การศึกษาการเมืองประเทศเนปาลโดยนักประวัติศาสตร์สมัยใหม่มักจะชี้ให้เห็นหรือวิจารณ์อดีตนายกรัฐมนตรี ชาง พหาทูร รานา ผู้ตั้งตนเป็นมหาราชา เป็นผู้สถาปนาระบบเผด็จการโดยคนในตระกูลรานาได้เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่าร้อยปี ทำให้เศรษฐกิจตกอยู่ในสภาพดิบๆ ล้าหลังไร้การพัฒนาและฆ่าฟันกันอย่างเหี้ยมเกรียม ในกลุ่มเครือญาติรานาก็ฆ่าชิงอำนาจกันเองอย่างไม่ปรานีปราศรัย ตั้งแต่ยุคนายกรัฐมนตรี มหาราชา ศีร พีร ศัมเศร ชาง พหาทูร รานา ซึ่งขึ้นมามีอำนาจโดยการรัฐประหาร ลอบฆ่าอดีตนายกรัฐมนตรี รณทิพ ซิงค์ รานา และฆ่าลูกชายของชาง พหาทูร รานาหลายคน ในยุคตระกูลรานา สาย ศัมเศร (ชัมเชร) รานา นี้จึงถูกบันทึกว่าเป็นช่วงยุคมืดของประวัติศาสตร์เนปาล
ราชวงศ์ชาห์ (ศาหะ) ในหลายรัชกาลก็ต้องสู้กับอำนาจของคนภายนอกตระกูล ไม่ว่านายกรัฐมนตรีที่เป็นคุณตา คุณลุงทางสายแม่ของชาง พหาทูร รานาจนถึงยุคหลานในตระกูลรานา กษัตริย์ถูกควบคุมในพระราชวังแล้วยังถูกกดดันให้สละบัลลังก์และถูกเนรเทศถึงสามพระองค์ ซึ่งเหตุผลต่างมาจากการแย่งชิงอำนาจ การครอบครองอำนาจและผลประโยชน์ทั้งนั้น
ระบบกษัตริย์ของเนปาลถ้าจะพิจารณาในเรื่องเงื่อนเวลาและบทบาทเริ่มมีต่อเนื่องและอยู่ยาวนานประมาณ 84 ปี ก็หลังยุคเสื่อมของอดีตนายกรัฐมนตรีจอมพลโมฮัน ศัมเศร ชาง พหาทูร รานา นั้นเอง คือนับจาก กษัตริย์ตริภูวนพีระพิกรมชาห์ครองราชย์ กษัตริย์มเหนทราชาห์ จนถึงกษัตริย์พิเรนทราชาห์ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์พระองค์แรกที่ได้รับการศึกษาในระบบการศึกษาปกติโดยศึกษาที่โรงเรียนเซนต์จอห์นประเทศอินเดีย 8 ปี หลังจากเป็นมกุฎราชกุมารก็ย้ายไปเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนอีตัน ประเทศอังกฤษ เรียนทฤษฎีการเมืองที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี พ.ศ. 2510-2511 และสำเร็จการศึกษาที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ในปี พ.ศ. 2513
พระองค์อภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงไอศวรรยา ราชยลักษมีเทวี รานา จากตระกูลรานา ซึ่งค่าใช้จ่ายในการแต่งงานแบบฮินดูที่แพงและสิ้นเปลืองที่สุดในประวัติศาสตร์เนปาล โดยใช้เงินถึง 9 ล้าน 5 แสนเหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งการแต่งงานนี้สะท้อนให้เห็นว่าตระกูลรานายังคงมีความเหนียวแน่นทางการเมือง ทางเศรษฐกิจอยู่เพราะการแต่งงานแบบฮินดูนั้นฝ่ายเจ้าสาวเป็นฝ่ายจ่ายเงินค่าสินสอด เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ประเทศเนปาลยังคงเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีระบบการปกครองท้องถิ่นและภูมิภาคที่เรียกว่า “ปัญจญัติ” ซึ่งประชาชนมีส่วนร่วม แต่ก็ไม่สามารถลดแรงเสียดทานทางสากลและความต้องการของประชาชน มีการเดินขบวนเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง มีประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอย่างตะวันตก ซึ่งมาคลี่คลายมีกฎหมายที่กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2533
