ASTVผู้จัดการรายวัน - บอร์ดการบินไทยชะลอแผนจัดหาเครื่องบินระยะ 2 หวั่นกระทบสถานการณ์เงิน สั่งกก.บริหารความเสี่ยงทบทวนใหม่ หลังปี 54 ขาดทุนกว่าหมื่นลบ. “อำพน”ชี้ยังรอได้ไม่ควรรีบตัดสินใจลงทุน เผยธุรกิจการบินมีหลายปัจจัยกระทบ เผยกพ.ผู้โดยสารกระเตื้อง Cabin Factor เฉลี่ย 79.0% ทั้งเส้นทางยุโรป,ออสเตรีเลีย,ในประเทศ
นายอำพน กิตติอำพน ประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมวานนี้( 16 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงพิจารณาการจัดหาเครื่องบินในระยะ 2 (ปี 2561-2565 )จำนวน 38 ลำ มูลค่า 2.4 แสนล้านบาท โดยหลังจากพิจารณาแล้วเห็นว่าการลงทุนซื้อเครื่องบินอาจจะกระทบและทำให้สถานะทางการเงินของบริษัทมีความเสี่ยง
เนื่องจากในปี 2554 ผลประกอบการไม่เป็นไปตามเป้าหมายโดยขาดทุนถึง 10,197 ล้านบาท โดยให้พิจารณาผลกระทบให้รอบคอบซึ่งนอกจากความเสี่ยงทางการเงินแล้วมีเรื่องการแข่งขันของธุรกิจการบินที่รุนแรง ทั้งสายการบินของตะวันออกกลางและสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline), ปัญหาเศรษฐกิจโลก และความเสี่ยงที่มาจากการเกิดภัยธรรมชาติ โดยต้องมีความสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ด้วย
“ยังไม่มีการซื้อตอนนี้ ชะลอไปก่อนจนกว่า กก.ความเสี่ยงจะพิจารณาเสร็จ ซึ่งแม้จะยังไม่พิจารณาอนุมัติการซื้อเครื่องบินในตอนนี้ แต่ก็ไม่ได้กระทบต่อยุทธศาสตร์การจัดหาเครื่องบิน เพราะในระหว่างนี้ไปจนถึงปี 2559 บริษัทจะทยอยรับมอบเครื่องบินที่จัดหาไว้ รวมทั้งเครื่องบินที่ปรับปรุงที่นั่งภายใน รวมกว่า 50 ลำ ดังนั้นไม่ควรรีบตัดสินใจการลงทุนเร็วเกินไป เพราะสถานะการเงินของบริษัทไม่ปกติ ต้องทบทวนการผูกพันการเช่าระยะยาว โดยแผนจัดหาเครื่องบินระยะ 2 จะมีผลในปี 2561 ซึ่งการพิจารณาความเสี่ยงนั้นจะไม่มีการปรับลดหรือเพิ่มจำนวนเครื่องบินที่อยู่ในแผน เพราะต้องยึดมติครม.ที่เห็นชอบด้วย ส่วนการจัดหาเครื่องบินตามแผนระยะสั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง”นายอำพนกล่าว
ทั้งนี้ การบริหารความเสี่ยงเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจการบินว่าจะอยู่รอดในระยะยาวหรือไม่ ซึ่งช่วง 2 เดือนของปี 2554 ยังคาดว่าจะมีกำไร แต่ก็เกิดสึนามิที่ญี่ปุ่น น้ำท่วม การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรวดเร็วและกระทบต่อธุรกิจการบิน ส่วนเดือนก.พ.ปีนี้ ราคาน้ำมันสูง ปัญหาในประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งบริษัทมียุทธศาสตร์ในแต่ละเรื่อง การบริหารงานมีความซับซ้อนต้องมีธรรมาภิบาลและความสามัคคี ผู้ถือหุ้นต้องได้รับการดูแล
สำหรับผลการดำเนินงานในเดือนก.พ. 2555 มีผู้โดยสารจำนวน 1.65 ล้านคน เพิ่มขึ้น 5.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีโดยมีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 79.0% สูงกว่าปีก่อนที่มี Cabin Factorเฉลี่ย 77.6 % โดยเฉพาะในเส้นทางยุโรปเพิ่มขึ้นจาก 82.9% เป็น 88.2 % เส้นทางออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เพิ่มขึ้นจาก 66.8% เป็น 72.6% เส้นทางภายในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 77.2% เป็น 82.9%
ส่วนการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ในเดือนก.พ. 2555 มีปริมาณสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน 4.2 % โดยมีอัตราส่วนการบรรทุกสินค้า (Freight Load Factor) เฉลี่ย 54.7 % ต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน 3.5 % เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจยุโรปและการคืนเครื่องบินขนส่งสินค้า (Freighter) จำนวน 1 ลำ เมื่อเดือนส.ค. 2554 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนม.ค. 2555 อัตราส่วนการบรรทุกสินค้ายังเพิ่มขึ้น 10.1%
