ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ปี 2012 นี้ถือเป็นปีสำคัญที่พสกนิกรชาวอังกฤษทั้งประเทศต่างเฝ้ารอคอย ด้วยเป็นปีที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงดำรงตำแหน่งพระประมุขแห่งเครือจักรภพอังกฤษมาเป็นเวลาครบ 60 ปี ในการนี้ รัฐบาลกรุงลอนดอนได้จัดเตรียมพระราชพิธีพัชราภิเษกสมโภชอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ และจะมีการเฉลิมฉลองวโรกาสมหามงคลนี้อย่างต่อเนื่องตลอด 5 เดือนข้างหน้า
ย้อนกลับไปเมื่อ 60 ปีที่แล้ว สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติขณะมีพระชนมายุเพียง 25 พรรษา นายกรัฐมนตรีของอังกฤษในขณะนั้นคือ วินสตัน เชอร์ชิล อินเดียซึ่งเพิ่งได้รับเอกราชใหม่หมาดอยู่ภายใต้การนำของ ยวาหระลาล เนห์รู และดินแดนบางส่วนในแอฟริกาและเอเชียยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ
นับจากวันนั้น สมเด็จพระราชินีนาถทรงเป็นดั่งสัญลักษณ์แห่งการดำรงอยู่ของอังกฤษ ทรงนำพาประเทศผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตที่เครือจักรภพถูกสั่นคลอนด้วยอิทธิพลของสงครามเย็น ตลอดจนเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ในช่วงรอยต่อระหว่างโลกหลังสงครามกับยุคดิจิทัล
กาลเวลาล่วงเลยมาหลายสิบปี สถาบันกษัตริย์อังกฤษก้าวผ่านฤดูแห่งความรุ่งโรจน์และเศร้าหมองมานับครั้งไม่ถ้วน ทว่าสมเด็จพระราชินีนาถยังทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจพสกนิกรทุกหมู่เหล่าอย่างไม่มีผู้ใดเปรียบ และในระดับนานาชาติก็อาจกล่าวได้ว่า ทรงเป็นสุภาพสตรีซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก
ราชินีแห่งปวงชน
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 เมษายน ปี 1926 ทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าหญิงเอลิซาเบธ อเล็กซานดรา แมรี และมีพระนามลำลองเรียกขานในหมู่พระราชวงศ์ว่า “ลิลลีเบธ”
เมื่อแรกประสูติ เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงเป็นองค์รัชทายาทลำดับที่ 3 ถัดจากเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งเวลส์ พระปิตุลา และเจ้าชายจอร์จ ดยุคแห่งยอร์ก ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์
เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 ทรงตัดสินพระทัยสละราชสมบัติเมื่อปี 1936 เพื่อสมรสกับ วอลลิส ซิมป์สัน สตรีหม้ายชาวอเมริกัน พระราชบิดาของเจ้าหญิงเอลิซาเบธจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยมีพระนามว่า พระเจ้าจอร์จที่ 6
เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ทรงย้ายมาประทับที่พระราชวังบักกิงแฮมหลังจากที่พระราชบิดาเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงเข้ารับราชการในกองทัพอังกฤษช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะมีพระชนมายุได้ 18 ชันษา และทรงได้รับใบอนุญาตขับขี่สำหรับทหาร
ปี 1947 เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงเข้าพระราชพิธีเสกสมรสกับเรือโท ฟิลิป เมาท์แบตเทน ซึ่งสละพระอิสริยยศเจ้าชายแห่งกรีซและเดนมาร์กเพื่อเข้าพิธีอภิเษกกับเจ้าหญิงรัชทายาท ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระราชโอรส-ธิดารวม 4 พระองค์ ได้แก่ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส (ประสูติ ปี 1948) เจ้าฟ้าหญิงแอนน์ (ประสูติ ปี 1950) เจ้าฟ้าชายแอนดรูว์ (ประสูติปี 1960) และ เจ้าฟ้าชายเอ็ดเวิร์ด (ประสูติปี 1964)