กษัตริย์พิเรนทราชาห์ครองราชย์อยู่ 29 ปีแต่สถานการณ์การแก้ปัญหาของบ้านเมืองโดยเฉพาะปัญหาทางเศรษฐกิจที่สั่งสม ไม่ได้แก้ปัญหาไปอย่างทั่วถึง ทำให้ประชาชนยากจนมากขึ้น จึงเกิดช่องว่างทำให้เกิดขบวนการปฏิวัติกลุ่ม “เหมาอิสต์” หรือพรรคคอมมิวนิสต์เนปาลในปี พ.ศ. 2537 และประกาศทำสงครามประชาชนอย่างเป็นทางการในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539 ซึ่งถ้ามองย้อนเวลากลับไปดูสภาพการต่อสู้ที่ลุ่มๆ ดอนๆ ของกองกำลังเหมาอิสต์นี้จะเกิดขึ้นได้ยากมาก ถ้าประเทศเนปาลปกครองอย่างสุจริต ยุติธรรม หลายๆ คนคงนึกขำพรรคคอมมิวนิสต์เนปาลประกาศตัว
เพราะในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ประเทศคอมมิวนิสต์พี่เบิ้มจัดการแต่งตัวใหม่กันหมดแล้ว อย่างสหภาพโซเวียตรัสเซียล่มสลายตั้งแต่ พ.ศ. 2534 ประเทศจีนตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ยุคเติ้งเสี่ยวผิงก็ประกาศชัดเจนว่า “แมวขาวหรือแมวดำก็จับหนูได้” มุ่งยกระดับเศรษฐกิจ ปฏิรูปให้เกิดตลาดเสรีทำให้เศรษฐกิจจีนในยุคเติ้งเสี่ยวผิงโตขึ้น 70 เท่า (www.theaustralian.com.au) และไม่สนใจการปฏิวัติส่งออก แต่ตามความเชื่อแบบมาร์กซิสต์ว่า ปัจจัยภายในเป็นปัจจัยชี้ขาด ความขัดแย้งในชนชั้นปกครองประเทศ ความยากจนของประชาชนมากขึ้น ต่างเป็นตัวแปรและสร้างสมอำนาจขึ้นมาใหม่ ขบวนการปฏิวัติเหมาอิสต์ของเนปาลที่ดูกระจอกนี้ได้พัฒนากลายเป็นตัวแปรเปลี่ยนทางสังคมที่สำคัญขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อ
เมื่อมีการสังหารหมู่ราชวงศ์ เลือดท่วมท้องพระโรง กษัตริย์พิเรนทราชาห์ สวรรคตพร้อมเชื้อพระวงค์อีกหลายพระองค์ได้สร้างความสะพรึงกลัวให้บรรดาผู้จงรักภักดีต่อพระองค์ ผู้ศรัทธาเลื่อมใสในระบบกษัตริย์ต่างหวาดหวั่น เมื่อกษัตริย์คยาเนนทราชาห์ขึ้นครองราชย์ท่ามกลางคำครหาว่าอยู่เบื้องหลังการปลงพระชนม์พระเชษฐา จุดเสื่อมที่เห็นได้ชัดคือการไม่ได้ใจจากข้าราชบริพาร รวมทั้งพสกนิกรที่จงรักภักดีต่อกษัตริย์พิเรนทราชาห์ รวมทั้งเครือญาติสมเด็จพระราชินีจากตระกูลรานาที่ยังทรงอิทธิพล
