ASTVผู้จัดการรายวัน- กมธ.แก้รธน. ถกวุ่น หลังกมธ.ฝ่ายรัฐบาลชะล่าใจ แพ้กมธ.ซีกฝ่ายค้าน 12 ต่อ 10 เสียง เรื่องที่มาส.ส.ร. โดยให้มี ส.ส.ร. 200 คน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แต่รัฐบาลยังมีโอกาสใช้พวกมาก กลับมติกมธ.ในชั้นการพิจารณาในสภา ด้านกกต.ชี้ ต้องมี กม.เลือกตั้ง ส.ส.ร.โดยเฉพาะ คณะที่ปรึกษารัฐธรรมนูญผู้ตรวจการแผ่นดิน ชี้ประชาชนลงประชามติรับร่างรธน.แล้ว ให้เสนอพระมหากษัตริย์ ลงพระปรมาภิไธยเลย ไม่ต้องเข้าสภาอีก หวั่นเกิดข้อขัดแย้ง ใครยืนข้างกษัตริย์-ประชาชน
วานนี้ ( 28 มี.ค.) มีการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ. ...ที่มีนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม โดยในช่วงก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระ นายสุทัศน์ เงินหมื่น ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนมีข้อกังวลเรื่องการพิจารณากฎหมายที่คาบเกี่ยวกับหน่วยงานใดๆ ควรจะมีการรับฟังหน่วยงานดังกล่าวด้วย ซึ่งวันนี้ก็ได้มีความเห็นจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แล้วว่า ควรออกเป็นกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) โดยตรง ซึ่งตนคิดว่าต้องออกเป็น พ.ร.บ.โดยผ่านรัฐสภา
จากนั้น ที่ประชุมได้เข้าสู่การพิจารณา มาตรา 291/1 ว่าด้วยเรื่องที่มาของ ส.ส.ร. อีกครั้ง เนื่องจากที่ประชุมเห็นว่าหากไม่ได้ข้อสรุปในมาตราดังกล่าว มาตราที่อยู่ลำดับท้าย ก็จะไม่สามารถพิจารณาต่อได้
ดังนั้นประธานจึงให้กรรมาธิการเสนอความคิดเห็นเรื่องที่มา ส.ส.ร. โดยฝั่งของพรรคปชป. อาทิ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา เสนอให้มี ส.ส.ร.จำนวน 200 คน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด โดยไม่จำกัดวุฒิการศึกษา สามารถสมัครได้ตั้งแต่ผู้ที่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร เสนอให้ ส.ส.ร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด โดยแบ่งเป็นเขตการเลือกตั้ง 200 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 20 คน ให้มีการจัดเลือกตั้งล่วงหน้า อีกทั้งเสนอให้ผู้ที่อยู่นอกราชอาณาจักร ที่มีคุณสมบัติสามารถเลือกตั้งส.ส.ร.ได้ ให้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่าให้ ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง โดยยึดหลัก ประชากร 5 แสนคน ต่อ ส.ส.ร. 1 คน ถ้าจังหวัดใดมีประชากรน้อยกว่า 5 แสนคน กำหนดให้มีส.ส.ร. 1 คน โดยมีแนวคิดว่าให้ประชาชนเลือกส.ส.ร.ได้ 1 คนเท่านั้น ถ้าคำนวนตามหลักเกณฑ์ที่เสนอ จะได้ส.ส.ร.ทั้งหมด 130 คน ในส่วนของผู้เชี่ยวชาญ ตนเห็นด้วยกับร่างของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตรงที่ว่า มีผู้เชี่ยวชาญมาจากสาขากฎหมายมหาชน สาขารัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ และจากผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง แต่ไม่เห็นด้วยกับการให้สภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้เลือก จึงเสนอให้สถาบันการศึกษาเป็นผู้เสนอ และให้ประชาชนเลือกอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้หลักเกณฑ์ว่าผู้ที่มีคะแนนสูงสุด เป็นลำดับที่ 1-20 ได้เป็นส.ส.ร.
