ASTVผู้จัดการรายวัน - พระปกเกล้าแถลงข้อเสนอจากสถาบันฯ ไม่ใช่ข้อสรุปสุดท้ายแนวทางปรองดอง ปชป. อัด ผลวิจัยปรองดองอัปยศ ด้านศาลฯไม่อนุญาตปล่อย "ดา ตอร์ปิโด" อีกรอบ
วานนี้ (16มี.ค.) ที่สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดแถลงข่าวเกี่ยวกับผลงานวิจัยเรื่อง "การสร้างความปรองดองแห่งชาติ" เพื่อความเข้าใจเนื้อหาและสาระสำคัญของงานวิจัย หลังได้รับการร้องขอและมอบหมายจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปริงดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร ให้สถาบันพระปกเกล้าศึกษาในฐานะที่เป็นสถาบันทางวิชาการที่มุ่งเน้นเผยแพร่ประชาธิปไตย อีกทั้งตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย
นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า การวิจัยนี้มุ่งตอบคำถามของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางปรองดองแห่งชาติฯ ว่าอะไรคือรากเหง้าของความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และมีปัจจัยหรือกระบวนการใดที่ทำให้คนในสังคมสามารถกลับมาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
โดยใช้กระบวนการดังนี้ 1.การทบทวนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการแก้ไขความขัดแย้ง การสร้างความปรองดอง ความยุติธรรม รูปแบบ กฎหมาย 2.การสรุปบทเรียนจากเวทีประชาเสวนาหาทางออก โดยให้ประชาชนร่วมกันเสวนาหาทางออก ช่วงเดือนธ.ค. 2553 - มิ.ย.2554 3.การศึกษาประสบการณ์การแก้ไขในต่างประเทศในบริบทที่แตกต่างกัน 4.การประมวลวิเคราะห์ปรากฎการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองถึงปัจจุบัน
และ5.การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 47 คน อาทิ นักการเมืองอาวุโส ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในเหตุการร์ความขัดแย้ง โดยใช้คำถามปลายเปิดสำหรับการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ซึ่งการวิจัยดังกล่าวมีระยะเวลาในการทำทั้งสิ้น 120 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันนี้ หรือ อาจจะมีการขยายเวลาออกไปเป็นวันจันทร์หน้า
นายวุฒิสาร กล่าวว่า ข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า เป็นเพียงทางเลือกในการสร้างความปรองดองเท่านั้น ข้อเสนอเหล่านี้ไม่ใช่ข้อสรุปสุดท้าย แต่เป็นการศึกษาเบื้องต้นเพื่อมีการดำเนินการต่อไป ซึ่งหลังจากนี้ต้องมีการหาข้อยุติร่วมกัน ซึ่งทุกฝ่ายต้องร่วมกันสร้างบรรยากาศในการปรองดอง เพราะจากการศึกษา ทุกฝ่ายต่างพูดตรงกันว่า ความปรองดองคือทางออกของการแก้ปัญหา แต่ในขณะนี้ทุกฝ่ายต่างมีจุดยืนของตัวเองที่ชัดเจน ทำให้บรรยากาศการปรองดอง ยังไม่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ซึ่งตนมองว่าควรเริ่มต้นในการเจรจาหารือกันของคณะกรรมาธิการ เพื่อหาข้อยุติร่วมกันและควรหลีกเลี่ยงการใช้เสียงข้างมากในการหาคำตอบ เพราะเสียงข้างมาก อาจจะไม่ใช่การยอมรับร่วมกันของสังคม และหลังจากนั้น คณะกรรมาธิการ ต้องนำความคิดเห็นดังกล่าวไปขยายผลต่อไป
**ชี้ "ทักษิณ" ตัวละครสร้างความขัดแย้ง
น.ส.ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร นักวิชาการวิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า กล่าวถึงผลการศึกษา ว่า จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่อยู่ในความขัดแย้ง ต่างมีความเห็นตรงกันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นตัวละครสำคัญที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง โดยจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการแทรกแซงการเลือกตั้ง กรณีเผด็จการรัฐสภา เมื่อปี 2548 ที่รัฐบาลพรรคไทยรักไทย มีเสียงข้างมาก มีอิทธิพลเหนือการตรวจสอบ ทำให้ในขณะนี้ ความขัดแย้งได้หยั่งรากลึกลงในสังคมไทย และการปรองดองจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายมีการพูดคุยร่วมกัน และการหาความจริงออกมาเปิดเผย แต่อยู่ที่ว่าการเปิดเผยความจริงดังกล่าว จะเปิดเผยในรูปแบบใดและเมื่อใด
ทั้งนี้ ความเห็นเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมนั้น มีหลากหลายความเห็น ทั้งไม่ยอมรับ และต้องการให้มีการนิรโทษกรรม แต่ที่ทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันคือ ต้องสร้างความปรองดอง แต่ขณะนี้บรรยากาศการสร้างความปรองดองยังคงไม่เกิดขึ้น เพราะทุกฝ่ายต่างมีจุดยืนที่ชัดเจน จึงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายทำตามในสิ่งที่พูด และลดการกระทำที่ทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้น
