ASTVผู้จัดการรายวัน- เอกชนทำใจรับสภาพค่าแรง 300 บาท/วันมีผลบังคับใช้ 1 เม.ย. ขู่รัฐบาลต้องทำใจเมื่อค่าแรงขยับหนีไม่พ้นสินค้าปรับขึ้นตามทฤษฎี 2 สูง คาดอีก 3 เดือนรู้ชัดอยู่หรือไป คาดเอสเอ็มอีเจ๊งแน่ พร้อมจี้พนักงานต้องเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานตามเงินที่ได้รับ
นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารส.อ.ท. เปิดเผยถึงการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันที่มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ 1 เม.ย.55 เป็นต้นไปว่า เป็นกฏหมายที่เอกชนคงต้องปฏิบัติตามและทุกฝ่ายก็ต้องปรับตัวรองรับโดยส่วนเอกชนที่ไม่สามารถจะแบกรับภาระได้จริงที่สุดคงหนีไม่พ้นการปรับขึ้นราคาสินค้า ซึ่งก็เป็นไปตามวัฎจักรหรือทฤษฎี 2 สูงคือปล่อยให้ราคาสินค้าปรับขึ้นตามกลไกควบคู่ไปกับการปรับขึ้นค่าแรงเพื่อให้สอดรับกับรายจ่าย
“ จริงๆ เราเองไม่ได้คัดค้านการขึ้นค่าแรงเลยเพราะว่าเมื่อหันไปดูค่าครองชีพประชาชนแล้วเขามีรายได้น้อยมากเมื่อเทียบกับรายจ่ายแต่ปัญหาคือรัฐเองควรมีกลไกในการดูแลราคาสินค้าให้นิ่งก่อนสักพักแล้วใช้วิธีทยอยปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแต่ขึ้นครั้งนี้เท่ากับ 40% มันเร็วไปนิดนึง และอยากให้หามาตรการดูแลผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอีเพราะเขามีอำนาจต่อรองต่ำมากที่สุดจะอยู่ลำบากซึ่งตอนนี้คงประเมินยากแต่ผมคิดว่าอีก 3 เดือนข้างหน้าจะเห็นชัดว่าผลกระทบจะมากน้อยเพียงใด”นายวิศิษฎ์กล่าว
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานส.อ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้เอกชนส่วนใหญ่ ได้เตรียมรับภาระรายจ่ายที่จะต้องเพิ่มขึ้นจากนโยบายการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันแล้วซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเอสเอ็มอีที่มีอยู่ประมาณ 2.3 ล้านรายทั่วประเทศอาจต้องประสบกับปัญหาขาดทุนและที่สุด 20-30%ของเอสเอ็มอีทั้งหมดมีโอกาสต้องปิดกิจการลงเพราะขณะนี้เท่าที่ทราบเริ่มทยอยปิดแล้วจำนวนมาก ดังนั้นรัฐบาลควรหามาตรการในการดูแลเอสเอ็มอีอย่างเร่งด่วน
***เอสเอ็มอีชิงปิดหนีจ่ายชดเชยเพิ่ม
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการส.อ.ท. กล่าวว่า การขึ้นค่าแรงคาดว่าจะส่งผลให้กิจการคนไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีอาจต้องล้มหายไปพอสมควร ซึ่งขณะนี้กิจการที่ใช้แรงงานเข้มข้นในหลายจังหวัดเริ่มทยอยปิดเพราะประเมินแล้วว่าไม่สามารถรับภาระค่าจ้างที่เพิ่มอีก 40% โดยหากปล่อยให้ไปปิดกิจการหลัง เม.ย.55 ไปแล้วการจ่ายชดเชยจะยึดฐานเงินเดือนใหม่ที่ปรับขึ้นจะทำให้ต้องมีภาระจ่ายค่าตอบแทนล่วงหน้าสูง
“ ผมคิดว่าภาพมันจะค่อยๆ เห็นและจะไปรุนแรงในปี 2556 ที่ค่าจ้างขึ้นทั่วประเทศ วันนี้มาตรการช่วยเหลือทุกอย่างไม่ได้ตกกับเอสเอ็มอีเลย ขณะที่ลูกจ้างเองก็เชื่อว่าถ้าเลือกได้ระหว่างการขึ้นค่าจ้างกับของไม่ขึ้นราคาเขาเลือกของไม่ขึ้นราคาดีกว่าเพราะเขาเองก็ไม่แน่ใจว่าที่สุดแล้วกิจการจะอยู่ได้นานแค่ไหน”นายสมมาตกล่าว
