นายสมเกียรติ ศิริชาติไชย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธนาคารอยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งในส่วนของเงินฝากและเงินกู้ ภายหลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% เหลือ 3.00% ซึ่งน่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 วันนี้
ส่วนกรณีที่เพิ่มเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินของธนาคารพาณิชย์นั้น ก็แน่นอนว่าจะทำให้มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น แต่ก็อยู่ในภาวะที่จัดการได้ ซึ่งเชื่อว่าผู้ที่เก็บก็มีความระมัดระวังที่จะไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบ รวมถึงทำให้สูญเสียการแข่งที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาวอยู่แล้ว โดยปัจจุบันต้นทุนด้านดอกเบี้ยแบงก์เฉพาะกิจของรัฐก็ต่ำกว่า 0.4% อยู่แล้ว หากส่วนต่างตรงนี้จะกว้างมากขึ้น จนถึงระดับหนึ่งแล้วก็จะส่งผลให้แรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจของประเทศเปลี่ยนไป
อย่างไรก็ตาม การปรับอัตราดอกเบี้ยธนาคารจะพิจารณาการระดมเงินฝากเป็นสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันยังมีช่องว่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารรัฐและธนาคารพาณิชย์พอสมควร ดังนั้น การพิจารณาการปรับลดดอกเบี้ยจะต้องไม่กระทบการบริหารสภาพคล่อง เพื่อให้มีเพียงพอสำหรับการปล่อยสินเชื่อในปี 55 ที่ธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อขยายตัว 9-11%
"ธนาคารเองก็อยากทำให้อะไรให้เป็นไปตามที่ดอกเบี้ยนโยบายชี้นำไว้ แต่ขณะนี้มีกลไกที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันอยู่ ก็ต้องใช้เวลาในการพิจารณาก่อน"
สำหรับส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ(NIM)ของธนาคารมีแนวโน้มจะลดลง โดยสิ้นปี 55 คาดว่าจะลงมาอยู่ที่ 3.4-3.5% จากสิ้นปี 54 ที่อยู่ในระดับ 3.75% ซึ่งยังไม่รวมการเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมเงินฝากที่ไปชำระหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยประเมินว่าหากต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมเพิ่ม 0.1% ธนาคารจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 1.2 พันล้านบาท
**ปรับกลยุทธรับ AEC**
ด้านแผนการดำเนินธุรกิจของธนาคารในปีนี้ เครือธนาคารจะให้ความสำคัญกับการตอบสนองลูกค้าขยยายสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) โดยอาศัยเครือข่ายพันธมิตรกับธนาคารในประเทศต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในไทย ใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต พร้อมกันนั้นสนับสนุนบริษัทไทยที่ต้องการเข้าไปขยายธุรกิจการค้าและการลงทุนในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ รวมถึงส่งเสริมการทำธุรกรรมทางการค้ากับประเทศจีน ซึ่งปัจจุบันมีอัตราการเติบโตที่สูงมากถึง 20-30%ต่อปี
โดยในปีนี้ธนาคารมีแผนที่เปิดสาขาเพิ่มที่ประเทศจีนอีก 2 แห่ง จากในปี 2011 ธนาคารได้ทำการปล่อยสินเชื่อในจีนจำนวน 800 ล้านหยวน และมีแผนที่จะปล่อยเพิ่มในปี 2012 จำนวน 2000 ล้านหยวน ขณะที่การให้บริการทางการเงินสำหรับการขยายตัวทางการค้าระหว่างสองประเทศที่อยู่ในอัตราที่สูง ซึ่งธนาคารมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการตลาดการค้าไทยจีนให้เป็น 30% ภายในปี 2015 จากปี 2011 ที่ 12%
