ASTVผู้จัดการรายวัน- 14 ปีศาลรัฐธรรมนูญ "วสันต์"วอนสังคมเข้าใจการทำงานศาลรธน. ยันอาชีพผู้พิพากษาบ่มเพาะตุลาการยึดหลักความเป็นกลาง ปราศจากอคติในการพิจารณาวินิจฉัยคดี เผยรับบัตรสนเท่ห์ จี้อย่าวินิจฉัยคดี “จตุพร” สองมาตรฐาน พร้อมถามกลับคดีลักษณะเดียวกันนี้ยังไม่เคยมีวินิจฉัย จะสองมาตรฐานได้อย่างไร ด้าน"จรัญ"ยัน คนในอำนาจตุลาการ ไม่เคยกลัว
วานนี้ ( 29 มี.ค.) นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้บรรยายพิเศษ เรื่อง “ เรื่องเล่าจากศาลรัฐธรรมนูญ” ในโอกาสครบรอบ 14 ปี ศาลรัฐธรรมนูญ ตอนหนึ่งว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ก่อตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 40 ที่เดิมหลายคนชื่นชอบว่าดีที่สุด แต่ปัจจุบันกลับรู้สึกว่าไม่ดีแล้ว และกำลังจะมีการเขียนรัฐธรรมนูญกันใหม่ ซึ่งอาชีพหลักของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 80 คือ การวินิจฉัยว่ากฎหมายฉบับใดขัด หรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตราใดหรือไม่ คดีการเมืองมีแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น แต่เนื่องจากคดีการเมือง มีผลกระทบได้และเสียกับคนจำนวนมาก จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจมากกว่าหน้าที่หลักในการวินิจฉัยข้อกฏหมาย โดยเฉพาะเรื่องคุณสมบัติของ ส.ส. -ส.ว และการยุบพรรคการเมือง ซึ่งความจริงแล้วการยุบพรรค ก็มาจากข้อหาโกงการเลือกตั้ง ที่หลังประกาศรับรองผลแล้ว หากกต.มีมติว่า ผู้ใดทุจริตการเลือกตั้ง และส่งให้ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งพิจารณา ถ้าพิพากษาว่า ผิดตามที่กกต.มีมติ ก็เพิกถอนสิทธิ และถ้าผู้กระทำผิดเป็นกรรมการบริหารพรรค ศาลรัฐธรรมนูญ ก็คงทำอย่างอื่นไม่ได้นอกจากต้องสั่งยุบพรรค ศาลรัฐธรรมนูญ จึงทำหน้าที่เป็นเพียงปอเต็กตึ้ง เก็บศพเท่าศพเท่านั้น
"เรามีอาชีพเป็นตุลาการ ถูกฝึกจนเป็นนิสัยมายาวนานหลายสิบปีว่า จะรักชอบใครนั้นทำได้ แต่ถ้าทำงานพิจารณาวินิจฉัยคดีแล้ว ต้องลืมเรื่องความรัก ชอบไป แล้วพิจารณากระบวนการ เนื้อหา ตามข้อเท็จจริง โดยปราศจากอคติ เป็นกลาง เสียงกดดันจากภายนอก ต่างๆ นานาๆ ไม่เคยเอามาใส่ใจ เพราะถ้าเอามาเป็นอารมณ์ ก็จะทำอะไรไม่ได้ ยิ่งในสถานการณ์การเมืองเป็นเช่นนี้ เราต้องเป็นกลาง เหมือนเป็นกลางท่ามกลางสนามรบ เพราะมองไม่เห็นว่า อนาคตจะปรองดองได้อย่างไร เนื่องจากคนที่คิดปรองดองยังไม่คิดจะปรองดองกันเลย ชาตินี้ก็ปรองดองกันไม่ได้ ถ้าจะปรองดองได้กลุ่มเจเนอเรชั่นนี้ คงต้องตายไปก่อน"
นายวสันต์ กล่าวด้วยว่า จากที่เคยเป็นผู้พิพากษามา มองว่า คดีในศาลรัฐธรรมนูญ ยังง่ายกว่าคดีในศาลยุติธรรม โดยในศาลรัฐธรรมนูญ จะมีเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือ และเสนอแนวทาง แต่การพิจารณาตัดสินใจเป็นเรื่องขององค์คณะ ซึ่งยืนยันว่า การล็อบบี้ไม่มี มีแต่คุยๆ กันว่า เรื่องนี้ไม่ไหว แต่พอลงมติบางครั้งก็กลายเป็นอีกอย่างหนึ่ง เคยมีวาทกรรมหลายอย่างที่พูดถึงศาลในภาพรวม บ้างก็บอกว่า สองมาตรฐาน ซึ่งไม่รู้หมายความว่าอย่างไร อย่างในคดีคุณสมบัติของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ตนได้รับบัตรสนเท่ห์ ระบุว่า ศาลอย่าวินิจฉัย สองมาตรฐานนะ ก็ไม่รู้ว่าจะสองมาตรฐานได้อย่างไร เพราะคดีลักษณะนี้ยังไม่เคยมีการวินิจฉัยมาก่อนเลย ซึ่งถ้าจะว่าสองมาตรฐาน ก็ต้องเป็นคดีที่ข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่ตัดสินต่างกันถึงจะเรียกว่าสองมาตรฐาน
