ASTVผู้จัดการรายวัน- แบงก์ชาติเผยเศรษฐกิจเดือน ก.พ.ปรับตัวดีขึ้น ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนกลับมาสูงกว่าระดับก่อนเกิดอุทกภัย โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ด้านผู้บริหารร้านเชสเตอร์ กริลล์ ยอมรับเริ่มใช้ค่าแรง 300 บาท ส่งผลต้นทุนพุ่ง แต่ต้องจำใจปรับขึ้น พร้อมปรับราคาอาหารในแต่ละเมนูอีก 5-7% ขณะที่ผู้บริหารโรงแรมในกลุ่มดุสิต ให้จับตา 12 ข้างหน้า แรงงาน 5 แสนคน อาจต้องว่างงาน
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนกลับมาสูงกว่าระดับก่อนเกิดอุทกภัย สอดคล้องกับการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าทุนที่เร่งตัวขึ้น
ส่วนหนึ่งจากการนำเข้าเครื่องจักรมาทดแทนของน้ำที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ขณะที่การผลิตปรับดีขึ้นเป็นลำดับ ด้านส่งออกเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัว แม้การขยายตัวยังอยู่ในระดับต่ำ โดยการส่งออกมีมูลค่า 1.86 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัว 1.2% จากเดือนก่อนหน้าที่มีมูลค่า 1.55 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวติดลบ 6.1% ซึ่งธปท.คาดว่าส่งออกน่าจะดีในไตรมาส 2 หรือครึ่งหลังของปี จากภาคการผลิตที่กลับมาผลิตได้เต็มที่เหมือนช่วงก่อนน้ำท่วม และภาวะเศรษฐกิจโลกที่น่าจะกลับมาดีขึ้น ช่วยทำให้คำสี่งซื้อน่าจะดีขึ้นด้วย
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี การจ้างงานเพิ่มขึ้น และอัตราเงินเฟ้อทรงตัวจากเดือนก่อน โดยเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 3.35% ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ 3.38% และเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2.72% จากเดือนก่อนหน้า 2.75%
"เศรษฐกิจดีขึ้นกว่าที่คาดไว้ ดังนั้นคาดว่าไตรมาส 2 จะกลับมาเป็นปกติ ส่วนส่งออกกคาดว่าครึ่งปีหลังจะกลับเข้าสู่ปกติ เพราะเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวดีขึ้น มูลค่าส่งออกกุมภาพันธ์กลับมาปกติแล้ว แต่ปริมาณยังผลิตไม่ได้ เลยชะลอตัว" นายเมธีกล่าวและว่า ในส่วนของภาคการท่องเที่ยวได้ฟื้นตัวเป็นปกติแล้วตั้งแต่เดือนก่อน แต่ในเดือนนี้ชะลอลงจากปัจจัยชั่วคราว โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจำนวน 1.8 ล้านคน ขยายตัวเพียง 2.4% จากระยะเดียวกันปีก่อน
ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานสูงในเดือนเดียวกันปีก่อนที่มีเทศกาลตรุษจีน และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากการชะลอการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะจีน ฮ่องกง และไต้หวัน จากความกังวลด้านความปลอดภัยจากเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ หากรวมจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2555 ขจัดผลของเทศกาลตรุษจีนที่ในปีนี้และปีที่แล้วไม่ได้อยู่ในเดือนเดียวกัน พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศยังขยายตัว 5.2% จากระยะเดียวกันปีก่อน.