"หากเริ่มใช้ AEC ตามหลักภูมิศาสตร์แล้ว ไทยจะเป็นไข่แดง ไม่ใช่กทม. แต่เป็นทั้งประเทศ เพราะถ้าประเทศต่างๆเข้ามาลงทุนเขาไม่เข้ามากทม. จะมุ่งไปตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งธนาคารเองก็จะให้ความสำคัญกับการรุกตลาดต่างจังหวัดมากขึ้นด้วย"
ส่วนกรณีที่เพิ่มเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินของธนาคารพาณิชย์นั้น ก็แน่นอนว่าจะทำให้มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น แต่ก็อยู่ในภาวะที่จัดการได้ ซึ่งเชื่อว่าผู้ที่เก็บก็มีความระมัดระวังที่จะไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบ รวมถึงทำให้สูญเสียการแข่งที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาวอยู่แล้ว โดยปัจจุบันต้นทุนด้านดอกเบี้ยแบงก์เฉพาะกิจของรัฐก็ต่ำกว่า 0.4% อยู่แล้ว หากส่วนต่างตรงนี้จะกว้างมากขึ้น จนถึงระดับหนึ่งแล้วก็จะส่งผลให้แรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจของประเทศเปลี่ยนไป
อย่างไรก็ตาม การปรับอัตราดอกเบี้ยธนาคารจะพิจารณาการระดมเงินฝากเป็นสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันยังมีช่องว่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารรัฐและธนาคารพาณิชย์พอสมควร ดังนั้น การพิจารณาการปรับลดดอกเบี้ยจะต้องไม่กระทบการบริหารสภาพคล่อง เพื่อให้มีเพียงพอสำหรับการปล่อยสินเชื่อในปี 55 ที่ธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อขยายตัว 9-11%
"ธนาคารเองก็อยากทำให้อะไรให้เป็นไปตามที่ดอกเบี้ยนโยบายชี้นำไว้ แต่ขณะนี้มีกลไกที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันอยู่ ก็ต้องใช้เวลาในการพิจารณาก่อน"
สำหรับส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ(NIM)ของธนาคารมีแนวโน้มจะลดลง โดยสิ้นปี 55 คาดว่าจะลงมาอยู่ที่ 3.4-3.5% จากสิ้นปี 54 ที่อยู่ในระดับ 3.75% ซึ่งยังไม่รวมการเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมเงินฝากที่ไปชำระหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยประเมินว่าหากต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมเพิ่ม 0.1% ธนาคารจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 1.2 พันล้านบาท
**ปรับกลยุทธรับ AEC**
ด้านแผนการดำเนินธุรกิจของธนาคารในปีนี้ เครือธนาคารจะให้ความสำคัญกับการตอบสนองลูกค้าขยยายสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) โดยอาศัยเครือข่ายพันธมิตรกับธนาคารในประเทศต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในไทย ใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต พร้อมกันนั้นสนับสนุนบริษัทไทยที่ต้องการเข้าไปขยายธุรกิจการค้าและการลงทุนในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ รวมถึงส่งเสริมการทำธุรกรรมทางการค้ากับประเทศจีน ซึ่งปัจจุบันมีอัตราการเติบโตที่สูงมากถึง 20-30%ต่อปี
โดยในปีนี้ธนาคารมีแผนที่เปิดสาขาเพิ่มที่ประเทศจีนอีก 2 แห่ง จากในปี 2011 ธนาคารได้ทำการปล่อยสินเชื่อในจีนจำนวน 800 ล้านหยวน และมีแผนที่จะปล่อยเพิ่มในปี 2012 จำนวน 2000 ล้านหยวน ขณะที่การให้บริการทางการเงินสำหรับการขยายตัวทางการค้าระหว่างสองประเทศที่อยู่ในอัตราที่สูง ซึ่งธนาคารมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการตลาดการค้าไทยจีนให้เป็น 30% ภายในปี 2015 จากปี 2011 ที่ 12%
"หากเริ่มใช้ AEC ตามหลักภูมิศาสตร์แล้ว ไทยจะเป็นไข่แดง ไม่ใช่กทม. แต่เป็นทั้งประเทศ เพราะถ้าประเทศต่างๆเข้ามาลงทุนเขาไม่เข้ามากทม. จะมุ่งไปตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งธนาคารเองก็จะให้ความสำคัญกับการรุกตลาดต่างจังหวัดมากขึ้นด้วย"