สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศที่ใช้พลังงานมากที่สุดในโลก เมื่อปี 2553 ปรากฏว่า สหรัฐอเมริกาได้นำเข้าน้ำมันดิบจากทุกประเทศทั่วโลกมูลค่ามากถึง 331,698 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 9.97 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้สหรัฐอเมริกายังมีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปอีกประมาณปีละ 4.69 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้าสินค้าปิโตรเลียมอีกประมาณ 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) อีกประมาณ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้าก๊าซธรรมชาติอีก 1.48 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
วันนี้ประชากรทุกประเทศรวมกันในโลกใบนี้มีอยู่ประมาณ 6,700 ล้านคน สหรัฐอเมริกามีประชากรประมาณ 304 ล้านคน คิดเป็นอัตราส่วนประมาณร้อยละ 4.5 ของประชากรทั้งโลก แต่สหรัฐอเมริกากลับมีอัตราการใช้น้ำมันต่อวันคิดเป็นอัตราร้อยละ 21.73 จากการใช้น้ำมันทั่วโลก
ขณะที่คนไทยมีประชากรประมาณ 65 ล้านคน คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 0.97 ของประชากรโลก แต่ประเทศไทยใช้น้ำมันดิบต่อวันคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 0.41 ของการใช้น้ำมันทั่วโลก
ตัวเลขตัวอย่างข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่าทรัพยากรในโลกใบนี้ถูกจัดสรรอย่างไม่เป็นธรรม และอาจพอทำให้เข้าใจได้ว่าน้ำมันเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญซึ่งประเทศมหาอำนาจขาดไม่ได้ และประเทศมหาอำนาจก็ทำทุกวิถีทางทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร เพื่อการเข้ายึดครองช่วงชิงแหล่งพลังงานในโลกนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
มีตัวเลขที่น่าสนใจเกี่ยวกับราคาน้ำมันขายปลีกเฉลี่ยในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555 ปรากฏว่าราคาน้ำมันเบนซินคุณภาพระดับคุณภาพสูง (Premium) ราคาประมาณ 5.13 เหรียญสหรัฐต่อแกลลอน ราคาน้ำมันระดับปกติปานกลาง (Regular) ราคาประมาณ 4.66 เหรียญต่อแกลลอน ราคาน้ำมันดีเซลราคาประมาณ 4.86 เหรียญต่อแกลลอน
ลองมาเปลี่ยนหน่วยวัดปริมาตรและค่าเงินบาทดูก็จะพบตัวเลขที่น่าสนใจดังนี้คือ
ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินคุณภาพสูง (Premium) ที่สหรัฐอเมริกา อยู่ที่ประมาณ 41.92 บาทต่อลิตร ส่วนราคาน้ำมันเบนซิน 95 ในประเทศไทยราคา 46.46 บาทต่อลิตร
หมายความว่าน้ำมันเบนซินขายปลีกน้ำมันคุณภาพสูงในประเทศไทย “แพงกว่า” ในสหรัฐอเมริกาเฉลี่ยประมาณ 4.54 บาทต่อลิตร หรือคิดเป็นอัตราที่แพงกว่าน้ำมันขายปลีกในสหรัฐอเมริกาประมาณร้อยละ 10.83 !!?
ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินคุณภาพระดับปกติปานกลาง (Regular) ที่สหรัฐอเมริกาอยู่ที่ประมาณ 38.07 บาทต่อลิตร ส่วนประเทศไทยราคาน้ำมันเบนซิน 91 ราคาอยู่ที่ 42.58 บาทต่อลิตร
หมายความว่าน้ำมันเบนซินขายปลีกน้ำมันคุณภาพปกติปานกลาง (Regular) ในประเทศไทย “แพงกว่า” ในสหรัฐอเมริกาเฉลี่ยประมาณ 4.50 บาทต่อลิตร หรือคิดเป็นอัตราที่แพงกว่าน้ำมันขายปลีกในสหรัฐอเมริกาประมาณร้อยละ 11.83 !!?