" ผมยังภูมิใจว่า ในอำนาจตุลาการยังยังไม่มีกระโดดถีบกัน ชี้หน้าด่ากันในศาล อย่างมากคือ แขวะกัน อย่างในที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เถียงกันหน้าดำหน้าแดง แต่ไม่ทะเลาะกัน จบแล้วก็ยังกินข้าวด้วยกันได้ ซึ่งที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็เถียงกันบ่อย แต่เมื่อโหวตแล้วก็จบ นี่คือสิ่งที่คิดว่าต้องดำรงไว้ ในยามที่ประเทศอยู่ท่ามกลางสนามรบ เพราะเมื่อเราอาสาเข้ามาทำหน้าที่ ก็ต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ไม่วอกแวก นี่คือคำยืนยันจากผม และเพื่อตุลาการว่าจะรักษาความเป็นกลางไม่อคติไว้เสมอ ส่วนใครจะเข้าใจอย่างไร นั่นเป็นอคติที่เขามีกับเรา "
นอกจากนี้นายวสันต์ ยังกล่าวถึงการถูกมองเป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์ว่า เพราะเคยทำงานที่สำนักงานทนายความเสนีย์ ปราโมช เมื่อปี 2510-2516 ซึ่งนายเสนีย์ เป็นหัวหน้าพรรคพรรคประชาธิปัตย์ แต่ตนไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ จนกระทั่งรับราชการ เป็นผู้พิพากษา ที่มีข้อห้ามเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ทำให้จนบัดนี้ยังไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดทั้งนั้น
ส่วนที่มีการมองว่า แก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วจะมีการยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญ ก็เห็นว่า คงไม่มีการยุบ เพราะยังต้องมีองค์กรหนึ่งทำหน้าที่ตัดสินกฎหมาย ว่าขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าโยนให้ศาลฎีกาอีก คงรับงานไม่ไหว เพราะงานมีจำนวนมาก แต่ที่มีการพูดกันในทำนองจะยุบ น่าจะเพราะเขาไม่ชอบหน้าพวกเรา ที่ไม่ใช่พวกเขามากกว่า และอยากให้คนของเขา มาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบ้าง
นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวตอนหนึ่งระหว่างตอบคำถามหลังการบรรยายเรื่อง “ศาลรัฐธรรมนูญ กับการดำรงหลักนิติธรรม” ต่อกรณีที่มีการกล่าวหาว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีความเกรงกลัวต่ออำนาจการเมือง โดยยืนยันว่า คนที่อยู่ในอำนาจตุลาการ ไม่เคยกลัวใคร ซึ่งบรรดาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด ตนมีอายุน้อยที่สุด ทุกคนแข็งกว่าตน จึงอยากให้ทุกฝ่ายมั่นใจว่า การทำงานของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่อคติ พิจารณาทุกอย่างทุกขั้นตอนไปตามข้อเท็จจริง และเด็ดขาด โดยเฉพาะการที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า พ.ร.ก.กู้เงิน 2 ฉบับ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เพราะกลัว เข้าข้าง หรือต้องการเอาใจรัฐบาล แต่ตุลาการเห็นว่า การนำเงินไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย เป็นเรื่องที่เร่งด่วนจริง และพ.ร.ก.ที่รัฐบาลออกมา มีทั้งสิ้น 4 ฉบับ มีความสอดคล้องและเกี่ยวเนื่องกัน ส่วนจะมีการทุจริตหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง จะต้องมีการตรวจสอบหลังจากการใช้งบ ซึ่งก็มีองค์กรอื่นๆ ตรวจสอบ และคานอำนาจ การจะใช้อำนาจตุลาการไปควบคุม คงไม่เหมาะสม เพราะจะกลายเป็นว่าประเทศนี้บริหารโดยใช้อำนาจตุลาการ