***ธุรกิจอ้างจำใจจ่าย300บาท
มาตรการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย.นี้ ในพื้นที่ 7 จังหวัดนำร่องคือ กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ภูเก็ต นครปฐม และ ปทุมธานี แต่ในส่วนของผู้ประกอบการหลายรายก็ยังคงมีทีท่าไม่เห็นด้วยเพราะต้นทุนจะสูงขึ้น และแน่นอนว่าภาระก็ตกอยู่ที่ผู้บริโภค
นายสุวัฒน์ ทรงพัฒนะโยธิน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เชสเตอร์ ฟู้ด จำกัด ผู้บริหารร้านเชสเตอร์ กริลล์ กล่าวว่า บริษัทมีจำนวนพนักงานที่เข้าข่ายได้สิทธิรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันและเงินเดือนขั้นต่ำปริญญาตรี 15,000 บาท จำนวน 1,500 คน ทั้งแบบพนักงานรายวันและพนักงานประจำ ส่งผลให้ต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าแรงงานเพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 1.5 ล้านบาท
ดังนั้นจึงต้องปรับระบบการทำงานให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแต่ละคนให้มากขึ้น รวมทั้งการขึ้นราคาสินค้า ซึ่งนอกจากค่าแรงขึ้นแล้วยังเป็นผลมาจากวัตถุดิบขึ้นราคาด้วย โดยได้ปรับราคาอาหารในแต่ละเมนูเพิ่มขึ้นอีกราว 5-7% หรือประมาณ 3-5 บาท
***จับตาอุตฯรร.จ่อปลดพนง
นายชนินทธ์ โทณวณิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล เจ้าของและผู้บริหารโรงแรมในกลุ่มดุสิตธานี กล่าวว่า ตั้งแต่ทำงานในวงการโรงแรมมานาน 30 ปี ถือว่าปีนี้เป็นปีที่มีการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำที่สูงที่สุดดเกือบ 40% ยังไม่นับรวมการปรับขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบอาหาร ราว 10% ค่าFTไฟฟ้า ที่ขึ้นตามราคาน้ำมัน
ทางโรงแรมดุสิต คงเลือกใช้วิธีปรับฐานเงินเดือนให้เท่ากับที่รัฐกำหนด จะไม่นำค่าเซอร์วิสชาร์จมารวม แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นใน 12 เดือนหลังปรับขึ้นค่าแรงงาน จะได้เห็นวงการอุตสาหกรรมโรงแรม คือ การปรับลดพนักงาน จากแรงงานในอุตสาหกรรมโรงแรมทั้งระบบที่มีมากกว่า 500,000 คน
นางสาวอลิสา พันธุศักดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ทิฟฟานี่โชว์ พัทยา และยังดำรงตำแหน่ง กรรมการ สมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า ธุรกิจของทิฟฟานี่โชว์ เป็นธุรกิจที่ไม่มีเซอร์วิสชาร์จดังนั้นจากนโยบายดังกล่าว เราต้องปรับขึ้นอัตราค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวัน ให้แก่พนักงานที่เข้าเกณฑ์มากถึง 34% จากจำนวนพนักงานกว่า 200 คน
นายไซมอน แมททิวส์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย, แมนพาวเวอร์กรุ๊ป กล่าวว่าการปรับขึ้นค่าแรงถือเป็นแนวคิดที่ดีแต่อาจจะเป็นการก้าวกระโดดที่สูงเกินไป เพราะในบางพื้นที่ตามต่างจังหวัดขึ้นค่าแรง 300 บาทเท่ากับ 40% เช่น บางบริษัทมีพนักงานกว่าสองหมื่นคน และ 90% ของพนักงานกลุ่มนี้อยู่ในข่ายที่จะได้ขึ้นค่าแรง ดูแล้วเป็นปริมาณที่มาก ปัญหาที่อาจจะตามมาคือ บริษัทเหล่านี้ต้องลดผลกำไรลงเพราะต้นทุนสูงขึ้น และสินค้าจะขึ้นราคา รวมทั้งเกิดภาวะเงินเฟ้อ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือบริษัทเหล่านี้จะต้องทำให้แรงงานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับค่าแรงไปแล้ว
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนกลับมาสูงกว่าระดับก่อนเกิดอุทกภัย สอดคล้องกับการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าทุนที่เร่งตัวขึ้น
ส่วนหนึ่งจากการนำเข้าเครื่องจักรมาทดแทนของน้ำที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ขณะที่การผลิตปรับดีขึ้นเป็นลำดับ ด้านส่งออกเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัว แม้การขยายตัวยังอยู่ในระดับต่ำ โดยการส่งออกมีมูลค่า 1.86 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัว 1.2% จากเดือนก่อนหน้าที่มีมูลค่า 1.55 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวติดลบ 6.1% ซึ่งธปท.คาดว่าส่งออกน่าจะดีในไตรมาส 2 หรือครึ่งหลังของปี จากภาคการผลิตที่กลับมาผลิตได้เต็มที่เหมือนช่วงก่อนน้ำท่วม และภาวะเศรษฐกิจโลกที่น่าจะกลับมาดีขึ้น ช่วยทำให้คำสี่งซื้อน่าจะดีขึ้นด้วย
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี การจ้างงานเพิ่มขึ้น และอัตราเงินเฟ้อทรงตัวจากเดือนก่อน โดยเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 3.35% ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ 3.38% และเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2.72% จากเดือนก่อนหน้า 2.75%
"เศรษฐกิจดีขึ้นกว่าที่คาดไว้ ดังนั้นคาดว่าไตรมาส 2 จะกลับมาเป็นปกติ ส่วนส่งออกกคาดว่าครึ่งปีหลังจะกลับเข้าสู่ปกติ เพราะเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวดีขึ้น มูลค่าส่งออกกุมภาพันธ์กลับมาปกติแล้ว แต่ปริมาณยังผลิตไม่ได้ เลยชะลอตัว" นายเมธีกล่าวและว่า ในส่วนของภาคการท่องเที่ยวได้ฟื้นตัวเป็นปกติแล้วตั้งแต่เดือนก่อน แต่ในเดือนนี้ชะลอลงจากปัจจัยชั่วคราว โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจำนวน 1.8 ล้านคน ขยายตัวเพียง 2.4% จากระยะเดียวกันปีก่อน
ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานสูงในเดือนเดียวกันปีก่อนที่มีเทศกาลตรุษจีน และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากการชะลอการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะจีน ฮ่องกง และไต้หวัน จากความกังวลด้านความปลอดภัยจากเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ หากรวมจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2555 ขจัดผลของเทศกาลตรุษจีนที่ในปีนี้และปีที่แล้วไม่ได้อยู่ในเดือนเดียวกัน พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศยังขยายตัว 5.2% จากระยะเดียวกันปีก่อน.