ส่วนราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่สหรัฐอเมริการาคาประมาณ 39.71 บาทต่อลิตร ส่วนประเทศไทยราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วราคาอยู่ที่ 32.33 บาทต่อลิตร (อันสืบเนื่องมาจากมีการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลจากอัตรา 5 บาทต่อลิตร เหลือ 0.055 บาทต่อลิตร)
เราอาจจะเทียบสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นได้ไม่ครบถ้วนนัก เพราะว่าความเป็นจริงแล้วภาษีเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งสหรัฐอเมริกามีอัตราสูงกว่าประเทศไทย อีกทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ของสหรัฐอเมริกานั้นได้มาจากการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งการนำเข้าพลังงานของสหรัฐอเมริกาดังกล่าวนั้น ก็ได้มาจากการเข้าไปสัมปทานในประเทศต่างๆ รวมถึงเข้าไปสร้างสถานการณ์หรือก่อสงครามเพื่อให้ได้มาซึ่งการเข้าไปสูบความมั่งคั่งทางพลังงานในประเทศต่างกลับคืนมาสู่ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้มีโอกาสใช้น้ำมันมากที่สุดในโลก
แต่นั่นย่อมหมายความว่าน้ำมันส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกานั้น ต้องรวมค่าขนส่งระหว่างประเทศไปแล้ว และต้องไม่ลืมว่าค่าครองชีพของคนในสหรัฐอเมริกา และค่าแรงขั้นต่ำนั้นสูงกว่าประเทศไทยมาก ดังนั้นราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศไทยที่แพงกว่าสหรัฐอเมริกาย่อมต้องส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของคนไทยโดยทั่วไปจนเข้าสู่ภาวะ “แพงทั้งแผ่นดิน” อย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ และเดือดร้อนกว่าคนอเมริกาอย่างแน่นอน
ประเทศไทยมีน้ำมันดิบในประเทศประมาณ 42.6 ล้านลิตร/วัน ในขณะที่มีการใช้น้ำมันสำเร็จรูปประมาณ 109.0 ล้านลิตรต่อวัน ดังนั้นควรจะมีการนำเข้าน้ำมันประมาณเพียงแค่ 66.4 ล้านลิตร/วัน แต่ประเทศไทยกลับต้องนำเข้าประมาณ 128.13 ล้านลิตร/วัน
ที่เราต้องนำเข้าก็เพราะน้ำมันในประเทศไทยนั้นต้องส่งออกไปทั่วโลกด้วยในเวลาเดียวกัน โดยประเทศไทยส่งออกทั้งน้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันดิบ และก๊าซปิโตรเลียมเหลวอีกปีละไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณกว่า 3 แสนล้านบาท
ประเทศไทยผลิตน้ำมันดิบรวมคอนเดนเสทและก๊าซโซลีนธรรมชาติติดอันดับ 35 ของโลก และยังสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติอยู่ในลำดับ 23 ของโลก ถือได้ว่าประเทศไทยควรจะเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งติดอันดับโลกได้เลย และคนไทยน่าจะพ้นจากความยากจนได้ทั้งหมด
แต่น่าเสียดายที่ค่าภาคหลวงในการจัดเก็บทรัพยากรธรรมชาติของไทยต่ำติดดินในระดับโลกเลยก็ว่าได้ โดยมีอัตราค่าภาคหลวงร้อยละ 5 - 15 เท่านั้น ในขณะที่เมื่อเทียบกับโบลิเวียคิดอัตราการจัดเก็บที่ร้อยละ 82 ของรายได้ โดยมีรายได้จากก๊าซธรรมชาติอันดับ 34 ของโลก และผลิตน้ำมันอันดับ 61 ของโลก (ซึ่งน้อยกว่าไทย) หรือที่คาซัคสถานที่จัดเก็บร้อยละ 80 ของปริมาณที่ขุดเจาะได้ หรืออาบูดาบีที่แบ่งกำไรให้บริษัทขุดเจาะไม่เกิน 1 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล หรือที่รัสเซียคิดอัตราการจัดเก็บสูงถึงร้อยละ 90 ของรายได้ในส่วนที่ราคาน้ำมันสูงกว่า 25 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
นอกจากนี้ นับเป็นเรื่องที่น่าอัปยศอย่างยิ่ง ที่อัตราค่าภาคหลวงของไทยเป็นอัตราที่ต่ำกว่าพม่า เวียดนาม อินโดนีเซีย บรูไน มาเลเซีย จีน อินเดีย และปากีสถาน เสียอีก
