ASTVผู้จัดการรายวัน-"คณิต ณ นคร"ชี้ "ทักษิณ" ตัวต้นเหตุสังคมไทยแตกแยก ไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรม เปรียบไม่ต่างจาก "ฮิตเลอร์" ที่มีการบิดเบือนกฎหมายจนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ย้ำต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมใหม่ ป้องกันการแทรกแซง และต้องจับตัวคนผิดมาลงโทษให้ได้จริง
ศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมายและประธานกรรมการอิสระ ตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เปิดเผยว่า ความปรองดองที่แท้จริงนั้น มิใช่ได้มาด้วยการบิดเบือนกฎหมายหรือล้มล้างความผิดให้คนผิด ตรงกันข้าม ความปรองดองและความสงบสุขในสังคมจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตามหลักกฎหมายและดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมอย่างซื่อตรง เคร่งครัด เพื่อนำตัวคนผิดมาลงโทษโดยไม่สยบยอมต่ออำนาจทางการเมือง หาไม่ ความพยายามในการบิดเบือนหลักกฎหมาย เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมอ่อนปวกเปียก ไม่สามารถเอาผิดคนผิดได้นั้น ในที่สุดก็ไม่ต่างจากกระบวนการยุติธรรมของเยอรมันในยุคอดอฟ ฮิตเลอร์ ที่กฎหมายถูกบิดเบือน ศาลยอมหลับตาข้างเดียว จนปล่อยให้คนผิดอย่างฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจและนำโลกเข้าสู่สงครามแห่งหายนะในที่สุด
***ชี้"ทักษิณ-ฮิตเลอร์"ไม่ต่างกัน
ศาสตราจารย์ ดร.คณิต อธิบายว่า รากเหง้าของความไม่สงบเรียบร้อยที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองเราในระยะหลังๆ หมายถึงช่วงหลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 แล้ว โดยส่วนใหญ่ก็เป็นคดีที่เกี่ยวกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างคดีเกี่ยวกับการซุกหุ้น ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ เพราะศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้น ไม่ได้ยึดหลักกฏหมายในการตัดสินคดี ทำให้เกิดการเบี่ยงเบนคดี และเป็นที่มาของการใช้อำนาจเกินขอบเขต ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ต้องนำเรื่องนี้ไปพูดให้ประชาชนเข้าใจ เพื่อจะได้ร่วมกันผลักดันกระบวนการยุติธรรมให้เข้มแข็ง ซึ่งจะแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นได้
“ผมเปรียบเทียบ เหมือนคดีฮิตเลอร์ ฮิตเลอร์เป็นคนออสเตรีย แล้วเขาก็เข้ามาอยู่ในบาวาเรีย ในเยอรมัน แล้วมาเป็นทหารรับจ้างของกองทัพบาวาเรีย ได้ไปรบจนได้เหรียญตรา จากนั้นฮิตเลอร์ก็ก่อกบฏ ก่อกบฏแล้วก็ถูกจับขึ้นศาล ซึ่งกฎหมายเยอรมัน ณ ตอนนั้น คนที่เป็นคนต่างด้าวที่ถูกลงโทษจะต้องถูกเนรเทศด้วย แต่ศาลเยอรมันขณะนั้นบอกว่าฮิตเลอร์ซึ่งมีความรู้สึกเป็นเยอรมันอย่างมาก ทั้งได้ประกอบคุณงามความดีจนได้เหรียญตรา จึงไม่ใช่คนต่างด้าว เห็นไหมครับ บิดเบือนกฎหมายชัดเจน ผมเองก็เคยเขียนบทความว่า ถ้าศาลใช้อำนาจอย่างตรงไปตรงมา ฮิตเลอร์ก็จะไม่ขึ้นสู่อำนาจ สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็จะไม่เกิด มันก็เหมือนคดีเรานี่แหละ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจถูกต้องตามกฎหมาย คุณทักษิณก็จะถูกอัปเปหิออกไปจากอำนาจ ไม่ขึ้นสู่อำนาจ ไม่สร้างความเสียหาย มันอันเดียวกันเลยนะครับ ไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย”