***ธุรกิจจำใจจ่าย 300 บาท
นายสุวัฒน์ ทรงพัฒนะโยธิน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เชสเตอร์ ฟู้ด จำกัด ผู้บริหารร้านเชสเตอร์ กริลล์ กล่าวว่า บริษัทมีจำนวนพนักงานที่เข้าข่ายได้สิทธิรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันและเงินเดือนขั้นต่ำปริญญาตรี 15,000 บาท จำนวน 1,500 คนทั้งแบบพนักงานรายวันและพนักงานประจำ ส่งผลให้ต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าแรงงานเพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 1.5 ล้านบาท ดังนั้นจึงต้องปรับระบบการทำงานให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแต่ละคนให้มากขึ้น รวมทั้งการขึ้นราคาสินค้า ซึ่งนอกจากค่าแรงขึ้นแล้วยังเป็นผลมาจากวัตถุดิบขึ้นราคาด้วย โดยได้ปรับราคาอาหารในแต่ละเมนูเพิ่มขึ้นอีกราว 5-7% หรือประมาณ 3-5 บาท
นายชนินทธ์ โทณวณิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล เจ้าของและผู้บริหารโรงแรมในกลุ่มดุสิตธานี กล่าวว่า ตั้งแต่ทำงานในวงการโรงแรมมานาน 30 ปี ถือว่าปีนี้เป็นปีที่มีการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำที่สูงที่สุดเกือบ 40% ยังไม่นับรวมการปรับขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบอาหาร ราว 10% ค่าFTไฟฟ้า ที่ขึ้นตามราคาน้ำมัน ทางโรงแรมดุสิต คงเลือกใช้วิธีปรับฐานเงินเดือนให้เท่ากับที่รัฐกำหนด จะไม่นำค่าเซอร์วิสชาร์จมารวม แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นใน 12 เดือนหลังปรับขึ้นค่าแรงงาน จะได้เห็นวงการอุตสาหกรรมโรงแรม คือ การปรับลดพนักงาน จากแรงงานในอุตสาหกรรมโรงแรมทั้งระบบที่มีมากกว่า 500,000 คน
นางสาวอลิสา พันธุศักดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ทิฟฟานี่โชว์ พัทยา และยังดำรงตำแหน่ง กรรมการ สมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า ธุรกิจของทิฟฟานี่โชว์ เป็นธุรกิจที่ไม่มีเซอร์วิสชาร์จดังนั้นจากนโยบายดังกล่าว เราต้องปรับขึ้นอัตราค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวัน ให้แก่พนักงานที่เข้าเกณฑ์มากถึง 34% จากจำนวนพนักงานกว่า 200 คน
นายไซมอน แมททิวส์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แมนพาวเวอร์กรุ๊ป กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าแรงถือเป็นแนวคิดที่ดีแต่อาจจะเป็นการก้าวกระโดดที่สูงเกินไป เพราะในบางพื้นที่ตามต่างจังหวัดขึ้นค่าแรง 300 บาทเท่ากับ 40% เช่น บางบริษัทมีพนักงานกว่าสองหมื่นคน และ 90% ของพนักงานกลุ่มนี้อยู่ในข่ายที่จะได้ขึ้นค่าแรง ดูแล้วเป็นปริมาณที่มาก ปัญหาที่อาจจะตามมาคือ บริษัทเหล่านี้ต้องลดผลกำไรลงเพราะต้นทุนสูงขึ้น และสินค้าจะขึ้นราคา รวมทั้งเกิดภาวะเงินเฟ้อ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือบริษัทเหล่านี้จะต้องทำให้แรงงานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับค่าแรงไปแล้ว.
นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารส.อ.ท. เปิดเผยถึงการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันที่มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ 1 เม.ย.55 เป็นต้นไปว่า เป็นกฏหมายที่เอกชนคงต้องปฏิบัติตามและทุกฝ่ายก็ต้องปรับตัวรองรับโดยส่วนเอกชนที่ไม่สามารถจะแบกรับภาระได้จริงที่สุดคงหนีไม่พ้นการปรับขึ้นราคาสินค้า ซึ่งก็เป็นไปตามวัฎจักรหรือทฤษฎี 2 สูงคือปล่อยให้ราคาสินค้าปรับขึ้นตามกลไกควบคู่ไปกับการปรับขึ้นค่าแรงเพื่อให้สอดรับกับรายจ่าย
“ จริงๆ เราเองไม่ได้คัดค้านการขึ้นค่าแรงเลยเพราะว่าเมื่อหันไปดูค่าครองชีพประชาชนแล้วเขามีรายได้น้อยมากเมื่อเทียบกับรายจ่ายแต่ปัญหาคือรัฐเองควรมีกลไกในการดูแลราคาสินค้าให้นิ่งก่อนสักพักแล้วใช้วิธีทยอยปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแต่ขึ้นครั้งนี้เท่ากับ 40% มันเร็วไปนิดนึง และอยากให้หามาตรการดูแลผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอีเพราะเขามีอำนาจต่อรองต่ำมากที่สุดจะอยู่ลำบากซึ่งตอนนี้คงประเมินยากแต่ผมคิดว่าอีก 3 เดือนข้างหน้าจะเห็นชัดว่าผลกระทบจะมากน้อยเพียงใด”นายวิศิษฎ์กล่าว
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานส.อ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้เอกชนส่วนใหญ่ ได้เตรียมรับภาระรายจ่ายที่จะต้องเพิ่มขึ้นจากนโยบายการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันแล้วซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเอสเอ็มอีที่มีอยู่ประมาณ 2.3 ล้านรายทั่วประเทศอาจต้องประสบกับปัญหาขาดทุนและที่สุด 20-30%ของเอสเอ็มอีทั้งหมดมีโอกาสต้องปิดกิจการลงเพราะขณะนี้เท่าที่ทราบเริ่มทยอยปิดแล้วจำนวนมาก ดังนั้นรัฐบาลควรหามาตรการในการดูแลเอสเอ็มอีอย่างเร่งด่วน
***เอสเอ็มอีชิงปิดหนีจ่ายชดเชยเพิ่ม
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการส.อ.ท. กล่าวว่า การขึ้นค่าแรงคาดว่าจะส่งผลให้กิจการคนไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีอาจต้องล้มหายไปพอสมควร ซึ่งขณะนี้กิจการที่ใช้แรงงานเข้มข้นในหลายจังหวัดเริ่มทยอยปิดเพราะประเมินแล้วว่าไม่สามารถรับภาระค่าจ้างที่เพิ่มอีก 40% โดยหากปล่อยให้ไปปิดกิจการหลัง เม.ย.55 ไปแล้วการจ่ายชดเชยจะยึดฐานเงินเดือนใหม่ที่ปรับขึ้นจะทำให้ต้องมีภาระจ่ายค่าตอบแทนล่วงหน้าสูง
“ ผมคิดว่าภาพมันจะค่อยๆ เห็นและจะไปรุนแรงในปี 2556 ที่ค่าจ้างขึ้นทั่วประเทศ วันนี้มาตรการช่วยเหลือทุกอย่างไม่ได้ตกกับเอสเอ็มอีเลย ขณะที่ลูกจ้างเองก็เชื่อว่าถ้าเลือกได้ระหว่างการขึ้นค่าจ้างกับของไม่ขึ้นราคาเขาเลือกของไม่ขึ้นราคาดีกว่าเพราะเขาเองก็ไม่แน่ใจว่าที่สุดแล้วกิจการจะอยู่ได้นานแค่ไหน”นายสมมาตกล่าว
