ASTVผู้จัดการรายวัน-กมธ.การศึกษา ห่วงการเปลี่ยนวิธีการจัดซื้อแท็บเล็ต จาก จีทูจี ไปเป็น MOU จี้ รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องแจงเหตุผลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน ขณะที่รมว.ไอซีที ปัดสโคปฯ เข้าพบพร้อมพูดคุยเรื่องแท็บเล็ตวันนี้ งงกระแสข่าว ยันขั้นตอนไม่ผิดมาตรา 190
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตแบบพกพาให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามโครงการ One Tablet PC Per Child มาหารือเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ซึ่งมีหลายเรื่องที่เป็นข้อห่วงใย โดยเฉพาะกรณีที่เปลี่ยนวิธีการจัดซื้อจากระบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (Government to Government) หรือ จีทูจี มาเป็นการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือ MOU ด้วยสาเหตุเพราะรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่เคยทำสัญญาจัดซื้อแบบจีทูจี กับประเทศใดมาก่อน จึงต้องเปลี่ยนมาเป็น MOU ดังนั้น เท่ากับว่ารัฐบาลไทยต้องทำสัญญาจัดซื้อแท็บเล็ตกับหน่วยงานเอกชนของจีน จุดนี้อาจทำให้สังคมเกิดข้อกังวลถึงความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างได้ เพราะฉะนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ รัฐบาล กระทรวงต่างประเทศ (กต.) รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องชี้แจงให้ดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน
ในส่วนของเนื้อหาสาระที่จะบรรจุในแท็บเล็ตนั้น กมธ.การศึกษา ก็มีความห่วงใยเพราะสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะใส่เข้าไปในแท็บเล็ตทั้ง 5 กลุ่มสาระนั้นมีจำนวน Learning Object มากกว่า 300 เรื่องที่มาจากจึงกังวลว่าจะเน้นเนื้อหาวิชาต่าง ๆ มากเกินไป ทั้งที่ความจริงแล้ว ควรจะส่งเสริมให้นักเรียนใช้แท็บเล็ตในการค้นคว้าหาข้อมูล และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์มากกว่า ไม่ใช่ให้แท็บเล็ตมาแทนหนังสือเรียน เมื่อมาพิจารณาในเรื่องของวัยและพัฒนาการที่เหมาะสมของเด็ก ยังเห็นว่า ไม่ควรแจกแท็บเล็ตให้กับเด็กชั้นประถมศึกษาปีทื่ 1 เพราะเป็นเด็กที่ยังอ่าน เขียนไม่แตกฉาน อาจจะใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่นัก และควรจะแจกให้กับเด็กป.6 มากกว่า เพราะอ่านเขียนคล่องแล้ว สามารถส่งเสริมเรื่องการค้นคว้าและสร้างความคิดสร้างสรรค์ได้เพื่อต่อยอดการศึกษาในอนาคตได้ นอกจากนี้ ต้องดูความพร้อมของโรงเรียนด้วย ทั้งเรื่องบุคลากร ช่างเทคนิค และระบบอินเตอร์เน็ตว่าทั่วถึงแล้วหรือยัง ไม่ใช่ว่าพอแจกเครื่องแท็บเล็ตลงไปแต่โรงเรียนไม่มีความพร้อมก็ไม่สามารถใช้งานได้
“ผมเห็นรัฐบาลควรจะนำข้อดี ข้อเสียที่มาจากหลาย ๆ หน่วยงานมาคิดด้วย เพื่อให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ รวมถึงให้สังคมได้เห็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ว่าจะแจกแท็บเล็ตเพื่ออะไร เช่น เตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนหรืออยากเปลี่ยนให้เด็กไทยสนใจเทคโนโลยีมากขึ้น และถ้าแจกให้เด็กป.1 จะเกิดผลดี ผลเสียในเรื่องใดบ้าง ไม่ใช่มุ่งแต่จะเดินหน้าจัดซื้อเพื่อให้ทันเปิดเทอมเท่านั้น ”นายสมพงษ์กล่าว