และในอีกด้านหนึ่งการขยายตัวของกองกำลังเหมาอิสต์ช่วงชิงจังหวะที่เกิดการแตกแยกของราชสำนักใช้ทุกยุทธวิธีที่จะบรรลุเป้าประสงค์ เพียงสองเดือนที่กษัตริย์คยาเนนทราชาห์ขึ้นครองราชย์ในเดือนสิงหาคม 2544 ต้องตั้งตัวแทนเจรจาสงบศึกกับขบวนการปฏิวัติเหมาอิสต์หรือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาลที่นิยมลัทธิเหมา ซึ่งไม่ได้รับความสำเร็จ มีผลให้นายกรัฐมนตรีถูกปลด กษัตริย์คยาเนนทราชาห์รักษาการและตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันที่ 11 ตุลาคม 2545 เปิดการเจรจาครั้งที่สองวันที่ 29 มกราคม 2546 ก็เจรจาไม่สำเร็จกลับเป็นการยกสถานะขบวนการปฏิวัติเหมาอิสต์สู่การเมืองกระแสหลัก นายกรัฐมนตรีลาออกในเจ็ดเดือนต่อมา
นายกรัฐมนตรีคนที่สามรับตำแหน่งในวันที่ 4 มิถุนายน 2546 พออย่างถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2546 ขบวนการปฏิวัติเหมาอิสต์ยกเลิกการเจรจา ทำให้สถานการณ์ต่างๆ ไม่ดีขึ้นนายกรัฐมนตรีลาออกในวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 ต้องเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในเดือนมิถุนายน 2547 แต่ไม่เป็นที่ถูกใจกษัตริย์คยาเนนทราชาห์จึงทำการยึดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 แต่สถานการณ์ไม่เข้าข้างพระองค์ เมื่อพรรคการเมืองหลักๆ ในเนปาลร่วมมือกับขบวนการปฏิวัติเหมาอิสต์ เรียกร้องให้กษัตริย์สละราชอำนาจในเดือนเมษายน 2549 ถึงวันที่ 24 เมษายน 2549 พระองค์ต้องคืนอำนาจให้รัฐบาลนายกิริชา ประสาท โคอิราลา อดีตนายกรัฐมนตรีจากพรรคคองเกรสเนปาลที่ได้รับเลือกจากพันธมิตร 7 พรรค
อีกสองวันต่อมาขบวนการปฏิวัติเหมาอิสต์ก็ขอเปิดเจรจาสงบศึก วันที่ 3 พฤษภาคม 2549 รัฐบาลรับหลักการและในเดือนพฤศจิกายนข้อตกลงได้พัฒนาสู่การลงรายละเอียดถึงกระบวนการจัดการด้านอาวุธและการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ในวันที่ 15 มกราคม 2550 ตัวแทนขบวนการปฏิวัติเหมาอิสต์ได้ตำแหน่งรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลเฉพาะกาล 5 ตำแหน่ง ได้ที่นั่งในรัฐสภาชั่วคราว 80 ที่นั่งจาก 328 ที่นั่งและสมาชิก ส.ส.ร.ชุดนี้ได้ร่างรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้รัฐสภาถอดทอนกษัตริย์ได้ ซึ่งก็ปรากฏเป็นจริงหลังการเลือกตั้งวันที่ 10 เมษายน 2551 สมาชิกรัฐสภาชุดใหม่ลงมติยกเลิกระบบกษัตริย์เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองจากราชอาณาจักรมาเป็นสาธารณรัฐในวันที่ 28 พฤษภาคม 2551
เพียง 5 ปี (พ.ศ.2539-2544) ที่ขบวนการปฏิวัติเหมาอิสต์ปรับสถานะจากกองโจรมาเป็นคู่เจรจา แต่ 5 ปี (พ.ศ. 2544-2549) ของกษัตริย์คยาเนนทราชาห์ต้องเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีถึง 4 ครั้ง ทั้งเปลืองตัวที่เข้าไปบริหารเอง ซึ่งการลุแก่อำนาจของพระองค์ ทำให้เกิดช่วงว่างสู่จุดล่มสลาย เพราะพระองค์ได้เพิ่มศัตรูพลเรือนพรรคการเมือง ทั้งตกหลุมพลางขบวนการปฏิวัติเหมาอิสต์หรือพรรคคอมมิวนิสต์เนปาลที่หลอกล่อให้เจรจาสงบศึกหรือการปรองดอง และระหว่างการเจรจาปรองดองพรรคคอมมิวนิสต์ได้สร้างแนวร่วมจากพรรคการเมืองต่างๆ ทั้งขยายอิทธิพลครอบครองและครอบงำพื้นที่มากกว่า 50 อำเภอจาก 75 อำเภอทั่วประเทศ
