ASTVผู้จัดการรายวัน - “กิตติรัตน์” กร้าว! เป็นรองนายกฯ คุมเศรษฐกิจ ค่าเงินบาทต้องอ่อนเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ สั่งแบงก์ชาติหุบปากเลิกเถียงและให้ไปทำตามนโยบายได้แล้ว เผยไม่ต้องการให้เงินทุนไหลเข้ามามาก เย้ย "กรณ์" แค่อดีตรัฐมนตรีคลังและเป็นฝ่ายค้านพูดอะไรก็ไม่มีความหมาย
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า แนวโน้มเงินทุนที่ไหลเข้ามาลงทุนในประเทศจำนวนมากนั้น จะทำให้นักลงทุนต่างชาติมองว่า ค่าเงินบาทไทยมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น และมาหากำไรจากค่าเงินบาท จึงได้ส่งสัญญาณชัดเจนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ดูแลค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลง เพื่อจะได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ และในฐานะที่ตนเป็นผู้ดูแลนโยบายเศรษฐกิจรวม เมื่อส่งสัญญาณไปชัดเจนแบบนี้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ต้องรับฟังและดำเนินนโยบายตาม
“ผมไม่มีหน้าที่เถียงกับแบงก์ชาติ และแบงก์ชาติก็ไม่มีหน้าที่มาเถียงผม แค่ฟังผมและเถียงผมให้น้อยลง แล้วทุกอย่างจะดีเอง เพราะผมไม่ใช่แค่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่ยังเป็นผู้ดูแลภาพรวมเศรษฐกิจด้วย การที่ส่งสัญญาณว่าอยากให้บาทอ่อน ก็เพราะต้องการแบบนั้นจริง ใครจะมาฟาดปากผม ผมก็ไม่แคร์ และผมก็ไม่ชอบที่จะให้เงินทุนไหลเข้ามามาก” นายกิตติรัตน์กล่าว
ส่วนกรณีที่นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ออกมาตำหนินายกิตติรัตน์ว่า การส่งสัญญาณบาทอ่อนเป็นเรื่องละเอียดอ่อน นายกิตติรัตน์กล่าวว่า นายกรณ์เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเป็นฝ่ายค้าน พูดอะไรก็ไม่มีความหมาย
นายกิตติรัตน์กล่าวว่า ส่วนความคืบหน้าการพักหนี้ครัวเรือนที่เป็นลูกหนี้ที่ดี รายละไม่เกิน 5 แสนบาท ได้หารือกับที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ไปแล้วในการประชุมเมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน เพียงแต่ในหลักการต้องการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ดีที่มีวินัย จ่ายดอกเบี้ยที่ลดลง และไม่ว่าธปท.จะดำเนินนโยบายดอกเบี้ยอย่างไร แต่ในแง่ที่กระทรวงการคลังกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จึงมีแนวพิจารณาร่วมกันในการดูแลให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายลดลง ขณะเดียวกันก็สามารถกู้เพิ่มเติมได้ เพื่อนำไปประกอบอาชีพและขยายกิจการ ตามภาวะเศรษฐกิจ ที่มั่นใจว่าจะที่ฟื้นตัวขึ้น
“เรื่องนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะออกมาในแนวทางใด เพราะถ้าลดดอกเบี้ยมากไปหรือน้อยไป ผมก็คงไม่เลือกที่จะนำมาเป็นนโยบาย ผมยอมรับนะว่านักข่าวเก่งที่หาข่าวมาเขียนได้ แต่เรื่องนี้ผิด ที่ไปฟังแค่ความคิดเห็นใครบางคน ทั้งที่ไม่ใช่ข้อสรุป” นายกิตติรัตน์กล่าว
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 23 มี.ค. นายกิตติรัตน์ไปพูดนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนในเวทีสัมมนาระดับชาติที่ฮ่องกง บอกว่า อยากจะเห็นเงินบาทอ่อนค่าลงไปถึงระดับ 32-34 บาทต่อดอลลาร์ ต่อมาเช้าวันที่ 26 มี.ค. นายกิตติรัตน์พูดนงานปาฐกถาที่เมืองไทย บอกอยากเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่าลงจากระดับปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือการส่งออก โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งจะช่วยผลักดันยอดขายในต่างประเทศได้ดีขึ้น
“ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีหน้าที่ในการดูแลค่าเงินบาทอยู่แล้ว สามารถดูแลได้และรู้ว่าควรจะทำอย่างไร สิ่งสำคัญที่จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้คือ ธปท.ต้องหัดขาดดุลให้เป็น" นายกิติรัตน์กล่าวเมื่อวันก่อน.
