั้งนี้เงินบาทจะอ่อนหรือจะแข็ง ไม่ได้อยู่ที่ธปท. แต่อยู่ที่ความต้องการในการนำเข้าส่งออก การรับเงิน ส่งเงินลงทุนว่าจะบริหารจัดการอย่างไร
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า จากนี้ไปการจะให้ประเทศไทยขาดดุลบ้าง ก็ไม่น่ามีปัญหา และไม่ได้น่ากลัวแต่ประการใด เพื่อลดสภาพคล่องลง รวมถึงส่งเสริมให้คนไทยออกไปลงทุนประเทศเพื่อนบ้าน แล้วนำผลตอบแทนกลับเข้าประเทศในระยะยาว เพื่อปรับสมดุลในระบบเศรษฐกิจให้ดีขึ้น อย่าไปมองว่าการไปลงทุนต่างประเทศแล้วเราจะเสียประโยชน์
“เราต้องเปลี่ยนทัศนคติใหม่ เปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ให้ทันและเหมาะสมกับสถานการณ์ของเราด้วย เน้นให้เศรษฐกิจเติบโตจากการบริโภคภายในประเทศ ไม่ใช่แค่จากการส่งออกเท่านั้น จากนี้ไป ถ้าเราเกินดุลเพราะนักลงทุนต่างชาติซื้อตราสารทางการเงินมากขึ้น อาจไม่ใช่ข่าวดีอีกต่อไป เพราะมันทำให้สภาพคล่องมันเกินเพิ่มขึ้นไปอีก และจะเป็นภาระกับทุกคนมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ผมต้องการคือ การสร้างเสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ออกไป มากกว่าการจะเน้นการเติบโตทางตัวเลขเท่านั้น”
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลมีแนวคิดที่จะส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจไทยที่มีศักยภาพ รวมทั้งภาคเอกชนของไทยออกไปลงทุนยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาวกลับเข้าสู่ประเทศ โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ส่วนธุรกิจที่ต้องใช้ฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพให้คงไว้ในประเทศต่อไป ทั้งนี้กระทรวงการคลังจะทบทวนการให้สิทธิพิเศษด้านภาษีนำเข้าสินค้าทุน เครื่องจักรต่างๆ ที่จะเพิ่มศักยภาพการผลิตให้มีคุณภาพสูงขึ้น ที่นอกเหนือจากในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ด้วย
ทั้งนี้เพราะปัจจุบันไทยได้พัฒนาระบบเศรษฐกิจไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว และเป็นเรื่องการบริหารจัดการภาวะเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันของไทยด้วย เนื่องจากช่วง 4-5 ปีมานี้ ไทยได้เปรียบดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงินมาโดยตลอด นับเป็นข่าวดีมาก หลังจากที่สามารถแก้ปัญหาวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 40 มาได้ แต่ปัจจุบันนี้ สภาพคล่องที่มีมากขึ้น โดยไม่ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อาจทำให้ระบบเศรษฐกิจมีปัญหาได้
“ผมเป็นห่วงเรื่องสภาพคล่องส่วนเกินในระบบ ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการเกินดุลการค้า เกินดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลการชำระเงิน แต่เราไม่ได้ทบทวนว่าจะทำอย่างไรกับสภาพคล่องที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ นี้ ทั้งที่จริงแล้วควรนำไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของประเทศทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชนตั้งแต่ 5 ปีที่ผ่านมาแล้ว แต่ถึงปัจจุบันนี้ยังไม่ได้ก่อสร้างใดๆ ทำให้สภาพคล่องที่มีมากจนเป็นส่วนเกิน และไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ใดๆ วางกองอยู่ในธนาคารเฉยๆ จนกลายเป็นการทำร้ายระบบ ด้วยการที่ธนาคารต้องให้ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ คิดดอกเบี้ยเงินกู้สูง และอาจกดดันให้ต้องผลักดันสภาพคล่องเหล่านั้นออกไปเป็นสินเชื่อคุณภาพต่ำ รวมทั้งส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ต้องมีความเสี่ยงจากการดูดซับสภาพคล่องเหล่านั้น ซึ่งล้วนมีต้นทุน ขณะเดียวกันธปท.ก็ขาดทุนไปเรื่อยๆ ”
การมีสภาพคล่องส่วนเกินมาก ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นเรื่อยๆและทุกครั้งที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น ย่อมส่งผลให้สินทรัพย์สกุลเงินต่างประเทศที่ธปท.ถืออยู่นั้นขาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย แม้หลายคนจะมองว่าเป็นการขาดทุนทางบัญชีแต่ในความจริงแล้วมันก็เป็นการขาดทุนจริงๆ ด้วย ทั้งนี้เงินบาทจะอ่อนหรือจะแข็ง ไม่ได้อยู่ที่ธปท. แต่อยู่ที่ความต้องการในการนำเข้าส่งออก การรับเงิน ส่งเงินลงทุนว่าจะบริหารจัดการอย่างไร
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า จากนี้ไปการจะให้ประเทศไทยขาดดุลบ้าง ก็ไม่น่ามีปัญหา และไม่ได้น่ากลัวแต่ประการใด เพื่อลดสภาพคล่องลง รวมถึงส่งเสริมให้คนไทยออกไปลงทุนประเทศเพื่อนบ้าน แล้วนำผลตอบแทนกลับเข้าประเทศในระยะยาว เพื่อปรับสมดุลในระบบเศรษฐกิจให้ดีขึ้น อย่าไปมองว่าการไปลงทุนต่างประเทศแล้วเราจะเสียประโยชน์
“เราต้องเปลี่ยนทัศนคติใหม่ เปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ให้ทันและเหมาะสมกับสถานการณ์ของเราด้วย เน้นให้เศรษฐกิจเติบโตจากการบริโภคภายในประเทศ ไม่ใช่แค่จากการส่งออกเท่านั้น จากนี้ไป ถ้าเราเกินดุลเพราะนักลงทุนต่างชาติซื้อตราสารทางการเงินมากขึ้น อาจไม่ใช่ข่าวดีอีกต่อไป เพราะมันทำให้สภาพคล่องมันเกินเพิ่มขึ้นไปอีก และจะเป็นภาระกับทุกคนมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ผมต้องการคือ การสร้างเสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ออกไป มากกว่าการจะเน้นการเติบโตทางตัวเลขเท่านั้น”