และที่น่าสนใจก็คือมีแหล่งพลังงานและน้ำมันจำนวนมากทั้งบนบกและในทะเลตกอยู่ภายใต้สัมปทานของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติจากสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ จนทำให้บรรษัทสัญชาติอเมริกันสามารถนำทรัพยากรน้ำมันดิบจากประเทศไทยเข้าไปในสหรัฐอเมริกาอย่างมหาศาลอย่างที่หลายคนอาจไม่คาดคิดมาก่อน
โดยเมื่อปีที่แล้ว พ.ศ. 2554 สหรัฐอเมริกาได้รายงานมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศไทยว่าได้นำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศไทยสูงถึง 657 ล้านเหรียญสหรัฐ น้ำมันสำเร็จรูป 14 ล้านเหรียญสหรัฐ และสินค้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นๆ อีก 21 ล้านเหรียญสหรัฐรวมมูลค่าประมาณ 692 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดมูลค่าได้ประมาณ 21,403 ล้านบาท
นับเป็นความเจ็บปวดของคนไทยที่เรามีน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปโดยประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาเข้ามาสัมปทานสูบกลับประเทศไปได้ด้วยค่าภาคหลวงราคาถูกๆ ในขณะที่ประเทศไทยกลับต้องยังคงใช้พลังงานที่ราคาแพงกว่าประเทศที่เขาเอาพลังงานของประเทศไทย
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือน้ำมันของประเทศมาเลเซียที่ถูกกว่าประเทศไทยนั้น เป็นผลทำให้เรือประมงในอ่าวไทยจำนวนมากเมื่อหาปลาได้แล้วก็จะแวะไปยังมาเลเซียก่อนเพื่อเติมน้ำมันที่ถูกกว่าก่อนที่จะกลับเข้าไปยังชายฝั่งไทย เป็นผลทำให้อาหารทะเลในมาเลเซียมีคุณภาพดีกว่าที่ส่งมายังประเทศไทย
ในขณะที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นับตั้งแต่ถูกแปรรูปกลายเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มุ่งเน้นแสวงหาผลกำไรสูงสุดเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ โดยผู้ถือหุ้นเหล่านั้นต่างโยงใยมีสายสัมพันธ์กับนักการเมืองไทยและกลุ่มผลประโยชน์ข้ามชาติอย่างน่าสลดใจยิ่ง
เกือบ 10 ปีที่ผ่านมา ปตท.มีรายได้สะสมรวมกันถึง 2 ล้านล้านบาท กำไรสุทธิสะสมรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 774,167 ล้านบาท (โดยในปี 2554 ปตท.กำไรสุทธิทั้งสิ้น 125,226 ล้านบาท) ดังนั้นข้ออ้างที่ต้องการขายหุ้นเพื่อระดมทุนได้เงินเพียงไม่กี่หมื่นล้านบาทนั้น ไม่สามารถฟังขึ้นได้เลยหากเทียบกับกรณี ปตท.เลือกแนวทางในการออกพันธบัตรฯ ขายให้กับนักลงทุนตั้งแต่ตอนต้น ซึ่งไม่มีทางที่ ปตท.จะต้องจ่ายผลตอบแทนเกินกว่าเงินปันผลที่มากมายมหาศาลและไม่มีกำหนดระยะเวลาเหมือนที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
ความทุกข์ระทมจากสถานการณ์ “แพงทั้งแผ่นดิน” ในวันนี้ การแก้ไขด้วยการจัดสินค้าธงฟ้าราคาถูก หรือไปจัดการควบคุมราคาสินค้า ไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาได้เลย นอกจากจะจัดการกับปัญหาที่ต้นเหตุกับความโลภของ ปตท.ที่ยังไม่เคยหยุดการสูบเลือดเนื้อจากประชาชนผู้บริโภคจากทรัพยากรของคนไทยทั้งชาติให้มาสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้นเพียงไม่กี่คน
ปัญหานี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2554 ไม่ว่าจะรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ รัฐบาลนายสมัคร รัฐบาลนายสมชาย รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ไม่มีใครแก้ไขปัญหา ปตท.ได้เป็นรูปธรรมให้เป็นที่พึ่งหวังเลยแม้แต่น้อย
