วานนี้ ( 15 มี.ค.) นางอังคณา เสาธงทอง ตุลาการศาลปกครองกลาง ออกบัลลังก์ อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด สั่งเพิกถอนคำสั่งบรรเทาทุกข์ชั่วคราวของศาลปกครองชั้นต้น ที่สั่งให้ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) และกทม.ร่วมกันพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ในการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำคลองมหาสวัสดิ์เพิ่มขึ้น เป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกับความสามารถในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่รับผิดชอบของศปภ. และกทม. นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง จนกว่าศาลจะมีคำสั่ง หรือคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ซึ่งการมีคำสั่งดังกล่าว เป็นกรณีที่ศปภ.ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด หลังศาลปกครองกลางมีคำสั่งกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว ก่อนมีคำพิพากษาในคดีที่ นางทศสิริ พูลนวล ชาวบ้านจ.นนทบุรี ที่รับผลกระทบจากการเปิดปิดประตูระบายน้ำคลองมหาสวัสดิ์ ยื่นฟ้องศปภ. และกทม.
ส่วนเหตุที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งเพิกถอนระบุว่า ปัจจุบันมวลน้ำอันเป็นต้นเหตุแห่งการใช้มาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาได้สิ้นไปแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีมาตรการ หรือวิธีการใด เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาตามที่นางทศสิริ ร้องขออีกต่อไป
ฉะนั้น คำสั่งศาลปกครองชั้นต้น ที่กำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา ให้ศปภ.และกทม. ร่วมกันพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ในการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำคลองมหาสวัสดิ์ เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกับความสามารถในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่รับผิดชอบของศปภ.และกทม. นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ย่อมหมดความจำเป็นที่จะให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ศาลปกครองสูงสุดจึงยกคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าว โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาร้องของอุทธรณ์คำสั่งของ ศปภ.
ด้านนายไพโรจน์ มินเด็น โฆษกศาลปกครอง เปิดเผยว่า ขณะนี้มีคดีที่ประชาชนและเอกชน ยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานของรัฐ จากเหตุการณ์น้ำท่วมปี 54 จำนวน 45 คดี มีผู้ฟ้องคดีประมาณ 513ราย โดยผู้ถูกฟ้องมีตั้งแต่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) กทม. กรมชลประทาน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งข้อหาที่มีการฟ้องมากสุด คือ ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินควรทำให้ผู้ฟ้องคดีเสียหาย รองลงมา คือ บริหารจัดการน้ำบกพร่องทำให้เสียหาย และการละเมิดสิทธิด้วยการปิดกัน สร้างสิ่งกีดขวาง จนทำให้ได้รับความเสียหาย
ด้านนางทศสิริ กล่าวหลังฟังคำสั่งว่า คดีนี้ยังไม่สิ้นสุด เนื่องจากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดวันนี้ แค่ยกคำสั่งของศาลปกครองกลาง แต่ในประเด็นการบริหารจัดการน้ำของ ศปภ. และกทม. ที่ผิดพลาดนั้นยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลปกครองกลางอยู่ ซึ่งการที่ตนยื่นฟ้องในคดีนี้ ก็เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานที่เท่าเทียมกันระหว่าง ชาวนนทบุรี-กทม. และเพื่อไม่ให้รัฐบาลใช้อำนาจตัดสินใจตามลำพัง ต้องเปิดให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นตนเองด้วย
" การเตรียมการรับมือปัญหาอุทกภัยของปี 2555 ก็ยังเป็นวิธีคิดแบบเดิม ไม่มีการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ว่าต้องการแบบไหน เมื่อเป็นเช่นนี้เชื่อปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา จะยังคงอยู่ ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล และประชาชนไม่มีที่สิ้นสุด และที่รัฐบาลไปลงทุนสร้างเขื่อนรอบนิคมอุตสาหกรรม ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยไม่ได้ทำประชาพิจารณ์กับประชาชนที่อยู่ในบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรม จนทำไปสู่การฟ้องร้องคดี ก็อยากถามรัฐบาลว่า ทำไมถึงเลือกรักษาพื้นที่เขตอุตสาหกรรม มากกว่าเขตพื้นที่เกษตรกรรม ทั้งที่ประเทศไทยเป็นประเทศอู่ข้าวอู่น้ำ อยากให้รัฐบาลชี้แจงให้ชัดเจนและควรนำปัญหาของประชาชนให้คิดให้มากกว่านี้” นางทศสิริ กล่าว และว่า ใน จ.นนทบุรี ก็เช่นกัน วันนี้ยังไม่มีการมาสอบความความเห็นประชาชนในพื้นที่ว่า ควรจะเตรียมการรับมืออุทกภัยอย่างไร มีเพียงกลุ่มชาวบ้านที่รวมตัวกันเรียกร้องให้ทางจังหวัดช่วยเหลือ ซึ่งก็อยากเรียกร้องให้ จ.นนทบุรี มีมาตรการแก้ปัญหาอุทกภัยที่ชัดเจนและประกาศให้ประชาชนได้ทราบ ไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้นอีก
ซึ่งการมีคำสั่งดังกล่าว เป็นกรณีที่ศปภ.ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด หลังศาลปกครองกลางมีคำสั่งกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว ก่อนมีคำพิพากษาในคดีที่ นางทศสิริ พูลนวล ชาวบ้านจ.นนทบุรี ที่รับผลกระทบจากการเปิดปิดประตูระบายน้ำคลองมหาสวัสดิ์ ยื่นฟ้องศปภ. และกทม.
