ASTVผู้จัดการรายวัน- รุมจวก! ใช้ปรองดอง-แก้รธน.บังหน้า ขยายเวลาประชุมสภาฯหวังสนองนายใหญ่ กลับบ้านสำเร็จก่อนสิ้นปี “เพื่อไทย” อ้างวาระค้างสภาเยอะ จับตาพระปกเกล้า กำหนดท่าทียับยั้งผลวิจัย 3 เม.ย.นี้มาร์ค ห่วงม๊อบปะทะ 4 เม.ย. วันดีเดย์ “กมธ.ปรองดอง”
จากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติ ให้ถอนพ.ร.ฏ.ปิดสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติออกไปอย่างไม่มีกำหนดนั้น
วานนี้ (30 มี.ค.55)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนทราบจากประธานสภาว่ามีเป้าหมายที่จะให้รัฐธรรมนูญผ่านการพิจารณาก่อนปิดสมัยประชุมนี้ จึงมีความคิดที่จะขยายเวลาการประชุมออกไปเพราะแนวโน้มขณะนี้ไม่น่าจะทันกำหนดการเดิมที่จะปิดสมัยประชุมวันที่ 18 เม.ย. นี้ ซึ่งตนมีความเป็นห่วงเพราะถ้าการพิจารณาเป็นไปโดยปกติก็จะต้องขยายเวลาออกกไปนานพอสมควร อย่างน้อยวาระที่2-3 ต้องเว้นระยะเวลาไปอีก15 วัน และจะเห็นว่าการเร่งรัดก็จะทำให้เกิดปัญหา และ การทำงานของคณะกรรมาธิการก็ไม่เป็นไปตามแบบแผนที่ทำมาเช่นเมื่อฝ่ายรัฐบาลแพ้ในการลงมติ ก็มีการนัดให้กลับมาลงมติกันใหม่ เพื่อกลับมติให้เป็นไปตามที่ต้องการ ตนคิดว่าถ้าเดินกันแบบนี้ก็จะไม่ปรองดองอยู่เลย กลายเป็นว่า ทุกอย่างต้องเป็นไปตามฝ่ายรัฐบาลหรือเสียงข้างมากเท่านั้น
เมื่อถามว่าการเร่งรัดโดยใช้เสียงข้างมากไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการแก้รัฐธรรมนูญ และ คณะกรรมาธิการปรองดอง คิดว่าเชื่อมโยงกันหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็เชื่อมกันหมด คือมุ่งไปสู่การลบล้างผู้ที่มีปัญหาเรื่องคดี ความผิด สุดท้ายกลายเป็นว่าการปรองดองถูกนำมาใช้เป็นการบังหน้าเพื่อล้างความผิดให้กับคนโดยเฉพาะกับคนที่ทุจริต ตนยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนการปรองดองแต่ไม่สนับสนุนการล้างผิดให้คนโกง และเห็นว่าไม่ควรนำ2 เรื่องนี้มาปะปนกัน
**หวังสนองนายใหญ่สำเร็จก่อนสิ้นปี
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ถือเป็นนัยยะสำคัญทางการเมือง โดยเฉพาะการไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเสร็จสิ้นเมื่อไหร่ จึงพยายามเปิดไว้เพื่อที่จะรอการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จเสียก่อน เพราะไม่สามารถคาดการว่าการใช้เวลาอภิปรายในวันที่ 11-12 เม.ย.จะทันหรือไม่ และอาจต้องทอดยาวไปหลังเทศกาลสงกรานต์ จึงอยากเรียกร้องว่ารัฐบาลไม่ควรที่จะเลื่อนพ.ร.ฏ.ออกไป ควรจะให้ปิดสมัยประชุมในวันที่ 18 เม.ย.ตามกำหนดเดิม และหากภารกิจที่นายใหญ่ต้องการคือ การปรองดอง นิรโทษกรรม และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าไม่เสร็จตามเป้าหมายก็ให้ใช้สิทธิเปิดประชุมสมัยวิสามัญขึ้นมาเพื่อพิจารณาเรื่องเหล่านี้ แต่เชื่อว่ารัฐบาลนี้โดยเฉพาะนายกฯ ที่หนีสภามาตลอด อาจจะไม่ใช้ช่องทางการเปิดประชุมสมัยวิสามัญ เพราะจะเปิดช่องให้พรรคฝ่ายค้านสามารถยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในการช่วงของการเปิดประชุมสมัยวิสามัญได้
“ขอท้าว่าถ้ารัฐบาลชุดนี้ถ้าไม่กลัวการตรวจสอบก็ขอให้ปิดสมัยประชุมตามกำหนด และให้เปิดสมัยประชุมวิสามัญขึ้นมา โดยเปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านทำการตรวจสอบตามหนทางระบอบประชาธิปไตย โดยเรามีคณะทำงานหลายชุดที่สามารถสรุปประเด็นการทำงานของรัฐบาล ผมเชื่อว่ามีหลายรปะเด็นมาก แม้กระทั่งเรื่องวุฒิภาวะของการเป็นผู้นำ เรื่องจริยธรรม คุณธรรม ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มาก และน่าจะเป็นประเด็นหนึ่งที่สามารถวิพากษ์วิจารณาได้นอกจากความล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดินในห้วงเวลา 8 เดือนที่ผานมา” นายเทพไทกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ คือเป้าหมายหนึ่งที่ฝ่ายค้านนำมาอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายเทพไท กล่าวว่า นายกฯ อยู่ในฐานะเป็นผู้บริหารสูงสุดจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ แม้ที่ผ่านมาจะสามารถปฏิเสธความรับผิดชอบต่อสื่อได้ โดยโยนให้รัฐมนตรีรับผิดชอบตอบแทน หรือโยนให้เป็นเรื่องของสภา แต่ถ้ามีการยื่นญัตติอภิปรายตัวนายกฯ และครม.ทั้งคณะก็ไม่สามารถโยนให้ใครได้ จุดนี้จึงทำให้นายกฯ กลัวตลอด และเชื่อว่ากุนซือที่อยู่เบื้องหลังก็พยายามใช้แนวทางขยายการประชุมสามัญนิติบัญญัติแทนการเปิดประชุมวิสามัญ เพื่อปิดช่องทางการอภิปรายของฝ่ายค้าน
เมื่อถามว่าการขยายเวลาประชุมสภาออกไปจะทำให้การกลับมาของพ.ต.ท.ทักษิณสำเร็จหรือไม่ นายเทพไท กล่าวว่า หากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จก็ถือเป็นการเปิดประตูให้พ.ต.ท.ทักษิณ ดังนั้น หนทางจะเร็วหรือช้าอยู่ที่กระบวนการทั้งหมดว่าจะเร่งรัดมากแค่ไหน แต่เชื่อว่าตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจะเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นถึงความขัดแย้งในสังคมรอบใหม่ได้ก่อตัวขึ้นแล้ว เพียงแต่พ.ต.ท.ทักษิณจะใส่ไฟหรือราดน้ำมันลงในกองเพลิงมากน้อยแค่ไหน และเร็วแค่ไหนเท่านั้น เมื่อถามอีกว่าการที่รัฐบาลประเมินว่ากระแสต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณไม่มีพลังเพียงพอที่จะต่อต้านกับสิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่นั้น นายเทพไท กล่าวว่า เป็นการดูถูกพลังประชาชน เชื่อว่าวันนี้พลังเงียบมีอยู่มาก แต่เมื่อมีขีดความอดทนที่จำกัด และรับไม่ได้ก็คงจะออกมาด้วยตนเอง
**เพื่อไทย อ้างวาระค้างสภาเยอะ
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ชี้แจงว่า เป็นการยืดเวลาเพื่อให้สภาได้มีการพิจารณากฎหมายสำคัญของรัฐบาลที่ยังค้างอยู่ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.ปรองดอง และกฎหมายสำคัญที่เป็นนโยบายของรัฐบาลจนกว่าจะแล้วเสร็จ ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์อาจมองว่าเป็นการยืดเวลาเพื่อออกกฎหมายช่วยเหลือใครบางคนนั้น ยืนยันว่ารัฐบาลมีเหตุผลชี้แจงได้ แต่คงไม่สามารถห้ามความคิดของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยได้ และทั้งหมดต้องฟังเสียงส่วนใหญ่ ขณะที่จะมีการพิจารณาการสร้างแนวทางสร้างความปรองดองนั้น ก็ต้องเดินหน้าต่อไปในเรื่องที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า ต้องการเห็นประเทศมีทางออกไปสู่ความสมานฉันท์ และแม้จะมีการท้วงติงจากฝ่ายค้านที่ไม่ยอมรับในขั้นตอนและวิธีการก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการของสภาซึ่งจะหยุดไม่ได้ เพราะเรื่องดังกล่าวได้มีการหารือกันมานานแล้ว ต้องทำให้ได้ข้อสรุป และมั่นใจว่าวิธีการนี้จะสำเร็จ
ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ทราบเรื่องดังกล่าว เนื่องจากเมื่อวานนี้ได้ลาประชุมคณะรัฐมนตรี แต่เชื่อว่าไม่เกี่ยวกับการขยายเวลาเพื่อรอยื่นพระราชบัญญัติปรองดอง
นายสมศักดิ์ เกีรยติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการขยายเวลาการประชุมสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติ เพราะอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่ามีเรื่องและวาระอะไรค้างอยู่ในรัฐสภาและสภาผู้แทนราษฏรบ้าง จากนั้นจึงจะกำหนดกันอีกครั้งว่าจะขอขยายเวลาไปอีกเท่าใด ซึ่งการขยายเวลาออกไปไม่ได้เป็นการเจาะจงจะใช้พิจารณาเฉพาะเรื่องรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางสร้างความปรองดองแห่งชาติ หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการดูในภาพรวม เนื่องจากตอนนนี้ทราบว่ามีเรื่องข้อตกลงระหว่างประเทศตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 และร่างพ.ร.บ.อื่นๆ ค้างอยู่
“สาเหตุที่ต้องขยายเวลาออกไปเพราะเห็นว่าการปิดสมัยประชุมครั้งนี้มีระยะเวลานานถึง 3 เดือน รัฐสภาไม่อยากเป็นตัวถ่วงทำให้การบริหารงานล่าช้าจึงต้องขยายเวลาประชุมเพิ่มเติมแต่ตอนนี้ยังไม่ได้รับการประสานจากรัฐบาลว่าจะเสนอร่างพระราชกฤษฏีกาเมื่อใด” นายสมศักดิ์ กล่าว
เมื่อถามว่าหากมีการขยายเวลาสมัยประชุมออกไปจะเพิ่มอีกกี่วัน นายสมศักดิ์ กล่าวว่า จะต้องดูงานที่ค้างอยู่ก่อนแต่คาดว่าน่าจะใช้เวลาเพิ่มเติมเพียง 2 สัปดาห์
อย่างไรก็ตามขณะนี้ตนยังไม่ได้ดูวาระการประชุมในภาพรวมแต่ถ้าไม่มีปัญหาอะไรน่าจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฏรได้ในวันที่ 4เม.ย. ส่วนจะใช้เวลาอภิปรายกี่วันขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างวิปรัฐบาลและวิปฝ่ายค้าน เมื่อถามว่าหากสถาบันพระปกเกล้ามีมติถอนรายงานวิจัยออกจะมีผลต่อการพิจารณาของสภาหรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า อย่าเพิ่งคิดไปว่าจะเกิดอะไรขึ้นเพราะตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจน
**เลขาฯสภา อ้างอยู่ที่อำนาจฝ่ายบริหาร
นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตนยังไม่ทราบข้อเท็จจริงว่าจะมีการขยายเวลาการประชุมสภาฯ สมัยสามัญนิติบัญญัติ ออกไปจากเดิมที่กำหนดปิดสมัยประชุมวันที่ 18 เม.ย.นี้หรือไม่ แต่ประเด็นนี้เป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่จะสามารถขยายเวลาการปิดสมัยประชุมออกไปได้ ด้วยพระราชกฤษฏีกาขยายเวลาการประชุมสภาฯ ทั้งนี้ในสมัยการประชุมที่ผ่านมา มีการขยายเวลาการประชุมมาแล้ว ดังนั้นประเด็นนี้ถือว่าเป็นปกติทั้งนี้ตามหลักการของกฎหมาย หากขอขยายเวลาการประชุมสมัยนิติบัญญัติ ก็เท่ากับว่าขยายสมัยประชุมนิติบัญญัติ และสามารถพิจารณาได้เฉพาะร่างกฎหมายเท่านั้น
การขอขยายเวลาปิดสมัยประชุมดังกล่าวเข้าใจว่า ต้องการทำเรื่องกฎหมายที่ดำเนินการอยู่ตอนนี้ให้แล้วเสร็จ ส่วนจะเป็นอย่างที่หลายฝ่ายวิจารณ์ว่าขยายเวลาปิดประชุมเพื่อให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมหรือไม่นั้นตนไม่ทราบ
เลขาธิการสภาฯ กล่าวต่อว่าปกติช่วงเดือนมิถุนายน จะมีการเปิดสมัยประชุมวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณประจำปีงบประมาณ 2556 ดังนั้นเข้าใจว่าการขอขยายเวลาปิดสมัยประชุมออกไป เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับการเปิดประชุมวิสามัญ ช่วงดังกล่าว
**พระปกเกล้ากำหนดท่าที 3 เม.ย.นี้
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวถึงกรณีคณะผู้ทำการวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า จะหารือแนวทางการยับยั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ที่อ้างอิงรายงานการวิจัยฯ ที่เสนอต่อรัฐสภาไปแล้วว่า ในส่วนคณะผู้ทำการวิจัย จะมีการหารือกันก่อน และจะแถลงถึงท่าทีที่ชัดเจนกันอีกครั้ง วันอังคารที่ 3 เมษายนนี้ ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎร จะมีการพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการปรองดอง ในระหว่างวันที่ 4 - 5 เมษายน
“ยังไม่สามารถพูดถึงท่าทีความชัดเจนของคณะผู้ทำการวิจัย ว่าจะมีมติให้ยับยั้งรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการปรองดองหรือไม่” เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าระบุ
นายวรากรณ์ สามโกเศศ กรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า การประชุมที่จะมีขึ้น จนถึงตอนนี้ยังไม่มีการหารือถึงการประชุมดังกล่าวว่าจะมีรูปแบบอย่างไร ส่วนตัวเห็นว่าการสร้างความปรองดองที่จะให้เกิดขึ้นได้จะต้องมีความยินดี โดยปราศจากความระแวงของคนทั้งสองฝ่าย แต่การสร้างควารมปรองดองในครั้งนี้อีกฝ่ายมองว่าทำให้อีกคนหนึ่งได้ประโยชน์ การสร้างความปรองดองอย่างนี้เกิดขึ้นได้ยาก
เมื่อถามว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานี้ต่างคนต่างที่จะไม่ต้องการสร้างความปรองดองอยู่แล้ว ประจวบเหมาะเมื่อมีงานวิจัยของสถาบันออกมากจึงได้มีการนำไปขยายผล เพื่อที่จะใช้ประโยชน์ นายวรากรณ์ กล่าวว่า ตามความเห็นส่วนตัว เห็นว่างานวิจัยที่ออกมานั้นไม่ได้เป็นตามที่พล.อ.สนธิ ในฐานะประธานกรรมาธิการสร้างความปรองดองนำไปใช้ เนื่องจากมีการดึงเอาข้อเสนอเพียงบางช่วง บางตอน เอาไปใช้ ซึ่งส่วนที่มีการดึงเอาไปใช้ก็ไม่ใช่ข้อเสนอแนะ แต่เป็นเพียงตอนระพึงระพรรณเท่านั้่น อย่างไรก็ตามตามความเห็นของตนเชื่องานวิจัยจะดีเลิศมากแค่ไหนก็ตามการสร้างความปรองดองก็เกิดขึ้นได้ ต่อให้มีพรบ.ปรองดองก็ตาม การสร้างความปรองดองก็เกิดขึ้นไม่ได้อย่างแน่นอน ยิ่งหากมีการดำเนินการออกนิรโทษกรรมขึ้นมาจริงๆ ตนเชื่อว่าสังคมเกิดความแตกแยกอย่างแน่นอน
เมื่อถามว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ คิดว่าหลังจากนี้คณะกรรมการสถาบันพระปกเกล้าจะมีการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง นายวารกรณ์ กล่าวว่า ในการประชุมวันที่ 3 เม.ษายน ที่จะถึงนี้ที่ประชุมกรรมการสภาสถาบันคงจะต้องการหารือร่วมกันว่าจะทำอะไรกับรายงานวิจัยฉับนี้ อย่างไรก็ตามส่วนตัวเชื่อว่าคนที่ทำงานวิจัยชิ้นนี้มีความรอบคอบ และมีความทุ่มเทอย่างมาก แต่ท้ายสุดแล้วก็เป็นไปตามที่มีการคาดกันไว้ คือ ท้ายสุดแล้วก็ไม่มีผลอะไรเท่าไร เพราะคนที่ใช้ก็จะวิธีการดึงเนื้อหาบางส่วนไปใช้ เพื่อสนับสนุนงานตัวเอง อีกทั้งเห็นงานวิจัยดังกล่าวไม่ใช่ประเด็นที่จะทำให้เกิดความปรองดองได้ แต่จะเป็นการเลือกทำให้เกิดความไม่ปรองดองในท้ายสุดมากกว่า
