นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า กรณีที่สมาคมธนาคารไทยออกแถลงการณ์คัดค้านการเพิ่มอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เพื่อแก้ปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯที่คงค้าง 1.14 ล้านล้านบาทนั้นเห็นใจธนาคารพาณิชย์เช่นกันว่า ไม่อยากให้มีภาระการนำส่งเงินสมทุบเพิ่มขึ้นจากที่นำส่งในอัตรา 0.4% ของฐานเงินฝาก และเอาใจช่วย เมื่อสูตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาแล้ว ธนาคารพาณิชย์จะจ่ายเท่าเดิมที่ 0.4%
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของข้อเรียกร้องให้เรียกเก็บสถาบันการเงินของรัฐด้วยนั้นนายกิตติรัตน์กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์จ่ายเงินสมทบให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯมาตั้งแต่จัดตั้งกองทุนก่อนที่จะโอนย้ายมานำส่งในกับสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งก็จัดตั้งมาเป็นเวลา 10 ปีเช่นกัน โดยที่ไมได้เรียกเก็บกับสถาบันการเงินของรัฐ เพราะรัฐบาลคุ้มครองเงินฝาก 100% จึงไม่เข้าใจว่า ที่ผ่านมาทำไมมองว่า ยุติธรรม แต่กลับจะไม่ยุติธรรมในช่วงนี้
นักวิชาการรายหนึ่งกล่าวว่า สถาบันการเงินของรัฐมีหน้าที่หลักในการจัดตั้ง เพื่อดำเนินนโยบายของรัฐบาลในส่วนที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ทำ หากเกิดการขาดทุน หรือต้องปิดกิจการ ก็ตั้งงบประมาณของรัฐบาลชดเชย จึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมที่จะไปเรียกเก็บเงินสมทบด้วย ถ้าหากธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถแข่งขันกับธนาคารรัฐได้ ก็ปิดกิจการไป เพราะธนาคารพาณิชย์สามารถทำธุรกิจได้หลากหลายกว่าธนาคารรัฐมาก แต่ธนาคารพาณิชย์กลับเลือกที่จะหากกินง่ายๆ ด้วยการนำสภาพคล่องส่วนเกินในแต่ละวันที่ตกประมาณ 7-8 แสนล้านบาทไปฝากธปท.เพื่อกินดอกเบี้ยข้ามคืนเท่านั้น แทนที่จะนำสภาพคล่องส่วนเกินไปปล่อยสินเชื่อ
"ธนาคารพาณิชย์เป็นเสือนอนกินแบบอิ่มหมีพีมันมานานแล้ว หากกินง่ายๆ ด้วยการฝากข้ามคืนกินดอกเบี้ยนโยบาย 3.25% ต่อวัน โดยที่ไม่มีความเสี่ยงอะไร และความอยู่ดีกินดีที่เกิดขึ้นปัจจุบันก็มาจากการจัดการปัญหาในอดีตที่เกิดวิกฤติสถาบันการเงิน จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ ถ้าหากมองว่า จะมีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นและบิดเบือนการแข่งขัน ก็มองว่าเป็นคนละตลาดอยู่แล้วระหว่างแบงก์รัฐกับเอกชน ธนาคารเอกชนก็แข่งขันกันเอง ไม่ได้เอาธนาคารไปแข่งกับภาคอุตสาหกรรมหรือธุรกิจส่งออก"
