การก้าวขึ้นมามีอำนาจของนายกรัฐมนตรี ชาง พหาทูร รานา หรืออีกนามหนึ่งว่ามหาราชา ชาง พหาทูร รานา อย่างมีจังหวะก้าวและรู้จักจุดอ่อนจุดแข็งของราชวงศ์ เข้ามามีอำนาจและวางพวกพ้องคนในตระกูลในตำแหน่งสำคัญๆ เขาชอบทำตัวเป็นคนชื่นชอบวัฒนธรรมแบบอังกฤษ ได้เดินทางไปเจริญสันถวไมตรีกับอังกฤษและ ฝรั่งเศส ชาง พหาทูร รานา จึงเป็นนายกรัฐมนตรีและราชาองค์แรกของเนปาลที่ได้รับเกียรติเลี้ยงรับรองในราชสำนักพระราชินีวิคตอเรียในปี พ.ศ. 2393
และภายหลังที่เดินทางกลับมาจากอังกฤษความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเข้มแข็ง มั่นคงยิ่งขึ้น ทั้ง ชาง พหาทูร รานา ได้เพิ่มอำนาจให้กับตัวเองและกุมอำนาจทั้งประเทศ รวมถึงการลดสถานะกษัตริย์ให้เป็นเยี่ยงนักโทษโดยให้กักบริเวณในราชวังหลัง ทั้งห้อมล้อมโดยคนของนายกรัฐมนตรี การสื่อสารต่างๆ ในนามของกษัตริย์ต้องมีการเซ็นเซอร์ และ คนภายนอกที่จะเข้าเฝ้ากษัตริย์ต้องได้รับอนุญาตจากนายกรัฐมนตรีเท่านั้นสถานะกษัตริย์จึงเป็นแค่ยศตำแหน่งที่มีไว้ให้เรียก แต่อำนาจอยู่ในตระกูลรานา ซึ่งความขัดแย้งที่ปะทุให้เห็นได้เป็นระยะอย่างยุค จอมพลมหาราชา ศรีจันทรา ชาง พหาทูร รานา ตามสายตระกูลรานาคนที่ 6 มีอำนาจในช่วงเมื่อกษัตริย์ปฤฐวีพีรพิกรมชาห์สวรรคต องค์รัชทายาทคือ กษัตริย์ตริภูวนพีระพิกรมชาห์ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 11 ธ.ค. 2454 ด้วยพระชนมายุ 5 พระชันษาจึงอยู่ภายใต้การช่วยเหลือของพระราชมารดา แต่อำนาจในการปกครองประเทศอยู่ในตระกูลรานามาตลอดและมาเกิดความตึงเครียดระหว่างราชวงศ์และตระกูลรานาในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ด้วยตระกูลรานาต้องการให้เข้าร่วมกับจักรภพอังกฤษซึ่งขณะนั้นได้ยึดครองอินเดียแล้ว แต่ราชวงศ์ชาห์ยังรีรอสถานการณ์ จึงเป็นรอยร้าวที่นายกรัฐมนตรีอาศัยอำนาจสั่งการส่งทหารสู่สงคราม ก้าวข้ามบทบาทกษัตริย์ เอาตัวเองไปผูกไว้กับเครือจักรภพ ซึ่งจะสังเกตได้ว่าทหารรับจ้างของอังกฤษ ส่วนใหญ่เป็นทหารกรูข่าจากเนปาล
กลางปี พ.ศ. 2473 ได้เกิดการเคลื่อนไหวแสดงความไม่พอใจต่อตระกูลรานาหลายครั้ง โดยเฉพาะในรัฐสภาที่กษัตริย์ตริภูวนพีระพิกรมชาห์ให้การสนับสนุนอย่างชัดเจน การเคลื่อนไหวเพื่อการล้มล้างอำนาจตระกูลรานาได้ถูกตอบโต้อย่างรุนแรง มีการฆ่าผู้นำในการเคลื่อนไหว และความขัดแย้งนี้ดำรงอยู่ตลอดถึง 20 ปีจนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2493 กษัตริย์ตริภูวนพีระพิกรมชาห์ ก็ถูกเนรเทศไปอยู่อินเดียพร้อมกับพระราชโอรสเจ้าชายมเหนทรา และ พระเจ้าหลานเธอพิเรนทรา
