แล้ววันพรุ่งนี้ต่อเนื่องไปถึงมะรืนนี้ 10 - 11 เมษายน 2555 ก็จะเป็นวันประชุมร่วมของรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 ในวาระ 2 จนได้ครับ ทั้งหมดเป็นไปตามที่พรรคเพื่อไทยตั้งเป้าหมายไว้แต่ต้น
นั่นหมายถึงจะผ่านวาระ 3 เบ็ดเสร็จเด็ดขาดภายในสิ้นเดือนเมษายน 2555 สมตามเป้าหมายที่ได้ขยายสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติรอไว้แล้วอีกเช่นกัน
จากนั้นกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับก็จะเริ่มขึ้น โดยตารางเวลาแล้วภายในกลางปี 2556 ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็จะเสร็จ ไปสู่ขั้นตอนออกเสียงประชามติ เชื่อว่าจะประกาศใช้ได้ภายในไม่เกินเดือนกันยายน 2556 เป็นร่างรัธรรมนูญใหม่ที่ไร้กรอบโดยสิ้นเชิง พรรคเพื่อไทยยอมในชั้นกรรมาธิการเพียงประการเดียวคือจะไม่แก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ แต่หมวดอื่น ๆ เปิดกว้าง รวมทั้งหมวดศาลและองค์กรอิสระ แม้แต่หมวดสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยที่เป็นของดีที่สุดของรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ไม่ได้รับรองว่าไม่แก้ไขลดทอนลงมา เราอาจจะไม่ได้เห็นการคุ้มครองสิทธิชุมชนเช่นในมาตรา 67 อีกต่อไป
เช่นกันกับอีกมุมหนึง เมื่อคืนวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมาสภาผู้แทนราษฎรก็ได้มีมติรับทราบและเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการปรองดองชุด พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ที่กำกับโดยวัฒนา เมืองสุขไปเรียบร้อยแล้วเช่นกัน
บวกลบคูณหารแล้วภายในไม่เกินเดือนสิงหาคม-กันยายน 2555 ถ้าไม่มีเหตุเหนือความคาดหมายใดเกิดขึ้น เราก็จะได้เห็นการเยียวยาและคืนความเป็นธรรมครั้งใหญ่ที่ทางกรรมาธิการเห็นอย่างแรงกล้าว่าต้องเป็นก้าวสำคัญก้าวแรกของการปรองดอง
นั่นคือการออกกฎหมายนิรโทษกรรมทุกฝ่าย
และการยกลิกผลทางกฎหมายของ คตส.ชุดที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลินแต่งตั้ง
ประเด็นหลังนี่คือจุดเปลี่ยนประเทศไทย !
นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติอภิปรายตอบโต้วาทกรรมหลักนิติธรรม(อินเตอร์)ฉบับวัฒนา เมืองสุขเมื่อค่ำวันที่ 4 เมษายน 2555 ได้อย่างมีประเด็นชวนคิดชวนคุย และเป็นสไตล์เฉพาะของพรรคประชาธิปัตย์โดยแท้ ถือเป็นไฮไลต์หนึ่งของการอภิปรายวาระนี้ แต่เสียดายที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ต่อสู้ในหลักการนี้อย่างเป็นเอกภาพต่อเนื่องเท่าที่ควร
ประเด็นนี้พอสรุปใจความภาษาผมได้ว่า หาก "ยกเลิกผลทางกฎหมายของ คตส." เพื่อเยียวยาและคืนความชอบธรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เท่ากับ "ล้มกระบวนการยุติธรรมสูงสุดของรัฐไทยประเทศไทย" โดยปริยาย เพราะ คตส.ที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลินตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2549 ไม่ใช่องค์กรตัดสิน ไม่เหมือน คตส.ยุคปี 2534 ที่มีอำนาจยึดทรัพย์อายัดทรัพย์ได้เอง ซึ่งต่อมาเป็นโมฆะเพราะคำพิพากษาศาลฎีกา มีหน้าที่เสมอเพียง ป.ป.ช. องค์กรตัดสินคือศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลสูงสุด และตัดสินซ้ำถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกา 9 คนเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ครั้งที่ 2 โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาวินิจฉัยไม่รับอุทธรณ์ ก่อนหน้านั้น คตส.ยังได้รับการประทับตรารับรองความชอบธรรมโดยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีผลผูกพันทุกองค์กรอีกต่างหาก
คำถามคือถ้าจะดึงดันยกเลิกแต่ผลทางกฎหมายของ คตส. ก็จะเป็นการกลับหลักการเดิมของศาลฎีกาที่ประเทศนี้เคยยึดถือมายาวนาน
แล้วจะตอบคำถามอย่างไรต่อคำสั่งยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เมื่อปี 2506 และคำสั่งยึดทรัพย์จอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อปี 2517 เพราะนั่นมิยิ่งกว่าหรือ เนื่องจากเป็นเพียงคำสั่งของนายกรัฐมนตรีคนเดียว ไม่มีการสอบสวน ไม่มีการขึ้นศาล แต่ในกระบวนการต่อสู้ของอดีตนายกรัฐมนตรีทั้งสอง ศาลฎีกาก็พิพากษายอมรับความถูกต้องของทั้ง 2 คำสั่งนั้นแล้วเช่นกัน ด้วยเหตุผลใกล้เคียงกัน
เหตุใดจึง "2 มาตรฐาน" เลือกเยียวยาและคืนความชอบธรรมให้แต่เฉพาะอดีตนายกรัฐมนตรีคนเดียวเท่านั้น ?