***ระบบยุติธรรมเข้มแข็งป้องกันปฏิวัติได้
ศาสตราจารย์ ดร.คณิต กล่าวว่า ในมุมมองของตน เรื่องกฎหมายกับกระบวนการยุติธรรมเป็นรื่องใหญ่ กระบวนการยุติธรรมของไทยยังมีอะไรที่ต้องปรับปรุงอีกเยอะ โดยไทยมีการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมครั้งแรก ปี 2540 จนกระทั่งวันนี้ เรายังคิดว่าการขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมให้เป็นที่พึ่งของประชาชนได้นี่เป็นเรื่องใหญ่ ประเทศต่างๆ ที่มีการพัฒนาทั้งด้านประชาธิปไตย รวมถึงเศรษฐกิจและการเมืองนั้น ประเทศเขาล้วนมีกระบวนการยุติธรรมที่เข้มแข็งทั้งสิ้น เช่น ในเอเชียก็มีตัวอย่างคือ เกาหลีและญี่ปุ่น
ดังนั้น ไทยจะต้องให้ความสนใจเรื่องนี้ให้มากหน่อย คิดว่าถ้ากระบวนการยุติธรรมเข้มแข็งมันจะสามารถป้องกันการยึดอำนาจได้ เพราะว่าทุกครั้งที่มีการยึดอำนาจก็มักจะมีการอ้างเรื่องการทุจริต คอร์รัปชัน อย่างบ้านเรา เมื่ออ้างเรื่องนี้แล้ว มันก็ไม่ค่อยเกิดมรรคเกิดผล อย่างครั้งสุดท้ายที่มีการยึดอำนาจกันเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
“ที่มีการทุจริตกันเยอะที่สนามบินสุวรรรภูมิ ผมฟังๆ ข่าวดู ก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือการทุจริตที่มีคนไทยเราไปเกี่ยวข้องกับอเมริกา ประเทศของเขา เขาลงโทษไปแล้ว แต่ของเราก็ยังเห็นเฉยๆ อยู่ นี่แหละที่ทำให้ผมคิดว่า กระบวนการยุติธรรมของไทยเรา จะต้องมีการปรับแต่งกันให้ดีที่สุด เพราะถ้ากระบวนการยุติธรรมเป็นที่พึ่งได้ รักษาความสงบเรียบร้อยได้ มีการบังคับใช้กฏหมายที่ดี การจะได้เห็นประชาธิปไตย ในบ้านเรา ก็คงไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินควร”
***ต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
ศาสตราจารย์ ดร.คณิต กล่าวว่า โดยปกติศาลก็โดนตรวจสอบอยู่แล้ว คำพิพากษาของศาล เราก็สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์ได้ แต่วิจารณ์ตามหลักวิชาการ ไม่ใช่วิจารณ์ที่ตัวบุคคล ทำได้อยู่แล้ว ผมเองก็เคยเขียนบทความเรื่อง ‘หักดิบกฎหมาย’ ก็วิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญตามหลักวิชาการ”
เมื่อถามว่าหากสังคมเราจะพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้แข็งแกร่ง ต้องเริ่มจากอะไรบ้าง ศาสตราจารย์ ดร.คณิต กล่าวว่า กระบวนการยุติธรรม ในสาขาทางอาญานั้น มีกฎการตรวจสอบความจริงสองชั้น คือ ชั้นเจ้าพนักงงาน และชั้นศาล โดยในชั้นศาลนั้น ประเด็นปัญหายังน้อยอยู่ แต่ในชั้นเจ้าพนักงานนี่ เรามีเจ้าพนักงานเยอะ เดิมที เราก็มีตำรวจ อัยการ ต่อมาเราก็มีดีเอสไอ (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) มีป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) แล้วเรามีอะไรต่ออะไรอีกเยอะ ในชั้นเจ้าพนักงานเหล่านี้ ไม่ร่วมมือกันทำงาน ไม่มีความเป็นเอกภาพในการทำงาน เพราะฉะนั้น เมื่อไม่มีเอกภาพ มันก็ใช้อำนาจกันเกินขอบเขต เกินเลย ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อประชาชน ถ้าเราสามารถปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้ดี ประเด็นปัญหาเหล่านี้ก็จะเบาบางลง