วานนี้ ( 29 มี.ค.) นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้บรรยายพิเศษ เรื่อง “ เรื่องเล่าจากศาลรัฐธรรมนูญ” ในโอกาสครบรอบ 14 ปี ศาลรัฐธรรมนูญ ตอนหนึ่งว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ก่อตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 40 ที่เดิมหลายคนชื่นชอบว่าดีที่สุด แต่ปัจจุบันกลับรู้สึกว่าไม่ดีแล้ว และกำลังจะมีการเขียนรัฐธรรมนูญกันใหม่ ซึ่งอาชีพหลักของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 80 คือ การวินิจฉัยว่ากฎหมายฉบับใดขัด หรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตราใดหรือไม่ คดีการเมืองมีแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น แต่เนื่องจากคดีการเมือง มีผลกระทบได้และเสียกับคนจำนวนมาก จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจมากกว่าหน้าที่หลักในการวินิจฉัยข้อกฏหมาย โดยเฉพาะเรื่องคุณสมบัติของ ส.ส. -ส.ว และการยุบพรรคการเมือง ซึ่งความจริงแล้วการยุบพรรค ก็มาจากข้อหาโกงการเลือกตั้ง ที่หลังประกาศรับรองผลแล้ว หากกต.มีมติว่า ผู้ใดทุจริตการเลือกตั้ง และส่งให้ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งพิจารณา ถ้าพิพากษาว่า ผิดตามที่กกต.มีมติ ก็เพิกถอนสิทธิ และถ้าผู้กระทำผิดเป็นกรรมการบริหารพรรค ศาลรัฐธรรมนูญ ก็คงทำอย่างอื่นไม่ได้นอกจากต้องสั่งยุบพรรค ศาลรัฐธรรมนูญ จึงทำหน้าที่เป็นเพียงปอเต็กตึ้ง เก็บศพเท่าศพเท่านั้น
"เรามีอาชีพเป็นตุลาการ ถูกฝึกจนเป็นนิสัยมายาวนานหลายสิบปีว่า จะรักชอบใครนั้นทำได้ แต่ถ้าทำงานพิจารณาวินิจฉัยคดีแล้ว ต้องลืมเรื่องความรัก ชอบไป แล้วพิจารณากระบวนการ เนื้อหา ตามข้อเท็จจริง โดยปราศจากอคติ เป็นกลาง เสียงกดดันจากภายนอก ต่างๆ นานาๆ ไม่เคยเอามาใส่ใจ เพราะถ้าเอามาเป็นอารมณ์ ก็จะทำอะไรไม่ได้ ยิ่งในสถานการณ์การเมืองเป็นเช่นนี้ เราต้องเป็นกลาง เหมือนเป็นกลางท่ามกลางสนามรบ เพราะมองไม่เห็นว่า อนาคตจะปรองดองได้อย่างไร เนื่องจากคนที่คิดปรองดองยังไม่คิดจะปรองดองกันเลย ชาตินี้ก็ปรองดองกันไม่ได้ ถ้าจะปรองดองได้กลุ่มเจเนอเรชั่นนี้ คงต้องตายไปก่อน"
นายวสันต์ กล่าวด้วยว่า จากที่เคยเป็นผู้พิพากษามา มองว่า คดีในศาลรัฐธรรมนูญ ยังง่ายกว่าคดีในศาลยุติธรรม โดยในศาลรัฐธรรมนูญ จะมีเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือ และเสนอแนวทาง แต่การพิจารณาตัดสินใจเป็นเรื่องขององค์คณะ ซึ่งยืนยันว่า การล็อบบี้ไม่มี มีแต่คุยๆ กันว่า เรื่องนี้ไม่ไหว แต่พอลงมติบางครั้งก็กลายเป็นอีกอย่างหนึ่ง เคยมีวาทกรรมหลายอย่างที่พูดถึงศาลในภาพรวม บ้างก็บอกว่า สองมาตรฐาน ซึ่งไม่รู้หมายความว่าอย่างไร อย่างในคดีคุณสมบัติของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ตนได้รับบัตรสนเท่ห์ ระบุว่า ศาลอย่าวินิจฉัย สองมาตรฐานนะ ก็ไม่รู้ว่าจะสองมาตรฐานได้อย่างไร เพราะคดีลักษณะนี้ยังไม่เคยมีการวินิจฉัยมาก่อนเลย ซึ่งถ้าจะว่าสองมาตรฐาน ก็ต้องเป็นคดีที่ข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่ตัดสินต่างกันถึงจะเรียกว่าสองมาตรฐาน