“เจ้าล้มหรือล้มเจ้าที่เนปาล” ที่เขียนนี้เพื่อเป็นอุทาหรณ์ ว่าการเจรจาปรองดองที่ไม่มีเหตุผล ไม่มีข้อสรุปที่ดีร่วมกันนั้น ก็จะกลายเป็นเครื่องมือให้อีกฝ่ายยืมมือหรือเหยียบบ่า เพื่อยึดครองอำนาจรัฐเท่านั้นเอง
ราชวงศ์ชาห์ (ศาหะ) ในหลายรัชกาลก็ต้องสู้กับอำนาจของคนภายนอกตระกูล ไม่ว่านายกรัฐมนตรีที่เป็นคุณตา คุณลุงทางสายแม่ของชาง พหาทูร รานาจนถึงยุคหลานในตระกูลรานา กษัตริย์ถูกควบคุมในพระราชวังแล้วยังถูกกดดันให้สละบัลลังก์และถูกเนรเทศถึงสามพระองค์ ซึ่งเหตุผลต่างมาจากการแย่งชิงอำนาจ การครอบครองอำนาจและผลประโยชน์ทั้งนั้น
ระบบกษัตริย์ของเนปาลถ้าจะพิจารณาในเรื่องเงื่อนเวลาและบทบาทเริ่มมีต่อเนื่องและอยู่ยาวนานประมาณ 84 ปี ก็หลังยุคเสื่อมของอดีตนายกรัฐมนตรีจอมพลโมฮัน ศัมเศร ชาง พหาทูร รานา นั้นเอง คือนับจาก กษัตริย์ตริภูวนพีระพิกรมชาห์ครองราชย์ กษัตริย์มเหนทราชาห์ จนถึงกษัตริย์พิเรนทราชาห์ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์พระองค์แรกที่ได้รับการศึกษาในระบบการศึกษาปกติโดยศึกษาที่โรงเรียนเซนต์จอห์นประเทศอินเดีย 8 ปี หลังจากเป็นมกุฎราชกุมารก็ย้ายไปเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนอีตัน ประเทศอังกฤษ เรียนทฤษฎีการเมืองที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี พ.ศ. 2510-2511 และสำเร็จการศึกษาที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ในปี พ.ศ. 2513
พระองค์อภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงไอศวรรยา ราชยลักษมีเทวี รานา จากตระกูลรานา ซึ่งค่าใช้จ่ายในการแต่งงานแบบฮินดูที่แพงและสิ้นเปลืองที่สุดในประวัติศาสตร์เนปาล โดยใช้เงินถึง 9 ล้าน 5 แสนเหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งการแต่งงานนี้สะท้อนให้เห็นว่าตระกูลรานายังคงมีความเหนียวแน่นทางการเมือง ทางเศรษฐกิจอยู่เพราะการแต่งงานแบบฮินดูนั้นฝ่ายเจ้าสาวเป็นฝ่ายจ่ายเงินค่าสินสอด เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ประเทศเนปาลยังคงเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีระบบการปกครองท้องถิ่นและภูมิภาคที่เรียกว่า “ปัญจญัติ” ซึ่งประชาชนมีส่วนร่วม แต่ก็ไม่สามารถลดแรงเสียดทานทางสากลและความต้องการของประชาชน มีการเดินขบวนเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง มีประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอย่างตะวันตก ซึ่งมาคลี่คลายมีกฎหมายที่กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2533