“ผมเชื่อมั่นว่าถ้ากระบวนการยุติธรรมมันดีแล้ว เราก็สามารถที่จะควบคุมคนได้ เพราะมันเป็นเรื่องยากถ้าเราจะไปหวังให้คนทุกคนเป็นคนดี ในหลวงท่านยังเคยพระราชทานพระราชดำรัสว่าไม่อาจจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ แต่ต้องทำให้คนดีปกครองบ้านเมือง เราก็รับใส่เกล้าฯ แต่เราไม่ปฏิบัติตาม”
เมื่อถามว่า ต้องใช้เวลาอีกนานแค่ไหน สังคมเราจึงจะมีกระบวนการยุติธรรมที่เข้มแข็งที่ไม่เอื้อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ศาสตราจารย์ ดร.คณิต กล่าวว่า คิดว่าตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในบ้านเมือง สังคมเริ่มเรียนรู้อะไรมากขึ้น นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมากแล้ว มองโลกในแง่ดี คิดว่าคงไม่นานเกินรอหรอก ถ้าไม่ตายเสียก่อนคงได้เห็น
***กระบวนการยุติธรรมไม่เวิร์คถึงแทรกแซงได้
ส่วนกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้อำนาจแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระ หรือการที่ไม่ยอมมารับผิดจากคำตัดสินของศาล ศาสตราจารย์คณิต กล่าวว่า ก็นี่ไง ก็เพราะกระบวนการยุติธรรมมันไม่เวิร์ค ถ้ากระบวนการยุติธรรมเวิร์ค มันก็ไม่มีปัญหา เหมือนอย่างประเทศอื่น อย่างนายทานากะที่เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอิทธิพลมากของประเทศญี่ปุ่น เขาก็ยังต้องจำคุกเมื่อศาลตัดสินว่าทุจริต หรือในเกาหลีก็มีอดีตนายกรัฐมนตรีกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตาย เพราะเขาทุจริตคอร์รัปชั่น คือ ถ้ากระบวนการยุติธรรมของเราเข้มแข็ง ปัญหามันก็หมด
ส่วนความพยายามในการแก้รัฐธรรมนูญของรัฐบาลชุดนี้ จะนับเป็นหนึ่งในมูลเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งครั้งใหม่หรือไม่ เห็นว่า การแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องรอง ในความรู้สึก มันจะแก้กันยังไง ถ้ากระบวนการยุติธรรมมันยังเป็นอย่างนี้ และบอกได้เลยว่าถ้ากระบวนการยุติธรรมเรายังเป็นแบบนี้อยู่ เราจะเป็นประเทศที่ล้าหลังที่สุดในเอเชีย ในขณะนี้ถ้าเราไปดูที่ฟิลิปปินส์ อดีตนายกรัฐมนตรีของเขาก็กำลังจะถูกจับเข้าคุก ส่วนไต้หวันหรือสิงคโปร์นี่ไม่ต้องพูดถึง กฏหมายเข้มแข็งมาก ถ้าเรายังอยู่แบบนี้ อีกหน่อยเราจะแย่ที่สุดในโลกเลย แย่ที่สุดแน่นอน ต่างจากญี่ปุ่นที่เขาพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง ประชาธิปไตยมาได้ก็เพราะกระบวนการยุติธรรมเขาเข้มแข็งมาก และข้อดีของกระบวนการยุติธรรมนะ จริงๆ แล้ว ใช้งบประมาณน้อย แต่ใช้ความร่วมมือสูง เพราะฉะนั้น ในภาคของเจ้าพนักงานที่มีหลายหน่วยงานนะ ถ้าร่วมมือกัน ทำงานอย่างเป็นเอกภาพ มันจะช่วยลดการใช้งบประมาณได้มาก และประสิทธิภาพก็จะตามมา