**กมธ.ปรองดองแถลงแนวทาง 21 มี.ค.
นายชวลิต วิชยสุทธิ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความปรองดองแห่งชาติ กล่าวว่า รายงานที่สถาบันพระปกเกล้าเสนอให้คณะกรรมาธิการ แม้จะเป็นเพียงแค่ตัวร่างเพื่อรับทราบ แต่มีเนื้อหาสมบูรณ์แล้ว โดยในวันที่ 20 มี.ค. คณะกรรมาธิการจะสรุปแบบสอบถามที่ให้คณะกรรมาธิการแต่ละคนไปตอบมาเรื่องรูปแบบการนิรโทษกรรมและการลบล้างผลพวงคดีคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อนให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ตามที่สถาบันพระปกเกล้าเสนอมา เพื่อสรุปเป็นความเห็นของกรรมาธิการ ส่งไปให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ควบคู่ไปกับรายงานฉบับสมบูรณ์ของสถาบันพระปกเกล้า
นอกจากนี้ ในวันที่ 21 มี.ค. พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ ในฐานะประธานกรรมาธิการ จะแถลงผลสรุป โดยจะเชิญหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรค สส. และสว. มาร่วมรับฟังด้วย ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ เวลา 10.00 น.
**มาร์คติงบังไม่มีหน้าที่รับใช้รบ.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พล.อ.สนธิ เตรียมเปิดเวทีสาธารณะว่า ตนพร้อมที่จะไปร่วมให้ความเห็น หากเปิดโอกาส อย่าไปสรุปล่วงหน้า ขณะนี้ยังไม่มีใครเห็นรายงานฉบับสมบูรณ์ว่าเป็นอย่างไร มีแต่นายวัฒนา เมืองสุข รองประธาน กมธ.ปรององเท่านั้นที่อ้างว่า มีรายงานฉบับสมบูรณ์แล้ว นอกจากนี้ในร่างรายงานดังกล่าว ก็มีข้อบกพร่องผิดพลาดอยู่มาก โดยเฉพาะในเรื่องข้อเท็จจริงจึงจำเป็นต้องให้คณะผู้วิจัยต้องรับทราบประเด็นต่างๆเพื่อปรับปรุงการ
“ เท่าทีดูวิธีการลำดับเหตุการณ์ ช่วงไหนซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เขียนแล้ว ทำให้ฝ่ายผู้ชุมนุมในขณะนั้นดูดี ก็อ้างแหล่งที่มาซึ่งจำกัดมาก แต่ในการรายงานถึงรัฐบาลผม กลับไปอ้างอิงต่างประเทศทั้งที่เป็นเรื่องที่รับรู้โดยเปิดเผยในสังคมไทย และแหล่งข่าวในประเทศจะรับรู้ปัญหาได้ดีกว่าการสรุปข่าวจากต่างประเทศ ซึ่งมีมุมมองจำกัด ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่า เกิดจากอะไร แต่การเขียนข้อเท็จจริงในมุมมองที่ไม่ครบถ้วนมีอิทธิพลต่อข้อเสนอแนะและข้อสรุปที่ไม่รอบด้าน ผมตั้งข้อสังเกตว่า เวลาเขียนที่นำไปสู่ข้อเสนอแนะในภาพรวมก็ไม่ลงรายละเอียดถึงที่มา ที่ไป เช่น การเขียนว่า ปรองดองต้องให้อภัย แต่ก็ไม่มีการเขียนอธิบายว่า ระหว่างการอภัยโทษกับนิรโทษ ซึ่งไม่เหมือนกัน และมีการอ้างต่างประเทศ พอไปไล่ดูตารางทั้ง 10 ประเทศก็มีเพียงไม่กี่ประเทศที่ใช้นิรโทษกรรม โดยไม่เลือกประเภทของคดีความ และบางประเทศปัญหาความขัดแย้งก็เกิดจากการออกกฏหมายนิรโทษกรรมด้วยซ้ำไป”นายอภิสิทธิ์ กล่าว
และที่น่าสนใจคือ คณะผู้วิจัยเองก็ระบุในรายงานว่าต้องค้นหาข้อเท็จจริง แสดงว่า ข้อเท็จจริงหลายอย่างยังไม่ได้ข้อสรุป แต่กลับมีการไปสรุปข้อเท็จจริงในรายงานบางเรื่องไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น เพื่อให้เกิดความรอบคอบต่อผลการศึกษา หากจำเป็นที่กมธ.ต้องขยายเวลา ก็ต้องทำ