ด้านนพ.เจตน์ ศิรธนานนท์ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ในส่วนของตน ขอเสนอให้มีจำนวนส.ส.ร. 200 คน โดยให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และไม่มีผู้เชี่ยวชาญ แต่สามารถตั้งเป็นที่ปรึกษา หรือตั้งเป็นคณะอนุกรรมการได้ในภายหลัง และยึดหลักการเลือกตั้งส.ว.ปี 43 คือใช้ฐานประชากร 3.2 แสนคน ต่อ ส.ส.ร. 1 คน ภายใต้แนวคิดประชาชน 1 คน ต่อ 1 สิทธิ์ ซึ่งในข้อเสนอของน.พ.เจตน์ มีลักษณะเช่นเดียวกับ นายวิรัตน์
** กมธ.ซีกรัฐบาลแพ้ฝ่ายค้าน
จากนั้นนายสามารถได้มีมติให้สมาชิกลงคะแนนเสียงว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับร่าง ครม. หรือไม่ ผลปรากฏว่า เห็นด้วย 10 เสียงและไม่เห็นด้วย 12 เสียง ทำให้กมธ.ซีกเพื่อไทย ไม่พอใจ และอภิปรายถกเถียงถึงแนวทางการลงคะแนนเสียงของข้อเสนอ 9 ข้อ ที่ถูกต้องว่าควรเป็นอย่างไร โดยในฝั่งปชป. พยายามที่จะบอกกับประธานว่าได้มีการขานผลสรุปคะแนนแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้แล้ว อย่างไรก็ตาม ซีกกมธ.เพื่อไทย แสดงความเห็นให้ประธานทบทวนการลงมติใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงหนึ่งของการประชุมได้เกิดความวุ่นวายขึ้น โดยเริ่มต้นจาก น.พ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน กมธ.พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขอเสนอให้ ร่างของพรรคเพื่อไทย และ ร่างของครม. เข้าไปพิจารณาด้วย ซึ่งในขณะที่น.พ.ชลน่าน แสดงความเห็น นายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.บัญชีรายชื่อ กมธ.พรรคประชาธิปัตย์ พูดแทรกว่า ไม่ได้ ก็คือไม่ได้ จากนั้น น.พ.ชลน่าน ก็ตอบโต้ว่า ตนก็ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับมาโดยตลอดไม่ทำตามอำเภอใจ นักเลงก็คือนักเลง จนกระทั่งนายนิพนธ์ ชี้นิ้วไปทางน.พ.ชลน่าน พร้อมกับกล่าวให้ถอนคำพูด ซึ่งหลังจากนั้นน.พ.ชลน่าน ก็ถอนคำพูด
ในท้ายที่สุดประธานสั่งยุติการประชุม โดยให้เหตุผลว่า การประชุมล่วงเลยเวลาที่กำหนดมา และสั่งให้มีการหาข้อสรุปเรื่องดังกล่าวในวันนี้ (29 มี.ค.)