มวลชนคนเสื้อแดงจำนวนไม่น้อยจึงเหมือนถูกหลอกมาโดยตลอดว่าแกนนำของพวกเขานั้นเป็นไพร่ที่ต่อสู้เพื่อขจัดความยากจนด้วยกัน แต่ในความเป็นจริงแกนนำบางคนของพวกเขาเหล่านั้นมีหุ้นหรือทำมาหากินร่ำรวยบนความมั่งคั่งของ ปตท.จนแทบจะไม่เห็นได้เลยว่าคนเหล่านี้เขาเป็นไพร่ที่ต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนของประชาชนรากหญ้าได้อย่างไร
นอกจากจะเห็นว่าแกนนำคนเสื้อแดงหลายคนเป็นพวกเศรษฐีอำมาตย์ใหม่ ที่กำลังหลงอยู่ในอำนาจและแสวงหาผลประโยชน์โดยทิ้งให้ประชาชนเดือดร้อนกับปัญหา “แพงทั้งแผ่นดิน” ไปทุกหย่อมหญ้าในวันนี้
เมื่อไม่มีใครกล้าแตะปัญหาราคาน้ำมันอย่างจริงจัง ปัญหาสินค้าราคาแพงในรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยจึงไม่มีใครแก้ไขได้อย่างเป็นรูปธรรม
การแก้ไขด้วย “น้ำลาย” จึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาสินค้าราคาแพงได้เลย ซ้ำร้ายอาจจะโดนประชาชนแสดงความไม่พอใจหนักขึ้นไปอีก เพราะปัญหาแบบนี้ประชาชนเขาสามารถสัมผัสในความเดือดร้อนถึงตัวได้ โดยไม่ต้องให้ใครมาเกลี้ยกล่อมได้!!?
นอกจากนี้สหรัฐอเมริกายังมีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปอีกประมาณปีละ 4.69 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้าสินค้าปิโตรเลียมอีกประมาณ 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) อีกประมาณ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้าก๊าซธรรมชาติอีก 1.48 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
วันนี้ประชากรทุกประเทศรวมกันในโลกใบนี้มีอยู่ประมาณ 6,700 ล้านคน สหรัฐอเมริกามีประชากรประมาณ 304 ล้านคน คิดเป็นอัตราส่วนประมาณร้อยละ 4.5 ของประชากรทั้งโลก แต่สหรัฐอเมริกากลับมีอัตราการใช้น้ำมันต่อวันคิดเป็นอัตราร้อยละ 21.73 จากการใช้น้ำมันทั่วโลก
ขณะที่คนไทยมีประชากรประมาณ 65 ล้านคน คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 0.97 ของประชากรโลก แต่ประเทศไทยใช้น้ำมันดิบต่อวันคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 0.41 ของการใช้น้ำมันทั่วโลก
ตัวเลขตัวอย่างข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่าทรัพยากรในโลกใบนี้ถูกจัดสรรอย่างไม่เป็นธรรม และอาจพอทำให้เข้าใจได้ว่าน้ำมันเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญซึ่งประเทศมหาอำนาจขาดไม่ได้ และประเทศมหาอำนาจก็ทำทุกวิถีทางทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร เพื่อการเข้ายึดครองช่วงชิงแหล่งพลังงานในโลกนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
มีตัวเลขที่น่าสนใจเกี่ยวกับราคาน้ำมันขายปลีกเฉลี่ยในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555 ปรากฏว่าราคาน้ำมันเบนซินคุณภาพระดับคุณภาพสูง (Premium) ราคาประมาณ 5.13 เหรียญสหรัฐต่อแกลลอน ราคาน้ำมันระดับปกติปานกลาง (Regular) ราคาประมาณ 4.66 เหรียญต่อแกลลอน ราคาน้ำมันดีเซลราคาประมาณ 4.86 เหรียญต่อแกลลอน
ลองมาเปลี่ยนหน่วยวัดปริมาตรและค่าเงินบาทดูก็จะพบตัวเลขที่น่าสนใจดังนี้คือ
ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินคุณภาพสูง (Premium) ที่สหรัฐอเมริกา อยู่ที่ประมาณ 41.92 บาทต่อลิตร ส่วนราคาน้ำมันเบนซิน 95 ในประเทศไทยราคา 46.46 บาทต่อลิตร
หมายความว่าน้ำมันเบนซินขายปลีกน้ำมันคุณภาพสูงในประเทศไทย “แพงกว่า” ในสหรัฐอเมริกาเฉลี่ยประมาณ 4.54 บาทต่อลิตร หรือคิดเป็นอัตราที่แพงกว่าน้ำมันขายปลีกในสหรัฐอเมริกาประมาณร้อยละ 10.83 !!?
ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินคุณภาพระดับปกติปานกลาง (Regular) ที่สหรัฐอเมริกาอยู่ที่ประมาณ 38.07 บาทต่อลิตร ส่วนประเทศไทยราคาน้ำมันเบนซิน 91 ราคาอยู่ที่ 42.58 บาทต่อลิตร
หมายความว่าน้ำมันเบนซินขายปลีกน้ำมันคุณภาพปกติปานกลาง (Regular) ในประเทศไทย “แพงกว่า” ในสหรัฐอเมริกาเฉลี่ยประมาณ 4.50 บาทต่อลิตร หรือคิดเป็นอัตราที่แพงกว่าน้ำมันขายปลีกในสหรัฐอเมริกาประมาณร้อยละ 11.83 !!?
ส่วนราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่สหรัฐอเมริการาคาประมาณ 39.71 บาทต่อลิตร ส่วนประเทศไทยราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วราคาอยู่ที่ 32.33 บาทต่อลิตร (อันสืบเนื่องมาจากมีการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลจากอัตรา 5 บาทต่อลิตร เหลือ 0.055 บาทต่อลิตร)
เราอาจจะเทียบสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นได้ไม่ครบถ้วนนัก เพราะว่าความเป็นจริงแล้วภาษีเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งสหรัฐอเมริกามีอัตราสูงกว่าประเทศไทย อีกทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ของสหรัฐอเมริกานั้นได้มาจากการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งการนำเข้าพลังงานของสหรัฐอเมริกาดังกล่าวนั้น ก็ได้มาจากการเข้าไปสัมปทานในประเทศต่างๆ รวมถึงเข้าไปสร้างสถานการณ์หรือก่อสงครามเพื่อให้ได้มาซึ่งการเข้าไปสูบความมั่งคั่งทางพลังงานในประเทศต่างกลับคืนมาสู่ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้มีโอกาสใช้น้ำมันมากที่สุดในโลก
แต่นั่นย่อมหมายความว่าน้ำมันส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกานั้น ต้องรวมค่าขนส่งระหว่างประเทศไปแล้ว และต้องไม่ลืมว่าค่าครองชีพของคนในสหรัฐอเมริกา และค่าแรงขั้นต่ำนั้นสูงกว่าประเทศไทยมาก ดังนั้นราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศไทยที่แพงกว่าสหรัฐอเมริกาย่อมต้องส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของคนไทยโดยทั่วไปจนเข้าสู่ภาวะ “แพงทั้งแผ่นดิน” อย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ และเดือดร้อนกว่าคนอเมริกาอย่างแน่นอน
ประเทศไทยมีน้ำมันดิบในประเทศประมาณ 42.6 ล้านลิตร/วัน ในขณะที่มีการใช้น้ำมันสำเร็จรูปประมาณ 109.0 ล้านลิตรต่อวัน ดังนั้นควรจะมีการนำเข้าน้ำมันประมาณเพียงแค่ 66.4 ล้านลิตร/วัน แต่ประเทศไทยกลับต้องนำเข้าประมาณ 128.13 ล้านลิตร/วัน
ที่เราต้องนำเข้าก็เพราะน้ำมันในประเทศไทยนั้นต้องส่งออกไปทั่วโลกด้วยในเวลาเดียวกัน โดยประเทศไทยส่งออกทั้งน้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันดิบ และก๊าซปิโตรเลียมเหลวอีกปีละไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณกว่า 3 แสนล้านบาท