“เพราะพล.อ.สนธิ ไม่มีหน้าที่ไปรับใช้วาระของรัฐบาล หรือวาระของพ.ต.ท.ทักษิณว่าจะต้องเสร็จในวันไหน เพื่อที่จะออกกฏหมาย โดยตั้งเป็นธงล่วงหน้า ทั้งที่ในร่างรายงานการศึกษาก็ไม่ได้บอกให้ต้องทำ า” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายวัฒนา เป็นจำเลยในคดีที่ คตส.พิจารณาคือ คดีบ้านเอื้ออาทรและการจัดซื้อเรือและรถดับเพลิงของกทม.เป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องเร่งรัดจะใช้ข้อสรุปของสถาบันพระปกเกล้ามานิรโทษกรรมคดีหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนทราบว่านายวัฒนามีความรู้สึกว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งเป็นเรื่องปกติแต่ก็ต้องตอบให้ได้ว่า มีอะไรที่คิดว่า ตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะผลสรุปของคตส.ไม่ใช่ข้อยุติเป็นแค่การรวบรวมข้อมูลนำเสนอจากนั้นกระบวนการยุติธรรมก็เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาต่อสู้คดีเต็มที่ รวมถึงประเด็นที่คิดว่า คตส.ไม่ให้ความเป็นธรรมด้วย แม้แต่พ.ต.ท.ทักษิณเองก็สู้คดีโดยหยิบยกปัญหา คตส.ในลักษณะนี้จนจบกระบวนการพิจารณาคดี แต่บังเอิญไปรู้ล่วงหน้าว่าจะแพ้คดี จึงหลบหนีไปต่างประเทศ ไม่ใช่ว่าไม่มีโอกาสต่อสู้ และอย่าลืมว่า คตส.และกระบวนการที่ต่อเนื่องจาก คตส.ก็มีข้อยุติในหลายคดีที่หลายคนพ้นผิด แต่กลับไม่มีการพูดถึงในรายงาน ที่ข้อเท็จจริงนี้แสดงให้เห็นว่า ถ้าตั้งสมมติฐานว่า คตส.ตั้งธงเล่นงาน ก็ไม่เป็นความจริง ไม่เช่นนั้นจะปล่อยให้หลุดคดีทำไม ตั้งหลายคน
**"ถาวร"อัดผลวิจัยพระปกเกล้าอัปยศ
นายถาวร เสนเนียม ส.ส. สงขลา รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายวัฒนา เมืองสุข ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทยในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ระบุให้ยอมรับผลการศึกษาของสถาบันพระปกเกล้า ฯเพราะเป็นหน่วยงานกลางที่ได้รับมอบหมายให้ไปศึกษาว่า ผลการศึกษาดังกล่าวถือเป็นผลงานอัปยศ เนื่องจากเกิดประโยชน์กับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เกือบทั้งหมด จึงขอตั้งคำถามว่า มีนักวิชาการระดับรองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าได้เดินทางไปกับนายวัฒนา เมืองสุขที่ดูไบ เพื่อไปสัมภาษณ์พ.ต.ท.ทักษิณ ก่อนหรือไม่ เป็นการนำร่องการวิจัยที่ไม่น่าเชื่อถือ และที่อ้างว่าจะนำไปสู่การปรองดองนั้นเป็นการปรองดองเพื่อช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่
ขอให้พิจารณาคำให้สัมภาษณ์ของนายอภิสิทธิ์ ที่เสนอให้ใช้เหตุผลให้รอบด้านในการพิจารณา เพราะผลการศึกษาของสถาบันพระปกเกล้าเสนอมาหลายทาง อย่าใช้เสียงข้างมากในกรรมาธิการลากไป เพราะพรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่า การนิรโทษกรรมถ้าจะทำก็น่าจะครอบคลุมเพียงกรณีผู้ฝ่าฝืนพระราชกำหนดเท่านั้น
"ผลการวิจัยของชิ้นนี้ น่าจะเป็นการค้นหาความจริง ว่าสิ่งใดถูกก็ควรบอกว่าถูก สิ่งใดผิดก็ควรบอกว่าผิด เพื่อให้เกิดความถูกต้อง เป็นการปรองดองที่ยั่งยืน ไม่ใช่มุ่งแต่ช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณ เพราะการกระทำเช่นนั้นไม่นำไปสู่การปรองดองที่ถูกต้องและยั่งยืน แต่จะนำไปสู่ความขัดแย้งและเกิดวิกฤติในประเทศไทยขึ้นอีก" นายถาวรกล่าว
**ยะใส ชี้ตั้งโจทย์ผิด เน้นข้อสรุปมากกว่า
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน (Green Politics) กล่าวว่า น่าเป็นห่วงเพราะผิดทิศผิดทางออกนอกหลักการปรองดองที่ควรจะเป็น เพราะไปมุ่งแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองซึ่งเป็นปัญหาปลายเหตุมากเกินไป ไม่ได้ยึดหลักหรือวางน้ำหนักที่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ที่เกิดจากการทำลายหลักนิติรัฐและไม่เคารพกระบวนการยุติธรรมหรือศาล จนทำให้สังคมแตกแยก เกิดความจริงและความเป็นธรรมหลายชุด หลายวาทกรรม ฝ่ายใครฝ่ายมัน ซึ่งนี่เป็นปัญหาใหญ่