"สิ่งที่บ้านเมืองเราไม่มี ก็คือ กระบวนการยุติธรรมที่ไร้ช่องโหว่ ทั้งเข้มแข็งและเอาจริงเอาจังมากพอที่จะกล้านำตัวคนผิดมารับผิด มิใช่ปล่อยให้ลอยนวลและกุมอำนาจจนเหิมเกริมกระทั่งคิดล้มล้างคดีทั้งหมดที่เป็นมลทินติดตัว"
ศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมายและประธานกรรมการอิสระ ตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เปิดเผยว่า ความปรองดองที่แท้จริงนั้น มิใช่ได้มาด้วยการบิดเบือนกฎหมายหรือล้มล้างความผิดให้คนผิด ตรงกันข้าม ความปรองดองและความสงบสุขในสังคมจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตามหลักกฎหมายและดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมอย่างซื่อตรง เคร่งครัด เพื่อนำตัวคนผิดมาลงโทษโดยไม่สยบยอมต่ออำนาจทางการเมือง หาไม่ ความพยายามในการบิดเบือนหลักกฎหมาย เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมอ่อนปวกเปียก ไม่สามารถเอาผิดคนผิดได้นั้น ในที่สุดก็ไม่ต่างจากกระบวนการยุติธรรมของเยอรมันในยุคอดอฟ ฮิตเลอร์ ที่กฎหมายถูกบิดเบือน ศาลยอมหลับตาข้างเดียว จนปล่อยให้คนผิดอย่างฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจและนำโลกเข้าสู่สงครามแห่งหายนะในที่สุด
***ชี้"ทักษิณ-ฮิตเลอร์"ไม่ต่างกัน
ศาสตราจารย์ ดร.คณิต อธิบายว่า รากเหง้าของความไม่สงบเรียบร้อยที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองเราในระยะหลังๆ หมายถึงช่วงหลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 แล้ว โดยส่วนใหญ่ก็เป็นคดีที่เกี่ยวกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างคดีเกี่ยวกับการซุกหุ้น ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ เพราะศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้น ไม่ได้ยึดหลักกฏหมายในการตัดสินคดี ทำให้เกิดการเบี่ยงเบนคดี และเป็นที่มาของการใช้อำนาจเกินขอบเขต ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ต้องนำเรื่องนี้ไปพูดให้ประชาชนเข้าใจ เพื่อจะได้ร่วมกันผลักดันกระบวนการยุติธรรมให้เข้มแข็ง ซึ่งจะแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นได้
“ผมเปรียบเทียบ เหมือนคดีฮิตเลอร์ ฮิตเลอร์เป็นคนออสเตรีย แล้วเขาก็เข้ามาอยู่ในบาวาเรีย ในเยอรมัน แล้วมาเป็นทหารรับจ้างของกองทัพบาวาเรีย ได้ไปรบจนได้เหรียญตรา จากนั้นฮิตเลอร์ก็ก่อกบฏ ก่อกบฏแล้วก็ถูกจับขึ้นศาล ซึ่งกฎหมายเยอรมัน ณ ตอนนั้น คนที่เป็นคนต่างด้าวที่ถูกลงโทษจะต้องถูกเนรเทศด้วย แต่ศาลเยอรมันขณะนั้นบอกว่าฮิตเลอร์ซึ่งมีความรู้สึกเป็นเยอรมันอย่างมาก ทั้งได้ประกอบคุณงามความดีจนได้เหรียญตรา จึงไม่ใช่คนต่างด้าว เห็นไหมครับ บิดเบือนกฎหมายชัดเจน ผมเองก็เคยเขียนบทความว่า ถ้าศาลใช้อำนาจอย่างตรงไปตรงมา ฮิตเลอร์ก็จะไม่ขึ้นสู่อำนาจ สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็จะไม่เกิด มันก็เหมือนคดีเรานี่แหละ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจถูกต้องตามกฎหมาย คุณทักษิณก็จะถูกอัปเปหิออกไปจากอำนาจ ไม่ขึ้นสู่อำนาจ ไม่สร้างความเสียหาย มันอันเดียวกันเลยนะครับ ไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย”
