xs
xsm
sm
md
lg

แบงก์รัฐไม่รอดเก็บค่าต๋ง0.47% "โต้ง" จ่อเพิ่มวงเงินคุ้มครอง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน – เอกชนเฮ! แบงก์รัฐอ่วม เคาะค่าต๋งใหม่ 0.47% ทุกแบงก์ หักเข้าสถาบันคุ้มครองเงินฝาก 0.01% “กิตติรัตน์” อ้างนำเข้ากองทุนพัฒนาประเทศ สั่งคลังปรับเพิ่มวงเงิน ที่จะได้รับการคุ้มครองจากขั้นต่ำ 1 ล้านบาท หวังแก้ความลักลั่นระหว่างแบงก์รัฐกับเอกชน ด้านแบงก์รัฐรับไม่ใช่เรื่องใหญ่พร้อมจ่ายสมทบตามที่คลังกำหนด “กรณ์” อัดรัฐบาลทำทุกอย่างเพื่อหาเงินไม่สนใจทำเพื่อประชาชน

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้หารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)และสมาคมธนาคารไทยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินพ.ศ.2555 ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แต่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตระหนักดีว่า ต้องเร่งหารือให้มีความชัดเจนในประเด็นที่เกี่ยวข้อง โดยเบื้องต้นทุกฝ่ายเห็นตรงกันที่จะให้เก็บเงินสมทบ 0.47% จากฐานเงินฝากที่รับการคุ้มครองของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นฐานเดียวกันกับที่นำส่งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก(สคฝ.) จากเดิมที่จัดเก็บในอัตรา 0.4% โดยที่ 0.01% ให้นำส่งเข้าสคฝ.และอีก 0.46% ให้นำส่งธปท.
โดยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินของรัฐที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า มีการลักลั่นกันธนาคารเอกชน จากการไม่นำส่งเงินสมทบด้วย ซึ่งได้ย้ำมาหลายครั้งว่า ทราบในประเด็นดังกล่าวดีและย้ำว่าไม่มีความจำเป็นต้องดึงเข้ามาเกี่ยวข้องกับการแก้ไขหนี้ 1.14 ล้านล้านบาทที่เกิดขึ้นในอดีต แต่เพื่อให้แก้ไขความลักลั่นดังกล่าว จึงเห็นควรให้กระทรวงการคลังเรียกเก็บเงินจากธนาคารของรัฐในอัตราเดียวกันด้วยที่ 0.47% เพื่อนำเข้ากองทุนพัฒนาประเทศชาติ ซึ่งจะจัดตั้งมาใหม่ และจะมีผลดีในแง่ธนาคารรัฐมีภารกิจของการพัฒนาประเทศในหมวดอื่นๆ ด้วย โดยให้เริ่มมีผลบังคับพร้อมกันในงวดครึ่งแรกของปี 2555 คือนำส่งเงินวันที่ 31 กรกฎาคม 2555
นายกิตติรัตน์กล่าวว่า ธนาคารของรัฐของได้รับการคุ้มครองเงินฝากไว้ 100% อยู่แล้วอย่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ธนาคารออมสินเอง ก็จะมีกำหนดการดุแลคุ้มครองเงินฝากไว้ชัดเจน เชื่อว่าจะไม่มีการปรับลดการคุ้มครองเงินฝากลง ขณะที่ธนาคารรัฐเองยังมีภารกิจหลายเรื่องที่ต้องเข้าไปดำเนินการดูแลจากการที่ธนาคารพาณิชย์ไม่เข้าไป เช่น สินเชื่อเกษตรกรรายย่อย การดูแลให้ราคาสินค้าเกษตรมีเสถียรภาพและการให้สินเชื่อผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) การจัดเก็บเงินจึงจะแตกต่างกัน ด้วยการให้นำเข้ากองทุนพัฒนาประเทศ เพื่อดูแลและประคับประคองให้เศรษฐกิจเข้มแข็ง
“แนวทางดังกล่าว เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาความลักลั่นเท่านั้น ไมได้ต้องการดึงให้ธนาคารรัฐต้องเข้ามาร่วมในการแก้ไขปัญหาหนี้ที่เกิดขึ้นในอดีต ขณะที่เงินฝากเองก็ได้รับการคุ้มครองเต็ม 100% อยู่แล้ว ขณะเดียวกันยังมีแนวทางแก้ไขความลักลั่นเพิ่มเติม คือให้กระทรวงการคลังไปทบทวนการคุ้มครองเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ให้สูงขึ้นจากเดิมที่จะรับประกันบัญชีละไม่เกิน 1 ล้านบาทนั้นน้อยเกินไป ดังนั้นรัฐบาลยังมีภารกิจที่จะต้องไปดำเนินเกี่ยวข้องกับกำหมาย 2 ฉบับคือ แก้ไขพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก เกี่ยวกับอัตราการคุ้มครองและกำหมายจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาประเทศชาติอีก”นายกิตติรัตน์กล่าว