ส่วนบทบาทของคณะกรรมาธิการปรองดองฯ และเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ไม่ควรมานั่งเป็นประธานในกรรมาธิการคณะนี้ ทำให้สังคมเคลือบแคลงเจตนาได้ และที่มอบหมายให้สถาบันพระปกเกล้าไปทำร่างข้อเสนอมานั้น และไม่ควรนำข้อเสนอหรือความเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย อย่างการไปสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรือแกนนำเสื้อแดง แล้วมาสังเคราะห์ร่วมกับความเห็นของส่วนอื่นๆ อาจจะทำให้ข้อสรุปไปตอบโจทย์ความต้องการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากไป ซึ่งต้องดูชุดคำถามในงานวิจัยชิ้นนี้ของสถาบันพระปกเกล้า เพราะบางทีคำถามอาจสำคัญกว่าคำตอบ หรือตั้งโจทย์ผิดก็อาจได้คำตอบที่ผิดไปด้วย
**ซัดศาล-องค์อิสระ ตัวปัญหา 2 มาตรฐาน
อีกด้าน นาย ก่อแก้ว พิกุลทอง สส บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยในฐานะ สมาชิกกลุ่ม นปช กล่าวว่า หลังจากที่ได้เข้าร่วมประชุม กมธ. 4-5ครั้ง กมธ.ทางพรรคประชาธิปปัตย์ มีความพยายามแตะถ่วงและตีกรอบความคิดที่กำหนดให้ สสร. ห้ามแก้ประเด็นต่างๆ ตนเห็นว่าถ้าไปตีกรอบจะทำให้ไม่มีอิสระในการทำงานและประชาชนจะไม่ยอมรับ อย่างไรก็ตาม ปัญหาบ้านเมืองที่มี 2 มาตรฐานก็มาจาก ศาลและองค์กรอิสระจึงควรเปิดโอกาสให้ สสร เข้ามาแก้ปัญหาแต่ไม่ได้หมายความว่าจะยุบทั้ง 2 องค์กรนี้
**ศาลไม่อนุญาตปล่อย "ดา ตอร์ปิโด" อีก
วันเดียกวัน ศาลอ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์เรื่องขอปล่อยตัวชั่วคราว คดีหมายเลขแดงที่ อ.2812/2552 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 7 เป็นโจทก์ฟ้อง น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล หรือดา ตอร์ปิโด แนวร่วมนปช. เป็นจำเลย ฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกเป็นเวลา 15 ปี โดยญาติของ น.ส.ดารณี ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์จำนวน 1,440,000 บาท เพื่อขอให้จำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 15 ปี จำเลยเคยยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์มาแล้วหลายครั้งแต่ศาลไม่อนุญาต จำเลยมายื่นคำร้องในครั้งนี้อีก ทั้งพฤติการณ์แห่งคดีประกอบกับพยานหลักฐานที่ศาลชั้นต้นได้พิจารณามาแล้วรับว่าร้ายแรง หากให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์จำเลยอาจหลบหนีได้ จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ให้ยกคำร้อง แจ้งเหตุผลการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวให้จำเลยทราบโดยเร็ว
วานนี้ (16มี.ค.) ที่สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดแถลงข่าวเกี่ยวกับผลงานวิจัยเรื่อง "การสร้างความปรองดองแห่งชาติ" เพื่อความเข้าใจเนื้อหาและสาระสำคัญของงานวิจัย หลังได้รับการร้องขอและมอบหมายจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปริงดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร ให้สถาบันพระปกเกล้าศึกษาในฐานะที่เป็นสถาบันทางวิชาการที่มุ่งเน้นเผยแพร่ประชาธิปไตย อีกทั้งตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย
นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า การวิจัยนี้มุ่งตอบคำถามของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางปรองดองแห่งชาติฯ ว่าอะไรคือรากเหง้าของความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และมีปัจจัยหรือกระบวนการใดที่ทำให้คนในสังคมสามารถกลับมาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