พระเจ้าจอร์จที่ 6 ทรงมีพระพลานามัยไม่แข็งแรงนัก และเสด็จสวรรคตลงกลางดึกในปี 1952 ระหว่างที่เจ้าหญิงเอลิซาเบธเสด็จฯเยือนเคนยา การสวรรคตอย่างกะทันหันของพระราชบิดาทำให้มีคำกล่าวกันว่า ทรงเข้าบรรทมขณะเป็นเจ้าหญิง และตื่นขึ้นในฐานะพระราชินีแห่งอังกฤษ
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกถูกจัดขึ้นในวันที่ 2 มิถุนายน ปี 1953 ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ โดยมี ดร.เจฟฟรีย์ ฟิชเชอร์ อาร์กบิชอปแห่งแคนเทอเบอรี เป็นผู้ประกอบพิธี
สมเด็จพระราชินีนาถทรงเป็นกษัตริย์อังกฤษพระองค์ที่ 40 นับตั้งแต่กษัตริย์วิลเลียมที่ 1 ซึ่งครองราชย์ในปี 1066 ทรงดำรงฐานะพระประมุขแห่ง 32 รัฐในเครือจักรภพ ซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 16 รัฐ รวมประเทศอังกฤษ
พระราชภารกิจนานัปการทำให้สมเด็จพระราชินีนาถต้องเสด็จฯไปเยือนแว่นแคว้นต่างๆทั่วโลก ทรงเยี่ยมเยียนทุกประเทศในเครือจักรภพ ขณะที่ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในประเทศอีกมากมายในแต่ละปี
การที่สมเด็จพระราชินีนาถทรงอุทิศพระองค์เพื่อหน้าที่พระมหากษัตริย์อย่างเต็มพระกำลัง ทำให้คนอังกฤษบางส่วนมองว่าพระองค์ทรงเย็นชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เจ้าหญิงไดอานาสิ้นพระชนม์ในอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อปี 1997 อย่างไรก็ดี ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงชื่นชมพระจริยวัตรของสมเด็จพระราชินีนาถ และการที่ทรงปรับพระองค์ให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างสมพระเกียรติ
เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงมีกระแสพระราชดำรัสถึงพสกนิกรชาวอังกฤษและประเทศในเครือจักรภพ ความว่า
“วันนี้ ข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งพระราชินีของท่านมาเป็นเวลา 60 ปี ข้าพเจ้าขอขอบคุณในการสนับสนุนและกำลังใจอันวิเศษที่ท่านทั้งหลายมอบให้แก่ข้าพเจ้าและเจ้าชายฟิลิปตลอดหลายปีที่ผ่านมา ขอให้ท่านได้ทราบว่า เราทั้งสองรู้สึกซาบซึ้งกับถ้อยคำอวยพรที่ได้รับจากท่าน เนื่องในพระราชพิธีพัชราภิเษกสมโภช
ในปีอันเป็นมงคลนี้ ข้าพเจ้าใคร่ขออุทิศตนเพื่อรับใช้ท่านทั้งหลายอีกครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าหวังว่า เราจะได้รำลึกถึงพลังแห่งการอยู่ร่วมกัน ความเข้มแข็งของครอบครัว มิตรภาพ และการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี ซึ่งมีตัวอย่างอยู่มากมายที่ข้าพเจ้าโชคดีได้พบเห็นตลอดระยะเวลาที่ครองราชย์ และเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าและครอบครัวหวังว่าจะได้พบเจอ เมื่อเราเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆในอังกฤษและเครือจักรภพ
ข้าพเจ้าหวังอีกเช่นกันว่า ในปีนี้เราจะได้รำลึกถึงพัฒนาการอันยิ่งใหญ่ซึ่งเกิดขึ้นในอังกฤษนับตั้งแต่ปี 1952 เป็นต้นมา และมองไปถึงวันข้างหน้าด้วยสมองอันแจ่มใส หัวใจที่อบอุ่น ในขณะที่เราเฉลิมฉลองร่วมกัน
ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมายังทุกท่าน
เอลิซาเบธ อาร์.