ประเทศไทยผลิตน้ำมันดิบรวมคอนเดนเสทและก๊าซโซลีนธรรมชาติติดอันดับ 35 ของโลก และยังสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติอยู่ในลำดับ 23 ของโลก ถือได้ว่าประเทศไทยควรจะเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งติดอันดับโลกได้เลย และคนไทยน่าจะพ้นจากความยากจนได้ทั้งหมด
แต่น่าเสียดายที่ค่าภาคหลวงในการจัดเก็บทรัพยากรธรรมชาติของไทยต่ำติดดินในระดับโลกเลยก็ว่าได้ โดยมีอัตราค่าภาคหลวงร้อยละ 5 - 15 เท่านั้น ในขณะที่เมื่อเทียบกับโบลิเวียคิดอัตราการจัดเก็บที่ร้อยละ 82 ของรายได้ โดยมีรายได้จากก๊าซธรรมชาติอันดับ 34 ของโลก และผลิตน้ำมันอันดับ 61 ของโลก (ซึ่งน้อยกว่าไทย) หรือที่คาซัคสถานที่จัดเก็บร้อยละ 80 ของปริมาณที่ขุดเจาะได้ หรืออาบูดาบีที่แบ่งกำไรให้บริษัทขุดเจาะไม่เกิน 1 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล หรือที่รัสเซียคิดอัตราการจัดเก็บสูงถึงร้อยละ 90 ของรายได้ในส่วนที่ราคาน้ำมันสูงกว่า 25 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
นอกจากนี้ นับเป็นเรื่องที่น่าอัปยศอย่างยิ่ง ที่อัตราค่าภาคหลวงของไทยเป็นอัตราที่ต่ำกว่าพม่า เวียดนาม อินโดนีเซีย บรูไน มาเลเซีย จีน อินเดีย และปากีสถาน เสียอีก
และที่น่าสนใจก็คือมีแหล่งพลังงานและน้ำมันจำนวนมากทั้งบนบกและในทะเลตกอยู่ภายใต้สัมปทานของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติจากสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ จนทำให้บรรษัทสัญชาติอเมริกันสามารถนำทรัพยากรน้ำมันดิบจากประเทศไทยเข้าไปในสหรัฐอเมริกาอย่างมหาศาลอย่างที่หลายคนอาจไม่คาดคิดมาก่อน
โดยเมื่อปีที่แล้ว พ.ศ. 2554 สหรัฐอเมริกาได้รายงานมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศไทยว่าได้นำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศไทยสูงถึง 657 ล้านเหรียญสหรัฐ น้ำมันสำเร็จรูป 14 ล้านเหรียญสหรัฐ และสินค้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นๆ อีก 21 ล้านเหรียญสหรัฐรวมมูลค่าประมาณ 692 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดมูลค่าได้ประมาณ 21,403 ล้านบาท
นับเป็นความเจ็บปวดของคนไทยที่เรามีน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปโดยประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาเข้ามาสัมปทานสูบกลับประเทศไปได้ด้วยค่าภาคหลวงราคาถูกๆ ในขณะที่ประเทศไทยกลับต้องยังคงใช้พลังงานที่ราคาแพงกว่าประเทศที่เขาเอาพลังงานของประเทศไทย
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือน้ำมันของประเทศมาเลเซียที่ถูกกว่าประเทศไทยนั้น เป็นผลทำให้เรือประมงในอ่าวไทยจำนวนมากเมื่อหาปลาได้แล้วก็จะแวะไปยังมาเลเซียก่อนเพื่อเติมน้ำมันที่ถูกกว่าก่อนที่จะกลับเข้าไปยังชายฝั่งไทย เป็นผลทำให้อาหารทะเลในมาเลเซียมีคุณภาพดีกว่าที่ส่งมายังประเทศไทย