ส่วนเหตุที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งเพิกถอนระบุว่า ปัจจุบันมวลน้ำอันเป็นต้นเหตุแห่งการใช้มาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาได้สิ้นไปแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีมาตรการ หรือวิธีการใด เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาตามที่นางทศสิริ ร้องขออีกต่อไป
ฉะนั้น คำสั่งศาลปกครองชั้นต้น ที่กำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา ให้ศปภ.และกทม. ร่วมกันพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ในการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำคลองมหาสวัสดิ์ เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกับความสามารถในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่รับผิดชอบของศปภ.และกทม. นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ย่อมหมดความจำเป็นที่จะให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ศาลปกครองสูงสุดจึงยกคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าว โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาร้องของอุทธรณ์คำสั่งของ ศปภ.
ด้านนายไพโรจน์ มินเด็น โฆษกศาลปกครอง เปิดเผยว่า ขณะนี้มีคดีที่ประชาชนและเอกชน ยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานของรัฐ จากเหตุการณ์น้ำท่วมปี 54 จำนวน 45 คดี มีผู้ฟ้องคดีประมาณ 513ราย โดยผู้ถูกฟ้องมีตั้งแต่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) กทม. กรมชลประทาน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งข้อหาที่มีการฟ้องมากสุด คือ ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินควรทำให้ผู้ฟ้องคดีเสียหาย รองลงมา คือ บริหารจัดการน้ำบกพร่องทำให้เสียหาย และการละเมิดสิทธิด้วยการปิดกัน สร้างสิ่งกีดขวาง จนทำให้ได้รับความเสียหาย
ด้านนางทศสิริ กล่าวหลังฟังคำสั่งว่า คดีนี้ยังไม่สิ้นสุด เนื่องจากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดวันนี้ แค่ยกคำสั่งของศาลปกครองกลาง แต่ในประเด็นการบริหารจัดการน้ำของ ศปภ. และกทม. ที่ผิดพลาดนั้นยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลปกครองกลางอยู่ ซึ่งการที่ตนยื่นฟ้องในคดีนี้ ก็เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานที่เท่าเทียมกันระหว่าง ชาวนนทบุรี-กทม. และเพื่อไม่ให้รัฐบาลใช้อำนาจตัดสินใจตามลำพัง ต้องเปิดให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นตนเองด้วย
" การเตรียมการรับมือปัญหาอุทกภัยของปี 2555 ก็ยังเป็นวิธีคิดแบบเดิม ไม่มีการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ว่าต้องการแบบไหน เมื่อเป็นเช่นนี้เชื่อปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา จะยังคงอยู่ ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล และประชาชนไม่มีที่สิ้นสุด และที่รัฐบาลไปลงทุนสร้างเขื่อนรอบนิคมอุตสาหกรรม ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยไม่ได้ทำประชาพิจารณ์กับประชาชนที่อยู่ในบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรม จนทำไปสู่การฟ้องร้องคดี ก็อยากถามรัฐบาลว่า ทำไมถึงเลือกรักษาพื้นที่เขตอุตสาหกรรม มากกว่าเขตพื้นที่เกษตรกรรม ทั้งที่ประเทศไทยเป็นประเทศอู่ข้าวอู่น้ำ อยากให้รัฐบาลชี้แจงให้ชัดเจนและควรนำปัญหาของประชาชนให้คิดให้มากกว่านี้” นางทศสิริ กล่าว และว่า ใน จ.นนทบุรี ก็เช่นกัน วันนี้ยังไม่มีการมาสอบความความเห็นประชาชนในพื้นที่ว่า ควรจะเตรียมการรับมืออุทกภัยอย่างไร มีเพียงกลุ่มชาวบ้านที่รวมตัวกันเรียกร้องให้ทางจังหวัดช่วยเหลือ ซึ่งก็อยากเรียกร้องให้ จ.นนทบุรี มีมาตรการแก้ปัญหาอุทกภัยที่ชัดเจนและประกาศให้ประชาชนได้ทราบ ไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้นอีก