โดยใช้กระบวนการดังนี้ 1.การทบทวนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการแก้ไขความขัดแย้ง การสร้างความปรองดอง ความยุติธรรม รูปแบบ กฎหมาย 2.การสรุปบทเรียนจากเวทีประชาเสวนาหาทางออก โดยให้ประชาชนร่วมกันเสวนาหาทางออก ช่วงเดือนธ.ค. 2553 - มิ.ย.2554 3.การศึกษาประสบการณ์การแก้ไขในต่างประเทศในบริบทที่แตกต่างกัน 4.การประมวลวิเคราะห์ปรากฎการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองถึงปัจจุบัน
และ5.การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 47 คน อาทิ นักการเมืองอาวุโส ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในเหตุการร์ความขัดแย้ง โดยใช้คำถามปลายเปิดสำหรับการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ซึ่งการวิจัยดังกล่าวมีระยะเวลาในการทำทั้งสิ้น 120 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันนี้ หรือ อาจจะมีการขยายเวลาออกไปเป็นวันจันทร์หน้า
นายวุฒิสาร กล่าวว่า ข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า เป็นเพียงทางเลือกในการสร้างความปรองดองเท่านั้น ข้อเสนอเหล่านี้ไม่ใช่ข้อสรุปสุดท้าย แต่เป็นการศึกษาเบื้องต้นเพื่อมีการดำเนินการต่อไป ซึ่งหลังจากนี้ต้องมีการหาข้อยุติร่วมกัน ซึ่งทุกฝ่ายต้องร่วมกันสร้างบรรยากาศในการปรองดอง เพราะจากการศึกษา ทุกฝ่ายต่างพูดตรงกันว่า ความปรองดองคือทางออกของการแก้ปัญหา แต่ในขณะนี้ทุกฝ่ายต่างมีจุดยืนของตัวเองที่ชัดเจน ทำให้บรรยากาศการปรองดอง ยังไม่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ซึ่งตนมองว่าควรเริ่มต้นในการเจรจาหารือกันของคณะกรรมาธิการ เพื่อหาข้อยุติร่วมกันและควรหลีกเลี่ยงการใช้เสียงข้างมากในการหาคำตอบ เพราะเสียงข้างมาก อาจจะไม่ใช่การยอมรับร่วมกันของสังคม และหลังจากนั้น คณะกรรมาธิการ ต้องนำความคิดเห็นดังกล่าวไปขยายผลต่อไป
**ชี้ "ทักษิณ" ตัวละครสร้างความขัดแย้ง
น.ส.ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร นักวิชาการวิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า กล่าวถึงผลการศึกษา ว่า จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่อยู่ในความขัดแย้ง ต่างมีความเห็นตรงกันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นตัวละครสำคัญที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง โดยจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการแทรกแซงการเลือกตั้ง กรณีเผด็จการรัฐสภา เมื่อปี 2548 ที่รัฐบาลพรรคไทยรักไทย มีเสียงข้างมาก มีอิทธิพลเหนือการตรวจสอบ ทำให้ในขณะนี้ ความขัดแย้งได้หยั่งรากลึกลงในสังคมไทย และการปรองดองจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายมีการพูดคุยร่วมกัน และการหาความจริงออกมาเปิดเผย แต่อยู่ที่ว่าการเปิดเผยความจริงดังกล่าว จะเปิดเผยในรูปแบบใดและเมื่อใด
ทั้งนี้ ความเห็นเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมนั้น มีหลากหลายความเห็น ทั้งไม่ยอมรับ และต้องการให้มีการนิรโทษกรรม แต่ที่ทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันคือ ต้องสร้างความปรองดอง แต่ขณะนี้บรรยากาศการสร้างความปรองดองยังคงไม่เกิดขึ้น เพราะทุกฝ่ายต่างมีจุดยืนที่ชัดเจน จึงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายทำตามในสิ่งที่พูด และลดการกระทำที่ทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้น