กษัตริย์พิเรนทราชาห์ครองราชย์อยู่ 29 ปีแต่สถานการณ์การแก้ปัญหาของบ้านเมืองโดยเฉพาะปัญหาทางเศรษฐกิจที่สั่งสม ไม่ได้แก้ปัญหาไปอย่างทั่วถึง ทำให้ประชาชนยากจนมากขึ้น จึงเกิดช่องว่างทำให้เกิดขบวนการปฏิวัติกลุ่ม “เหมาอิสต์” หรือพรรคคอมมิวนิสต์เนปาลในปี พ.ศ. 2537 และประกาศทำสงครามประชาชนอย่างเป็นทางการในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539 ซึ่งถ้ามองย้อนเวลากลับไปดูสภาพการต่อสู้ที่ลุ่มๆ ดอนๆ ของกองกำลังเหมาอิสต์นี้จะเกิดขึ้นได้ยากมาก ถ้าประเทศเนปาลปกครองอย่างสุจริต ยุติธรรม หลายๆ คนคงนึกขำพรรคคอมมิวนิสต์เนปาลประกาศตัว
เพราะในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ประเทศคอมมิวนิสต์พี่เบิ้มจัดการแต่งตัวใหม่กันหมดแล้ว อย่างสหภาพโซเวียตรัสเซียล่มสลายตั้งแต่ พ.ศ. 2534 ประเทศจีนตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ยุคเติ้งเสี่ยวผิงก็ประกาศชัดเจนว่า “แมวขาวหรือแมวดำก็จับหนูได้” มุ่งยกระดับเศรษฐกิจ ปฏิรูปให้เกิดตลาดเสรีทำให้เศรษฐกิจจีนในยุคเติ้งเสี่ยวผิงโตขึ้น 70 เท่า (www.theaustralian.com.au) และไม่สนใจการปฏิวัติส่งออก แต่ตามความเชื่อแบบมาร์กซิสต์ว่า ปัจจัยภายในเป็นปัจจัยชี้ขาด ความขัดแย้งในชนชั้นปกครองประเทศ ความยากจนของประชาชนมากขึ้น ต่างเป็นตัวแปรและสร้างสมอำนาจขึ้นมาใหม่ ขบวนการปฏิวัติเหมาอิสต์ของเนปาลที่ดูกระจอกนี้ได้พัฒนากลายเป็นตัวแปรเปลี่ยนทางสังคมที่สำคัญขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อ
เมื่อมีการสังหารหมู่ราชวงศ์ เลือดท่วมท้องพระโรง กษัตริย์พิเรนทราชาห์ สวรรคตพร้อมเชื้อพระวงค์อีกหลายพระองค์ได้สร้างความสะพรึงกลัวให้บรรดาผู้จงรักภักดีต่อพระองค์ ผู้ศรัทธาเลื่อมใสในระบบกษัตริย์ต่างหวาดหวั่น เมื่อกษัตริย์คยาเนนทราชาห์ขึ้นครองราชย์ท่ามกลางคำครหาว่าอยู่เบื้องหลังการปลงพระชนม์พระเชษฐา จุดเสื่อมที่เห็นได้ชัดคือการไม่ได้ใจจากข้าราชบริพาร รวมทั้งพสกนิกรที่จงรักภักดีต่อกษัตริย์พิเรนทราชาห์ รวมทั้งเครือญาติสมเด็จพระราชินีจากตระกูลรานาที่ยังทรงอิทธิพล
และในอีกด้านหนึ่งการขยายตัวของกองกำลังเหมาอิสต์ช่วงชิงจังหวะที่เกิดการแตกแยกของราชสำนักใช้ทุกยุทธวิธีที่จะบรรลุเป้าประสงค์ เพียงสองเดือนที่กษัตริย์คยาเนนทราชาห์ขึ้นครองราชย์ในเดือนสิงหาคม 2544 ต้องตั้งตัวแทนเจรจาสงบศึกกับขบวนการปฏิวัติเหมาอิสต์หรือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาลที่นิยมลัทธิเหมา ซึ่งไม่ได้รับความสำเร็จ มีผลให้นายกรัฐมนตรีถูกปลด กษัตริย์คยาเนนทราชาห์รักษาการและตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันที่ 11 ตุลาคม 2545 เปิดการเจรจาครั้งที่สองวันที่ 29 มกราคม 2546 ก็เจรจาไม่สำเร็จกลับเป็นการยกสถานะขบวนการปฏิวัติเหมาอิสต์สู่การเมืองกระแสหลัก นายกรัฐมนตรีลาออกในเจ็ดเดือนต่อมา