พระราชพิธีพัชราภิเษกสมโภชจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-5 มิถุนายนนี้ โดยจะมีการจุดคบเพลิงต่อเนื่องในประเทศเครือจักรภพ ขบวนพาเหรดม้าและนักแสดงภายในพระราชวังวินด์เซอร์ และกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกลางแม่น้ำเทมส์ ในวันที่ 3 มิถุนายน ซึ่งจะใช้เรือในพระราชพิธีมากถึง 1,000 ลำ โดยเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระราชินีนาถจะประดับประดาด้วยดอกไม้อย่างสวยสดงดงาม ถือเป็นไฮไลต์สำคัญที่ทั่วโลกเฝ้ารอชม
ย้อนกลับไปเมื่อ 60 ปีที่แล้ว สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติขณะมีพระชนมายุเพียง 25 พรรษา นายกรัฐมนตรีของอังกฤษในขณะนั้นคือ วินสตัน เชอร์ชิล อินเดียซึ่งเพิ่งได้รับเอกราชใหม่หมาดอยู่ภายใต้การนำของ ยวาหระลาล เนห์รู และดินแดนบางส่วนในแอฟริกาและเอเชียยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ
นับจากวันนั้น สมเด็จพระราชินีนาถทรงเป็นดั่งสัญลักษณ์แห่งการดำรงอยู่ของอังกฤษ ทรงนำพาประเทศผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตที่เครือจักรภพถูกสั่นคลอนด้วยอิทธิพลของสงครามเย็น ตลอดจนเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ในช่วงรอยต่อระหว่างโลกหลังสงครามกับยุคดิจิทัล
กาลเวลาล่วงเลยมาหลายสิบปี สถาบันกษัตริย์อังกฤษก้าวผ่านฤดูแห่งความรุ่งโรจน์และเศร้าหมองมานับครั้งไม่ถ้วน ทว่าสมเด็จพระราชินีนาถยังทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจพสกนิกรทุกหมู่เหล่าอย่างไม่มีผู้ใดเปรียบ และในระดับนานาชาติก็อาจกล่าวได้ว่า ทรงเป็นสุภาพสตรีซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก
ราชินีแห่งปวงชน
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 เมษายน ปี 1926 ทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าหญิงเอลิซาเบธ อเล็กซานดรา แมรี และมีพระนามลำลองเรียกขานในหมู่พระราชวงศ์ว่า “ลิลลีเบธ”
เมื่อแรกประสูติ เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงเป็นองค์รัชทายาทลำดับที่ 3 ถัดจากเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งเวลส์ พระปิตุลา และเจ้าชายจอร์จ ดยุคแห่งยอร์ก ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์
เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 ทรงตัดสินพระทัยสละราชสมบัติเมื่อปี 1936 เพื่อสมรสกับ วอลลิส ซิมป์สัน สตรีหม้ายชาวอเมริกัน พระราชบิดาของเจ้าหญิงเอลิซาเบธจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยมีพระนามว่า พระเจ้าจอร์จที่ 6
เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ทรงย้ายมาประทับที่พระราชวังบักกิงแฮมหลังจากที่พระราชบิดาเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงเข้ารับราชการในกองทัพอังกฤษช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะมีพระชนมายุได้ 18 ชันษา และทรงได้รับใบอนุญาตขับขี่สำหรับทหาร
ปี 1947 เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงเข้าพระราชพิธีเสกสมรสกับเรือโท ฟิลิป เมาท์แบตเทน ซึ่งสละพระอิสริยยศเจ้าชายแห่งกรีซและเดนมาร์กเพื่อเข้าพิธีอภิเษกกับเจ้าหญิงรัชทายาท ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระราชโอรส-ธิดารวม 4 พระองค์ ได้แก่ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส (ประสูติ ปี 1948) เจ้าฟ้าหญิงแอนน์ (ประสูติ ปี 1950) เจ้าฟ้าชายแอนดรูว์ (ประสูติปี 1960) และ เจ้าฟ้าชายเอ็ดเวิร์ด (ประสูติปี 1964)