สำหรับ ธปท.ที่มีหน้าที่กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์โดยตรง และกฎหมายเองก็กำหนดเพดานการเก็บเงินนำส่งไว้สูงถึงไม่เกิน 1% หากธนาคารพาณิชย์ใดไม่ปฏิบัติตามก็ยึดใบอนุญาตการประกอบธุรกิจ หรือหาก ธปท.ไม่สามารถดำเนินการกำกับดูแลได้ก็ควรปิดกิจการไปเช่นเดียวกัน เพราะการดำเนินการปัจจุบันก็มีภาระต้นทุนจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารพาณิชย์ตกวันละเกือบ 2.2-2.6 หมื่นล้านบาทอยู่แล้ว ซึ่งเป็นภาระที่ไม่ควรเกิดขึ้น เพียงเพราะการรับฝากสภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของข้อเรียกร้องให้เรียกเก็บสถาบันการเงินของรัฐด้วยนั้นนายกิตติรัตน์กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์จ่ายเงินสมทบให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯมาตั้งแต่จัดตั้งกองทุนก่อนที่จะโอนย้ายมานำส่งในกับสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งก็จัดตั้งมาเป็นเวลา 10 ปีเช่นกัน โดยที่ไมได้เรียกเก็บกับสถาบันการเงินของรัฐ เพราะรัฐบาลคุ้มครองเงินฝาก 100% จึงไม่เข้าใจว่า ที่ผ่านมาทำไมมองว่า ยุติธรรม แต่กลับจะไม่ยุติธรรมในช่วงนี้
นักวิชาการรายหนึ่งกล่าวว่า สถาบันการเงินของรัฐมีหน้าที่หลักในการจัดตั้ง เพื่อดำเนินนโยบายของรัฐบาลในส่วนที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ทำ หากเกิดการขาดทุน หรือต้องปิดกิจการ ก็ตั้งงบประมาณของรัฐบาลชดเชย จึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมที่จะไปเรียกเก็บเงินสมทบด้วย ถ้าหากธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถแข่งขันกับธนาคารรัฐได้ ก็ปิดกิจการไป เพราะธนาคารพาณิชย์สามารถทำธุรกิจได้หลากหลายกว่าธนาคารรัฐมาก แต่ธนาคารพาณิชย์กลับเลือกที่จะหากกินง่ายๆ ด้วยการนำสภาพคล่องส่วนเกินในแต่ละวันที่ตกประมาณ 7-8 แสนล้านบาทไปฝากธปท.เพื่อกินดอกเบี้ยข้ามคืนเท่านั้น แทนที่จะนำสภาพคล่องส่วนเกินไปปล่อยสินเชื่อ
"ธนาคารพาณิชย์เป็นเสือนอนกินแบบอิ่มหมีพีมันมานานแล้ว หากกินง่ายๆ ด้วยการฝากข้ามคืนกินดอกเบี้ยนโยบาย 3.25% ต่อวัน โดยที่ไม่มีความเสี่ยงอะไร และความอยู่ดีกินดีที่เกิดขึ้นปัจจุบันก็มาจากการจัดการปัญหาในอดีตที่เกิดวิกฤติสถาบันการเงิน จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ ถ้าหากมองว่า จะมีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นและบิดเบือนการแข่งขัน ก็มองว่าเป็นคนละตลาดอยู่แล้วระหว่างแบงก์รัฐกับเอกชน ธนาคารเอกชนก็แข่งขันกันเอง ไม่ได้เอาธนาคารไปแข่งกับภาคอุตสาหกรรมหรือธุรกิจส่งออก"
สำหรับ ธปท.ที่มีหน้าที่กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์โดยตรง และกฎหมายเองก็กำหนดเพดานการเก็บเงินนำส่งไว้สูงถึงไม่เกิน 1% หากธนาคารพาณิชย์ใดไม่ปฏิบัติตามก็ยึดใบอนุญาตการประกอบธุรกิจ หรือหาก ธปท.ไม่สามารถดำเนินการกำกับดูแลได้ก็ควรปิดกิจการไปเช่นเดียวกัน เพราะการดำเนินการปัจจุบันก็มีภาระต้นทุนจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารพาณิชย์ตกวันละเกือบ 2.2-2.6 หมื่นล้านบาทอยู่แล้ว ซึ่งเป็นภาระที่ไม่ควรเกิดขึ้น เพียงเพราะการรับฝากสภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์เท่านั้น