***ธุรกิจจำใจจ่าย 300 บาท
นายสุวัฒน์ ทรงพัฒนะโยธิน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เชสเตอร์ ฟู้ด จำกัด ผู้บริหารร้านเชสเตอร์ กริลล์ กล่าวว่า บริษัทมีจำนวนพนักงานที่เข้าข่ายได้สิทธิรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันและเงินเดือนขั้นต่ำปริญญาตรี 15,000 บาท จำนวน 1,500 คนทั้งแบบพนักงานรายวันและพนักงานประจำ ส่งผลให้ต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าแรงงานเพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 1.5 ล้านบาท ดังนั้นจึงต้องปรับระบบการทำงานให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแต่ละคนให้มากขึ้น รวมทั้งการขึ้นราคาสินค้า ซึ่งนอกจากค่าแรงขึ้นแล้วยังเป็นผลมาจากวัตถุดิบขึ้นราคาด้วย โดยได้ปรับราคาอาหารในแต่ละเมนูเพิ่มขึ้นอีกราว 5-7% หรือประมาณ 3-5 บาท
นายชนินทธ์ โทณวณิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล เจ้าของและผู้บริหารโรงแรมในกลุ่มดุสิตธานี กล่าวว่า ตั้งแต่ทำงานในวงการโรงแรมมานาน 30 ปี ถือว่าปีนี้เป็นปีที่มีการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำที่สูงที่สุดเกือบ 40% ยังไม่นับรวมการปรับขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบอาหาร ราว 10% ค่าFTไฟฟ้า ที่ขึ้นตามราคาน้ำมัน ทางโรงแรมดุสิต คงเลือกใช้วิธีปรับฐานเงินเดือนให้เท่ากับที่รัฐกำหนด จะไม่นำค่าเซอร์วิสชาร์จมารวม แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นใน 12 เดือนหลังปรับขึ้นค่าแรงงาน จะได้เห็นวงการอุตสาหกรรมโรงแรม คือ การปรับลดพนักงาน จากแรงงานในอุตสาหกรรมโรงแรมทั้งระบบที่มีมากกว่า 500,000 คน
นางสาวอลิสา พันธุศักดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ทิฟฟานี่โชว์ พัทยา และยังดำรงตำแหน่ง กรรมการ สมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า ธุรกิจของทิฟฟานี่โชว์ เป็นธุรกิจที่ไม่มีเซอร์วิสชาร์จดังนั้นจากนโยบายดังกล่าว เราต้องปรับขึ้นอัตราค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวัน ให้แก่พนักงานที่เข้าเกณฑ์มากถึง 34% จากจำนวนพนักงานกว่า 200 คน
นายไซมอน แมททิวส์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แมนพาวเวอร์กรุ๊ป กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าแรงถือเป็นแนวคิดที่ดีแต่อาจจะเป็นการก้าวกระโดดที่สูงเกินไป เพราะในบางพื้นที่ตามต่างจังหวัดขึ้นค่าแรง 300 บาทเท่ากับ 40% เช่น บางบริษัทมีพนักงานกว่าสองหมื่นคน และ 90% ของพนักงานกลุ่มนี้อยู่ในข่ายที่จะได้ขึ้นค่าแรง ดูแล้วเป็นปริมาณที่มาก ปัญหาที่อาจจะตามมาคือ บริษัทเหล่านี้ต้องลดผลกำไรลงเพราะต้นทุนสูงขึ้น และสินค้าจะขึ้นราคา รวมทั้งเกิดภาวะเงินเฟ้อ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือบริษัทเหล่านี้จะต้องทำให้แรงงานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับค่าแรงไปแล้ว.