** คาดสภาใช้พวกมากกลับมติกมธ.
นายสุทัศน์ เงินหมื่น กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่มาของ ส.ส.ร. และได้มีการลงมติครั้งแรกโดยคะแนนเสียงเห็นชอบจำนวน 12 เสียง เห็นชอบแนวทางที่พรรคประชาธิปัตย์ เสนอ คือเลือกตั้งส.ส.ร.โดยตรงจำนวน 200 คน ในรูปแบบของการเลือกตั้งวุฒิสภาฯ ปี 43 ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งชนะเสียงของรัฐบาล 10 เสียง ที่ต้องการเสนอร่างของรัฐบาล ที่เสนอให้มีการเลือกตั้งส.ส.ร. 77 คน และคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิ 22 คน รวมเป็น 99 คน จึงส่งผลให้กมธ.ซีกพรรคประชาธิปัตย์ ชนะการลงมติ แม้กรรมาธิการซีกพรรคเพื่อไทย พยายามจะกดดันต่อประธานกรรมาธิการฯ ในภายหลัง แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะได้ผ่านการพิจารณาไปแล้ว ไม่สามารถกลับมติได้ อีกทั้งยังเป็นความชะล่าใจของกมธ.ซีกรัฐบาล ที่อยู่ร่วมประชุมน้อย แต่ตนขอยืนยันว่า การโหวตในเรื่องดังกล่าวมีจำนวนเสียงครบองค์ประชุม ส่วนความเป็นกังวลว่าจะไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยส.ส.ร.ในการพิจารณาแก้ไขรธน. ก็ไม่เป็นความจริงเพราะส.ส.ร.ไปตั้งที่ปรึกษา ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญมาช่วยให้คำแนะนำได้
ด้านนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานกมธ.แก้ไขรัฐธรรมนูญกล่าวว่า ในขั้นกมธ.นี้เราชนะ แต่ในขั้นตอนต่อไป หากจะมีการพิจารณาในรัฐสภา และใช้เสียงข้างมากของรัฐบาล กลับมติก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่ขอยืนยันว่า เป็นเรื่องที่สวนทางกับมติกมธ.ฯ ที่มีมติเห็นชอบใช้แนวทางการเลือกตั้งส.ส.ร.จำนวน 200 คนไปแล้ว
**ถกวาระ 2 แก้รธน. 10-11 เม.ย.
ทั้งนี้ นายสามารถ เปิดเผยว่า การพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ คาดว่าจะสามารถพิจารณา ร่างแก้ไขฯ ในวาระสอง ทันวันที่ 10-11 เม.ย.นี้ โดยขณะนี้ผู้แปรญัตติเข้ามาแล้ว 175 คน กรรมาธิการจะใช้เวลาที่มีอยู่ 2 สัปดาห์ประมาณ 18 ชั่วโมง พิจารณาเรื่องที่ค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นทั้งหมด รวมถึงจะเชิญผู้แปรญัตติมาชี้แจง เชื่อว่าการพิจารณาในช่วงต่อไปจะไม่เกิดปัญหา เพราะได้พิจารณาในประเด็นที่สำคัญผ่านไปหมดแล้ว ขอยืนยันว่า การพิจารณาของกรรมาธิการไม่ใช่การปูทางเพื่อนิรโทษกรรม เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญ ไม่มีข้อใดที่เอื้อต่อการนิรโทษกรรม ที่ผ่านมากรรมาธิการชุดนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากกรรมาธิการเสียงข้างน้อยจึงมั่นใจว่า จะไม่มีปัญหากรรมาธิการลาออกเหมือนกรรมาธิการปรองดอง
ส่วนประเด็นข้อสรุปแนวทางเลือกตั้ง ส.ส.ร.โดยข้อสรุปของ กกต.ที่เสนอให้ออกเป็นพ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส.ร. เป็นเรื่องที่ตรงกับความเห็นของกรรมาธิการอยู่แล้ว ไม่น่าจะมีปัญหา
*** หวั่นเกิดข้อขัดแย้ง
วานนี้ ( 28 มี.ค.) นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในฐานะโฆษกคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงภายหลังการประชุมว่า ในที่ประชุม มีกรรมการที่ปรึกษาฯคนหนึ่ง ได้เสนอให้พิจารณาว่า การที่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่... พ.ศ.... ที่รัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาล เสนอรวม 3 ร่าง ที่มีการระบุว่า หลังให้ประชาชนลงประชามติแล้ว ให้ประธานรัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นทูลเกล้าถวายฯ โดยให้นำมาตรา 150 และ151 ของรัฐธรรมนูญ 50 มาบังคับใช้โดยอนุโลม ซึ่งมีความหมายว่า หากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย และไม่ถวายคืนมายังรัฐสภาให้รัฐสภาพิจารณาลงมติ อาจทำให้เกิดข้อขัดกันในระบบ โดยไม่จำเป็นหรือไม่