ส่วนพระเจ้าหลานเธอคยาเนนทราซึ่งมีพระชันษา 1 ปีกับ 5 เดือนก็ถูกเชิดโดยนายกรัฐมนตรีคนล่าสุดของตระกูลรานา จอมพลโมฮัน ศัมเศร ชาง พหาทูร รานา ตั้งให้เป็นกษัตริย์แทนพระอัยยิกา แต่ประชาชนไม่ยอมจึงเกิดการเดินขบวนเคลื่อนไหวในที่สุด จึงต้องเจรจาระหว่างรัฐบาลภายใต้การสั่งการของนายกรัฐมนตรีจอมพลโมฮัน ศัมเศร ชาง พหาทูร รานา กษัตริย์ตริภูวนพีระพิกรมชาห์ และรัฐสภาเนปาลที่จงรักภักดี วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2494 ก็กลับมาดำรงตำแหน่งกษัตริย์ตามเดิมและพระองค์ผลักดันให้สร้างระบบประชาธิปไตย ลดกฎเกณฑ์ ลดอำนาจการผูกขาดของตระกูลรานา แต่กษัตริย์ตริภูวนพีระพิกรมชาห์ ก็มาสวรรคตด้วยความเงื่อนงำ น่าสงสัย ในปี พ.ศ. 2498 ด้วยพระชนมายุ 48 พรรษาเท่านั้น พระราชโอรสที่สืบอำนาจต่อจากพระองค์คือกษัตริย์มเหนทราพีระพิกรมชาห์ (14 มี.ค. 2498 - 31 ม.ค. 2515)
และต่อมาก็เป็นกษัตริย์พิเรนทราพีระพิกรมชาห์ซึ่งขึ้นครองราชต่อพระบิดาตั้งแต่ 31 ม.ค. 2515 และมาสิ้นพระชนม์ในเหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนใจ ตกใจและตกตะลึงไปทั่วโลกในวันที่ 1 มิ.ย. 2544 ด้วยการสวรรคตของพระองค์เกิดจากการปิตุฆาตและมาตุฆาตของมกุฎราชกุมารทิเปนทรพีระพิกรมชาห์ พระมารดาพระราชินีไอศวรรยาราชยลักษมีเทวี รวมทั้งเชื้อพระวงศ์และพระญาติอีก 7 ชีวิต ส่วนผู้บาดเจ็บอีก 5 ชีวิตที่สำคัญคือเจ้าฟ้าหญิงโกมลราชยลักษมีเทวี พระชายาในเจ้าฟ้าชายคยาเนนทรา ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชินีแห่งเนปาลคนสุดท้าย และเจ้าฟ้าชายปาราสพีระพิกรม พระโอรสในเจ้าฟ้าชายคยาเนนทรา ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมาร
สาเหตุการสังหารหมู่นี้ สำนักพระราชวังประกาศสาเหตุว่า เกิดจากอุบัติเหตุปืนลั่นโดยมกุฎราชกุมารทิเพนทรา ซึ่งตามข่าวทั่วไปรายงานว่าพระองค์ทรงเมาน้ำจัณฑ์ ทั้งมีอารมณ์ค้างที่ทรงต้องการจะอภิเษกสมรสกับสตรีจากตระกูลรานาแต่ถูกขัดพระหฤทัย และแม้ว่าเจ้าชายทิเพนทราจะทำความผิดร้ายแรง นอนบาดเจ็บปางตายก็ยังถูกยกขึ้นเป็นกษัตริย์และสวรรคตในวันที่ประกาศสถาปนา
ภายหลังกษัตริย์ทิเปนทรพีระพิกรมชาห์สวรรคตไปอีกองค์ พระเจ้าอา หรือกษัตริย์คยาเนนทราชาห์ ก็ขึ้นครองราชย์ท่ามกลางข่าวลือว่า เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดจากพระองค์อยู่เบื้องหลัง เพราะพระมเหสีและมกุฎราชกุมารรอดตายจากเหตุการณ์ โดยเฉพาะเจ้าฟ้าชายปาราสพีระพิกรมเป็นที่เกลียดชังของประชาชนที่มีชื่อในเรื่องเจ้าสำราญ มีชื่อเสื่อมเสียในเรื่องผู้หญิงและประพฤติผิดทางเพศ ส่วนการอ้างถึงมูลเหตุจูงใจให้มกุฎราชกุมารทิเพนทรา กราดปืนใส่พระญาติเชื้อพระวงศ์เพียงแค่การขัดใจไม่ได้แต่งงานกับตระกูลรานานั้น คนทั่วๆไปเขาก็ไม่เชื่อด้วยพระราชมารดาของพระองค์พระนามเดิมว่า เจ้าหญิงไอศวรรยาราชยลักษมีเทวี รานา หรือมาจากสายตระกูลรานาเหมือนกัน