พระเจ้าจอร์จที่ 6 ทรงมีพระพลานามัยไม่แข็งแรงนัก และเสด็จสวรรคตลงกลางดึกในปี 1952 ระหว่างที่เจ้าหญิงเอลิซาเบธเสด็จฯเยือนเคนยา การสวรรคตอย่างกะทันหันของพระราชบิดาทำให้มีคำกล่าวกันว่า ทรงเข้าบรรทมขณะเป็นเจ้าหญิง และตื่นขึ้นในฐานะพระราชินีแห่งอังกฤษ
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกถูกจัดขึ้นในวันที่ 2 มิถุนายน ปี 1953 ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ โดยมี ดร.เจฟฟรีย์ ฟิชเชอร์ อาร์กบิชอปแห่งแคนเทอเบอรี เป็นผู้ประกอบพิธี
สมเด็จพระราชินีนาถทรงเป็นกษัตริย์อังกฤษพระองค์ที่ 40 นับตั้งแต่กษัตริย์วิลเลียมที่ 1 ซึ่งครองราชย์ในปี 1066 ทรงดำรงฐานะพระประมุขแห่ง 32 รัฐในเครือจักรภพ ซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 16 รัฐ รวมประเทศอังกฤษ
พระราชภารกิจนานัปการทำให้สมเด็จพระราชินีนาถต้องเสด็จฯไปเยือนแว่นแคว้นต่างๆทั่วโลก ทรงเยี่ยมเยียนทุกประเทศในเครือจักรภพ ขณะที่ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในประเทศอีกมากมายในแต่ละปี
การที่สมเด็จพระราชินีนาถทรงอุทิศพระองค์เพื่อหน้าที่พระมหากษัตริย์อย่างเต็มพระกำลัง ทำให้คนอังกฤษบางส่วนมองว่าพระองค์ทรงเย็นชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เจ้าหญิงไดอานาสิ้นพระชนม์ในอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อปี 1997 อย่างไรก็ดี ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงชื่นชมพระจริยวัตรของสมเด็จพระราชินีนาถ และการที่ทรงปรับพระองค์ให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างสมพระเกียรติ
เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงมีกระแสพระราชดำรัสถึงพสกนิกรชาวอังกฤษและประเทศในเครือจักรภพ ความว่า
“วันนี้ ข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งพระราชินีของท่านมาเป็นเวลา 60 ปี ข้าพเจ้าขอขอบคุณในการสนับสนุนและกำลังใจอันวิเศษที่ท่านทั้งหลายมอบให้แก่ข้าพเจ้าและเจ้าชายฟิลิปตลอดหลายปีที่ผ่านมา ขอให้ท่านได้ทราบว่า เราทั้งสองรู้สึกซาบซึ้งกับถ้อยคำอวยพรที่ได้รับจากท่าน เนื่องในพระราชพิธีพัชราภิเษกสมโภช
ในปีอันเป็นมงคลนี้ ข้าพเจ้าใคร่ขออุทิศตนเพื่อรับใช้ท่านทั้งหลายอีกครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าหวังว่า เราจะได้รำลึกถึงพลังแห่งการอยู่ร่วมกัน ความเข้มแข็งของครอบครัว มิตรภาพ และการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี ซึ่งมีตัวอย่างอยู่มากมายที่ข้าพเจ้าโชคดีได้พบเห็นตลอดระยะเวลาที่ครองราชย์ และเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าและครอบครัวหวังว่าจะได้พบเจอ เมื่อเราเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆในอังกฤษและเครือจักรภพ
ข้าพเจ้าหวังอีกเช่นกันว่า ในปีนี้เราจะได้รำลึกถึงพัฒนาการอันยิ่งใหญ่ซึ่งเกิดขึ้นในอังกฤษนับตั้งแต่ปี 1952 เป็นต้นมา และมองไปถึงวันข้างหน้าด้วยสมองอันแจ่มใส หัวใจที่อบอุ่น ในขณะที่เราเฉลิมฉลองร่วมกัน
ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมายังทุกท่าน
เอลิซาเบธ อาร์.
พระราชพิธีพัชราภิเษกสมโภชจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-5 มิถุนายนนี้ โดยจะมีการจุดคบเพลิงต่อเนื่องในประเทศเครือจักรภพ ขบวนพาเหรดม้าและนักแสดงภายในพระราชวังวินด์เซอร์ และกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกลางแม่น้ำเทมส์ ในวันที่ 3 มิถุนายน ซึ่งจะใช้เรือในพระราชพิธีมากถึง 1,000 ลำ โดยเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระราชินีนาถจะประดับประดาด้วยดอกไม้อย่างสวยสดงดงาม ถือเป็นไฮไลต์สำคัญที่ทั่วโลกเฝ้ารอชม