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการถกเถียงกันในเชิงวิชาการ โดยมีข้อยุติร่วมกันว่า เมื่อประชาชนลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ให้ประธานรัฐสภานำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยได้เลย ไม่จำเป็นต้องให้รัฐสภา ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนมาพิจารณาอีก และในข้อเท็จจริง แม้พระมหากษัตริย์ อาจใช้พระบรมราชวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ แต่ตามประวัติศาสตร์แล้ว พระมหากษัตริย์ ไม่เคยใช้พระราชอำนาจในเรื่องการยับยั้งร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีการลงประชามติโดยประชาชนแล้ว
" กรรมการที่เสนอเห็นว่า ถ้าหากให้มีการนำรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 150 และ 151 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการตราพระราชบัญญัติ มาบังคับใช้โดยอนุโลม กับร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาการขัดกันระหว่างพระมหากษัตริย์ กับประชาชนได้ ตัวอย่างเช่น หากประชาชนลงประชามติ แล้วมีการทูลเกล้าฯ ขึ้นไปและพระมหากษัตริย์ทรงไม่ถวายคืนกลับมา รัฐสภาก็ต้องมาพิจารณาดำเนินการ ตามรัฐธรรมนูญ ก็จะเกิดปัญหาว่ารัฐสภาจะเห็นด้วยกับพระมหากษัตริย์หรือเห็นด้วยกับประชาชน ซึ่งเป็นข้อโตแย้งโดยไม่จำเป็น จึงควรมีการบัญญัติเพียงว่าหากประชาชนมีประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ พระมหากษัตริย์แล้วจบเลย"
นอกจากนี้ที่ประชุม ยังได้พิจารณากรณีที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เขียนรับรองการห้ามแก้ไขเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และรูปแบบของรัฐ ว่า หากการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีผู้โต้แย้งในเรื่องดังกล่าว ใครจะเป็นผู้ตัดสิน เพราะผู้ตรวจการแผ่นดิน อาจจะต้องเป็นผู้ที่รับเรื่องร้องเรียน แต่ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อยุติโดยจะพิจารณากันในครั้งต่อไป ในวันที่ 4 เม.ย. นี้ เวลา 16.00 น.
อย่างไรก็ตามกรณีดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวกับกับเรื่องการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพราะเป็นคนละเรื่องกัน
วานนี้ ( 28 มี.ค.) มีการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ. ...ที่มีนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม โดยในช่วงก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระ นายสุทัศน์ เงินหมื่น ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนมีข้อกังวลเรื่องการพิจารณากฎหมายที่คาบเกี่ยวกับหน่วยงานใดๆ ควรจะมีการรับฟังหน่วยงานดังกล่าวด้วย ซึ่งวันนี้ก็ได้มีความเห็นจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แล้วว่า ควรออกเป็นกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) โดยตรง ซึ่งตนคิดว่าต้องออกเป็น พ.ร.บ.โดยผ่านรัฐสภา
จากนั้น ที่ประชุมได้เข้าสู่การพิจารณา มาตรา 291/1 ว่าด้วยเรื่องที่มาของ ส.ส.ร. อีกครั้ง เนื่องจากที่ประชุมเห็นว่าหากไม่ได้ข้อสรุปในมาตราดังกล่าว มาตราที่อยู่ลำดับท้าย ก็จะไม่สามารถพิจารณาต่อได้