นายกรัฐมนตรีคนที่สามรับตำแหน่งในวันที่ 4 มิถุนายน 2546 พออย่างถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2546 ขบวนการปฏิวัติเหมาอิสต์ยกเลิกการเจรจา ทำให้สถานการณ์ต่างๆ ไม่ดีขึ้นนายกรัฐมนตรีลาออกในวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 ต้องเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในเดือนมิถุนายน 2547 แต่ไม่เป็นที่ถูกใจกษัตริย์คยาเนนทราชาห์จึงทำการยึดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 แต่สถานการณ์ไม่เข้าข้างพระองค์ เมื่อพรรคการเมืองหลักๆ ในเนปาลร่วมมือกับขบวนการปฏิวัติเหมาอิสต์ เรียกร้องให้กษัตริย์สละราชอำนาจในเดือนเมษายน 2549 ถึงวันที่ 24 เมษายน 2549 พระองค์ต้องคืนอำนาจให้รัฐบาลนายกิริชา ประสาท โคอิราลา อดีตนายกรัฐมนตรีจากพรรคคองเกรสเนปาลที่ได้รับเลือกจากพันธมิตร 7 พรรค
อีกสองวันต่อมาขบวนการปฏิวัติเหมาอิสต์ก็ขอเปิดเจรจาสงบศึก วันที่ 3 พฤษภาคม 2549 รัฐบาลรับหลักการและในเดือนพฤศจิกายนข้อตกลงได้พัฒนาสู่การลงรายละเอียดถึงกระบวนการจัดการด้านอาวุธและการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ในวันที่ 15 มกราคม 2550 ตัวแทนขบวนการปฏิวัติเหมาอิสต์ได้ตำแหน่งรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลเฉพาะกาล 5 ตำแหน่ง ได้ที่นั่งในรัฐสภาชั่วคราว 80 ที่นั่งจาก 328 ที่นั่งและสมาชิก ส.ส.ร.ชุดนี้ได้ร่างรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้รัฐสภาถอดทอนกษัตริย์ได้ ซึ่งก็ปรากฏเป็นจริงหลังการเลือกตั้งวันที่ 10 เมษายน 2551 สมาชิกรัฐสภาชุดใหม่ลงมติยกเลิกระบบกษัตริย์เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองจากราชอาณาจักรมาเป็นสาธารณรัฐในวันที่ 28 พฤษภาคม 2551
เพียง 5 ปี (พ.ศ.2539-2544) ที่ขบวนการปฏิวัติเหมาอิสต์ปรับสถานะจากกองโจรมาเป็นคู่เจรจา แต่ 5 ปี (พ.ศ. 2544-2549) ของกษัตริย์คยาเนนทราชาห์ต้องเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีถึง 4 ครั้ง ทั้งเปลืองตัวที่เข้าไปบริหารเอง ซึ่งการลุแก่อำนาจของพระองค์ ทำให้เกิดช่วงว่างสู่จุดล่มสลาย เพราะพระองค์ได้เพิ่มศัตรูพลเรือนพรรคการเมือง ทั้งตกหลุมพลางขบวนการปฏิวัติเหมาอิสต์หรือพรรคคอมมิวนิสต์เนปาลที่หลอกล่อให้เจรจาสงบศึกหรือการปรองดอง และระหว่างการเจรจาปรองดองพรรคคอมมิวนิสต์ได้สร้างแนวร่วมจากพรรคการเมืองต่างๆ ทั้งขยายอิทธิพลครอบครองและครอบงำพื้นที่มากกว่า 50 อำเภอจาก 75 อำเภอทั่วประเทศ
“เจ้าล้มหรือล้มเจ้าที่เนปาล” ที่เขียนนี้เพื่อเป็นอุทาหรณ์ ว่าการเจรจาปรองดองที่ไม่มีเหตุผล ไม่มีข้อสรุปที่ดีร่วมกันนั้น ก็จะกลายเป็นเครื่องมือให้อีกฝ่ายยืมมือหรือเหยียบบ่า เพื่อยึดครองอำนาจรัฐเท่านั้นเอง