" ที่ประชุมคงจะพูดคุยกันถึงงานวิจัยดังกล่าวของสถาบันชิ้นนี้่ โดยตัวที่มีการเสนอไปให้กรรมาธิการปรองดองนั้น เป็นเพียงตัวร่าง ไม่ใช่ฉบับที่สมบูรณ์ และที่สำคัญมีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่ากรุณานำไปกล่าวอ้าง ดังนั้นหลังจากวันที่ 3 เมษายนนี้ คงจะมีความชัดเจนยิ่งขึ้น ปัยหาของการสร้างความปรองดองตอนนี้ คือ เรื่องความหวาดระแวงกันทั้งสองฝ่าย โดยฝ่ายค้านก็ระแวงรัฐบาลว่า หากยอมจับมือด้วยแล้วรัฐบาลจะไม่ทำไม่สิ่งที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ในส่วนรัฐบาลเองก็ไม่สามารถยืนยันให้ได้ชัดเจนว่าจะไม่ดำเนินการในสิ่งที่ฝ่ายค้านมีความระแวง " นายวารกรณ์ กล่าวว่า
**ห่วงม๊อบปะทะกันวันที่ 4 เม.ย.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวแสดงความเป็นห่วงสถานการณ์ในวันที่ 4 เม.ย. สภาจะพิจารณารับทราบรายงานคณะกรรมการปรองดอง เพราะจะมีประชาชนของฝ่ายมาชุมนุมหน้ารัฐสภา ว่า เจ้าหน้าที่ต้องดูแลให้ดี แต่ถ้ารัฐบาลพยายามทำเหมือนทำในรัฐสภาก็จะยิ่งเพิ่มความตรึงเครียดในสังคมเพิ่มขึ้น ต่อข้อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่าการปรองดองครั้งนี้อาจจะเป็นการนองเลือดมากกว่าปรองดอง นายอภสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ไม่ใช่เรื่องปรองดอง เพราะถ้าเป็นปรองดองประชาธิปัตย์สนับสนุน แต่ถ้าปรองดองบังหน้าล้างผิดให้คนโกง เราสนับสนุนไม่ได้และเชื่อว่าสังคมก็ไม่ยอม จะเกิดข้าหรือเร็วตนก็ไม่อยากให้เกิด ดังนั้นทุกคนต้องพูดความจริงกัน แม้แต่คนเสื้อแดงที่ได้รับผลกระทบเขาก็ไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่รัฐบาลจะทำ และวันนี้เขาอาจจะเริ่มมองเห็นแล้วว่าสุดท้ายที่เคลื่อนไหวทั้งหมด ถ้าพ.ต.ท.ทักษิณ หลุดจากคดีต่างๆ นั่นคือเป้าหมายที่แท้จิรง แต่ในส่วนของคนเสื้อแดง ที่มาต่อสู้เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ชวนเขามาช่วย แต่เขาสูญเสียกลับมาบอกว่าวันนี้ให้ลืมอดีต
เมื่อถามว่าเวทีเสวนา ถ้ารัฐบาลกับสภาไม่ได้ดำเนินการ พรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินการอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การที่พรรคการเมืองไปเริ่มฝ่ายเดียวคงไม่ได้ มันไม่มีประโยชน์ แต่คนที่จะทำได้ดีที่สุดคือรัฐบาล สภา และ กรรมาธิการ ถ้าตั้งหลักได้แบบนี้ทุกอย่างก็เดินได้ เหมือกับว่าทำไมวันนี้ คอป.ยังเดินหน้าทำงานอยู่เหมือนที่ตนเป็นหัวหน้ารัฐบาล ตนก็ไม่ได้บอกว่าจะเอาคนที่มีอำนาจมาชี้ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เชิญคนที่มีความเป็นกลาง อิสระ ไม่มีส่วนได้เสีย มาเป็นตัวตั้งต้น และรัฐบาลนี้ก็ต้องยอมรับว่า คอป.สมควรที่จะได้ทำงานต่อ แต่วันนี้หากใช้การเอาเสียงข้างมากเอาคนของตัวเอง ความยอมรับก็จะไม่เกิด เพราะอย่างที่เคยกล่าวว่าต้นเหตุความขัดแย้งคือ พ.ต.ท.ทักษิณ กับระบบของรัฐไทย ซึ่งหากไม่ไปยึดติดอยู่กับพ.ต.ท.ทักษิณ ทุกอย่างก็แก้ง่าย และหาก พล.อ.สนธิ อยากจะเดินหน้าต่อในการทำให้เกิดบรรยากาศ เพราะอาสาตัวเข้ามาแล้ว ด้วยการเริ่มจากการถอนรายงานกลับไป และควรไปหยิบเอาสาระจริงๆ ที่เป็นกระบวนการเดินหน้าต่อ และสรุปมาให้สภา เพื่อจะได้ช่วยคิด ว่าจะจัดทำรูปแบบไหน
**เหลิม โวพรบ.ปรองดองจ่อเข้าสภาฯ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางปรองดองว่า ความจริงได้วิเคราะห์ไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่ารัฐบาลคงไม่เป็นเจ้าภาพ ซึ่งการเสนอกฎหมายจะมี 4 ช่องทางคือ1.เสนอโดยรัฐบาล จากครม. 2.เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 20 คนขึ้นไป 3.เสนอโดยองค์กรอิสระ และ4.เสนอโดยประชาชนเข้าชื่อกันและไปว่ากันในสภา ซึ่งการทำโดยผ่านสภาจะทำให้มีการโจมตียากเพราะระบอบประชาธิปไตยต้องเอาสภาเป็นหลัก และหากให้รัฐบาลเป็นคนทำก็อาจจะถูกมองว่าข่มขู่หรือไม่ หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนซ่อนเงื่อนหรือไม่เพราะคนจ้องหาเรื่องมีเยอะ ส่วนที่สถาบันพระปกเกล้าที่เสนอผลวิจัยมาแล้วมีข่าวว่าจะถอนออกไป ก็ไม่มีผลอะไรก็เผยแพร่มาแล้ว ซึ่งวันที่ 4 เม.ย.เมื่อมีการนำรายงานของคณะกรรมาธิการศึกษาแนวทางสร้างความปรองดองแห่งชาติเข้าสภา ที่ประชุมสภาก็มีมติรับทราบด้วยเสียงข้างมาก ซึ่งก็แค่ทราบเท่านั้น ไม่มีอะไรเกิดขึ้นสุดท้ายก็แค่คิดดี ทำดีแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ มีทางเดียวต้องทำเป็นพรบ.ปรองดอง ต่อให้เจรจาอย่างไรก็ไม่จบ
ผู้สื่อข่าวถามว่าเมื่อเตรียมความพร้อมไว้ทุกอย่างแล้ว ทำไมจึงยังไม่เสนอพรบ.ปรองดอง รออะไรอยู่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ขอรอจังหวะเวลาอีกนิดหนึ่ง เมื่อถามว่าจังหวะเวลาที่รอคือช่วงไหน เป็นช่วงที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกมาสั่งการได้ใช่หรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ไม่ใช่ เพราะตนไม่ได้ทำเพื่อคนหนึ่งคนใด และที่ตนเขียนก็ไม่ได้เอ่ยชื่อตัวบุคคล ไม่เคยเอ่ยถึงเหตุการณ์อะไรเลย แต่เป็นภาพรวมทั้งหมด แต่ขอให้รอเวลาอีกนิด อย่าเพิ่งใจร้อน เมื่อถามว่าที่ยังไม่เสนอเป็นเพราะว่าเกรงว่าหากพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาเร็ว อำนาจของท่านก็จะไม่มีหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ตนไม่มีอำนาจ และเมื่อพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมา จะคิดเล่นการเมืองหรือไม่ก็ยังไม่รู้ใจท่าน ไม่หรอก ผมไม่มีอำนาจ จะไปกลัวเสียอำนาจได้อย่างไร เมื่อถามว่าจังหวะเวลาที่เหมาะสมจะเป็นเมื่อไหร่ อีกนานหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ยังไม่ตอบ เก็บไว้ในใจส.ส. 21 คนที่ส่งชื่อมา การเสนอพรบ.ปรองดอง บรรยากาศต้องดีกว่านี้ สังคมต้องตกผลึกทางความคิด มีความเข้าใจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ยังไม่เสนอพรบ.ปรองดอง เหมือนกับว่าที่ผ่านมาเป็นการสร้างราคาให้กับตัวเองแต่ขณะเดียวกันยังไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้ ร.ต.อ.กล่าวว่า ตนไม่จำเป็นต้องสร้างราคา เพราะมีราคาอยู่แล้ว แต่ตนยังพูดไม่ได้ เดี๋ยวถูกดุ เมื่อถามว่าเป็นเพราะกลัวแรงกดดันหรือไม่ เพราะกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.)เตรียมจะเคลื่อนไหว รองนายกฯ กล่าวว่า ตนไม่แสดงความเห็นที่ไปโต้แย้งกับกลุ่มพธม.หรอก สังคมตัดสินแล้วว่ากลุ่มไหน คณะไหนมีราคา หรือไม่มีราคา
เมื่อถามว่าต้องการรอให้คดี 91 ศพชัดเจนก่อนหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่าไม่ ไม่บอก เดี๋ยวยุ่ง แต่คดี 91 ศพอยากบอกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารจะปลอดภัย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา62 มาตรา 70 แต่คนสั่งถ้าไม่มีเหตุผลดีพอก็เหนื่อย ต้องรดน้ำมนต์