ดังนั้นประธานจึงให้กรรมาธิการเสนอความคิดเห็นเรื่องที่มา ส.ส.ร. โดยฝั่งของพรรคปชป. อาทิ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา เสนอให้มี ส.ส.ร.จำนวน 200 คน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด โดยไม่จำกัดวุฒิการศึกษา สามารถสมัครได้ตั้งแต่ผู้ที่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร เสนอให้ ส.ส.ร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด โดยแบ่งเป็นเขตการเลือกตั้ง 200 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 20 คน ให้มีการจัดเลือกตั้งล่วงหน้า อีกทั้งเสนอให้ผู้ที่อยู่นอกราชอาณาจักร ที่มีคุณสมบัติสามารถเลือกตั้งส.ส.ร.ได้ ให้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่าให้ ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง โดยยึดหลัก ประชากร 5 แสนคน ต่อ ส.ส.ร. 1 คน ถ้าจังหวัดใดมีประชากรน้อยกว่า 5 แสนคน กำหนดให้มีส.ส.ร. 1 คน โดยมีแนวคิดว่าให้ประชาชนเลือกส.ส.ร.ได้ 1 คนเท่านั้น ถ้าคำนวนตามหลักเกณฑ์ที่เสนอ จะได้ส.ส.ร.ทั้งหมด 130 คน ในส่วนของผู้เชี่ยวชาญ ตนเห็นด้วยกับร่างของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตรงที่ว่า มีผู้เชี่ยวชาญมาจากสาขากฎหมายมหาชน สาขารัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ และจากผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง แต่ไม่เห็นด้วยกับการให้สภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้เลือก จึงเสนอให้สถาบันการศึกษาเป็นผู้เสนอ และให้ประชาชนเลือกอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้หลักเกณฑ์ว่าผู้ที่มีคะแนนสูงสุด เป็นลำดับที่ 1-20 ได้เป็นส.ส.ร.
ด้านนพ.เจตน์ ศิรธนานนท์ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ในส่วนของตน ขอเสนอให้มีจำนวนส.ส.ร. 200 คน โดยให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และไม่มีผู้เชี่ยวชาญ แต่สามารถตั้งเป็นที่ปรึกษา หรือตั้งเป็นคณะอนุกรรมการได้ในภายหลัง และยึดหลักการเลือกตั้งส.ว.ปี 43 คือใช้ฐานประชากร 3.2 แสนคน ต่อ ส.ส.ร. 1 คน ภายใต้แนวคิดประชาชน 1 คน ต่อ 1 สิทธิ์ ซึ่งในข้อเสนอของน.พ.เจตน์ มีลักษณะเช่นเดียวกับ นายวิรัตน์
** กมธ.ซีกรัฐบาลแพ้ฝ่ายค้าน
จากนั้นนายสามารถได้มีมติให้สมาชิกลงคะแนนเสียงว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับร่าง ครม. หรือไม่ ผลปรากฏว่า เห็นด้วย 10 เสียงและไม่เห็นด้วย 12 เสียง ทำให้กมธ.ซีกเพื่อไทย ไม่พอใจ และอภิปรายถกเถียงถึงแนวทางการลงคะแนนเสียงของข้อเสนอ 9 ข้อ ที่ถูกต้องว่าควรเป็นอย่างไร โดยในฝั่งปชป. พยายามที่จะบอกกับประธานว่าได้มีการขานผลสรุปคะแนนแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้แล้ว อย่างไรก็ตาม ซีกกมธ.เพื่อไทย แสดงความเห็นให้ประธานทบทวนการลงมติใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงหนึ่งของการประชุมได้เกิดความวุ่นวายขึ้น โดยเริ่มต้นจาก น.พ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน กมธ.พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขอเสนอให้ ร่างของพรรคเพื่อไทย และ ร่างของครม. เข้าไปพิจารณาด้วย ซึ่งในขณะที่น.พ.ชลน่าน แสดงความเห็น นายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.บัญชีรายชื่อ กมธ.พรรคประชาธิปัตย์ พูดแทรกว่า ไม่ได้ ก็คือไม่ได้ จากนั้น น.พ.ชลน่าน ก็ตอบโต้ว่า ตนก็ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับมาโดยตลอดไม่ทำตามอำเภอใจ นักเลงก็คือนักเลง จนกระทั่งนายนิพนธ์ ชี้นิ้วไปทางน.พ.ชลน่าน พร้อมกับกล่าวให้ถอนคำพูด ซึ่งหลังจากนั้นน.พ.ชลน่าน ก็ถอนคำพูด
ในท้ายที่สุดประธานสั่งยุติการประชุม โดยให้เหตุผลว่า การประชุมล่วงเลยเวลาที่กำหนดมา และสั่งให้มีการหาข้อสรุปเรื่องดังกล่าวในวันนี้ (29 มี.ค.)