นายอำพน กิตติอำพน ประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมวานนี้( 16 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงพิจารณาการจัดหาเครื่องบินในระยะ 2 (ปี 2561-2565 )จำนวน 38 ลำ มูลค่า 2.4 แสนล้านบาท โดยหลังจากพิจารณาแล้วเห็นว่าการลงทุนซื้อเครื่องบินอาจจะกระทบและทำให้สถานะทางการเงินของบริษัทมีความเสี่ยง
เนื่องจากในปี 2554 ผลประกอบการไม่เป็นไปตามเป้าหมายโดยขาดทุนถึง 10,197 ล้านบาท โดยให้พิจารณาผลกระทบให้รอบคอบซึ่งนอกจากความเสี่ยงทางการเงินแล้วมีเรื่องการแข่งขันของธุรกิจการบินที่รุนแรง ทั้งสายการบินของตะวันออกกลางและสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline), ปัญหาเศรษฐกิจโลก และความเสี่ยงที่มาจากการเกิดภัยธรรมชาติ โดยต้องมีความสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ด้วย
“ยังไม่มีการซื้อตอนนี้ ชะลอไปก่อนจนกว่า กก.ความเสี่ยงจะพิจารณาเสร็จ ซึ่งแม้จะยังไม่พิจารณาอนุมัติการซื้อเครื่องบินในตอนนี้ แต่ก็ไม่ได้กระทบต่อยุทธศาสตร์การจัดหาเครื่องบิน เพราะในระหว่างนี้ไปจนถึงปี 2559 บริษัทจะทยอยรับมอบเครื่องบินที่จัดหาไว้ รวมทั้งเครื่องบินที่ปรับปรุงที่นั่งภายใน รวมกว่า 50 ลำ ดังนั้นไม่ควรรีบตัดสินใจการลงทุนเร็วเกินไป เพราะสถานะการเงินของบริษัทไม่ปกติ ต้องทบทวนการผูกพันการเช่าระยะยาว โดยแผนจัดหาเครื่องบินระยะ 2 จะมีผลในปี 2561 ซึ่งการพิจารณาความเสี่ยงนั้นจะไม่มีการปรับลดหรือเพิ่มจำนวนเครื่องบินที่อยู่ในแผน เพราะต้องยึดมติครม.ที่เห็นชอบด้วย ส่วนการจัดหาเครื่องบินตามแผนระยะสั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง”นายอำพนกล่าว
ทั้งนี้ การบริหารความเสี่ยงเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจการบินว่าจะอยู่รอดในระยะยาวหรือไม่ ซึ่งช่วง 2 เดือนของปี 2554 ยังคาดว่าจะมีกำไร แต่ก็เกิดสึนามิที่ญี่ปุ่น น้ำท่วม การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรวดเร็วและกระทบต่อธุรกิจการบิน ส่วนเดือนก.พ.ปีนี้ ราคาน้ำมันสูง ปัญหาในประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งบริษัทมียุทธศาสตร์ในแต่ละเรื่อง การบริหารงานมีความซับซ้อนต้องมีธรรมาภิบาลและความสามัคคี ผู้ถือหุ้นต้องได้รับการดูแล
สำหรับผลการดำเนินงานในเดือนก.พ. 2555 มีผู้โดยสารจำนวน 1.65 ล้านคน เพิ่มขึ้น 5.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีโดยมีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 79.0% สูงกว่าปีก่อนที่มี Cabin Factorเฉลี่ย 77.6 % โดยเฉพาะในเส้นทางยุโรปเพิ่มขึ้นจาก 82.9% เป็น 88.2 % เส้นทางออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เพิ่มขึ้นจาก 66.8% เป็น 72.6% เส้นทางภายในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 77.2% เป็น 82.9%
ส่วนการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ในเดือนก.พ. 2555 มีปริมาณสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน 4.2 % โดยมีอัตราส่วนการบรรทุกสินค้า (Freight Load Factor) เฉลี่ย 54.7 % ต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน 3.5 % เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจยุโรปและการคืนเครื่องบินขนส่งสินค้า (Freighter) จำนวน 1 ลำ เมื่อเดือนส.ค. 2554 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนม.ค. 2555 อัตราส่วนการบรรทุกสินค้ายังเพิ่มขึ้น 10.1%