นายกิตติรัตน์กล่าวว่า แนวทางดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลไม่ต้องตั้งงบประมาณเพื่อการชำระดอกเบี้ยหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในงบประมาณปี 2556 ซึ่งสำคัญในแง่ความคืบหน้าในการพัฒนาประเทศชาติ เพราะยังมีรพราชกำหนดที่เกี่ยวข้องอีก 2-3 ฉบับที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวข้องกับอุทกภัยที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนสูง เพื่อสนับสนุนการป้องกันอุทกภัย เมื่อรวมกับงบประมาณปี 2555 ที่ขาดดุล 4 แสนล้านบาท รวมถึงงบประมาณปี 2556 ที่อยู่ระหว่างการจัดทำ แม้ในหลักการจะดุแลให้ขาดดุลลดลง แต่ก็ยังขาดดุลอีกหลายแสนล้านบาท ดังนั้นจะมีหนี้ที่จะเพิ่มขึ้นเกินกว่า 1 ล้านล้านบาท การที่จะดำเนินการกับหนี้เดิมที่ค้างมานาน 1.14 ล้านล้านบาทให้มีความชัดเจน เพื่อไม่ให้มีภาระตั้งชดเชยในงบประมาณ 2556 ก็จะแสดงให้เห็นว่า หนี้ใหม่จะได้รับการดุแล ขณะที่หนี้เก่าไม่ได้ไปซุกไว้ใต้พรม ก็จะทำให้เกิดความชัดเจนและมั่นใจเกิดขึ้น

***แบงก์รัฐยันพร้อมจ่ายค่าต๋ง
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ถ้าจะทำให้เกิดการเท่าเทียมของธนาคารรัฐและเอกชนในการเก็บค่าธรรมเนียมฯ และออมสินไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนี้ เพราะปกติผลกำไรที่ได้มา ธนาคารรัฐก็ต้องนำส่งคลัง เพื่อนำไปพัฒนาประเทศชาติอยู่แล้ว ดังนั้นการจะจ่ายเงินก่อนด้วยการเก็บค่าธรรมเนียม หรือจ่ายเงินทีหลังด้วยการจ่ายเงินปันผลหรือนำส่งเข้าคลัง ก็มีค่าเท่ากัน อีกทั้งปัจจุบันออมสินมีเงินฝาก 1.5 ล้านล้านบาท หากจ่าย 0.47% ก็ประมาณ 7,000 ล้านบาทเท่านั้น ขณะที่มีผลกำไรปีละกว่า 20,000 ล้านบาท
นายอรุณ เลิศวิไลย์ ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่าในส่วนของธ.ก.ส.มีฐานเงินฝากทั้งสิ้น 7.8 แสนล้านบาท หากต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนดังกล่าว 0.47% จะคิดเป็นเงินประมาณ 3.66 พันล้านบาท ซึ่งจะมีผลกระทบต่อตนทุนของธนาคารค่อนข้างมากเรพาปัจจุบันธ.ก.ส.ให้ดอกเบี้ยตามตลาดแต่คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ค่อนข้างต่ำและเป็นสินเชื่อผ่อนปรนตามนโยบาย ทำให้การบริหารต้นทุนของธนาคารในระยะต่อไปจะมีความลำบากมากขึ้น
อย่างไรก็ตามธ.ก.ส.พร้อมดำเนินการตามนโยบายแต่คงไม่สามารถฝืนตลาดได้ โดยจะรอดูธนาคารพาณิชย์ว่าจะผลักภาระที่เพิ่มขึ้นไปให้ใคร ผู้กู้หรือผู้ฝากเงิน ซึ่งธ.ก.ส.คงต้องเฉลี่ยภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้ทั้งผู้ฝากและผู้กู้ เพราะหากจะลดดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์จากปัจจุบัน 0.75% เหลือ 0.3% เชื่อว่าคงไม่มีใครนำเงินมาฝากกับธ.ก.ส. หรือจะผลักภาระทั้งหมดไปให้ลูกค้าสินเชื่อก็ไม่ได้เพราะเป็นเกษตรรายย่อย ซึ่งกว่าจะมีการเรียกเก็บเงินอีกหลายเดือนธ.กงส.คงต้องพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้ง
นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรีกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.)กล่าวว่า ธนาคารพร้อมที่จะดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลอยู่แล้ว หากจะทำให้เกิดความเท่าเทียมกัน แต่ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่า จะเก็บจากฐานเงินฝากอย่างไร จะนับรวมเงินฝากที่ใกล้จะครบกำหนดอีกไม่กี่เดือนด้วยหรือไม่ จากปัจจุบันที่มีฐานเงินฝากอยู่ 5.8 แสนล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากจากปีก่อนประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาทถือว่าไม่มากนักประมาร 5-6% เท่านั้น เพียงแต่ก็จะทำให้ต้นทุนธนาคารเพิ่มขึ้น ข้อได้เปรียบกับธนาคารเอกชนก็จะหมดไป ทำให้ธนาคารเองก็ต้องปรับตัวใหม่เช่นกัน
“ในฐานะที่เรามีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น หากเป็นนโยบายของกระทรวงเองเราก็พร้อมที่จะปฏิบัติการตามด้วย และคงไม่กระทบมากนัก เพราะอัตราเงินฝากก็ไม่ได้เพิ่มมาก ขณะที่กำไรธนาคารก็มากอยู่แล้ว แม้ว่าธนาคารจะดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลมาโดยตลอด อย่างการพักการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้านที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 6 เดือน ทำให้ดอกเบี้ยรับรายได้ 1 พันล้านบาทก็ไม่ได้กระทบต่อกำไรมากนัก แต่ในอนาคต หากจะให้ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลอีกและทำให้กำไรลดลง กระทรวงการคลังก็ต้องยอมรับได้ด้วย”นายวรวิทย์กล่าว
นายโสฬส สาครวิศวะ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีแบงก์กล่าวว่่าการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากแบงก์รัฐ0.47%นั้นส่วนของธนาคารได้รับผลกระทบไม่มากนักเพราะมีเงินฝากเพียง1แสนล้านบาทเท่านั้นหรือเป็นเงิน470ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งธนาคารพร้อมปฏิบัติตามและจะไม่ผลักภาระให้ผู้บริโภคเพราะเป๊็นแบงก์รัฐไม่ได้แสวงหาผลกำไรอยู่แล้ว

***”กรณ์” อัดรัฐบาลหน้าเงิน
นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรมว.คลัง กล่าวผ่านเฟสบุ๊คว่า การที่รัฐบาลนำค่าธรรมเนียมธนาคารพาณิชย์ 0.46% ไปจ่ายดอกเบี้ยให้รัฐทั้งๆ ที่รัฐบาลก็ไม่ได้หนักภาระนี้แต่อย่างใด อีกทั้งยังให้เก็บค่าธรรมเนียนฯ ธนาคารรัฐด้วย แต่ไม่ให้เข้าสคฝ.กลับเอาไปเข้ากองทุนใหม่ที่จะตั้งขึ้น โดยไม่มีรายละเอียดใดๆ แสดงให้เห็นชัดเจนว่า กฎหมายอะไรที่ทำเพื่อประชาชนที่แท้จริง รัฐบาลนี้แก้หมดขอได้แค่เอาเงินมาใช้เอง แบบไม่เคยมีแผนตามนิสัยถาวรเดิมๆ
“ปัจจุบันแบงก์พาณิชย์ส่งค่าธรรมเนียม 0.4% ของยอดเงินฝากเข้า กองทุนสคฝ. แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นให้เก็บแบงก์พาณิชย์มากขึ้นเป็น 0.47% แต่เข้า สคฝ.แค่ 0.01% ส่วนอีก 0.46% เอาไปจ่ายดอกเบี้ยให้รัฐบาล ทั้งที่รัฐบาลก็ไม่ได้หนักภาระนี้แต่อย่างใด รัฐบาลเพิ่มให้เก็บ แบงก์รัฐด้วยในอัตราเท่ากันที่ 0.47% แต่ก็ไม่ได้ให้เข้า สคฝ.เพื่อประชาชน หรือแม้แต่จ่ายดอกเบี้ยตามข้ออ้างแรกๆ แต่ดันไปให้เข้า กองทุนใหม่ ที่บอกว่า รัฐบาลจะเอามาพัฒนาประเทศ สรุปง่ายๆ ว่า ลดเงินที่เคยเก็บมาเพื่อดูแลประชาชนไปจ่ายดอกเบี้ยแทนตัวเองจนแทบไม่เหลือเลย เก็บเงินจากแบงก์รัฐเพิ่ม เพื่อเอาไปให้ตัวเองใช้โดยบิดเบือนข้ออ้างแรกที่ให้มา และกฎหมายสคฝ.กว่าจะผ่านได้ ใช้เวลา 28ปีผลักดัน แต่โดนแก้ด้วยพ.ร.ก.โอนหนี้ฯ ฉบับเดียว”
กำลังโหลดความคิดเห็น