**กมธ.ปรองดองแถลงแนวทาง 21 มี.ค.
นายชวลิต วิชยสุทธิ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความปรองดองแห่งชาติ กล่าวว่า รายงานที่สถาบันพระปกเกล้าเสนอให้คณะกรรมาธิการ แม้จะเป็นเพียงแค่ตัวร่างเพื่อรับทราบ แต่มีเนื้อหาสมบูรณ์แล้ว โดยในวันที่ 20 มี.ค. คณะกรรมาธิการจะสรุปแบบสอบถามที่ให้คณะกรรมาธิการแต่ละคนไปตอบมาเรื่องรูปแบบการนิรโทษกรรมและการลบล้างผลพวงคดีคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อนให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ตามที่สถาบันพระปกเกล้าเสนอมา เพื่อสรุปเป็นความเห็นของกรรมาธิการ ส่งไปให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ควบคู่ไปกับรายงานฉบับสมบูรณ์ของสถาบันพระปกเกล้า
นอกจากนี้ ในวันที่ 21 มี.ค. พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ ในฐานะประธานกรรมาธิการ จะแถลงผลสรุป โดยจะเชิญหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรค สส. และสว. มาร่วมรับฟังด้วย ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ เวลา 10.00 น.
**มาร์คติงบังไม่มีหน้าที่รับใช้รบ.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พล.อ.สนธิ เตรียมเปิดเวทีสาธารณะว่า ตนพร้อมที่จะไปร่วมให้ความเห็น หากเปิดโอกาส อย่าไปสรุปล่วงหน้า ขณะนี้ยังไม่มีใครเห็นรายงานฉบับสมบูรณ์ว่าเป็นอย่างไร มีแต่นายวัฒนา เมืองสุข รองประธาน กมธ.ปรององเท่านั้นที่อ้างว่า มีรายงานฉบับสมบูรณ์แล้ว นอกจากนี้ในร่างรายงานดังกล่าว ก็มีข้อบกพร่องผิดพลาดอยู่มาก โดยเฉพาะในเรื่องข้อเท็จจริงจึงจำเป็นต้องให้คณะผู้วิจัยต้องรับทราบประเด็นต่างๆเพื่อปรับปรุงการ
“ เท่าทีดูวิธีการลำดับเหตุการณ์ ช่วงไหนซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เขียนแล้ว ทำให้ฝ่ายผู้ชุมนุมในขณะนั้นดูดี ก็อ้างแหล่งที่มาซึ่งจำกัดมาก แต่ในการรายงานถึงรัฐบาลผม กลับไปอ้างอิงต่างประเทศทั้งที่เป็นเรื่องที่รับรู้โดยเปิดเผยในสังคมไทย และแหล่งข่าวในประเทศจะรับรู้ปัญหาได้ดีกว่าการสรุปข่าวจากต่างประเทศ ซึ่งมีมุมมองจำกัด ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่า เกิดจากอะไร แต่การเขียนข้อเท็จจริงในมุมมองที่ไม่ครบถ้วนมีอิทธิพลต่อข้อเสนอแนะและข้อสรุปที่ไม่รอบด้าน ผมตั้งข้อสังเกตว่า เวลาเขียนที่นำไปสู่ข้อเสนอแนะในภาพรวมก็ไม่ลงรายละเอียดถึงที่มา ที่ไป เช่น การเขียนว่า ปรองดองต้องให้อภัย แต่ก็ไม่มีการเขียนอธิบายว่า ระหว่างการอภัยโทษกับนิรโทษ ซึ่งไม่เหมือนกัน และมีการอ้างต่างประเทศ พอไปไล่ดูตารางทั้ง 10 ประเทศก็มีเพียงไม่กี่ประเทศที่ใช้นิรโทษกรรม โดยไม่เลือกประเภทของคดีความ และบางประเทศปัญหาความขัดแย้งก็เกิดจากการออกกฏหมายนิรโทษกรรมด้วยซ้ำไป”นายอภิสิทธิ์ กล่าว
และที่น่าสนใจคือ คณะผู้วิจัยเองก็ระบุในรายงานว่าต้องค้นหาข้อเท็จจริง แสดงว่า ข้อเท็จจริงหลายอย่างยังไม่ได้ข้อสรุป แต่กลับมีการไปสรุปข้อเท็จจริงในรายงานบางเรื่องไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น เพื่อให้เกิดความรอบคอบต่อผลการศึกษา หากจำเป็นที่กมธ.ต้องขยายเวลา ก็ต้องทำ