เมื่อถามว่าส่วนตัวมั่นใจว่าพรบ.ปรองดองจะเป็นตัวขับเคลื่อนได้ใช่หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ก็ทุกภาคส่วนได้ประโยชน์ใครจะปฏิเสธ ขนาดพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าปฏิวัติ เขายังบอกเลยว่าที่ทำอยู่ขณะนี้ถูกต้อง และที่ทำปฏิวัติในอดีตนั้นไม่ชอบธรรมโดยเฉพาะการตั้งคตส. เอาคนที่เป็นศัตรูของพ.ต.ท.ทักษิณ มาสอบ พรรคประชาธิปัตย์ก็ไปอ้างคำพิพากษาของศาลอย่างเดียวไม่คำนึงถึงต้นทางว่ามันผิดผู้สื่อข่าวถามถึงมติครม.ที่ให้เลื่อนสมัยประชุมสภาออกไปอีกจนมีการวิจารณ์ว่าเป็นการยืดรอเพื่อช่วยพ.ต.ท.ทักษิณ ว่า ไม่ทราบเพราะเมื่อวานตนลาประชุมครม. แต่คิดว่าไม่เกี่ยวกัน มันคนละเรื่อง
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกฯและรมว.มหาดไทย กล่าวถึง รายงานของคณะกรรมาธิการฯปรองดอง หากพิจารณาแล้วจะทำให้เกิดความแตกแยก ในฐานะหัวหน้าพรรคจะขอร้องให้ถูกพรรคถอนรายงานออกมาก่อนหรือไม่ รอให้สถานการณ์เย็นลงก่อน ว่า ไม่หรอก ความปรองดองไม่ต้องรอใจเย็นหรือใจร้อนหรอก แต่ดูว่ามันจำเป็นหรือไม่ ถึงเวลาที่ประเทศชาติต้องปรองดองหรือยัง ซึ่งทุกคนก็เห็นด้วยหมด ความเห็นประชาชนกว่า 90 % ก็อยากเห็นความปรองดอง แม้แต่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ก็บอกว่าถึงเวลาที่ต้องปรองดองแล้วอย่างเร่งด่วน ดังนั้นจะหยุดไม่ได้ ต้องเดินหน้า คงไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะสิ่งที่เราทำมีจุดหมายที่ดี เมื่อถามว่าทางคอป.ติงว่ารัฐบาลหยิบเฉพาะข้อเสนอบางข้อของคอป.เท่านั้น นายยงยุทธ กล่าวว่าไม่ได้หยิฐเฉพาะบางข้อ หยิบทุกข้อที่เสนอมา ยืนยัน รับรองได้ เพียงแต่ข้อไหนช้าหรือเร็ว ทำยากหรือง่ายเท่านั้น
“ยืนยันจะพยายามทำให้ดีขึ้น ผัว เมีย ถ้าผัวร้าย เมียดี คือดีคนหนึ่งก็ไม่มีปัญหา ก็เหมือนรัฐบาลโดยเฉพาะนายกฯยิ่งลักษณ์ ที่ใจเย็น สมานฉันท์แน่นอน ไม่เคยด่ากระแนะกระแหน พูดสุภาพทุกเรื่อง เพราะต้องการให้ประเทศชาติประชาชนสงบ”รองนายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่าขณะนี้หลายฝ่ายไม่ยอมรับวิธีการในการสร้างความปรองดอง รองนายกฯ กล่าวว่า ก็แล้วแต่ เพราะเรื่องนี้ก็คุยกันมานานแล้ว มีข้อเสนอจากหลายฝ่ายและเป็นแนวเดียวกันทั้งนั้น ซึ่งวิธีการความจริงก็ไม่มีอะไรที่สลับซับซ้อน ส่วนคนที่ไม่อยากปรองดองตนก็ไม่อยากวิจารณ์ ขอทำในส่วนที่เราคิด และมั่นใจว่าจะเกิดผลสำเร็จ เมื่อถามว่าเมื่อพิจารณารายงานแล้ว จะเสนอร่างพรบ.ปรองดองเข้าสภาเลยหรือไม่ นายยงยุทธ กล่าวว่า ก็เป็นขั้นตอนไปและทุกอย่างก็จะยุติที่รัฐสภา เมื่อถามว่าตกลงจะเป็นพรบ.ปรองดอง หรือพรบ.นิรโทษกรรม นายยงยุทธ กล่าวว่า “จ้างก็ไม่บอก”
**ส.ว.ลากตั้ง หนุนวิจัยพระปกเกล้า
วันเดียวกันนายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว.อุทัยธานี กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มส.ว. ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงประชาชน เรื่องสถานการณ์ของประเทศไทยและการปรองดองของคนในชาติ เบื้องต้นนั้นคณะส.ว.สนับสนุนแนวทางการสร้างความปรองดองของสถาบันพระปกเกล้า ในแนวทางที่ให้เปิดพื้นที่จัดการเสวนา
ขณะนี้มีส.ว.ลงชื่อสนับสนุนแล้ว 17 คนทั้งนี้ในสัปดาห์หน้า ตนจะรวบรวมรายชื่อส.ว.เพิ่มเติม โดยคาดว่าส.ว.ส่วนใหญ่ จะสนับสนุน
สำหรับส.ว.ที่ร่วมลงชื่อ อาทิ นายต่วนอับดุลเล๊าะ ดาโอ๊ะมารียอ ส.ว.ยะลา นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ พล.ต.ท.มาโนช ไกรวงศ์ ส.ว.สุราษฎร์ธานี นายสุโข วุฒิโชติ ส.ว.สมุทรปราการ นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ส.ว.สงขลา นายปัญญา เบญจศิริวรรณ พล.อ.เกษมศักดิ์ ปลูกสวัสดิ์ พล.ต.อ.พิชิต ควรเดชะคุปต์ ส.ว.สรรหา
ช่วงบ่ายวันเดียวกัน ที่อาคารสภาผู้แทนราษฎร นายวารินทร์ อัฐนาค รองหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหท้ เข้ายื่นหนังสือต่อนายสมศักดิ์ ฐานะประธานคณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร ให้ตรวจสอบจริยธรรมของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ที่เข้าไปล้อม พล.อ.สนธิ ในการประชุมร่วมรัฐสภา เมื่อวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา
**นปช.หนุนบิ๊กบังเป็นโจรกลับใจ
นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. กล่าวว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์พยายามขัดขวางการสร้างความปรองดองของคณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาผู้แทนราษฎร นั้น ก็ไม่ทราบว่าพรรคประชาธิปัตย์มีเหตุผลอะไรที่ไม่ต้องการให้ประเทศชาติเดินหน้า และสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมาระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ คือคู่ขัดแย้งของรัฐไทยนั้น ก็เป็นความเท็จทั้งหมด เนื่องจากขณะนี้ ประชาชนกลุ่มคนเสื้อแดงนั้นต่างก็ออกมาปกป้องอดีตนายกรัฐมนตรีกันทั้งนั้น
อีกทั้ง การที่พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ออกมาระบุว่า อยากเห็นพล.อ.เปรม และพ.ต.ท.ทักษิณ หันหน้าหารือเพื่อลดความขัดแย้งก็ถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ทุกอย่างควรให้ประชาชนผู้ซึ่งมีความรักในประชาธิปไตยมีส่วนร่วม
ด้านนายก่อแก้ว พิกุลทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่ม นปช.กล่าวว่า สิ่งที่นายอภิสิทธิ์ ออกมากล่าวหาว่ารายงานของกมธ.ปรองดอง เป็นรายงานเถื่อน ตนก็อยากชี้ให้เห็นว่า บุคคลที่ออกมากล่าวหานั้นเป็นคนเถื่อนมากกว่าเพราะการที่ไม่ยอมรับแนวทางการสร้างความปรองดองถือว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีประชาธิปไตยในหัวใจ
นายก่อแก้ว ยังเปรียบเทียบว่า พลอ.อสนธิเป็นโจรกลับใจ เพราะจากที่ตัวเองนั้นเคยเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ เมื่อ19กันยายน2549 แต่ในขณะนี้เห็นว่าประเทศไทยควรมีทางออกจึงอยากที่จะคืนอำนาจให้กับประชาชนและสังคม อีกทั้ง ตนก็ต้องขอบคุณที่พลเอกสนธิทำการยึดอำนาจเมื่อปี2549และทำให้นายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ แต่นายอภิสิทธิ์กลับไม่สำนึกในบุญคุณ ดังนั้น หากทุกฝ่ายอยากเห็นประเทศไทยมีความก้าวหน้าก็ควรที่จะเดินหน้าสร้างความปรองดองไปพร้อมกัน โดยทิ้งพรรคประชาธิปัตย์ไว้ข้างหลัง หากพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่กลับตัว
**พะจุณณ์ ปัดป๋าเปรมไม่เกี่ยวข้อง
พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป หัวหน้าสำนักงานประธานองคมนตรีและนายทหารคนสนิท ของพล.อ.เปรม กล่าวข้อเสนอของพลตรีสนั่น ว่าไม่เกี่ยวข้องกับพลเอกเปรม เป็นการพูดกันไปเอง และความเห็นส่วนตัวมองว่าไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว ขณะที่ พล.อ.เปรม ก็ไม่ได้มีการพูดถึงเรื่องนี้แต่อย่างใด
จากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติ ให้ถอนพ.ร.ฏ.ปิดสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติออกไปอย่างไม่มีกำหนดนั้น
วานนี้ (30 มี.ค.55)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนทราบจากประธานสภาว่ามีเป้าหมายที่จะให้รัฐธรรมนูญผ่านการพิจารณาก่อนปิดสมัยประชุมนี้ จึงมีความคิดที่จะขยายเวลาการประชุมออกไปเพราะแนวโน้มขณะนี้ไม่น่าจะทันกำหนดการเดิมที่จะปิดสมัยประชุมวันที่ 18 เม.ย. นี้ ซึ่งตนมีความเป็นห่วงเพราะถ้าการพิจารณาเป็นไปโดยปกติก็จะต้องขยายเวลาออกกไปนานพอสมควร อย่างน้อยวาระที่2-3 ต้องเว้นระยะเวลาไปอีก15 วัน และจะเห็นว่าการเร่งรัดก็จะทำให้เกิดปัญหา และ การทำงานของคณะกรรมาธิการก็ไม่เป็นไปตามแบบแผนที่ทำมาเช่นเมื่อฝ่ายรัฐบาลแพ้ในการลงมติ ก็มีการนัดให้กลับมาลงมติกันใหม่ เพื่อกลับมติให้เป็นไปตามที่ต้องการ ตนคิดว่าถ้าเดินกันแบบนี้ก็จะไม่ปรองดองอยู่เลย กลายเป็นว่า ทุกอย่างต้องเป็นไปตามฝ่ายรัฐบาลหรือเสียงข้างมากเท่านั้น
เมื่อถามว่าการเร่งรัดโดยใช้เสียงข้างมากไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการแก้รัฐธรรมนูญ และ คณะกรรมาธิการปรองดอง คิดว่าเชื่อมโยงกันหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็เชื่อมกันหมด คือมุ่งไปสู่การลบล้างผู้ที่มีปัญหาเรื่องคดี ความผิด สุดท้ายกลายเป็นว่าการปรองดองถูกนำมาใช้เป็นการบังหน้าเพื่อล้างความผิดให้กับคนโดยเฉพาะกับคนที่ทุจริต ตนยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนการปรองดองแต่ไม่สนับสนุนการล้างผิดให้คนโกง และเห็นว่าไม่ควรนำ2 เรื่องนี้มาปะปนกัน
**หวังสนองนายใหญ่สำเร็จก่อนสิ้นปี
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ถือเป็นนัยยะสำคัญทางการเมือง โดยเฉพาะการไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเสร็จสิ้นเมื่อไหร่ จึงพยายามเปิดไว้เพื่อที่จะรอการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จเสียก่อน เพราะไม่สามารถคาดการว่าการใช้เวลาอภิปรายในวันที่ 11-12 เม.ย.จะทันหรือไม่ และอาจต้องทอดยาวไปหลังเทศกาลสงกรานต์ จึงอยากเรียกร้องว่ารัฐบาลไม่ควรที่จะเลื่อนพ.ร.ฏ.ออกไป ควรจะให้ปิดสมัยประชุมในวันที่ 18 เม.ย.ตามกำหนดเดิม และหากภารกิจที่นายใหญ่ต้องการคือ การปรองดอง นิรโทษกรรม และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าไม่เสร็จตามเป้าหมายก็ให้ใช้สิทธิเปิดประชุมสมัยวิสามัญขึ้นมาเพื่อพิจารณาเรื่องเหล่านี้ แต่เชื่อว่ารัฐบาลนี้โดยเฉพาะนายกฯ ที่หนีสภามาตลอด อาจจะไม่ใช้ช่องทางการเปิดประชุมสมัยวิสามัญ เพราะจะเปิดช่องให้พรรคฝ่ายค้านสามารถยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในการช่วงของการเปิดประชุมสมัยวิสามัญได้
“ขอท้าว่าถ้ารัฐบาลชุดนี้ถ้าไม่กลัวการตรวจสอบก็ขอให้ปิดสมัยประชุมตามกำหนด และให้เปิดสมัยประชุมวิสามัญขึ้นมา โดยเปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านทำการตรวจสอบตามหนทางระบอบประชาธิปไตย โดยเรามีคณะทำงานหลายชุดที่สามารถสรุปประเด็นการทำงานของรัฐบาล ผมเชื่อว่ามีหลายรปะเด็นมาก แม้กระทั่งเรื่องวุฒิภาวะของการเป็นผู้นำ เรื่องจริยธรรม คุณธรรม ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มาก และน่าจะเป็นประเด็นหนึ่งที่สามารถวิพากษ์วิจารณาได้นอกจากความล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดินในห้วงเวลา 8 เดือนที่ผานมา” นายเทพไทกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ คือเป้าหมายหนึ่งที่ฝ่ายค้านนำมาอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายเทพไท กล่าวว่า นายกฯ อยู่ในฐานะเป็นผู้บริหารสูงสุดจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ แม้ที่ผ่านมาจะสามารถปฏิเสธความรับผิดชอบต่อสื่อได้ โดยโยนให้รัฐมนตรีรับผิดชอบตอบแทน หรือโยนให้เป็นเรื่องของสภา แต่ถ้ามีการยื่นญัตติอภิปรายตัวนายกฯ และครม.ทั้งคณะก็ไม่สามารถโยนให้ใครได้ จุดนี้จึงทำให้นายกฯ กลัวตลอด และเชื่อว่ากุนซือที่อยู่เบื้องหลังก็พยายามใช้แนวทางขยายการประชุมสามัญนิติบัญญัติแทนการเปิดประชุมวิสามัญ เพื่อปิดช่องทางการอภิปรายของฝ่ายค้าน
เมื่อถามว่าการขยายเวลาประชุมสภาออกไปจะทำให้การกลับมาของพ.ต.ท.ทักษิณสำเร็จหรือไม่ นายเทพไท กล่าวว่า หากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จก็ถือเป็นการเปิดประตูให้พ.ต.ท.ทักษิณ ดังนั้น หนทางจะเร็วหรือช้าอยู่ที่กระบวนการทั้งหมดว่าจะเร่งรัดมากแค่ไหน แต่เชื่อว่าตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจะเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นถึงความขัดแย้งในสังคมรอบใหม่ได้ก่อตัวขึ้นแล้ว เพียงแต่พ.ต.ท.ทักษิณจะใส่ไฟหรือราดน้ำมันลงในกองเพลิงมากน้อยแค่ไหน และเร็วแค่ไหนเท่านั้น เมื่อถามอีกว่าการที่รัฐบาลประเมินว่ากระแสต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณไม่มีพลังเพียงพอที่จะต่อต้านกับสิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่นั้น นายเทพไท กล่าวว่า เป็นการดูถูกพลังประชาชน เชื่อว่าวันนี้พลังเงียบมีอยู่มาก แต่เมื่อมีขีดความอดทนที่จำกัด และรับไม่ได้ก็คงจะออกมาด้วยตนเอง
**เพื่อไทย อ้างวาระค้างสภาเยอะ
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ชี้แจงว่า เป็นการยืดเวลาเพื่อให้สภาได้มีการพิจารณากฎหมายสำคัญของรัฐบาลที่ยังค้างอยู่ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.ปรองดอง และกฎหมายสำคัญที่เป็นนโยบายของรัฐบาลจนกว่าจะแล้วเสร็จ ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์อาจมองว่าเป็นการยืดเวลาเพื่อออกกฎหมายช่วยเหลือใครบางคนนั้น ยืนยันว่ารัฐบาลมีเหตุผลชี้แจงได้ แต่คงไม่สามารถห้ามความคิดของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยได้ และทั้งหมดต้องฟังเสียงส่วนใหญ่ ขณะที่จะมีการพิจารณาการสร้างแนวทางสร้างความปรองดองนั้น ก็ต้องเดินหน้าต่อไปในเรื่องที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า ต้องการเห็นประเทศมีทางออกไปสู่ความสมานฉันท์ และแม้จะมีการท้วงติงจากฝ่ายค้านที่ไม่ยอมรับในขั้นตอนและวิธีการก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการของสภาซึ่งจะหยุดไม่ได้ เพราะเรื่องดังกล่าวได้มีการหารือกันมานานแล้ว ต้องทำให้ได้ข้อสรุป และมั่นใจว่าวิธีการนี้จะสำเร็จ
ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ทราบเรื่องดังกล่าว เนื่องจากเมื่อวานนี้ได้ลาประชุมคณะรัฐมนตรี แต่เชื่อว่าไม่เกี่ยวกับการขยายเวลาเพื่อรอยื่นพระราชบัญญัติปรองดอง