" ผมยังภูมิใจว่า ในอำนาจตุลาการยังยังไม่มีกระโดดถีบกัน ชี้หน้าด่ากันในศาล อย่างมากคือ แขวะกัน อย่างในที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เถียงกันหน้าดำหน้าแดง แต่ไม่ทะเลาะกัน จบแล้วก็ยังกินข้าวด้วยกันได้ ซึ่งที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็เถียงกันบ่อย แต่เมื่อโหวตแล้วก็จบ นี่คือสิ่งที่คิดว่าต้องดำรงไว้ ในยามที่ประเทศอยู่ท่ามกลางสนามรบ เพราะเมื่อเราอาสาเข้ามาทำหน้าที่ ก็ต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ไม่วอกแวก นี่คือคำยืนยันจากผม และเพื่อตุลาการว่าจะรักษาความเป็นกลางไม่อคติไว้เสมอ ส่วนใครจะเข้าใจอย่างไร นั่นเป็นอคติที่เขามีกับเรา "
นอกจากนี้นายวสันต์ ยังกล่าวถึงการถูกมองเป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์ว่า เพราะเคยทำงานที่สำนักงานทนายความเสนีย์ ปราโมช เมื่อปี 2510-2516 ซึ่งนายเสนีย์ เป็นหัวหน้าพรรคพรรคประชาธิปัตย์ แต่ตนไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ จนกระทั่งรับราชการ เป็นผู้พิพากษา ที่มีข้อห้ามเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ทำให้จนบัดนี้ยังไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดทั้งนั้น
ส่วนที่มีการมองว่า แก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วจะมีการยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญ ก็เห็นว่า คงไม่มีการยุบ เพราะยังต้องมีองค์กรหนึ่งทำหน้าที่ตัดสินกฎหมาย ว่าขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าโยนให้ศาลฎีกาอีก คงรับงานไม่ไหว เพราะงานมีจำนวนมาก แต่ที่มีการพูดกันในทำนองจะยุบ น่าจะเพราะเขาไม่ชอบหน้าพวกเรา ที่ไม่ใช่พวกเขามากกว่า และอยากให้คนของเขา มาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบ้าง
นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวตอนหนึ่งระหว่างตอบคำถามหลังการบรรยายเรื่อง “ศาลรัฐธรรมนูญ กับการดำรงหลักนิติธรรม” ต่อกรณีที่มีการกล่าวหาว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีความเกรงกลัวต่ออำนาจการเมือง โดยยืนยันว่า คนที่อยู่ในอำนาจตุลาการ ไม่เคยกลัวใคร ซึ่งบรรดาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด ตนมีอายุน้อยที่สุด ทุกคนแข็งกว่าตน จึงอยากให้ทุกฝ่ายมั่นใจว่า การทำงานของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่อคติ พิจารณาทุกอย่างทุกขั้นตอนไปตามข้อเท็จจริง และเด็ดขาด โดยเฉพาะการที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า พ.ร.ก.กู้เงิน 2 ฉบับ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เพราะกลัว เข้าข้าง หรือต้องการเอาใจรัฐบาล แต่ตุลาการเห็นว่า การนำเงินไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย เป็นเรื่องที่เร่งด่วนจริง และพ.ร.ก.ที่รัฐบาลออกมา มีทั้งสิ้น 4 ฉบับ มีความสอดคล้องและเกี่ยวเนื่องกัน ส่วนจะมีการทุจริตหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง จะต้องมีการตรวจสอบหลังจากการใช้งบ ซึ่งก็มีองค์กรอื่นๆ ตรวจสอบ และคานอำนาจ การจะใช้อำนาจตุลาการไปควบคุม คงไม่เหมาะสม เพราะจะกลายเป็นว่าประเทศนี้บริหารโดยใช้อำนาจตุลาการ