“เพราะพล.อ.สนธิ ไม่มีหน้าที่ไปรับใช้วาระของรัฐบาล หรือวาระของพ.ต.ท.ทักษิณว่าจะต้องเสร็จในวันไหน เพื่อที่จะออกกฏหมาย โดยตั้งเป็นธงล่วงหน้า ทั้งที่ในร่างรายงานการศึกษาก็ไม่ได้บอกให้ต้องทำ า” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายวัฒนา เป็นจำเลยในคดีที่ คตส.พิจารณาคือ คดีบ้านเอื้ออาทรและการจัดซื้อเรือและรถดับเพลิงของกทม.เป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องเร่งรัดจะใช้ข้อสรุปของสถาบันพระปกเกล้ามานิรโทษกรรมคดีหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนทราบว่านายวัฒนามีความรู้สึกว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งเป็นเรื่องปกติแต่ก็ต้องตอบให้ได้ว่า มีอะไรที่คิดว่า ตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะผลสรุปของคตส.ไม่ใช่ข้อยุติเป็นแค่การรวบรวมข้อมูลนำเสนอจากนั้นกระบวนการยุติธรรมก็เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาต่อสู้คดีเต็มที่ รวมถึงประเด็นที่คิดว่า คตส.ไม่ให้ความเป็นธรรมด้วย แม้แต่พ.ต.ท.ทักษิณเองก็สู้คดีโดยหยิบยกปัญหา คตส.ในลักษณะนี้จนจบกระบวนการพิจารณาคดี แต่บังเอิญไปรู้ล่วงหน้าว่าจะแพ้คดี จึงหลบหนีไปต่างประเทศ ไม่ใช่ว่าไม่มีโอกาสต่อสู้ และอย่าลืมว่า คตส.และกระบวนการที่ต่อเนื่องจาก คตส.ก็มีข้อยุติในหลายคดีที่หลายคนพ้นผิด แต่กลับไม่มีการพูดถึงในรายงาน ที่ข้อเท็จจริงนี้แสดงให้เห็นว่า ถ้าตั้งสมมติฐานว่า คตส.ตั้งธงเล่นงาน ก็ไม่เป็นความจริง ไม่เช่นนั้นจะปล่อยให้หลุดคดีทำไม ตั้งหลายคน
**"ถาวร"อัดผลวิจัยพระปกเกล้าอัปยศ
นายถาวร เสนเนียม ส.ส. สงขลา รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายวัฒนา เมืองสุข ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทยในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ระบุให้ยอมรับผลการศึกษาของสถาบันพระปกเกล้า ฯเพราะเป็นหน่วยงานกลางที่ได้รับมอบหมายให้ไปศึกษาว่า ผลการศึกษาดังกล่าวถือเป็นผลงานอัปยศ เนื่องจากเกิดประโยชน์กับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เกือบทั้งหมด จึงขอตั้งคำถามว่า มีนักวิชาการระดับรองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าได้เดินทางไปกับนายวัฒนา เมืองสุขที่ดูไบ เพื่อไปสัมภาษณ์พ.ต.ท.ทักษิณ ก่อนหรือไม่ เป็นการนำร่องการวิจัยที่ไม่น่าเชื่อถือ และที่อ้างว่าจะนำไปสู่การปรองดองนั้นเป็นการปรองดองเพื่อช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่
ขอให้พิจารณาคำให้สัมภาษณ์ของนายอภิสิทธิ์ ที่เสนอให้ใช้เหตุผลให้รอบด้านในการพิจารณา เพราะผลการศึกษาของสถาบันพระปกเกล้าเสนอมาหลายทาง อย่าใช้เสียงข้างมากในกรรมาธิการลากไป เพราะพรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่า การนิรโทษกรรมถ้าจะทำก็น่าจะครอบคลุมเพียงกรณีผู้ฝ่าฝืนพระราชกำหนดเท่านั้น
"ผลการวิจัยของชิ้นนี้ น่าจะเป็นการค้นหาความจริง ว่าสิ่งใดถูกก็ควรบอกว่าถูก สิ่งใดผิดก็ควรบอกว่าผิด เพื่อให้เกิดความถูกต้อง เป็นการปรองดองที่ยั่งยืน ไม่ใช่มุ่งแต่ช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณ เพราะการกระทำเช่นนั้นไม่นำไปสู่การปรองดองที่ถูกต้องและยั่งยืน แต่จะนำไปสู่ความขัดแย้งและเกิดวิกฤติในประเทศไทยขึ้นอีก" นายถาวรกล่าว