นายสมศักดิ์ เกีรยติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการขยายเวลาการประชุมสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติ เพราะอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่ามีเรื่องและวาระอะไรค้างอยู่ในรัฐสภาและสภาผู้แทนราษฏรบ้าง จากนั้นจึงจะกำหนดกันอีกครั้งว่าจะขอขยายเวลาไปอีกเท่าใด ซึ่งการขยายเวลาออกไปไม่ได้เป็นการเจาะจงจะใช้พิจารณาเฉพาะเรื่องรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางสร้างความปรองดองแห่งชาติ หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการดูในภาพรวม เนื่องจากตอนนนี้ทราบว่ามีเรื่องข้อตกลงระหว่างประเทศตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 และร่างพ.ร.บ.อื่นๆ ค้างอยู่
“สาเหตุที่ต้องขยายเวลาออกไปเพราะเห็นว่าการปิดสมัยประชุมครั้งนี้มีระยะเวลานานถึง 3 เดือน รัฐสภาไม่อยากเป็นตัวถ่วงทำให้การบริหารงานล่าช้าจึงต้องขยายเวลาประชุมเพิ่มเติมแต่ตอนนี้ยังไม่ได้รับการประสานจากรัฐบาลว่าจะเสนอร่างพระราชกฤษฏีกาเมื่อใด” นายสมศักดิ์ กล่าว
เมื่อถามว่าหากมีการขยายเวลาสมัยประชุมออกไปจะเพิ่มอีกกี่วัน นายสมศักดิ์ กล่าวว่า จะต้องดูงานที่ค้างอยู่ก่อนแต่คาดว่าน่าจะใช้เวลาเพิ่มเติมเพียง 2 สัปดาห์
อย่างไรก็ตามขณะนี้ตนยังไม่ได้ดูวาระการประชุมในภาพรวมแต่ถ้าไม่มีปัญหาอะไรน่าจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฏรได้ในวันที่ 4เม.ย. ส่วนจะใช้เวลาอภิปรายกี่วันขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างวิปรัฐบาลและวิปฝ่ายค้าน เมื่อถามว่าหากสถาบันพระปกเกล้ามีมติถอนรายงานวิจัยออกจะมีผลต่อการพิจารณาของสภาหรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า อย่าเพิ่งคิดไปว่าจะเกิดอะไรขึ้นเพราะตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจน
**เลขาฯสภา อ้างอยู่ที่อำนาจฝ่ายบริหาร
นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตนยังไม่ทราบข้อเท็จจริงว่าจะมีการขยายเวลาการประชุมสภาฯ สมัยสามัญนิติบัญญัติ ออกไปจากเดิมที่กำหนดปิดสมัยประชุมวันที่ 18 เม.ย.นี้หรือไม่ แต่ประเด็นนี้เป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่จะสามารถขยายเวลาการปิดสมัยประชุมออกไปได้ ด้วยพระราชกฤษฏีกาขยายเวลาการประชุมสภาฯ ทั้งนี้ในสมัยการประชุมที่ผ่านมา มีการขยายเวลาการประชุมมาแล้ว ดังนั้นประเด็นนี้ถือว่าเป็นปกติทั้งนี้ตามหลักการของกฎหมาย หากขอขยายเวลาการประชุมสมัยนิติบัญญัติ ก็เท่ากับว่าขยายสมัยประชุมนิติบัญญัติ และสามารถพิจารณาได้เฉพาะร่างกฎหมายเท่านั้น
การขอขยายเวลาปิดสมัยประชุมดังกล่าวเข้าใจว่า ต้องการทำเรื่องกฎหมายที่ดำเนินการอยู่ตอนนี้ให้แล้วเสร็จ ส่วนจะเป็นอย่างที่หลายฝ่ายวิจารณ์ว่าขยายเวลาปิดประชุมเพื่อให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมหรือไม่นั้นตนไม่ทราบ
เลขาธิการสภาฯ กล่าวต่อว่าปกติช่วงเดือนมิถุนายน จะมีการเปิดสมัยประชุมวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณประจำปีงบประมาณ 2556 ดังนั้นเข้าใจว่าการขอขยายเวลาปิดสมัยประชุมออกไป เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับการเปิดประชุมวิสามัญ ช่วงดังกล่าว
**พระปกเกล้ากำหนดท่าที 3 เม.ย.นี้
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวถึงกรณีคณะผู้ทำการวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า จะหารือแนวทางการยับยั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ที่อ้างอิงรายงานการวิจัยฯ ที่เสนอต่อรัฐสภาไปแล้วว่า ในส่วนคณะผู้ทำการวิจัย จะมีการหารือกันก่อน และจะแถลงถึงท่าทีที่ชัดเจนกันอีกครั้ง วันอังคารที่ 3 เมษายนนี้ ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎร จะมีการพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการปรองดอง ในระหว่างวันที่ 4 - 5 เมษายน
“ยังไม่สามารถพูดถึงท่าทีความชัดเจนของคณะผู้ทำการวิจัย ว่าจะมีมติให้ยับยั้งรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการปรองดองหรือไม่” เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าระบุ
นายวรากรณ์ สามโกเศศ กรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า การประชุมที่จะมีขึ้น จนถึงตอนนี้ยังไม่มีการหารือถึงการประชุมดังกล่าวว่าจะมีรูปแบบอย่างไร ส่วนตัวเห็นว่าการสร้างความปรองดองที่จะให้เกิดขึ้นได้จะต้องมีความยินดี โดยปราศจากความระแวงของคนทั้งสองฝ่าย แต่การสร้างควารมปรองดองในครั้งนี้อีกฝ่ายมองว่าทำให้อีกคนหนึ่งได้ประโยชน์ การสร้างความปรองดองอย่างนี้เกิดขึ้นได้ยาก
เมื่อถามว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานี้ต่างคนต่างที่จะไม่ต้องการสร้างความปรองดองอยู่แล้ว ประจวบเหมาะเมื่อมีงานวิจัยของสถาบันออกมากจึงได้มีการนำไปขยายผล เพื่อที่จะใช้ประโยชน์ นายวรากรณ์ กล่าวว่า ตามความเห็นส่วนตัว เห็นว่างานวิจัยที่ออกมานั้นไม่ได้เป็นตามที่พล.อ.สนธิ ในฐานะประธานกรรมาธิการสร้างความปรองดองนำไปใช้ เนื่องจากมีการดึงเอาข้อเสนอเพียงบางช่วง บางตอน เอาไปใช้ ซึ่งส่วนที่มีการดึงเอาไปใช้ก็ไม่ใช่ข้อเสนอแนะ แต่เป็นเพียงตอนระพึงระพรรณเท่านั้่น อย่างไรก็ตามตามความเห็นของตนเชื่องานวิจัยจะดีเลิศมากแค่ไหนก็ตามการสร้างความปรองดองก็เกิดขึ้นได้ ต่อให้มีพรบ.ปรองดองก็ตาม การสร้างความปรองดองก็เกิดขึ้นไม่ได้อย่างแน่นอน ยิ่งหากมีการดำเนินการออกนิรโทษกรรมขึ้นมาจริงๆ ตนเชื่อว่าสังคมเกิดความแตกแยกอย่างแน่นอน
เมื่อถามว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ คิดว่าหลังจากนี้คณะกรรมการสถาบันพระปกเกล้าจะมีการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง นายวารกรณ์ กล่าวว่า ในการประชุมวันที่ 3 เม.ษายน ที่จะถึงนี้ที่ประชุมกรรมการสภาสถาบันคงจะต้องการหารือร่วมกันว่าจะทำอะไรกับรายงานวิจัยฉับนี้ อย่างไรก็ตามส่วนตัวเชื่อว่าคนที่ทำงานวิจัยชิ้นนี้มีความรอบคอบ และมีความทุ่มเทอย่างมาก แต่ท้ายสุดแล้วก็เป็นไปตามที่มีการคาดกันไว้ คือ ท้ายสุดแล้วก็ไม่มีผลอะไรเท่าไร เพราะคนที่ใช้ก็จะวิธีการดึงเนื้อหาบางส่วนไปใช้ เพื่อสนับสนุนงานตัวเอง อีกทั้งเห็นงานวิจัยดังกล่าวไม่ใช่ประเด็นที่จะทำให้เกิดความปรองดองได้ แต่จะเป็นการเลือกทำให้เกิดความไม่ปรองดองในท้ายสุดมากกว่า