** คาดสภาใช้พวกมากกลับมติกมธ.
นายสุทัศน์ เงินหมื่น กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่มาของ ส.ส.ร. และได้มีการลงมติครั้งแรกโดยคะแนนเสียงเห็นชอบจำนวน 12 เสียง เห็นชอบแนวทางที่พรรคประชาธิปัตย์ เสนอ คือเลือกตั้งส.ส.ร.โดยตรงจำนวน 200 คน ในรูปแบบของการเลือกตั้งวุฒิสภาฯ ปี 43 ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งชนะเสียงของรัฐบาล 10 เสียง ที่ต้องการเสนอร่างของรัฐบาล ที่เสนอให้มีการเลือกตั้งส.ส.ร. 77 คน และคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิ 22 คน รวมเป็น 99 คน จึงส่งผลให้กมธ.ซีกพรรคประชาธิปัตย์ ชนะการลงมติ แม้กรรมาธิการซีกพรรคเพื่อไทย พยายามจะกดดันต่อประธานกรรมาธิการฯ ในภายหลัง แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะได้ผ่านการพิจารณาไปแล้ว ไม่สามารถกลับมติได้ อีกทั้งยังเป็นความชะล่าใจของกมธ.ซีกรัฐบาล ที่อยู่ร่วมประชุมน้อย แต่ตนขอยืนยันว่า การโหวตในเรื่องดังกล่าวมีจำนวนเสียงครบองค์ประชุม ส่วนความเป็นกังวลว่าจะไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยส.ส.ร.ในการพิจารณาแก้ไขรธน. ก็ไม่เป็นความจริงเพราะส.ส.ร.ไปตั้งที่ปรึกษา ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญมาช่วยให้คำแนะนำได้
ด้านนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานกมธ.แก้ไขรัฐธรรมนูญกล่าวว่า ในขั้นกมธ.นี้เราชนะ แต่ในขั้นตอนต่อไป หากจะมีการพิจารณาในรัฐสภา และใช้เสียงข้างมากของรัฐบาล กลับมติก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่ขอยืนยันว่า เป็นเรื่องที่สวนทางกับมติกมธ.ฯ ที่มีมติเห็นชอบใช้แนวทางการเลือกตั้งส.ส.ร.จำนวน 200 คนไปแล้ว