นอกจากนี้โหราจารย์ของราชสำนักเคยทำนายไว้ตั้งแต่ประสูติไว้ว่าราชโอรสหรือเจ้าชายคยาเนนทรานี้ จะเป็นคนนำโชคร้ายมาสู่พระบิดา (กษัตริย์ตริภูวนพีระพิกรมชาห์) ในวัยเด็กจึงอยู่ภายใต้การดูแลจากพระอัยยิกาและเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์หุ่นของรัฐบาลจอมพลโมฮัน ศัมเศร ชาง พหาทูร รานามาก่อน
เมื่อขึ้นครองราชย์ก็เกิดความขัดแย้งในสังคมมากมาย พระองค์อ้างเหตุความไม่สงบในประเทศเข้าแทรกแซงการเมืองระบอบรัฐสภา มีการปลดและแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีด้วยพระองค์เองรวม 5 ครั้งช่วงปี 2544 จนถึง 1 กุมภาพันธ์ 2548 พระองค์ทรงยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลเนปาลทรงปกครองประเทศ โดยอ้างเหตุผลการยึดอำนาจว่านายกรัฐมนตรีบกพร่องในบริหารราชการแผ่นดิน ในเรื่องการเตรียมการเลือกตั้ง และไม่สามารถสร้างความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองได้
กษัตริย์คยาเนนทราชาห์ เหมือนคนที่มีบุญขึ้นเป็นกษัตริย์สองครั้ง ครั้งแรกถูกเชิดเป็นกษัตริย์แทนพระอัยยิกาครั้งที่สองจากโศกนาฏกรรมเลือดท่วมท้องพระโรง ส่วนกรรมบังคือกรรมไล่ล่าพระองค์ เมื่อลุแก่อำนาจ ยึดอำนาจเบ็ดเสร็จ ก็ต้องสิ้นบัลลังก์ พระองค์จึงเปรียบเสมือนดาบและสนิมในดาบที่มีส่วนเร่งเวลาให้เจ้าล้ม และในด้านกลับกันช่วยพวกล้มเจ้าด้วยพระองค์เอง
และภายหลังที่เดินทางกลับมาจากอังกฤษความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเข้มแข็ง มั่นคงยิ่งขึ้น ทั้ง ชาง พหาทูร รานา ได้เพิ่มอำนาจให้กับตัวเองและกุมอำนาจทั้งประเทศ รวมถึงการลดสถานะกษัตริย์ให้เป็นเยี่ยงนักโทษโดยให้กักบริเวณในราชวังหลัง ทั้งห้อมล้อมโดยคนของนายกรัฐมนตรี การสื่อสารต่างๆ ในนามของกษัตริย์ต้องมีการเซ็นเซอร์ และ คนภายนอกที่จะเข้าเฝ้ากษัตริย์ต้องได้รับอนุญาตจากนายกรัฐมนตรีเท่านั้นสถานะกษัตริย์จึงเป็นแค่ยศตำแหน่งที่มีไว้ให้เรียก แต่อำนาจอยู่ในตระกูลรานา ซึ่งความขัดแย้งที่ปะทุให้เห็นได้เป็นระยะอย่างยุค จอมพลมหาราชา ศรีจันทรา ชาง พหาทูร รานา ตามสายตระกูลรานาคนที่ 6 มีอำนาจในช่วงเมื่อกษัตริย์ปฤฐวีพีรพิกรมชาห์สวรรคต องค์รัชทายาทคือ กษัตริย์ตริภูวนพีระพิกรมชาห์ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 11 ธ.