ในขณะที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นับตั้งแต่ถูกแปรรูปกลายเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มุ่งเน้นแสวงหาผลกำไรสูงสุดเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ โดยผู้ถือหุ้นเหล่านั้นต่างโยงใยมีสายสัมพันธ์กับนักการเมืองไทยและกลุ่มผลประโยชน์ข้ามชาติอย่างน่าสลดใจยิ่ง
เกือบ 10 ปีที่ผ่านมา ปตท.มีรายได้สะสมรวมกันถึง 2 ล้านล้านบาท กำไรสุทธิสะสมรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 774,167 ล้านบาท (โดยในปี 2554 ปตท.กำไรสุทธิทั้งสิ้น 125,226 ล้านบาท) ดังนั้นข้ออ้างที่ต้องการขายหุ้นเพื่อระดมทุนได้เงินเพียงไม่กี่หมื่นล้านบาทนั้น ไม่สามารถฟังขึ้นได้เลยหากเทียบกับกรณี ปตท.เลือกแนวทางในการออกพันธบัตรฯ ขายให้กับนักลงทุนตั้งแต่ตอนต้น ซึ่งไม่มีทางที่ ปตท.จะต้องจ่ายผลตอบแทนเกินกว่าเงินปันผลที่มากมายมหาศาลและไม่มีกำหนดระยะเวลาเหมือนที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
ความทุกข์ระทมจากสถานการณ์ “แพงทั้งแผ่นดิน” ในวันนี้ การแก้ไขด้วยการจัดสินค้าธงฟ้าราคาถูก หรือไปจัดการควบคุมราคาสินค้า ไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาได้เลย นอกจากจะจัดการกับปัญหาที่ต้นเหตุกับความโลภของ ปตท.ที่ยังไม่เคยหยุดการสูบเลือดเนื้อจากประชาชนผู้บริโภคจากทรัพยากรของคนไทยทั้งชาติให้มาสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้นเพียงไม่กี่คน
ปัญหานี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2554 ไม่ว่าจะรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ รัฐบาลนายสมัคร รัฐบาลนายสมชาย รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ไม่มีใครแก้ไขปัญหา ปตท.ได้เป็นรูปธรรมให้เป็นที่พึ่งหวังเลยแม้แต่น้อย
มวลชนคนเสื้อแดงจำนวนไม่น้อยจึงเหมือนถูกหลอกมาโดยตลอดว่าแกนนำของพวกเขานั้นเป็นไพร่ที่ต่อสู้เพื่อขจัดความยากจนด้วยกัน แต่ในความเป็นจริงแกนนำบางคนของพวกเขาเหล่านั้นมีหุ้นหรือทำมาหากินร่ำรวยบนความมั่งคั่งของ ปตท.จนแทบจะไม่เห็นได้เลยว่าคนเหล่านี้เขาเป็นไพร่ที่ต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนของประชาชนรากหญ้าได้อย่างไร
นอกจากจะเห็นว่าแกนนำคนเสื้อแดงหลายคนเป็นพวกเศรษฐีอำมาตย์ใหม่ ที่กำลังหลงอยู่ในอำนาจและแสวงหาผลประโยชน์โดยทิ้งให้ประชาชนเดือดร้อนกับปัญหา “แพงทั้งแผ่นดิน” ไปทุกหย่อมหญ้าในวันนี้
เมื่อไม่มีใครกล้าแตะปัญหาราคาน้ำมันอย่างจริงจัง ปัญหาสินค้าราคาแพงในรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยจึงไม่มีใครแก้ไขได้อย่างเป็นรูปธรรม
การแก้ไขด้วย “น้ำลาย” จึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาสินค้าราคาแพงได้เลย ซ้ำร้ายอาจจะโดนประชาชนแสดงความไม่พอใจหนักขึ้นไปอีก เพราะปัญหาแบบนี้ประชาชนเขาสามารถสัมผัสในความเดือดร้อนถึงตัวได้ โดยไม่ต้องให้ใครมาเกลี้ยกล่อมได้!!?