" ที่ประชุมคงจะพูดคุยกันถึงงานวิจัยดังกล่าวของสถาบันชิ้นนี้่ โดยตัวที่มีการเสนอไปให้กรรมาธิการปรองดองนั้น เป็นเพียงตัวร่าง ไม่ใช่ฉบับที่สมบูรณ์ และที่สำคัญมีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่ากรุณานำไปกล่าวอ้าง ดังนั้นหลังจากวันที่ 3 เมษายนนี้ คงจะมีความชัดเจนยิ่งขึ้น ปัยหาของการสร้างความปรองดองตอนนี้ คือ เรื่องความหวาดระแวงกันทั้งสองฝ่าย โดยฝ่ายค้านก็ระแวงรัฐบาลว่า หากยอมจับมือด้วยแล้วรัฐบาลจะไม่ทำไม่สิ่งที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ในส่วนรัฐบาลเองก็ไม่สามารถยืนยันให้ได้ชัดเจนว่าจะไม่ดำเนินการในสิ่งที่ฝ่ายค้านมีความระแวง " นายวารกรณ์ กล่าวว่า
**ห่วงม๊อบปะทะกันวันที่ 4 เม.ย.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวแสดงความเป็นห่วงสถานการณ์ในวันที่ 4 เม.ย. สภาจะพิจารณารับทราบรายงานคณะกรรมการปรองดอง เพราะจะมีประชาชนของฝ่ายมาชุมนุมหน้ารัฐสภา ว่า เจ้าหน้าที่ต้องดูแลให้ดี แต่ถ้ารัฐบาลพยายามทำเหมือนทำในรัฐสภาก็จะยิ่งเพิ่มความตรึงเครียดในสังคมเพิ่มขึ้น ต่อข้อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่าการปรองดองครั้งนี้อาจจะเป็นการนองเลือดมากกว่าปรองดอง นายอภสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ไม่ใช่เรื่องปรองดอง เพราะถ้าเป็นปรองดองประชาธิปัตย์สนับสนุน แต่ถ้าปรองดองบังหน้าล้างผิดให้คนโกง เราสนับสนุนไม่ได้และเชื่อว่าสังคมก็ไม่ยอม จะเกิดข้าหรือเร็วตนก็ไม่อยากให้เกิด ดังนั้นทุกคนต้องพูดความจริงกัน แม้แต่คนเสื้อแดงที่ได้รับผลกระทบเขาก็ไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่รัฐบาลจะทำ และวันนี้เขาอาจจะเริ่มมองเห็นแล้วว่าสุดท้ายที่เคลื่อนไหวทั้งหมด ถ้าพ.ต.ท.ทักษิณ หลุดจากคดีต่างๆ นั่นคือเป้าหมายที่แท้จิรง แต่ในส่วนของคนเสื้อแดง ที่มาต่อสู้เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ชวนเขามาช่วย แต่เขาสูญเสียกลับมาบอกว่าวันนี้ให้ลืมอดีต
เมื่อถามว่าเวทีเสวนา ถ้ารัฐบาลกับสภาไม่ได้ดำเนินการ พรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินการอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การที่พรรคการเมืองไปเริ่มฝ่ายเดียวคงไม่ได้ มันไม่มีประโยชน์ แต่คนที่จะทำได้ดีที่สุดคือรัฐบาล สภา และ กรรมาธิการ ถ้าตั้งหลักได้แบบนี้ทุกอย่างก็เดินได้ เหมือกับว่าทำไมวันนี้ คอป.ยังเดินหน้าทำงานอยู่เหมือนที่ตนเป็นหัวหน้ารัฐบาล ตนก็ไม่ได้บอกว่าจะเอาคนที่มีอำนาจมาชี้ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เชิญคนที่มีความเป็นกลาง อิสระ ไม่มีส่วนได้เสีย มาเป็นตัวตั้งต้น และรัฐบาลนี้ก็ต้องยอมรับว่า คอป.สมควรที่จะได้ทำงานต่อ แต่วันนี้หากใช้การเอาเสียงข้างมากเอาคนของตัวเอง ความยอมรับก็จะไม่เกิด เพราะอย่างที่เคยกล่าวว่าต้นเหตุความขัดแย้งคือ พ.ต.ท.ทักษิณ กับระบบของรัฐไทย ซึ่งหากไม่ไปยึดติดอยู่กับพ.ต.ท.ทักษิณ ทุกอย่างก็แก้ง่าย และหาก พล.อ.สนธิ อยากจะเดินหน้าต่อในการทำให้เกิดบรรยากาศ เพราะอาสาตัวเข้ามาแล้ว ด้วยการเริ่มจากการถอนรายงานกลับไป และควรไปหยิบเอาสาระจริงๆ ที่เป็นกระบวนการเดินหน้าต่อ และสรุปมาให้สภา เพื่อจะได้ช่วยคิด ว่าจะจัดทำรูปแบบไหน
**เหลิม โวพรบ.ปรองดองจ่อเข้าสภาฯ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางปรองดองว่า ความจริงได้วิเคราะห์ไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่ารัฐบาลคงไม่เป็นเจ้าภาพ ซึ่งการเสนอกฎหมายจะมี 4 ช่องทางคือ1.เสนอโดยรัฐบาล จากครม. 2.เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 20 คนขึ้นไป 3.เสนอโดยองค์กรอิสระ และ4.เสนอโดยประชาชนเข้าชื่อกันและไปว่ากันในสภา ซึ่งการทำโดยผ่านสภาจะทำให้มีการโจมตียากเพราะระบอบประชาธิปไตยต้องเอาสภาเป็นหลัก และหากให้รัฐบาลเป็นคนทำก็อาจจะถูกมองว่าข่มขู่หรือไม่ หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนซ่อนเงื่อนหรือไม่เพราะคนจ้องหาเรื่องมีเยอะ ส่วนที่สถาบันพระปกเกล้าที่เสนอผลวิจัยมาแล้วมีข่าวว่าจะถอนออกไป ก็ไม่มีผลอะไรก็เผยแพร่มาแล้ว ซึ่งวันที่ 4 เม.ย.เมื่อมีการนำรายงานของคณะกรรมาธิการศึกษาแนวทางสร้างความปรองดองแห่งชาติเข้าสภา ที่ประชุมสภาก็มีมติรับทราบด้วยเสียงข้างมาก ซึ่งก็แค่ทราบเท่านั้น ไม่มีอะไรเกิดขึ้นสุดท้ายก็แค่คิดดี ทำดีแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ มีทางเดียวต้องทำเป็นพรบ.ปรองดอง ต่อให้เจรจาอย่างไรก็ไม่จบ
ผู้สื่อข่าวถามว่าเมื่อเตรียมความพร้อมไว้ทุกอย่างแล้ว ทำไมจึงยังไม่เสนอพรบ.ปรองดอง รออะไรอยู่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ขอรอจังหวะเวลาอีกนิดหนึ่ง เมื่อถามว่าจังหวะเวลาที่รอคือช่วงไหน เป็นช่วงที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกมาสั่งการได้ใช่หรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ไม่ใช่ เพราะตนไม่ได้ทำเพื่อคนหนึ่งคนใด และที่ตนเขียนก็ไม่ได้เอ่ยชื่อตัวบุคคล ไม่เคยเอ่ยถึงเหตุการณ์อะไรเลย แต่เป็นภาพรวมทั้งหมด แต่ขอให้รอเวลาอีกนิด อย่าเพิ่งใจร้อน เมื่อถามว่าที่ยังไม่เสนอเป็นเพราะว่าเกรงว่าหากพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาเร็ว อำนาจของท่านก็จะไม่มีหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ตนไม่มีอำนาจ และเมื่อพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมา จะคิดเล่นการเมืองหรือไม่ก็ยังไม่รู้ใจท่าน ไม่หรอก ผมไม่มีอำนาจ จะไปกลัวเสียอำนาจได้อย่างไร เมื่อถามว่าจังหวะเวลาที่เหมาะสมจะเป็นเมื่อไหร่ อีกนานหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ยังไม่ตอบ เก็บไว้ในใจส.ส. 21 คนที่ส่งชื่อมา การเสนอพรบ.ปรองดอง บรรยากาศต้องดีกว่านี้ สังคมต้องตกผลึกทางความคิด มีความเข้าใจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ยังไม่เสนอพรบ.ปรองดอง เหมือนกับว่าที่ผ่านมาเป็นการสร้างราคาให้กับตัวเองแต่ขณะเดียวกันยังไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้ ร.ต.อ.กล่าวว่า ตนไม่จำเป็นต้องสร้างราคา เพราะมีราคาอยู่แล้ว แต่ตนยังพูดไม่ได้ เดี๋ยวถูกดุ เมื่อถามว่าเป็นเพราะกลัวแรงกดดันหรือไม่ เพราะกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.)เตรียมจะเคลื่อนไหว รองนายกฯ กล่าวว่า ตนไม่แสดงความเห็นที่ไปโต้แย้งกับกลุ่มพธม.หรอก สังคมตัดสินแล้วว่ากลุ่มไหน คณะไหนมีราคา หรือไม่มีราคา
เมื่อถามว่าต้องการรอให้คดี 91 ศพชัดเจนก่อนหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่าไม่ ไม่บอก เดี๋ยวยุ่ง แต่คดี 91 ศพอยากบอกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารจะปลอดภัย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา62 มาตรา 70 แต่คนสั่งถ้าไม่มีเหตุผลดีพอก็เหนื่อย ต้องรดน้ำมนต์