จริงอยู่ ศาลฎีกาเคยถูกตั้งคำถามมานานเรื่องยอมรับคำสั่งและประกาศคณะปฏิวัติในยุคต่าง ๆ ตามทฤษฎี "รัฏฐาธิปัตย์" คือเมื่อยึดอำนาจได้แล้ว แม้ด้วยวิถีทางนอกรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อบ้านเมืองเกิดความสงบ ก็ต้องยอมรับในฐานะเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐสูงสุด แต่สาเหตุหนึ่งก็เป็นเพราะระบอบประชาธิปไตยบ้านเรารากฐานยังไม่มั่นคงและต่อเนื่อง นับแต่ปี 2475 มากกว่าครึ่งอยู่ในระบอบเผด็จการทหารหรือกึ่งเผด็จการทหาร
ผมอยากเห็นการกลับหลักคำพิพากษาศาลฎีกาเดิมด้วยคำพิพากษาศาลฎีกาใหม่โดยศาลฎีกาเอง
ไม่ใช่กฎหมายจากรัฐบาลและสภา !
เพราะในวิวัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยยุคใหม่ที่มีแต่เพียงรูปแบบของระบอบประชาธิปไตยยุคคลาสสิก หากเนื้อหาแล้วมีลักษณะเป็นระบอบประชาธิปไตยของนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง การให้อำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติใช้ความเป็น "รัฏฐาธิปัตย์" มากลับหลักคำพิพากษาศาลฎีกาเดิม ในทางปฏิบัติแล้วแม้จะเป็นการทลายรากฐานความชอบธรรมทางทฤษฎีของระบอบเด็จการทหาร
แต่ก็คือการสถาปนาอำนาจเบ็ดเสร็จของระบอบเผด็จการนายทุนเจ้าของพรรคการเมืองขึ้นมา
โดยการทำลาย "องค์กรถ่วงดุลสุดท้าย" ลงไป !
นั่นหมายถึงจะผ่านวาระ 3 เบ็ดเสร็จเด็ดขาดภายในสิ้นเดือนเมษายน 2555 สมตามเป้าหมายที่ได้ขยายสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติรอไว้แล้วอีกเช่นกัน
จากนั้นกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับก็จะเริ่มขึ้น โดยตารางเวลาแล้วภายในกลางปี 2556 ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็จะเสร็จ ไปสู่ขั้นตอนออกเสียงประชามติ เชื่อว่าจะประกาศใช้ได้ภายในไม่เกินเดือนกันยายน 2556 เป็นร่างรัธรรมนูญใหม่ที่ไร้กรอบโดยสิ้นเชิง พรรคเพื่อไทยยอมในชั้นกรรมาธิการเพียงประการเดียวคือจะไม่แก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ แต่หมวดอื่น ๆ เปิดกว้าง รวมทั้งหมวดศาลและองค์กรอิสระ แม้แต่หมวดสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยที่เป็นของดีที่สุดของรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ไม่ได้รับรองว่าไม่แก้ไขลดทอนลงมา เราอาจจะไม่ได้เห็นการคุ้มครองสิทธิชุมชนเช่นในมาตรา 67 อีกต่อไป
เช่นกันกับอีกมุมหนึง เมื่อคืนวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมาสภาผู้แทนราษฎรก็ได้มีมติรับทราบและเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการปรองดองชุด พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ที่กำกับโดยวัฒนา เมืองสุขไปเรียบร้อยแล้วเช่นกัน
บวกลบคูณหารแล้วภายในไม่เกินเดือนสิงหาคม-กันยายน 2555 ถ้าไม่มีเหตุเหนือความคาดหมายใดเกิดขึ้น เราก็จะได้เห็นการเยียวยาและคืนความเป็นธรรมครั้งใหญ่ที่ทางกรรมาธิการเห็นอย่างแรงกล้าว่าต้องเป็นก้าวสำคัญก้าวแรกของการปรองดอง
นั่นคือการออกกฎหมายนิรโทษกรรมทุกฝ่าย
และการยกลิกผลทางกฎหมายของ คตส.ชุดที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลินแต่งตั้ง
ประเด็นหลังนี่คือจุดเปลี่ยนประเทศไทย !
นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติอภิปรายตอบโต้วาทกรรมหลักนิติธรรม(อินเตอร์)ฉบับวัฒนา เมืองสุขเมื่อค่ำวันที่ 4 เมษายน 2555 ได้อย่างมีประเด็นชวนคิดชวนคุย และเป็นสไตล์เฉพาะของพรรคประชาธิปัตย์โดยแท้ ถือเป็นไฮไลต์หนึ่งของการอภิปรายวาระนี้ แต่เสียดายที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ต่อสู้ในหลักการนี้อย่างเป็นเอกภาพต่อเนื่องเท่าที่ควร
ประเด็นนี้พอสรุปใจความภาษาผมได้ว่า หาก "ยกเลิกผลทางกฎหมายของ คตส." เพื่อเยียวยาและคืนความชอบธรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เท่ากับ "ล้มกระบวนการยุติธรรมสูงสุดของรัฐไทยประเทศไทย" โดยปริยาย เพราะ คตส.ที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลินตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2549 ไม่ใช่องค์กรตัดสิน ไม่เหมือน คตส.ยุคปี 2534 ที่มีอำนาจยึดทรัพย์อายัดทรัพย์ได้เอง ซึ่งต่อมาเป็นโมฆะเพราะคำพิพากษาศาลฎีกา มีหน้าที่เสมอเพียง ป.ป.ช. องค์กรตัดสินคือศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลสูงสุด และตัดสินซ้ำถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกา 9 คนเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ครั้งที่ 2 โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาวินิจฉัยไม่รับอุทธรณ์ ก่อนหน้านั้น คตส.ยังได้รับการประทับตรารับรองความชอบธรรมโดยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีผลผูกพันทุกองค์กรอีกต่างหาก
คำถามคือถ้าจะดึงดันยกเลิกแต่ผลทางกฎหมายของ คตส. ก็จะเป็นการกลับหลักการเดิมของศาลฎีกาที่ประเทศนี้เคยยึดถือมายาวนาน
แล้วจะตอบคำถามอย่างไรต่อคำสั่งยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เมื่อปี 2506 และคำสั่งยึดทรัพย์จอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อปี 2517 เพราะนั่นมิยิ่งกว่าหรือ เนื่องจากเป็นเพียงคำสั่งของนายกรัฐมนตรีคนเดียว ไม่มีการสอบสวน ไม่มีการขึ้นศาล แต่ในกระบวนการต่อสู้ของอดีตนายกรัฐมนตรีทั้งสอง ศาลฎีกาก็พิพากษายอมรับความถูกต้องของทั้ง 2 คำสั่งนั้นแล้วเช่นกัน ด้วยเหตุผลใกล้เคียงกัน
เหตุใดจึง "2 มาตรฐาน" เลือกเยียวยาและคืนความชอบธรรมให้แต่เฉพาะอดีตนายกรัฐมนตรีคนเดียวเท่านั้น ?
จริงอยู่ ศาลฎีกาเคยถูกตั้งคำถามมานานเรื่องยอมรับคำสั่งและประกาศคณะปฏิวัติในยุคต่าง ๆ ตามทฤษฎี "รัฏฐาธิปัตย์" คือเมื่อยึดอำนาจได้แล้ว แม้ด้วยวิถีทางนอกรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อบ้านเมืองเกิดความสงบ ก็ต้องยอมรับในฐานะเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐสูงสุด แต่สาเหตุหนึ่งก็เป็นเพราะระบอบประชาธิปไตยบ้านเรารากฐานยังไม่มั่นคงและต่อเนื่อง นับแต่ปี 2475 มากกว่าครึ่งอยู่ในระบอบเผด็จการทหารหรือกึ่งเผด็จการทหาร
ผมอยากเห็นการกลับหลักคำพิพากษาศาลฎีกาเดิมด้วยคำพิพากษาศาลฎีกาใหม่โดยศาลฎีกาเอง
ไม่ใช่กฎหมายจากรัฐบาลและสภา !
เพราะในวิวัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยยุคใหม่ที่มีแต่เพียงรูปแบบของระบอบประชาธิปไตยยุคคลาสสิก หากเนื้อหาแล้วมีลักษณะเป็นระบอบประชาธิปไตยของนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง การให้อำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติใช้ความเป็น "รัฏฐาธิปัตย์" มากลับหลักคำพิพากษาศาลฎีกาเดิม ในทางปฏิบัติแล้วแม้จะเป็นการทลายรากฐานความชอบธรรมทางทฤษฎีของระบอบเด็จการทหาร
แต่ก็คือการสถาปนาอำนาจเบ็ดเสร็จของระบอบเผด็จการนายทุนเจ้าของพรรคการเมืองขึ้นมา
โดยการทำลาย "องค์กรถ่วงดุลสุดท้าย" ลงไป !