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า แนวโน้มเงินทุนที่ไหลเข้ามาลงทุนในประเทศจำนวนมากนั้น จะทำให้นักลงทุนต่างชาติมองว่า ค่าเงินบาทไทยมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น และมาหากำไรจากค่าเงินบาท จึงได้ส่งสัญญาณชัดเจนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ดูแลค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลง เพื่อจะได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ และในฐานะที่ตนเป็นผู้ดูแลนโยบายเศรษฐกิจรวม เมื่อส่งสัญญาณไปชัดเจนแบบนี้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ต้องรับฟังและดำเนินนโยบายตาม
“ผมไม่มีหน้าที่เถียงกับแบงก์ชาติ และแบงก์ชาติก็ไม่มีหน้าที่มาเถียงผม แค่ฟังผมและเถียงผมให้น้อยลง แล้วทุกอย่างจะดีเอง เพราะผมไม่ใช่แค่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่ยังเป็นผู้ดูแลภาพรวมเศรษฐกิจด้วย การที่ส่งสัญญาณว่าอยากให้บาทอ่อน ก็เพราะต้องการแบบนั้นจริง ใครจะมาฟาดปากผม ผมก็ไม่แคร์ และผมก็ไม่ชอบที่จะให้เงินทุนไหลเข้ามามาก” นายกิตติรัตน์กล่าว
ส่วนกรณีที่นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ออกมาตำหนินายกิตติรัตน์ว่า การส่งสัญญาณบาทอ่อนเป็นเรื่องละเอียดอ่อน นายกิตติรัตน์กล่าวว่า นายกรณ์เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเป็นฝ่ายค้าน พูดอะไรก็ไม่มีความหมาย
นายกิตติรัตน์กล่าวว่า ส่วนความคืบหน้าการพักหนี้ครัวเรือนที่เป็นลูกหนี้ที่ดี รายละไม่เกิน 5 แสนบาท ได้หารือกับที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ไปแล้วในการประชุมเมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน เพียงแต่ในหลักการต้องการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ดีที่มีวินัย จ่ายดอกเบี้ยที่ลดลง และไม่ว่าธปท.จะดำเนินนโยบายดอกเบี้ยอย่างไร แต่ในแง่ที่กระทรวงการคลังกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จึงมีแนวพิจารณาร่วมกันในการดูแลให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายลดลง ขณะเดียวกันก็สามารถกู้เพิ่มเติมได้ เพื่อนำไปประกอบอาชีพและขยายกิจการ ตามภาวะเศรษฐกิจ ที่มั่นใจว่าจะที่ฟื้นตัวขึ้น
“เรื่องนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะออกมาในแนวทางใด เพราะถ้าลดดอกเบี้ยมากไปหรือน้อยไป ผมก็คงไม่เลือกที่จะนำมาเป็นนโยบาย ผมยอมรับนะว่านักข่าวเก่งที่หาข่าวมาเขียนได้ แต่เรื่องนี้ผิด ที่ไปฟังแค่ความคิดเห็นใครบางคน ทั้งที่ไม่ใช่ข้อสรุป” นายกิตติรัตน์กล่าว
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 23 มี.ค. นายกิตติรัตน์ไปพูดนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนในเวทีสัมมนาระดับชาติที่ฮ่องกง บอกว่า อยากจะเห็นเงินบาทอ่อนค่าลงไปถึงระดับ 32-34 บาทต่อดอลลาร์ ต่อมาเช้าวันที่ 26 มี.ค. นายกิตติรัตน์พูดนงานปาฐกถาที่เมืองไทย บอกอยากเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่าลงจากระดับปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือการส่งออก โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งจะช่วยผลักดันยอดขายในต่างประเทศได้ดีขึ้น
“ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีหน้าที่ในการดูแลค่าเงินบาทอยู่แล้ว สามารถดูแลได้และรู้ว่าควรจะทำอย่างไร สิ่งสำคัญที่จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้คือ ธปท.ต้องหัดขาดดุลให้เป็น" นายกิติรัตน์กล่าวเมื่อวันก่อน.