***ธุรกิจอ้างจำใจจ่าย300บาท
มาตรการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย.นี้ ในพื้นที่ 7 จังหวัดนำร่องคือ กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ภูเก็ต นครปฐม และ ปทุมธานี แต่ในส่วนของผู้ประกอบการหลายรายก็ยังคงมีทีท่าไม่เห็นด้วยเพราะต้นทุนจะสูงขึ้น และแน่นอนว่าภาระก็ตกอยู่ที่ผู้บริโภค
นายสุวัฒน์ ทรงพัฒนะโยธิน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เชสเตอร์ ฟู้ด จำกัด ผู้บริหารร้านเชสเตอร์ กริลล์ กล่าวว่า บริษัทมีจำนวนพนักงานที่เข้าข่ายได้สิทธิรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันและเงินเดือนขั้นต่ำปริญญาตรี 15,000 บาท จำนวน 1,500 คน ทั้งแบบพนักงานรายวันและพนักงานประจำ ส่งผลให้ต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าแรงงานเพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 1.5 ล้านบาท
ดังนั้นจึงต้องปรับระบบการทำงานให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแต่ละคนให้มากขึ้น รวมทั้งการขึ้นราคาสินค้า ซึ่งนอกจากค่าแรงขึ้นแล้วยังเป็นผลมาจากวัตถุดิบขึ้นราคาด้วย โดยได้ปรับราคาอาหารในแต่ละเมนูเพิ่มขึ้นอีกราว 5-7% หรือประมาณ 3-5 บาท
***จับตาอุตฯรร.จ่อปลดพนง
นายชนินทธ์ โทณวณิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล เจ้าของและผู้บริหารโรงแรมในกลุ่มดุสิตธานี กล่าวว่า ตั้งแต่ทำงานในวงการโรงแรมมานาน 30 ปี ถือว่าปีนี้เป็นปีที่มีการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำที่สูงที่สุดดเกือบ 40% ยังไม่นับรวมการปรับขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบอาหาร ราว 10% ค่าFTไฟฟ้า ที่ขึ้นตามราคาน้ำมัน
ทางโรงแรมดุสิต คงเลือกใช้วิธีปรับฐานเงินเดือนให้เท่ากับที่รัฐกำหนด จะไม่นำค่าเซอร์วิสชาร์จมารวม แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นใน 12 เดือนหลังปรับขึ้นค่าแรงงาน จะได้เห็นวงการอุตสาหกรรมโรงแรม คือ การปรับลดพนักงาน จากแรงงานในอุตสาหกรรมโรงแรมทั้งระบบที่มีมากกว่า 500,000 คน
นางสาวอลิสา พันธุศักดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ทิฟฟานี่โชว์ พัทยา และยังดำรงตำแหน่ง กรรมการ สมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า ธุรกิจของทิฟฟานี่โชว์ เป็นธุรกิจที่ไม่มีเซอร์วิสชาร์จดังนั้นจากนโยบายดังกล่าว เราต้องปรับขึ้นอัตราค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวัน ให้แก่พนักงานที่เข้าเกณฑ์มากถึง 34% จากจำนวนพนักงานกว่า 200 คน
นายไซมอน แมททิวส์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย, แมนพาวเวอร์กรุ๊ป กล่าวว่าการปรับขึ้นค่าแรงถือเป็นแนวคิดที่ดีแต่อาจจะเป็นการก้าวกระโดดที่สูงเกินไป เพราะในบางพื้นที่ตามต่างจังหวัดขึ้นค่าแรง 300 บาทเท่ากับ 40% เช่น บางบริษัทมีพนักงานกว่าสองหมื่นคน และ 90% ของพนักงานกลุ่มนี้อยู่ในข่ายที่จะได้ขึ้นค่าแรง ดูแล้วเป็นปริมาณที่มาก ปัญหาที่อาจจะตามมาคือ บริษัทเหล่านี้ต้องลดผลกำไรลงเพราะต้นทุนสูงขึ้น และสินค้าจะขึ้นราคา รวมทั้งเกิดภาวะเงินเฟ้อ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือบริษัทเหล่านี้จะต้องทำให้แรงงานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับค่าแรงไปแล้ว