ศาลปกครองไต่สวนคดีขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เอกชนผู้ฟ้อง 42 รายยันผลเสียอาจถึงขั้นปิดกิจการ ร้องศาลบรรเทาทุกข์ชั่วคราวระงับใช้ประกาศ คกก.ค่าจ้างขั้นต่ำ ก่อน 1 เม.ย.นี้ ด้านตัวแทนกระทรวงแรงงาน อ้างทำให้แรงงาน 5.4 ล้านคน มีรายได้เพิ่ม แถมส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
วันนี้ (15 มี.ค.) นายเทอดพงษ์ คงจันทร์ ตุลาการศาลปกครองกลางในฐานะตุลาการเจ้าของสำนวน ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคดีที่บริษัท มูราตะ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมพวกรวม 42 ราย ยื่นฟ้องคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 18 กระทรวงแรงงาน ขอให้เพิกถอนประกาศคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 ปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท เฉพาะ 7 จังหวัด ได้แก่ กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ภูเก็ต สมุทรปราการ สมุทรสาคร ส่วนจังหวัดอื่นปรับจากเดิมประมาณร้อยละ 20 ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 1 เมษายน 2555 และระหว่างยังไม่มีคำพิพากษาขอให้ศาลกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวโดยสั่งระงับการบังคับใช้ประกาศฉบับดังกล่าวไว้ก่อน
ทั้งนี้ นายวาทิน หนูเกื้อ ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากผู้ฟ้องคดี ให้ถ้อยคำว่า หากศาลมีคำสั่งเพิกถอนประกาศคณะกรรมการค่าจ้างภายหลังวันที่ 1 เม.ย.55 ที่ประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว จะทำให้ค่าจ้างกลับมาเป็นตามเดิมไม่ได้ เพราะได้กลายเป็นสภาพการจ้างงานแล้ว ซึ่งเงินที่ได้จ่ายเป็นค่าแรงไปก่อนแล้วก็ไม่สามารถเรียกกลับคืนได้เช่นกัน รวมถึงต้องปรับเงินให้กับแรงงานเดิมให้เพิ่มขึ้นเท่ากับอัตราที่ปรับเพิ่มจากค่าจ้างขั้นต่ำ ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างเงินเดือนต้องถูกปรับเปลี่ยนไปด้วย และยังส่งผลต่อราคาสินค้า บริการต่างๆ ปรับตัวขึ้นสูงตามด้วย ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการบางส่วนอาจรับภาระไม่ไหวต้องปิดกิจการลง ก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง จึงขอให้ศาลออกคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวโดยสั่งระงับประกาศฯฉบับกล่าวก่อนจะถึงวันที่ 1 เม.ย.55
ด้านตัวแทนฝ่ายผู้ถูกฟ้องที่เข้ารับการไต่สวน ประกอบด้วย นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางเพชรรัตน์ สินอวย หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ในฐานะอดีตเลขาคณะกรรมการค่าจ้าง และนายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมายจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
นายสมเกียรติกล่าวว่า การพิจารณาขึ้นค่าจ้างทำให้รูปแบบคณะกรรมการและดำเนินการตามกฎหมายกำหนด โดยพิจารณาจากค่าจ้าง ราคาสินค้า บริการ ความสามารถทางธุรกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ สภาพเศรษฐกิจสังคม และมีถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้แรงงานจังหวัดสำรวจค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของแรงงาน ปกติการประชุมปรับขึ้นค่าจ้างจะทำล่วงหน้าเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อให้ลูกจ้างและผู้ประกอบการได้เตรียมตัว ส่วนข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่าคณะกรรมการค่าจ้างไม่มีตัวแทนของนายจ้างเข้าร่วมประชุมนั้น คณะกรรมการค่าจ้างได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาการขึ้นค่าจ้าง ซึ่งมีตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการที่มีความรู้ในเรื่องดังกล่าว โดยมีนางอัจนา ไวความดี เป็นประธานคณะทำงานดังกล่าวเป็นประธาน
และที่อ้างว่ามติกรรมการค่าจ้างถูกแทรกแซงโดยรัฐบาลไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยืนยันว่ามติคณะกรรมการเป็นรูปแบบของไตรภาคี ที่ประกอบด้วยภาครัฐ 5 คน นายจ้าง 5 คน ลูกจ้าง 4 คน ใช้การลงมติ 2 ใน 3 ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีแทรกแซงจากภาครัฐ แต่ยอมรับว่าในการพิจารณาค่าจ้างต้องคำนึงถึงนโยบายรัฐบาลด้วย ซึ่งมติที่ออกมาเป็นมติเอกฉันท์ให้ปรับอัตราค่าจ้าง ทั้งนี้การปรับขึ้นค่าจ้างจะมีแรงงานได้ประโยชน์ถึง 5.4 ล้านคน หากมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ทำให้แรงงานขาดรายได้รวมวันละ 373 ล้านบาท