ค. 2454 ด้วยพระชนมายุ 5 พระชันษาจึงอยู่ภายใต้การช่วยเหลือของพระราชมารดา แต่อำนาจในการปกครองประเทศอยู่ในตระกูลรานามาตลอดและมาเกิดความตึงเครียดระหว่างราชวงศ์และตระกูลรานาในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ด้วยตระกูลรานาต้องการให้เข้าร่วมกับจักรภพอังกฤษซึ่งขณะนั้นได้ยึดครองอินเดียแล้ว แต่ราชวงศ์ชาห์ยังรีรอสถานการณ์ จึงเป็นรอยร้าวที่นายกรัฐมนตรีอาศัยอำนาจสั่งการส่งทหารสู่สงคราม ก้าวข้ามบทบาทกษัตริย์ เอาตัวเองไปผูกไว้กับเครือจักรภพ ซึ่งจะสังเกตได้ว่าทหารรับจ้างของอังกฤษ ส่วนใหญ่เป็นทหารกรูข่าจากเนปาล
กลางปี พ.ศ. 2473 ได้เกิดการเคลื่อนไหวแสดงความไม่พอใจต่อตระกูลรานาหลายครั้ง โดยเฉพาะในรัฐสภาที่กษัตริย์ตริภูวนพีระพิกรมชาห์ให้การสนับสนุนอย่างชัดเจน การเคลื่อนไหวเพื่อการล้มล้างอำนาจตระกูลรานาได้ถูกตอบโต้อย่างรุนแรง มีการฆ่าผู้นำในการเคลื่อนไหว และความขัดแย้งนี้ดำรงอยู่ตลอดถึง 20 ปีจนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2493 กษัตริย์ตริภูวนพีระพิกรมชาห์ ก็ถูกเนรเทศไปอยู่อินเดียพร้อมกับพระราชโอรสเจ้าชายมเหนทรา และ พระเจ้าหลานเธอพิเรนทรา
ส่วนพระเจ้าหลานเธอคยาเนนทราซึ่งมีพระชันษา 1 ปีกับ 5 เดือนก็ถูกเชิดโดยนายกรัฐมนตรีคนล่าสุดของตระกูลรานา จอมพลโมฮัน ศัมเศร ชาง พหาทูร รานา ตั้งให้เป็นกษัตริย์แทนพระอัยยิกา แต่ประชาชนไม่ยอมจึงเกิดการเดินขบวนเคลื่อนไหวในที่สุด จึงต้องเจรจาระหว่างรัฐบาลภายใต้การสั่งการของนายกรัฐมนตรีจอมพลโมฮัน ศัมเศร ชาง พหาทูร รานา กษัตริย์ตริภูวนพีระพิกรมชาห์ และรัฐสภาเนปาลที่จงรักภักดี วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2494 ก็กลับมาดำรงตำแหน่งกษัตริย์ตามเดิมและพระองค์ผลักดันให้สร้างระบบประชาธิปไตย ลดกฎเกณฑ์ ลดอำนาจการผูกขาดของตระกูลรานา แต่กษัตริย์ตริภูวนพีระพิกรมชาห์ ก็มาสวรรคตด้วยความเงื่อนงำ น่าสงสัย ในปี พ.ศ. 2498 ด้วยพระชนมายุ 48 พรรษาเท่านั้น พระราชโอรสที่สืบอำนาจต่อจากพระองค์คือกษัตริย์มเหนทราพีระพิกรมชาห์ (14 มี.ค. 2498 - 31 ม.ค. 2515)
และต่อมาก็เป็นกษัตริย์พิเรนทราพีระพิกรมชาห์ซึ่งขึ้นครองราชต่อพระบิดาตั้งแต่ 31 ม.ค. 2515 และมาสิ้นพระชนม์ในเหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนใจ ตกใจและตกตะลึงไปทั่วโลกในวันที่ 1 มิ.ย. 2544 ด้วยการสวรรคตของพระองค์เกิดจากการปิตุฆาตและมาตุฆาตของมกุฎราชกุมารทิเปนทรพีระพิกรมชาห์ พระมารดาพระราชินีไอศวรรยาราชยลักษมีเทวี รวมทั้งเชื้อพระวงศ์และพระญาติอีก 7 ชีวิต ส่วนผู้บาดเจ็บอีก 5 ชีวิตที่สำคัญคือเจ้าฟ้าหญิงโกมลราชยลักษมีเทวี พระชายาในเจ้าฟ้าชายคยาเนนทรา ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชินีแห่งเนปาลคนสุดท้าย และเจ้าฟ้าชายปาราสพีระพิกรม พระโอรสในเจ้าฟ้าชายคยาเนนทรา ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมาร
สาเหตุการสังหารหมู่นี้ สำนักพระราชวังประกาศสาเหตุว่า เกิดจากอุบัติเหตุปืนลั่นโดยมกุฎราชกุมารทิเพนทรา ซึ่งตามข่าวทั่วไปรายงานว่าพระองค์ทรงเมาน้ำจัณฑ์ ทั้งมีอารมณ์ค้างที่ทรงต้องการจะอภิเษกสมรสกับสตรีจากตระกูลรานาแต่ถูกขัดพระหฤทัย และแม้ว่าเจ้าชายทิเพนทราจะทำความผิดร้ายแรง นอนบาดเจ็บปางตายก็ยังถูกยกขึ้นเป็นกษัตริย์และสวรรคตในวันที่ประกาศสถาปนา
ภายหลังกษัตริย์ทิเปนทรพีระพิกรมชาห์สวรรคตไปอีกองค์ พระเจ้าอา หรือกษัตริย์คยาเนนทราชาห์ ก็ขึ้นครองราชย์ท่ามกลางข่าวลือว่า เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดจากพระองค์อยู่เบื้องหลัง เพราะพระมเหสีและมกุฎราชกุมารรอดตายจากเหตุการณ์ โดยเฉพาะเจ้าฟ้าชายปาราสพีระพิกรมเป็นที่เกลียดชังของประชาชนที่มีชื่อในเรื่องเจ้าสำราญ มีชื่อเสื่อมเสียในเรื่องผู้หญิงและประพฤติผิดทางเพศ ส่วนการอ้างถึงมูลเหตุจูงใจให้มกุฎราชกุมารทิเพนทรา กราดปืนใส่พระญาติเชื้อพระวงศ์เพียงแค่การขัดใจไม่ได้แต่งงานกับตระกูลรานานั้น คนทั่วๆไปเขาก็ไม่เชื่อด้วยพระราชมารดาของพระองค์พระนามเดิมว่า เจ้าหญิงไอศวรรยาราชยลักษมีเทวี รานา หรือมาจากสายตระกูลรานาเหมือนกัน
นอกจากนี้โหราจารย์ของราชสำนักเคยทำนายไว้ตั้งแต่ประสูติไว้ว่าราชโอรสหรือเจ้าชายคยาเนนทรานี้ จะเป็นคนนำโชคร้ายมาสู่พระบิดา (กษัตริย์ตริภูวนพีระพิกรมชาห์) ในวัยเด็กจึงอยู่ภายใต้การดูแลจากพระอัยยิกาและเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์หุ่นของรัฐบาลจอมพลโมฮัน ศัมเศร ชาง พหาทูร รานามาก่อน
เมื่อขึ้นครองราชย์ก็เกิดความขัดแย้งในสังคมมากมาย พระองค์อ้างเหตุความไม่สงบในประเทศเข้าแทรกแซงการเมืองระบอบรัฐสภา มีการปลดและแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีด้วยพระองค์เองรวม 5 ครั้งช่วงปี 2544 จนถึง 1 กุมภาพันธ์ 2548 พระองค์ทรงยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลเนปาลทรงปกครองประเทศ โดยอ้างเหตุผลการยึดอำนาจว่านายกรัฐมนตรีบกพร่องในบริหารราชการแผ่นดิน ในเรื่องการเตรียมการเลือกตั้ง และไม่สามารถสร้างความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองได้
กษัตริย์คยาเนนทราชาห์ เหมือนคนที่มีบุญขึ้นเป็นกษัตริย์สองครั้ง ครั้งแรกถูกเชิดเป็นกษัตริย์แทนพระอัยยิกาครั้งที่สองจากโศกนาฏกรรมเลือดท่วมท้องพระโรง ส่วนกรรมบังคือกรรมไล่ล่าพระองค์ เมื่อลุแก่อำนาจ ยึดอำนาจเบ็ดเสร็จ ก็ต้องสิ้นบัลลังก์ พระองค์จึงเปรียบเสมือนดาบและสนิมในดาบที่มีส่วนเร่งเวลาให้เจ้าล้ม และในด้านกลับกันช่วยพวกล้มเจ้าด้วยพระองค์เอง