**ยะใส ชี้ตั้งโจทย์ผิด เน้นข้อสรุปมากกว่า
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน (Green Politics) กล่าวว่า น่าเป็นห่วงเพราะผิดทิศผิดทางออกนอกหลักการปรองดองที่ควรจะเป็น เพราะไปมุ่งแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองซึ่งเป็นปัญหาปลายเหตุมากเกินไป ไม่ได้ยึดหลักหรือวางน้ำหนักที่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ที่เกิดจากการทำลายหลักนิติรัฐและไม่เคารพกระบวนการยุติธรรมหรือศาล จนทำให้สังคมแตกแยก เกิดความจริงและความเป็นธรรมหลายชุด หลายวาทกรรม ฝ่ายใครฝ่ายมัน ซึ่งนี่เป็นปัญหาใหญ่
ส่วนบทบาทของคณะกรรมาธิการปรองดองฯ และเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ไม่ควรมานั่งเป็นประธานในกรรมาธิการคณะนี้ ทำให้สังคมเคลือบแคลงเจตนาได้ และที่มอบหมายให้สถาบันพระปกเกล้าไปทำร่างข้อเสนอมานั้น และไม่ควรนำข้อเสนอหรือความเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย อย่างการไปสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรือแกนนำเสื้อแดง แล้วมาสังเคราะห์ร่วมกับความเห็นของส่วนอื่นๆ อาจจะทำให้ข้อสรุปไปตอบโจทย์ความต้องการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากไป ซึ่งต้องดูชุดคำถามในงานวิจัยชิ้นนี้ของสถาบันพระปกเกล้า เพราะบางทีคำถามอาจสำคัญกว่าคำตอบ หรือตั้งโจทย์ผิดก็อาจได้คำตอบที่ผิดไปด้วย
**ซัดศาล-องค์อิสระ ตัวปัญหา 2 มาตรฐาน
อีกด้าน นาย ก่อแก้ว พิกุลทอง สส บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยในฐานะ สมาชิกกลุ่ม นปช กล่าวว่า หลังจากที่ได้เข้าร่วมประชุม กมธ. 4-5ครั้ง กมธ.ทางพรรคประชาธิปปัตย์ มีความพยายามแตะถ่วงและตีกรอบความคิดที่กำหนดให้ สสร. ห้ามแก้ประเด็นต่างๆ ตนเห็นว่าถ้าไปตีกรอบจะทำให้ไม่มีอิสระในการทำงานและประชาชนจะไม่ยอมรับ อย่างไรก็ตาม ปัญหาบ้านเมืองที่มี 2 มาตรฐานก็มาจาก ศาลและองค์กรอิสระจึงควรเปิดโอกาสให้ สสร เข้ามาแก้ปัญหาแต่ไม่ได้หมายความว่าจะยุบทั้ง 2 องค์กรนี้
**ศาลไม่อนุญาตปล่อย "ดา ตอร์ปิโด" อีก
วันเดียกวัน ศาลอ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์เรื่องขอปล่อยตัวชั่วคราว คดีหมายเลขแดงที่ อ.2812/2552 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 7 เป็นโจทก์ฟ้อง น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล หรือดา ตอร์ปิโด แนวร่วมนปช. เป็นจำเลย ฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกเป็นเวลา 15 ปี โดยญาติของ น.ส.ดารณี ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์จำนวน 1,440,000 บาท เพื่อขอให้จำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 15 ปี จำเลยเคยยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์มาแล้วหลายครั้งแต่ศาลไม่อนุญาต จำเลยมายื่นคำร้องในครั้งนี้อีก ทั้งพฤติการณ์แห่งคดีประกอบกับพยานหลักฐานที่ศาลชั้นต้นได้พิจารณามาแล้วรับว่าร้ายแรง หากให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์จำเลยอาจหลบหนีได้ จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ให้ยกคำร้อง แจ้งเหตุผลการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวให้จำเลยทราบโดยเร็ว