**ถกวาระ 2 แก้รธน. 10-11 เม.ย.
ทั้งนี้ นายสามารถ เปิดเผยว่า การพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ คาดว่าจะสามารถพิจารณา ร่างแก้ไขฯ ในวาระสอง ทันวันที่ 10-11 เม.ย.นี้ โดยขณะนี้ผู้แปรญัตติเข้ามาแล้ว 175 คน กรรมาธิการจะใช้เวลาที่มีอยู่ 2 สัปดาห์ประมาณ 18 ชั่วโมง พิจารณาเรื่องที่ค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นทั้งหมด รวมถึงจะเชิญผู้แปรญัตติมาชี้แจง เชื่อว่าการพิจารณาในช่วงต่อไปจะไม่เกิดปัญหา เพราะได้พิจารณาในประเด็นที่สำคัญผ่านไปหมดแล้ว ขอยืนยันว่า การพิจารณาของกรรมาธิการไม่ใช่การปูทางเพื่อนิรโทษกรรม เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญ ไม่มีข้อใดที่เอื้อต่อการนิรโทษกรรม ที่ผ่านมากรรมาธิการชุดนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากกรรมาธิการเสียงข้างน้อยจึงมั่นใจว่า จะไม่มีปัญหากรรมาธิการลาออกเหมือนกรรมาธิการปรองดอง
ส่วนประเด็นข้อสรุปแนวทางเลือกตั้ง ส.ส.ร.โดยข้อสรุปของ กกต.ที่เสนอให้ออกเป็นพ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส.ร. เป็นเรื่องที่ตรงกับความเห็นของกรรมาธิการอยู่แล้ว ไม่น่าจะมีปัญหา
*** หวั่นเกิดข้อขัดแย้ง
วานนี้ ( 28 มี.ค.) นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในฐานะโฆษกคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงภายหลังการประชุมว่า ในที่ประชุม มีกรรมการที่ปรึกษาฯคนหนึ่ง ได้เสนอให้พิจารณาว่า การที่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่... พ.ศ.... ที่รัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาล เสนอรวม 3 ร่าง ที่มีการระบุว่า หลังให้ประชาชนลงประชามติแล้ว ให้ประธานรัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นทูลเกล้าถวายฯ โดยให้นำมาตรา 150 และ151 ของรัฐธรรมนูญ 50 มาบังคับใช้โดยอนุโลม ซึ่งมีความหมายว่า หากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย และไม่ถวายคืนมายังรัฐสภาให้รัฐสภาพิจารณาลงมติ อาจทำให้เกิดข้อขัดกันในระบบ โดยไม่จำเป็นหรือไม่
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการถกเถียงกันในเชิงวิชาการ โดยมีข้อยุติร่วมกันว่า เมื่อประชาชนลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ให้ประธานรัฐสภานำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยได้เลย ไม่จำเป็นต้องให้รัฐสภา ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนมาพิจารณาอีก และในข้อเท็จจริง แม้พระมหากษัตริย์ อาจใช้พระบรมราชวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ แต่ตามประวัติศาสตร์แล้ว พระมหากษัตริย์ ไม่เคยใช้พระราชอำนาจในเรื่องการยับยั้งร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีการลงประชามติโดยประชาชนแล้ว
" กรรมการที่เสนอเห็นว่า ถ้าหากให้มีการนำรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 150 และ 151 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการตราพระราชบัญญัติ มาบังคับใช้โดยอนุโลม กับร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาการขัดกันระหว่างพระมหากษัตริย์ กับประชาชนได้ ตัวอย่างเช่น หากประชาชนลงประชามติ แล้วมีการทูลเกล้าฯ ขึ้นไปและพระมหากษัตริย์ทรงไม่ถวายคืนกลับมา รัฐสภาก็ต้องมาพิจารณาดำเนินการ ตามรัฐธรรมนูญ ก็จะเกิดปัญหาว่ารัฐสภาจะเห็นด้วยกับพระมหากษัตริย์หรือเห็นด้วยกับประชาชน ซึ่งเป็นข้อโตแย้งโดยไม่จำเป็น จึงควรมีการบัญญัติเพียงว่าหากประชาชนมีประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ พระมหากษัตริย์แล้วจบเลย"
นอกจากนี้ที่ประชุม ยังได้พิจารณากรณีที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เขียนรับรองการห้ามแก้ไขเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และรูปแบบของรัฐ ว่า หากการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีผู้โต้แย้งในเรื่องดังกล่าว ใครจะเป็นผู้ตัดสิน เพราะผู้ตรวจการแผ่นดิน อาจจะต้องเป็นผู้ที่รับเรื่องร้องเรียน แต่ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อยุติโดยจะพิจารณากันในครั้งต่อไป ในวันที่ 4 เม.ย. นี้ เวลา 16.00 น.
อย่างไรก็ตามกรณีดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวกับกับเรื่องการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพราะเป็นคนละเรื่องกัน