ด้าน น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า ไอซีที ไม่มีกำหนดการให้ บริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ไซแอนทิฟิก ดีเวลลอปเมนต์ ที่ได้รับคัดเลือกให้จัดหาแท็บเล็ต ตามโครงการคอมพิวเตอร์มือถือสำหรับนักเรียนทุกคน (One Tablet PC Per Child) เข้าพบหรือหารือแต่อย่างใด ทั้งนี้ ส่วนตัวงงกับกระแสข่าวที่เกิดขึ้น เพราะมีสื่อมวลชนโทรศัพท์เข้ามาสอบถามหลายรายแล้ว
น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวต่อว่า สำหรับกระแสข่าวที่ออกมานั้น ส่วนตัวมองว่า อาจเป็นตัวแทนจากสโคปเข้ามาพูดคุยในขั้นตอน ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงการต่างประเทศ ที่เป็นผู้ประสานงานกับทางรัฐบาลจีน หรืออาจจะเข้ามาทำร่างสัญญาฯ จุดนี้ก็เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการจัดซื้อชุดที่มีนายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงไอซีที เป็นประธาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที กล่าวต่อว่า ถ้าจะมาเพื่อเตรียมขั้นตอนเป็นเรื่องหนึ่ง ขณะนี้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการจัดซื้อแท็บเล็ตชุดที่มี นายวรพัฒน์ เป็นประธาน ส่วนเรื่องที่มีกระแสข่าวระบุถึงการดำเนินการจัดซื้อแท็บเล็ตผิดมาตรา 190 นั้น หลายหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องดังกล่าวได้ตรวจสอบขั้นตอนทุกอย่างแล้ว ขณะเดียวกัน ทุกหน่วยงานก็ทำตามกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้ก็อยู่ในความดูแลของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และกระทรวงการต่างประเทศด้วย
รมว.ไอซีที กล่าวอีกว่า สำหรับเนื้อหาหลักทั้งหมดที่บรรจุลงแท็ลเล็ตไม่ว่าจะเป็น 5 วิชา หรือ 8 วิชา เป็นการคัดเลือกและตัดสินใจของกระทรวงศึกษาธิการ หรือ ศธ. ที่จะส่งให้กระทรวงไอซีทีเป็นผู้ดำเนินการต่อ โดยเนื้อหาจะ 5 หรือ 8 วิชาหลัก อยู่ที่กระทรวงศึกษาฯ เป็นผู้ตัดสินใจ เพราะกระทรวงศึกษามีหลักสูตรอยู่แล้ว ไอซีทีไม่ได้เป็นผู้ดูแลเรื่องหลักสูตร มีหน้าที่บรรจุลงตามที่นำส่ง
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตแบบพกพาให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามโครงการ One Tablet PC Per Child มาหารือเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ซึ่งมีหลายเรื่องที่เป็นข้อห่วงใย โดยเฉพาะกรณีที่เปลี่ยนวิธีการจัดซื้อจากระบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (Government to Government) หรือ จีทูจี มาเป็นการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือ MOU ด้วยสาเหตุเพราะรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่เคยทำสัญญาจัดซื้อแบบจีทูจี กับประเทศใดมาก่อน จึงต้องเปลี่ยนมาเป็น MOU ดังนั้น เท่ากับว่ารัฐบาลไทยต้องทำสัญญาจัดซื้อแท็บเล็ตกับหน่วยงานเอกชนของจีน จุดนี้อาจทำให้สังคมเกิดข้อกังวลถึงความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างได้ เพราะฉะนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ รัฐบาล กระทรวงต่างประเทศ (กต.) รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องชี้แจงให้ดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน
ในส่วนของเนื้อหาสาระที่จะบรรจุในแท็บเล็ตนั้น กมธ.การศึกษา ก็มีความห่วงใยเพราะสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะใส่เข้าไปในแท็บเล็ตทั้ง 5 กลุ่มสาระนั้นมีจำนวน Learning Object มากกว่า 300 เรื่องที่มาจากจึงกังวลว่าจะเน้นเนื้อหาวิชาต่าง ๆ มากเกินไป ทั้งที่ความจริงแล้ว ควรจะส่งเสริมให้นักเรียนใช้แท็บเล็ตในการค้นคว้าหาข้อมูล และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์มากกว่า ไม่ใช่ให้แท็บเล็ตมาแทนหนังสือเรียน เมื่อมาพิจารณาในเรื่องของวัยและพัฒนาการที่เหมาะสมของเด็ก ยังเห็นว่า ไม่ควรแจกแท็บเล็ตให้กับเด็กชั้นประถมศึกษาปีทื่ 1 เพราะเป็นเด็กที่ยังอ่าน เขียนไม่แตกฉาน อาจจะใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่นัก และควรจะแจกให้กับเด็กป.6 มากกว่า เพราะอ่านเขียนคล่องแล้ว สามารถส่งเสริมเรื่องการค้นคว้าและสร้างความคิดสร้างสรรค์ได้เพื่อต่อยอดการศึกษาในอนาคตได้ นอกจากนี้ ต้องดูความพร้อมของโรงเรียนด้วย ทั้งเรื่องบุคลากร ช่างเทคนิค และระบบอินเตอร์เน็ตว่าทั่วถึงแล้วหรือยัง ไม่ใช่ว่าพอแจกเครื่องแท็บเล็ตลงไปแต่โรงเรียนไม่มีความพร้อมก็ไม่สามารถใช้งานได้
“ผมเห็นรัฐบาลควรจะนำข้อดี ข้อเสียที่มาจากหลาย ๆ หน่วยงานมาคิดด้วย เพื่อให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ รวมถึงให้สังคมได้เห็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ว่าจะแจกแท็บเล็ตเพื่ออะไร เช่น เตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนหรืออยากเปลี่ยนให้เด็กไทยสนใจเทคโนโลยีมากขึ้น และถ้าแจกให้เด็กป.1 จะเกิดผลดี ผลเสียในเรื่องใดบ้าง ไม่ใช่มุ่งแต่จะเดินหน้าจัดซื้อเพื่อให้ทันเปิดเทอมเท่านั้น ”นายสมพงษ์กล่าว
ด้าน น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า ไอซีที ไม่มีกำหนดการให้ บริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ไซแอนทิฟิก ดีเวลลอปเมนต์ ที่ได้รับคัดเลือกให้จัดหาแท็บเล็ต ตามโครงการคอมพิวเตอร์มือถือสำหรับนักเรียนทุกคน (One Tablet PC Per Child) เข้าพบหรือหารือแต่อย่างใด ทั้งนี้ ส่วนตัวงงกับกระแสข่าวที่เกิดขึ้น เพราะมีสื่อมวลชนโทรศัพท์เข้ามาสอบถามหลายรายแล้ว
น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวต่อว่า สำหรับกระแสข่าวที่ออกมานั้น ส่วนตัวมองว่า อาจเป็นตัวแทนจากสโคปเข้ามาพูดคุยในขั้นตอน ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงการต่างประเทศ ที่เป็นผู้ประสานงานกับทางรัฐบาลจีน หรืออาจจะเข้ามาทำร่างสัญญาฯ จุดนี้ก็เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการจัดซื้อชุดที่มีนายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงไอซีที เป็นประธาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที กล่าวต่อว่า ถ้าจะมาเพื่อเตรียมขั้นตอนเป็นเรื่องหนึ่ง ขณะนี้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการจัดซื้อแท็บเล็ตชุดที่มี นายวรพัฒน์ เป็นประธาน ส่วนเรื่องที่มีกระแสข่าวระบุถึงการดำเนินการจัดซื้อแท็บเล็ตผิดมาตรา 190 นั้น หลายหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องดังกล่าวได้ตรวจสอบขั้นตอนทุกอย่างแล้ว ขณะเดียวกัน ทุกหน่วยงานก็ทำตามกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้ก็อยู่ในความดูแลของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และกระทรวงการต่างประเทศด้วย
รมว.ไอซีที กล่าวอีกว่า สำหรับเนื้อหาหลักทั้งหมดที่บรรจุลงแท็ลเล็ตไม่ว่าจะเป็น 5 วิชา หรือ 8 วิชา เป็นการคัดเลือกและตัดสินใจของกระทรวงศึกษาธิการ หรือ ศธ. ที่จะส่งให้กระทรวงไอซีทีเป็นผู้ดำเนินการต่อ โดยเนื้อหาจะ 5 หรือ 8 วิชาหลัก อยู่ที่กระทรวงศึกษาฯ เป็นผู้ตัดสินใจ เพราะกระทรวงศึกษามีหลักสูตรอยู่แล้ว ไอซีทีไม่ได้เป็นผู้ดูแลเรื่องหลักสูตร มีหน้าที่บรรจุลงตามที่นำส่ง