***ระบบยุติธรรมเข้มแข็งป้องกันปฏิวัติได้
ศาสตราจารย์ ดร.คณิต กล่าวว่า ในมุมมองของตน เรื่องกฎหมายกับกระบวนการยุติธรรมเป็นรื่องใหญ่ กระบวนการยุติธรรมของไทยยังมีอะไรที่ต้องปรับปรุงอีกเยอะ โดยไทยมีการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมครั้งแรก ปี 2540 จนกระทั่งวันนี้ เรายังคิดว่าการขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมให้เป็นที่พึ่งของประชาชนได้นี่เป็นเรื่องใหญ่ ประเทศต่างๆ ที่มีการพัฒนาทั้งด้านประชาธิปไตย รวมถึงเศรษฐกิจและการเมืองนั้น ประเทศเขาล้วนมีกระบวนการยุติธรรมที่เข้มแข็งทั้งสิ้น เช่น ในเอเชียก็มีตัวอย่างคือ เกาหลีและญี่ปุ่น
ดังนั้น ไทยจะต้องให้ความสนใจเรื่องนี้ให้มากหน่อย คิดว่าถ้ากระบวนการยุติธรรมเข้มแข็งมันจะสามารถป้องกันการยึดอำนาจได้ เพราะว่าทุกครั้งที่มีการยึดอำนาจก็มักจะมีการอ้างเรื่องการทุจริต คอร์รัปชัน อย่างบ้านเรา เมื่ออ้างเรื่องนี้แล้ว มันก็ไม่ค่อยเกิดมรรคเกิดผล อย่างครั้งสุดท้ายที่มีการยึดอำนาจกันเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
“ที่มีการทุจริตกันเยอะที่สนามบินสุวรรรภูมิ ผมฟังๆ ข่าวดู ก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือการทุจริตที่มีคนไทยเราไปเกี่ยวข้องกับอเมริกา ประเทศของเขา เขาลงโทษไปแล้ว แต่ของเราก็ยังเห็นเฉยๆ อยู่ นี่แหละที่ทำให้ผมคิดว่า กระบวนการยุติธรรมของไทยเรา จะต้องมีการปรับแต่งกันให้ดีที่สุด เพราะถ้ากระบวนการยุติธรรมเป็นที่พึ่งได้ รักษาความสงบเรียบร้อยได้ มีการบังคับใช้กฏหมายที่ดี การจะได้เห็นประชาธิปไตย ในบ้านเรา ก็คงไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินควร”
***ต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
ศาสตราจารย์ ดร.คณิต กล่าวว่า โดยปกติศาลก็โดนตรวจสอบอยู่แล้ว คำพิพากษาของศาล เราก็สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์ได้ แต่วิจารณ์ตามหลักวิชาการ ไม่ใช่วิจารณ์ที่ตัวบุคคล ทำได้อยู่แล้ว ผมเองก็เคยเขียนบทความเรื่อง ‘หักดิบกฎหมาย’ ก็วิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญตามหลักวิชาการ”
เมื่อถามว่าหากสังคมเราจะพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้แข็งแกร่ง ต้องเริ่มจากอะไรบ้าง ศาสตราจารย์ ดร.คณิต กล่าวว่า กระบวนการยุติธรรม ในสาขาทางอาญานั้น มีกฎการตรวจสอบความจริงสองชั้น คือ ชั้นเจ้าพนักงงาน และชั้นศาล โดยในชั้นศาลนั้น ประเด็นปัญหายังน้อยอยู่ แต่ในชั้นเจ้าพนักงานนี่ เรามีเจ้าพนักงานเยอะ เดิมที เราก็มีตำรวจ อัยการ ต่อมาเราก็มีดีเอสไอ (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) มีป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) แล้วเรามีอะไรต่ออะไรอีกเยอะ ในชั้นเจ้าพนักงานเหล่านี้ ไม่ร่วมมือกันทำงาน ไม่มีความเป็นเอกภาพในการทำงาน เพราะฉะนั้น เมื่อไม่มีเอกภาพ มันก็ใช้อำนาจกันเกินขอบเขต เกินเลย ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อประชาชน ถ้าเราสามารถปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้ดี ประเด็นปัญหาเหล่านี้ก็จะเบาบางลง