เมื่อถามว่าส่วนตัวมั่นใจว่าพรบ.ปรองดองจะเป็นตัวขับเคลื่อนได้ใช่หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ก็ทุกภาคส่วนได้ประโยชน์ใครจะปฏิเสธ ขนาดพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าปฏิวัติ เขายังบอกเลยว่าที่ทำอยู่ขณะนี้ถูกต้อง และที่ทำปฏิวัติในอดีตนั้นไม่ชอบธรรมโดยเฉพาะการตั้งคตส. เอาคนที่เป็นศัตรูของพ.ต.ท.ทักษิณ มาสอบ พรรคประชาธิปัตย์ก็ไปอ้างคำพิพากษาของศาลอย่างเดียวไม่คำนึงถึงต้นทางว่ามันผิดผู้สื่อข่าวถามถึงมติครม.ที่ให้เลื่อนสมัยประชุมสภาออกไปอีกจนมีการวิจารณ์ว่าเป็นการยืดรอเพื่อช่วยพ.ต.ท.ทักษิณ ว่า ไม่ทราบเพราะเมื่อวานตนลาประชุมครม. แต่คิดว่าไม่เกี่ยวกัน มันคนละเรื่อง
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกฯและรมว.มหาดไทย กล่าวถึง รายงานของคณะกรรมาธิการฯปรองดอง หากพิจารณาแล้วจะทำให้เกิดความแตกแยก ในฐานะหัวหน้าพรรคจะขอร้องให้ถูกพรรคถอนรายงานออกมาก่อนหรือไม่ รอให้สถานการณ์เย็นลงก่อน ว่า ไม่หรอก ความปรองดองไม่ต้องรอใจเย็นหรือใจร้อนหรอก แต่ดูว่ามันจำเป็นหรือไม่ ถึงเวลาที่ประเทศชาติต้องปรองดองหรือยัง ซึ่งทุกคนก็เห็นด้วยหมด ความเห็นประชาชนกว่า 90 % ก็อยากเห็นความปรองดอง แม้แต่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ก็บอกว่าถึงเวลาที่ต้องปรองดองแล้วอย่างเร่งด่วน ดังนั้นจะหยุดไม่ได้ ต้องเดินหน้า คงไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะสิ่งที่เราทำมีจุดหมายที่ดี เมื่อถามว่าทางคอป.ติงว่ารัฐบาลหยิบเฉพาะข้อเสนอบางข้อของคอป.เท่านั้น นายยงยุทธ กล่าวว่าไม่ได้หยิฐเฉพาะบางข้อ หยิบทุกข้อที่เสนอมา ยืนยัน รับรองได้ เพียงแต่ข้อไหนช้าหรือเร็ว ทำยากหรือง่ายเท่านั้น
“ยืนยันจะพยายามทำให้ดีขึ้น ผัว เมีย ถ้าผัวร้าย เมียดี คือดีคนหนึ่งก็ไม่มีปัญหา ก็เหมือนรัฐบาลโดยเฉพาะนายกฯยิ่งลักษณ์ ที่ใจเย็น สมานฉันท์แน่นอน ไม่เคยด่ากระแนะกระแหน พูดสุภาพทุกเรื่อง เพราะต้องการให้ประเทศชาติประชาชนสงบ”รองนายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่าขณะนี้หลายฝ่ายไม่ยอมรับวิธีการในการสร้างความปรองดอง รองนายกฯ กล่าวว่า ก็แล้วแต่ เพราะเรื่องนี้ก็คุยกันมานานแล้ว มีข้อเสนอจากหลายฝ่ายและเป็นแนวเดียวกันทั้งนั้น ซึ่งวิธีการความจริงก็ไม่มีอะไรที่สลับซับซ้อน ส่วนคนที่ไม่อยากปรองดองตนก็ไม่อยากวิจารณ์ ขอทำในส่วนที่เราคิด และมั่นใจว่าจะเกิดผลสำเร็จ เมื่อถามว่าเมื่อพิจารณารายงานแล้ว จะเสนอร่างพรบ.ปรองดองเข้าสภาเลยหรือไม่ นายยงยุทธ กล่าวว่า ก็เป็นขั้นตอนไปและทุกอย่างก็จะยุติที่รัฐสภา เมื่อถามว่าตกลงจะเป็นพรบ.ปรองดอง หรือพรบ.นิรโทษกรรม นายยงยุทธ กล่าวว่า “จ้างก็ไม่บอก”
**ส.ว.ลากตั้ง หนุนวิจัยพระปกเกล้า
วันเดียวกันนายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว.อุทัยธานี กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มส.ว. ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงประชาชน เรื่องสถานการณ์ของประเทศไทยและการปรองดองของคนในชาติ เบื้องต้นนั้นคณะส.ว.สนับสนุนแนวทางการสร้างความปรองดองของสถาบันพระปกเกล้า ในแนวทางที่ให้เปิดพื้นที่จัดการเสวนา
ขณะนี้มีส.ว.ลงชื่อสนับสนุนแล้ว 17 คนทั้งนี้ในสัปดาห์หน้า ตนจะรวบรวมรายชื่อส.ว.เพิ่มเติม โดยคาดว่าส.ว.ส่วนใหญ่ จะสนับสนุน
สำหรับส.ว.ที่ร่วมลงชื่อ อาทิ นายต่วนอับดุลเล๊าะ ดาโอ๊ะมารียอ ส.ว.ยะลา นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ พล.ต.ท.มาโนช ไกรวงศ์ ส.ว.สุราษฎร์ธานี นายสุโข วุฒิโชติ ส.ว.สมุทรปราการ นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ส.ว.สงขลา นายปัญญา เบญจศิริวรรณ พล.อ.เกษมศักดิ์ ปลูกสวัสดิ์ พล.ต.อ.พิชิต ควรเดชะคุปต์ ส.ว.สรรหา
ช่วงบ่ายวันเดียวกัน ที่อาคารสภาผู้แทนราษฎร นายวารินทร์ อัฐนาค รองหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหท้ เข้ายื่นหนังสือต่อนายสมศักดิ์ ฐานะประธานคณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร ให้ตรวจสอบจริยธรรมของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ที่เข้าไปล้อม พล.อ.สนธิ ในการประชุมร่วมรัฐสภา เมื่อวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา
**นปช.หนุนบิ๊กบังเป็นโจรกลับใจ
นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. กล่าวว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์พยายามขัดขวางการสร้างความปรองดองของคณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาผู้แทนราษฎร นั้น ก็ไม่ทราบว่าพรรคประชาธิปัตย์มีเหตุผลอะไรที่ไม่ต้องการให้ประเทศชาติเดินหน้า และสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมาระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ คือคู่ขัดแย้งของรัฐไทยนั้น ก็เป็นความเท็จทั้งหมด เนื่องจากขณะนี้ ประชาชนกลุ่มคนเสื้อแดงนั้นต่างก็ออกมาปกป้องอดีตนายกรัฐมนตรีกันทั้งนั้น
อีกทั้ง การที่พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ออกมาระบุว่า อยากเห็นพล.อ.เปรม และพ.ต.ท.ทักษิณ หันหน้าหารือเพื่อลดความขัดแย้งก็ถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ทุกอย่างควรให้ประชาชนผู้ซึ่งมีความรักในประชาธิปไตยมีส่วนร่วม
ด้านนายก่อแก้ว พิกุลทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่ม นปช.กล่าวว่า สิ่งที่นายอภิสิทธิ์ ออกมากล่าวหาว่ารายงานของกมธ.ปรองดอง เป็นรายงานเถื่อน ตนก็อยากชี้ให้เห็นว่า บุคคลที่ออกมากล่าวหานั้นเป็นคนเถื่อนมากกว่าเพราะการที่ไม่ยอมรับแนวทางการสร้างความปรองดองถือว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีประชาธิปไตยในหัวใจ
นายก่อแก้ว ยังเปรียบเทียบว่า พลอ.อสนธิเป็นโจรกลับใจ เพราะจากที่ตัวเองนั้นเคยเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ เมื่อ19กันยายน2549 แต่ในขณะนี้เห็นว่าประเทศไทยควรมีทางออกจึงอยากที่จะคืนอำนาจให้กับประชาชนและสังคม อีกทั้ง ตนก็ต้องขอบคุณที่พลเอกสนธิทำการยึดอำนาจเมื่อปี2549และทำให้นายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ แต่นายอภิสิทธิ์กลับไม่สำนึกในบุญคุณ ดังนั้น หากทุกฝ่ายอยากเห็นประเทศไทยมีความก้าวหน้าก็ควรที่จะเดินหน้าสร้างความปรองดองไปพร้อมกัน โดยทิ้งพรรคประชาธิปัตย์ไว้ข้างหลัง หากพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่กลับตัว
**พะจุณณ์ ปัดป๋าเปรมไม่เกี่ยวข้อง
พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป หัวหน้าสำนักงานประธานองคมนตรีและนายทหารคนสนิท ของพล.อ.เปรม กล่าวข้อเสนอของพลตรีสนั่น ว่าไม่เกี่ยวข้องกับพลเอกเปรม เป็นการพูดกันไปเอง และความเห็นส่วนตัวมองว่าไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว ขณะที่ พล.อ.เปรม ก็ไม่ได้มีการพูดถึงเรื่องนี้แต่อย่างใด