วานนี้ ( 25 มี.ค.) นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างร่วมคณะเดินทางเยือนสาธารณรัฐเกาหลีว่า การหารือทวิภาคีเต็มคณะระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับนายลี เมียง บัก ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี หรือเกาหลีใต้ เป็นไปเพื่อจะได้นำประสบการณ์ความรู้ การบริหารจัดการน้ำ การหลีกเลี่ยงภัยพิบัติธรรมชาติไปใช้ รวมทั้งการพัฒนาและขยายความร่วมมือทางทหารระหว่างกัน และยังเสนอให้รื้อฟื้นการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-เกาหลีใต้ เพื่อช่วยผลักดันการค้าให้เป็นไปตามเป้าหมาย และได้เชิญเกาหลีลงทุนในไทยให้มากขึ้นโดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งขอให้เกาหลีใต้พิจารณาสนับสนุนการนำเข้าสินค้าเกษตรอื่นๆ เช่น ไก่สดแช่แข็ง ผลไม้ จากไทยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ตนได้รับคำบอกเล่าด้วยความชื่นชมจากเจ้าหน้าที่ทางการและประชาชนชาวเกาหลีใต้ว่า นายกรัฐมนตรีของไทยได้รับความนิยมอย่างมากที่เกาหลีใต้ ได้รับความสนใจระดับดาราซุปเปอร์สตาร์ รวมถึงชื่นชมในความสามารถที่นำประเทศฝ่าวิกฤติมหาอุทกภัยมาได้
วันเดียวกัน เวลา 08.45 น. ตามเวลาท้องถิ่นที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้ออกเดินทางจากโรงแรมที่พักไปยังพิพิธภัณฑ์สงครามกรุงโซล เพื่อวางพวงมาลาที่แผ่นจารึกรายนามทหารไทยที่เสียชีวิตในสงครามเกาหลี โดยมีผู้อำนวยการและภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑ์สงครามรอให้การต้อนรับ ซึ่งเมื่อเดินทางถึง นายกรัฐมนตรีวางพวงมาลา ลงนามในสมุดเยี่ยม และถ่ายรูปเป็นที่ระลึก จากนั้น ในเวลา 09.45 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คณะทางการ พร้อมคณะนักธุรกิจภาคเอกชนไทย เดินทางไปยังศูนย์ควบคุมอุทกภัยแม่น้ำฮันเพื่อเยี่ยมชมและรับฟังบรรยายสรุป โดยมีนายควอน โด ยอพ รัฐมนตรีกระทรวงที่ดิน การขนส่ง และพาณิชย์นาวี ให้การต้อนรับ และและฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับภารกิจและบทบาทหน้าที่ของศูนย์
ต่อมาเวลา 11.45 น. นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้เดินทางต่อไปยังฝายอิโปเมืองยอจู เพื่อเยี่ยมชมและรับฟังบรรยายสรุป ด้านการบริหารจัดการน้ำ โดยมี ดร.ชิม มยอง-พิล รัฐมนตรีประจำสำนักงานบูรณะแม่น้ำแห่งชาติ ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปการบริหารจัดการน้ำโครงการฝายอิโปที่เป็นความคิดริเริ่มของนาย ลี เมียง บัก ประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ เพื่อบริหารจัดการน้ำ ทั้งนี้ ฝายอิโปยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เกือบ 18,000 เมกะวัตต์ต่อปี หรือเทียบได้กับความสามารถในการส่งกระแสไฟฟ้าให้กับ 3,500 ครัวเรือน นอกจากนี้ที่ดินบริเวณโดยรอบ สามารถเก็บกักน้ำได้กว่า 1 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อรองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก และช่วยแก้ปัญหาอุทกภัยได้ในระยะยาว
โดยการเยี่ยมชมในนายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ ( กยน.) จะนำข้อมูลที่ได้รับทั้งหมดมาศึกษาและปรับใช้เพื่อวางแผนการบริหารจัดการน้ำของประเทศในระยะยาว ซึ่งประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบ เทคโนโลยีและซอฟแวร์ต่างๆเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำที่ดีของแต่ละประเทศ เพื่อจะได้นำข้อดีของแต่ละประเทศมาปรับใช้และต้องคำนึงถึงความแตกต่างของภูมิประเทศและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ด้วย ซึ่งข้อมูลที่ได้รับทั้งหมดในวันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการระยะยาว นายกรัฐมนตรีเห็นว่า ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในขณะนี้ถือเป็นปัญหาของภูมิภาค เราควรเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน รวมถึงสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อรับกับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
วันเดียวกัน เวลา 08.45 น. ตามเวลาท้องถิ่นที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้ออกเดินทางจากโรงแรมที่พักไปยังพิพิธภัณฑ์สงครามกรุงโซล เพื่อวางพวงมาลาที่แผ่นจารึกรายนามทหารไทยที่เสียชีวิตในสงครามเกาหลี โดยมีผู้อำนวยการและภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑ์สงครามรอให้การต้อนรับ ซึ่งเมื่อเดินทางถึง นายกรัฐมนตรีวางพวงมาลา ลงนามในสมุดเยี่ยม และถ่ายรูปเป็นที่ระลึก จากนั้น ในเวลา 09.45 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คณะทางการ พร้อมคณะนักธุรกิจภาคเอกชนไทย เดินทางไปยังศูนย์ควบคุมอุทกภัยแม่น้ำฮันเพื่อเยี่ยมชมและรับฟังบรรยายสรุป โดยมีนายควอน โด ยอพ รัฐมนตรีกระทรวงที่ดิน การขนส่ง และพาณิชย์นาวี ให้การต้อนรับ และและฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับภารกิจและบทบาทหน้าที่ของศูนย์
ต่อมาเวลา 11.45 น. นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้เดินทางต่อไปยังฝายอิโปเมืองยอจู เพื่อเยี่ยมชมและรับฟังบรรยายสรุป ด้านการบริหารจัดการน้ำ โดยมี ดร.ชิม มยอง-พิล รัฐมนตรีประจำสำนักงานบูรณะแม่น้ำแห่งชาติ ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปการบริหารจัดการน้ำโครงการฝายอิโปที่เป็นความคิดริเริ่มของนาย ลี เมียง บัก ประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ เพื่อบริหารจัดการน้ำ ทั้งนี้ ฝายอิโปยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เกือบ 18,000 เมกะวัตต์ต่อปี หรือเทียบได้กับความสามารถในการส่งกระแสไฟฟ้าให้กับ 3,500 ครัวเรือน นอกจากนี้ที่ดินบริเวณโดยรอบ สามารถเก็บกักน้ำได้กว่า 1 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อรองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก และช่วยแก้ปัญหาอุทกภัยได้ในระยะยาว
โดยการเยี่ยมชมในนายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ ( กยน.) จะนำข้อมูลที่ได้รับทั้งหมดมาศึกษาและปรับใช้เพื่อวางแผนการบริหารจัดการน้ำของประเทศในระยะยาว ซึ่งประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบ เทคโนโลยีและซอฟแวร์ต่างๆเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำที่ดีของแต่ละประเทศ เพื่อจะได้นำข้อดีของแต่ละประเทศมาปรับใช้และต้องคำนึงถึงความแตกต่างของภูมิประเทศและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ด้วย ซึ่งข้อมูลที่ได้รับทั้งหมดในวันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการระยะยาว นายกรัฐมนตรีเห็นว่า ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในขณะนี้ถือเป็นปัญหาของภูมิภาค เราควรเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน รวมถึงสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อรับกับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