“ผมเชื่อมั่นว่าถ้ากระบวนการยุติธรรมมันดีแล้ว เราก็สามารถที่จะควบคุมคนได้ เพราะมันเป็นเรื่องยากถ้าเราจะไปหวังให้คนทุกคนเป็นคนดี ในหลวงท่านยังเคยพระราชทานพระราชดำรัสว่าไม่อาจจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ แต่ต้องทำให้คนดีปกครองบ้านเมือง เราก็รับใส่เกล้าฯ แต่เราไม่ปฏิบัติตาม”
เมื่อถามว่า ต้องใช้เวลาอีกนานแค่ไหน สังคมเราจึงจะมีกระบวนการยุติธรรมที่เข้มแข็งที่ไม่เอื้อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ศาสตราจารย์ ดร.คณิต กล่าวว่า คิดว่าตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในบ้านเมือง สังคมเริ่มเรียนรู้อะไรมากขึ้น นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมากแล้ว มองโลกในแง่ดี คิดว่าคงไม่นานเกินรอหรอก ถ้าไม่ตายเสียก่อนคงได้เห็น
***กระบวนการยุติธรรมไม่เวิร์คถึงแทรกแซงได้
ส่วนกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้อำนาจแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระ หรือการที่ไม่ยอมมารับผิดจากคำตัดสินของศาล ศาสตราจารย์คณิต กล่าวว่า ก็นี่ไง ก็เพราะกระบวนการยุติธรรมมันไม่เวิร์ค ถ้ากระบวนการยุติธรรมเวิร์ค มันก็ไม่มีปัญหา เหมือนอย่างประเทศอื่น อย่างนายทานากะที่เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอิทธิพลมากของประเทศญี่ปุ่น เขาก็ยังต้องจำคุกเมื่อศาลตัดสินว่าทุจริต หรือในเกาหลีก็มีอดีตนายกรัฐมนตรีกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตาย เพราะเขาทุจริตคอร์รัปชั่น คือ ถ้ากระบวนการยุติธรรมของเราเข้มแข็ง ปัญหามันก็หมด
ส่วนความพยายามในการแก้รัฐธรรมนูญของรัฐบาลชุดนี้ จะนับเป็นหนึ่งในมูลเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งครั้งใหม่หรือไม่ เห็นว่า การแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องรอง ในความรู้สึก มันจะแก้กันยังไง ถ้ากระบวนการยุติธรรมมันยังเป็นอย่างนี้ และบอกได้เลยว่าถ้ากระบวนการยุติธรรมเรายังเป็นแบบนี้อยู่ เราจะเป็นประเทศที่ล้าหลังที่สุดในเอเชีย ในขณะนี้ถ้าเราไปดูที่ฟิลิปปินส์ อดีตนายกรัฐมนตรีของเขาก็กำลังจะถูกจับเข้าคุก ส่วนไต้หวันหรือสิงคโปร์นี่ไม่ต้องพูดถึง กฏหมายเข้มแข็งมาก ถ้าเรายังอยู่แบบนี้ อีกหน่อยเราจะแย่ที่สุดในโลกเลย แย่ที่สุดแน่นอน ต่างจากญี่ปุ่นที่เขาพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง ประชาธิปไตยมาได้ก็เพราะกระบวนการยุติธรรมเขาเข้มแข็งมาก และข้อดีของกระบวนการยุติธรรมนะ จริงๆ แล้ว ใช้งบประมาณน้อย แต่ใช้ความร่วมมือสูง เพราะฉะนั้น ในภาคของเจ้าพนักงานที่มีหลายหน่วยงานนะ ถ้าร่วมมือกัน ทำงานอย่างเป็นเอกภาพ มันจะช่วยลดการใช้งบประมาณได้มาก และประสิทธิภาพก็จะตามมา
"สิ่งที่บ้านเมืองเราไม่มี ก็คือ กระบวนการยุติธรรมที่ไร้ช่องโหว่ ทั้งเข้มแข็งและเอาจริงเอาจังมากพอที่จะกล้านำตัวคนผิดมารับผิด มิใช่ปล่อยให้ลอยนวลและกุมอำนาจจนเหิมเกริมกระทั่งคิดล้มล้างคดีทั้งหมดที่เป็นมลทินติดตัว"