นางเพชรรัตน์กล่าวว่า กระทรวงแรงงานร้องขอให้กระทรวงพาณิชย์สำรวจดัชนีการบริโภคของผู้มีรายได้น้อย เพื่อนำมาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาค่าจ้าง ซึ่งพบข้อเท็จจริงว่าสภาพเศรษฐกิจ สังคม ราคาสินค้าแต่ละจังหวัดปรับตัวขึ้น และพบว่าค่าครองชีพแต่ละจังหวัดไม่แตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้ในการพิจารณาได้ดูทั้งข้อดีและข้อเสียของการปรับขึ้นค่าจ้าง มีการประชุมหลายครั้งเพื่อแบ่งอัตราการจ้างเป็น 2 ส่วน คือ คนเข้าใหม่ให้จ้างในอัตราใหม่ ส่วนคนเก่าเป็นไปตามโครงสร้างที่แต่บริษัทดำเนินการ ทั้งนี้ หลังมีมติปรับค่าจ้างมีมาตราการในการช่วยผู้ประกอบการควบคู่ไปด้วย คือ ลดการเก็บเงินสมทบเข้าประกันสังคมในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 เหลือร้อยละ 3 จากเดิมเก็บร้อยละ 5 ส่วนครึ่งปีเหลือร้อยละ 4 จัดสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน จำนวน 10,000 ล้านบาท ให้สถานประกอบการกู้หมุนเวียนผ่านธนาคารที่กำหนด โครงการยกระดับศักยภาพแรงงาน โดยจัดให้อบรมแรงงานเพื่อให้มีความสามารถให้คุ้มกับค่าจ้าง
นายสุรพลกล่าวว่า ที่อ้างว่าการปรับเพิ่มค่าจ้างทำให้นายจ้างมีภาระเพิ่มขึ้น ถือเป็นความเสียหายคงไม่ได้ เพราะค่าจ้างถือเป็นต้นทุน นายจ้างสามารถบริหารจัดการลดค่าใช้จ่ายส่วนอื่นที่ไม่จำเป็นได้ หากทุเลาการบังคับใช้ประกาศค่าจ้างย่อมเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของภาครัฐแน่นอน เพราะทำให้กำลังซื้อของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศลดลง และส่งผลต่อการขยายตัวเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง เพราะมีรายได้ไม่พอกิน มีผลต่อคุณภาพของสังคม
อย่างไรก็ตาม หลังการไต่สวนนานกว่า 3 ชั่วโมง ตุลาการเจ้าของสำนวนได้แจ้งให้คู่กรณีทราบว่าศาลจะนำถ้อยคำที่ 2 ฝ่ายให้ในการไต่สวนไปพิจารณา และจะมีคำสั่งโดยเร็ว โดยจะแจ้งคู่กรณีทราบทางโทรสาร หากมีเอกสารเพิ่มเติมให้ยื่นต่อศาลภายใน 30 วัน
วันนี้ (15 มี.ค.) นายเทอดพงษ์ คงจันทร์ ตุลาการศาลปกครองกลางในฐานะตุลาการเจ้าของสำนวน ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคดีที่บริษัท มูราตะ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมพวกรวม 42 ราย ยื่นฟ้องคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 18 กระทรวงแรงงาน ขอให้เพิกถอนประกาศคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 ปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท เฉพาะ 7 จังหวัด ได้แก่ กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ภูเก็ต สมุทรปราการ สมุทรสาคร ส่วนจังหวัดอื่นปรับจากเดิมประมาณร้อยละ 20 ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 1 เมษายน 2555 และระหว่างยังไม่มีคำพิพากษาขอให้ศาลกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวโดยสั่งระงับการบังคับใช้ประกาศฉบับดังกล่าวไว้ก่อน
ทั้งนี้ นายวาทิน หนูเกื้อ ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากผู้ฟ้องคดี ให้ถ้อยคำว่า หากศาลมีคำสั่งเพิกถอนประกาศคณะกรรมการค่าจ้างภายหลังวันที่ 1 เม.ย.55 ที่ประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว จะทำให้ค่าจ้างกลับมาเป็นตามเดิมไม่ได้ เพราะได้กลายเป็นสภาพการจ้างงานแล้ว ซึ่งเงินที่ได้จ่ายเป็นค่าแรงไปก่อนแล้วก็ไม่สามารถเรียกกลับคืนได้เช่นกัน รวมถึงต้องปรับเงินให้กับแรงงานเดิมให้เพิ่มขึ้นเท่ากับอัตราที่ปรับเพิ่มจากค่าจ้างขั้นต่ำ ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างเงินเดือนต้องถูกปรับเปลี่ยนไปด้วย และยังส่งผลต่อราคาสินค้า บริการต่างๆ ปรับตัวขึ้นสูงตามด้วย ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการบางส่วนอาจรับภาระไม่ไหวต้องปิดกิจการลง ก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง จึงขอให้ศาลออกคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวโดยสั่งระงับประกาศฯฉบับกล่าวก่อนจะถึงวันที่ 1 เม.ย.55
ด้านตัวแทนฝ่ายผู้ถูกฟ้องที่เข้ารับการไต่สวน ประกอบด้วย นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางเพชรรัตน์ สินอวย หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ในฐานะอดีตเลขาคณะกรรมการค่าจ้าง และนายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมายจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
นายสมเกียรติกล่าวว่า การพิจารณาขึ้นค่าจ้างทำให้รูปแบบคณะกรรมการและดำเนินการตามกฎหมายกำหนด โดยพิจารณาจากค่าจ้าง ราคาสินค้า บริการ ความสามารถทางธุรกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ สภาพเศรษฐกิจสังคม และมีถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้แรงงานจังหวัดสำรวจค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของแรงงาน ปกติการประชุมปรับขึ้นค่าจ้างจะทำล่วงหน้าเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อให้ลูกจ้างและผู้ประกอบการได้เตรียมตัว ส่วนข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่าคณะกรรมการค่าจ้างไม่มีตัวแทนของนายจ้างเข้าร่วมประชุมนั้น คณะกรรมการค่าจ้างได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาการขึ้นค่าจ้าง ซึ่งมีตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการที่มีความรู้ในเรื่องดังกล่าว โดยมีนางอัจนา ไวความดี เป็นประธานคณะทำงานดังกล่าวเป็นประธาน
และที่อ้างว่ามติกรรมการค่าจ้างถูกแทรกแซงโดยรัฐบาลไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยืนยันว่ามติคณะกรรมการเป็นรูปแบบของไตรภาคี ที่ประกอบด้วยภาครัฐ 5 คน นายจ้าง 5 คน ลูกจ้าง 4 คน ใช้การลงมติ 2 ใน 3 ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีแทรกแซงจากภาครัฐ แต่ยอมรับว่าในการพิจารณาค่าจ้างต้องคำนึงถึงนโยบายรัฐบาลด้วย ซึ่งมติที่ออกมาเป็นมติเอกฉันท์ให้ปรับอัตราค่าจ้าง ทั้งนี้การปรับขึ้นค่าจ้างจะมีแรงงานได้ประโยชน์ถึง 5.4 ล้านคน หากมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ทำให้แรงงานขาดรายได้รวมวันละ 373 ล้านบาท
นางเพชรรัตน์กล่าวว่า กระทรวงแรงงานร้องขอให้กระทรวงพาณิชย์สำรวจดัชนีการบริโภคของผู้มีรายได้น้อย เพื่อนำมาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาค่าจ้าง ซึ่งพบข้อเท็จจริงว่าสภาพเศรษฐกิจ สังคม ราคาสินค้าแต่ละจังหวัดปรับตัวขึ้น และพบว่าค่าครองชีพแต่ละจังหวัดไม่แตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้ในการพิจารณาได้ดูทั้งข้อดีและข้อเสียของการปรับขึ้นค่าจ้าง มีการประชุมหลายครั้งเพื่อแบ่งอัตราการจ้างเป็น 2 ส่วน คือ คนเข้าใหม่ให้จ้างในอัตราใหม่ ส่วนคนเก่าเป็นไปตามโครงสร้างที่แต่บริษัทดำเนินการ ทั้งนี้ หลังมีมติปรับค่าจ้างมีมาตราการในการช่วยผู้ประกอบการควบคู่ไปด้วย คือ ลดการเก็บเงินสมทบเข้าประกันสังคมในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 เหลือร้อยละ 3 จากเดิมเก็บร้อยละ 5 ส่วนครึ่งปีเหลือร้อยละ 4 จัดสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน จำนวน 10,000 ล้านบาท ให้สถานประกอบการกู้หมุนเวียนผ่านธนาคารที่กำหนด โครงการยกระดับศักยภาพแรงงาน โดยจัดให้อบรมแรงงานเพื่อให้มีความสามารถให้คุ้มกับค่าจ้าง
นายสุรพลกล่าวว่า ที่อ้างว่าการปรับเพิ่มค่าจ้างทำให้นายจ้างมีภาระเพิ่มขึ้น ถือเป็นความเสียหายคงไม่ได้ เพราะค่าจ้างถือเป็นต้นทุน นายจ้างสามารถบริหารจัดการลดค่าใช้จ่ายส่วนอื่นที่ไม่จำเป็นได้ หากทุเลาการบังคับใช้ประกาศค่าจ้างย่อมเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของภาครัฐแน่นอน เพราะทำให้กำลังซื้อของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศลดลง และส่งผลต่อการขยายตัวเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง เพราะมีรายได้ไม่พอกิน มีผลต่อคุณภาพของสังคม
อย่างไรก็ตาม หลังการไต่สวนนานกว่า 3 ชั่วโมง ตุลาการเจ้าของสำนวนได้แจ้งให้คู่กรณีทราบว่าศาลจะนำถ้อยคำที่ 2 ฝ่ายให้ในการไต่สวนไปพิจารณา และจะมีคำสั่งโดยเร็ว โดยจะแจ้งคู่กรณีทราบทางโทรสาร หากมีเอกสารเพิ่มเติมให้ยื่นต่อศาลภายใน 30 วัน